Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2553
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
3 สิงหาคม 2553
 
All Blogs
 
การพัฒนาระบบรถไฟรางคู่ ขนาดราง 1.435 ม. ร่วมกับ ขนาดราง 1.00 ม. เพื่อให้เกิดการแข่งขันกันในประเทศ

การพัฒนาระบบรถไฟรางคู่ ขนาดราง 1.435 ม. ร่วมกับ ขนาดราง 1.00 ม. เพื่อให้เกิดการแข่งขันกันในประเทศไทย



รูปโดยสังเขป รางคู่ขนาด 1.435 ม. สร้างตีคู่กับ รางคู่ 1.00 ม. ของ รฟท. บนเส้นเขตทางเดียวกัน



แนวคิดที่เสนอ บริษัทร่วมทุนไทย-จีน ที่จะก่อตั้งขึ้น โดยจีนจะลงทุนให้ทั้งหมด และไทย (กระทรวงการคลัง) จะใช้สิทธิในการเป็นเจ้าของพื้นที่ แบ่งการบริหารและกำไรคนละครึ่ง และเนื่องจากโครงการรางรถไฟ 1.435 ใช้เขตทางของการรถไฟ จึงต้องมีการจ่ายค่าเช่าที่ดินให้กับ รฟท. ด้วย ลักษณะจะคล้ายๆ บริษัท TT@T ต้องจ่ายค่าเช่าคู่สายให้ TOT ซึ่งจะทำให้ประเทศไทย มีรางคู่ 2 ระบบ คือรางคู่ระบบ 1 เมตร ซึ่งบริหารโดย รฟท. กับรางคู่ระบบ 1.435 เมตร บริหารโดยบริษัทร่วมทุนไทย-จีน ซึ่งสาเหตุที่ต้องคงรางคู่ 1.00 เมตรไว้ เพื่อให้เกิดการแข่งขัน และเอาไว้เชื่อมกับประเทศเพื่อนบ้านที่ยังไม่พร้อมใช้ราง 1.435



เนื่องจากประเทศไทย เป็นจุดศูนย์กลางของภูมิภาคนี้ และหากภูมิภาคนี้มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจต่อไปข้างหน้า รางคู่ แค่ ระบบเดียว อาจจะไม่เพียงพอต่อความต้องการ



และมีการประเมิณกันว่า ในอนาคต การขนส่งทางรถไฟ ของประเทศไทยจะแออัดมาก เพราะประเทศไทยด้วยภูมิศาสตร์แล้ว เรามีศูนย์กลางจริงๆ ดังนั้น การทำรางคู่รองรับถึง 2 ระบบจึงเป็นเรื่องที่น่าจะต้องทำ โดยเฉพาะเมื่อจีนยื่นข้อเสนอให้แบบใจปล้ำแบบนี้

ซึ่งเมื่อเกิด 2 ระบบรางคู่ ก็จะเกิดการแข่งขันกันให้บริการ ประสิทธิภาพการทำงานก็จะดีขึ้น เกิดการแข่งขันกันระหว่าง รฟท. กับ บริษัทร่วมทุนไทย-จีน เพื่อไม่ให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผูกขาดมากเส้นทางมากเกินไป ซึ่งจะมีการสร้างแต้มต่อให้กันและกันคือ

บริษัทร่วมทุนไทย-จีน ใช้ราง 1.435 ซึ่งสามารถเพิ่มความเร็วได้มากกว่า ตัวรถหาได้ง่ายกว่า

ส่วน รฟท. ใช้ราง 1.00 เมตร แม้ความเร็วจะน้อยกว่า แต่ก็ไม่ถือว่าน่าเกลียด เพราะ สามารถเพิ่มความเร็วได้ในระดับ 160 กม./ชม. แต่ตัวรถจะหายากกว่า เพราะไม่ค่อยมีประเทศไหนผลิตกัน แต่รฟท. จะได้แต้มต่อจาก "ค่าเช่าทาง" ที่บริษัทร่วมทุนไทยจีนต้องจ่ายให้กับ รฟท.

ในอดีต เราศึกษาเส้นทางรถไฟความเร็วสูง คือ กรุงเทพ-หาดใหญ่ กรุงเทพ-เชียงใหม่ กรุงเทพ-หนองคาย และกรุงเทพ-ระยอง และเมื่อมองถึงกำลังซื้อของคนที่จะขึ้นรถไฟความเร็วสูง กลับพบว่า ยังมีน้อยเกินไป จนกระทั้ง มีการปรับแนวคิดเป็นรถไฟความเร็วสูงสาย สิงคโปร์-กัวลาลัมเปอร์-กรุงเทพฯ-เวียงจันทร์-คุนมิง(จีน) ทำให้พบว่ากำลังซื้อในเส้นทางนี้ มีมหาศาล และมีความเป็นไปได้อย่างมาก

แต่การจะให้ "ตัวรถไฟความเร็วสูง" วิ่งให้บริการที่ความเร็ว 300-350 กม./ชม. มาวิ่งให้บริการเลยนั้น ดูเหมือนจะไม่ค่อยคุ้มทุนสักเท่าไหร่ จึงปรับแนวคิดอีกว่า จะให้เส้นทางที่จะสร้างใหม่ สามารถขนส่งสินค้าจากจีนตอนใต้ ลงไปถึงที่ท่าเรือสิงคโปร์ได้ด้วยจะดีไหม


ดังนั้น รถไฟความเร็วสูงเส้นทางนี้ จึงเป็นรางขนาด 1.435 ม. ตามมาตรฐานความแข็งแรงแบบรถไฟความเร็วสูงของจีน สร้างตีคู่ไปกับรางคู่ขนาด 1.00 ม. ของ รฟท. แต่ขบวนรถที่จะมาวิ่งบนเส้นทาง 1.435 จะมี 2 ระบบคือ

1. รถขนสินค้าที่วิ่งด้วยความเร็ว 120-160 กม./ชม.
2. รถไฟความเร็วสูง สำหรับขนส่งผู้โดยสาร แต่วิ่งด้วยความเร็ว 200-250 กม./ชม. ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร เพราะขบวนรถต้องใช้รางเดียวกับรถข่นส่งสินค้าด้วย



รถไฟความเร็วสูงของประเทศมาเลเซีย วิ่งบนราง ขนาด 1.00 ม. ทำความเร็วได้ 160 กม./ชม.



ส่วนรางขนาด 1.00 ม. ของ รฟท. จะให้รถไฟความเร็วสูง (คล้ายๆรถไฟของมาเลเซีย) วิ่งให้บริการที่ 160 กม./ชม. เพราะราง 1.00 ม. จะมีรถขนส่งสินค้าที่วิ่งด้วยความเร็ว 80-120 กม./ชม. ร่วมใช้เส้นทางด้วย





สามารถพัฒนาสถานนีร่วมกันได้ และ สร้างสะพานข้ามจุดตัด 1 จุด แต่สามารถข้ามรางรถไฟได้ถึง 4 ราง คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม และจากรูปจะเห็นว่า ใช้เขตทางไม่ได้เยอะมากมาย



จีนว่าจะลงทุนให้ทุกอย่าง ทั้งเงิน ทั้งระบบ ทั้งออกแบบ ฯลฯ เพียงแค่ ให้ไทยหาที่ดินให้
และด้วย ร.5 เผื่อเขตเส้นทางรถไฟไว้เยอะประมาณ (60-80 ม.) ทำให้ไทยแทบจะไม่ต้องดำเนินเวนคืนที่ดิน หรือสำรวจเขตทางใหม่ ซึ่งลดขั้นตอนการสร้างลงได้เยอะมากๆๆๆ (ขั้นตอนการเวณคืน หรือสำรวจเส้นทางใหม่ ใช้เวลานานมาก)

ข้อมูลทางด้านเทคนิคเบื้องต้น ด้วยงบประมาณกว่า 3 แสนล้านบาท ที่ไทยไม่ต้องออกสักบาทเดียว
คือ สร้างรางคู่ขนาด 1.435 ม. ตีคู่ไปกับรางคู่ 1.00 ม. ของรฟท. อาจจะใช้สถานีร่วมกัน จุดตัดรางรถไฟกับถนน จะสร้างสะพานให้รถข้าม (สร้างสะพาน 1 สะพาน แต่ข้ามรางรถไฟได้ 4 เส้น คุ้มยิ่งกว่าคุ้ม)

รถที่จะนำมาวิ่งบนราง 1.435 เบื้องต้นมี 2 แบบ คือ
1.รถไฟขนส่งสินค้าทางไกล คือวิ่งโดยไม่หยุดพัก ที่ความเร็ว 120-160 กม./ชม. เช่นเส้นทาง คุนหมิง-ท่าเรือสิงคโปร์ คุนหมิง-ท่าเรือแหลมฉบัง คุนหมิง-ท่าเรือปีนัง คุนหมิง-ท่าเรือปากบารา (ถ้าปากบาราได้สร้างนะ)
2.รถไฟโดยสารความเร็วสูง แต่ใช้ความเร็ว 200-250 กม./ชม.

เมื่อคำนวนความเร็ว และเวลาของ รถไฟทั้ง 2 แบบ ที่วิ่งบนราง (1.435)เดียวกัน จะพบว่า เวลามันจะพอดีกัน เนื่องจาก รถไฟขนส่งสินค้าทางไกล จะวิ่งด้วยความเร็วคงที่ โดยไม่จอดพักจนถึงท่าเรือน้ำลึก แต่รถไฟความเร็วสูง 200-250 กม./ชม. จะจอดรับขนส่งผู้โดยสารตามสถานีรายทาง

(และอาจจะจัดขบวนรถด่วนได้ ขึ้นอยู่กับการบริหารราง)



Create Date : 03 สิงหาคม 2553
Last Update : 16 สิงหาคม 2553 1:44:11 น. 0 comments
Counter : 6157 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

chuk007
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




Friends' blogs
[Add chuk007's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.