Group Blog
ธันวาคม 2554

 
 
 
 
1
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
All Blog
เสาอินทขีล - เชียงใหม่

เสาอินทขีล


ตอนเด็กๆเคยอ่านหนังสือประกอบการเรียนเรื่อง "เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก" คิดว่าคนที่อายุเกิน 30 ปลายๆเป็นต้นไปคงจะได้เคยอ่านหนังสือเล่มนี้กันมาบ้าง หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ผู้เขียนเล่าเรื่องต่างจากความทรงจำของคุณตา คุณยายโดยจบเป็นตอนๆ เนื้อหาน่าติดตามมากๆ

มีอยู่ตอนหนึ่งพูดถึงเรื่อง "เสาอินทขีล" ก็ยังงงๆว่าเสานี้หน้าตาเป็นยังไง อยู่ที่ไหน ก็เลยฝังใจมาจนถึงทุกวันนี้ พอได้มาเชียงใหม่ความทรงจำตอนๆก็เลยย้อนกลับมา เลยตามหา "เสาอินทขีล" จนเจอ



Photobucket

Photobucket



"เสาอินทขีล" ตั้งอยู่หน้าวัดวัดเจีดย์หลวงนี้เยื้องไปทางซ้าย

เสาอินทขิล หรือ เสาหลักเมือง เชื่อกันว่าเป็นหลักเมืองเชียงใหม่ เดิมอยู่ที่วัดสะดือเมือง (วัดอินทขีล หรือวัดสะดือเมือง ข้างศาลากลางหลังเก่า) ปัจจุบันเป็นที่ตั้งหอประชุมติโลกราช


"เสาอินทขีล" สร้างขึ้นเมื่อครั้งพ่อขุนเม็งรายมหาราชสร้างเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๙ ประดิษฐานอยู่ในวิหารจตุรมุขทรงไทยหลังเล็ก ๆ สร้างด้วยไม้ซุงต้นใหญ่ ฝังอยู่ใต้ดิน และก่อเสาปูนปั้นต่อขึ้นมา ตั้งอยู่กลางวิหารอินทขีลในวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร แต่เดิมมีเฉพาะเสาล้วน ๆ ต่อมามีการประดับกระจกตกแต่งให้สวยงาม ได้นำพระพุทธรูปปางรำพึงขึ้นประดิษฐานบนเสานั้นอย่างที่เห็นในปัจจุบัน


Photobucket

Photobucket



ในความเป็นจริงแล้วมิได้มีเฉพาะเสาอินทขีลที่วัดเจดีย์หลวงเชียงใหม่เท่านั้น

หากแต่ยังมีที่ประตูเมืองทั้งห้าของเมืองเชียงใหม่ รวมทั้งแจ่งเมืองทั้งสี่ด้วย
ทั้งนี้จากการศึกษาของศาสตราจารย์ ดร.อุดม รุ่งเรืองศรี พบว่าทุกประตูเมืองมีเสาอินทขีล ยกเว้นประตูท่าแพซึ่งมีการเคลื่อนย้ายไป (น่าจะเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติเชียงใหม่) ในครั้งที่มีการสร้างประตูท่าแพขึ้นใหม่ ส่วนที่แจ่งต่างๆ ที่พบแล้วมีปรากฏที่แจ่งหัวรินและแจ่งกระต๊ำ

เสาอินทขีลที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปได้แก่ เสาอินทขีลที่ตั้งอยู่วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร


มีการเขียนตำนานเล่าความเป็นมาว่าเดิมเป็นเสาหินที่อยู่บนสวรรค์ พระอินทร์สั่งให้กุมภัณฑ์สองตนนำมาตั้งไว้ในเมืองนพบุรี(เชียงใหม่) เพื่อบันดาลโชคลาภและป้องกันภัย ต่อมาผู้คนกระทำการอันเป็นการไม่ให้ความเคารพต่างๆ นานา กุมภัณฑ์ไม่พอใจจึงหามกลับเมืองสวรรค์ เมื่อชาวเมืองเดือดร้อนก็ไปขอพระอินทร์อีก คราวนี้พระอินทร์ให้ชาวเมืองก่อเองโดยให้หล่ออ่างขาง (กะทะ) ขนาดใหญ่ แล้วให้หล่อรูปคนให้มากพอ "ร้อยเอ็ดเจ็ดภาษา" หล่อรูปสัตว์นานาอาทิ ช้าง ม้า วัว ควาย เป็ด ไก่ หมู หมา แพะ แกะ กวาง ลิง รวมทั้งปลา ปู หอย กุ้ง จระเข้ มังกร ตลอดจนตะขาบ แมลงป่อง ลงใส่ในอ่างขางจากนั้นให้ขุดดินฝังอ่างขางนั้นลึกลงดินถึง ๙ ศอก แล้วก่อรูปเสาอินทขีลบนดินนั้น เพื่อไว้เป็นที่สักการบูชาแก่ชาวเมือง


Photobucket

Photobucket



เมื่อพระเจ้ากาวิละเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๑ (พ.ศ.๒๓๒๔ – ๒๓๕๘) ในราชวงศ์ทิพจักร ย้ายออกจากเวียงป่าซางซึ่งอยู่นาน 14 ปี 4 เดือน 20 วันเข้าสู่นครเชียงใหม่ เมื่อเดือน 6 ขึ้น 12ค่ำ ย้ายเข้าวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2339 เพื่อ "ส้างบ้านแปลงเมือง" นำเชียงใหม่สู่ ยุคเก็บผักใส่ช้าเก็บข้าใส่เมือง ฟื้นอำนาจเชียงใหม่จนประสบชัยใน พ.ศ.2343 จึงเรียกชื่อเมืองเชียงใหม่ว่า "เมืองรัตตนติงสาภินวปุปรี" โปรดให้ย้ายเสาอินทขีล จากวัดสะดือเมือง มาไว้ ณ วัดเจดีย์หลวง เมื่อ พ.ศ.๒๓๔๓พร้อมก่อรูปกุมภัณฑ์รูป สุเทวฤษไว้ใกล้หออินทขีล


Photobucket

Photobucket



ทุกปีในวันแรม ๑๒ ค่ำเดือน ๘ (เหนือ) หรือประมาณเดือนพฤษภาคมจะมีงานเรียกว่า เข้าอินทขิล เป็นการฉลองหลักเมือง


Photobucket


กิจกรรมในประเพณีเข้าอินทขิล
๑. พิธีบูชาเสาอินทขิล พิธีนี้กระทำโดยการจุดธูปเทียน บูชาอินทขิล กับรูปกุมภัณฑ์ และฤาษี ทั้งนี้เพื่อให้บ้านเมืองอยู่สงบสุขร่มเย็น ช่วงเวลาสำหรับ ทำพิธีบูชาเสาอินทขิล คือ ช่วงปลายเดือน ๘ ต่อต้นเดือน ๙ วิหารอินทขิล จะเปิดให้ประชาชน เข้าไปสักการบูชา ตั้งแต่เช้า ซึ่งจะต้องทำพิธี พลีกรรม เครื่องบูชาดังนี้ การบูชาอินทขิล
เครื่องบูชามี ข้าวตอกดอกไม้ และเทียน ๘ สวย พลู ๘ สวย ดอกไม้เงิน ๑ ผ้าขาว ๑ รำ
ช่อขาว ๘ ผืน มะพร้าว ๒ แคนง กล้วย ๒ หวี อ้อย ๒ เล่ม ข้าว ๔ ควัก (กระทง) แกงส้ม
แกงหวาน อย่างละ ๔ โภชนะอาหาร ๗ อย่าง ใส่ขันบูชา รวมถึงมีการบูชาต้นยางหลวง และช้าง 8 เชือกที่อยูรอบพระเจดีย์ด้วย

๒. พิธีใส่ขันดอก เป็นพิธีที่กระทำต่อ จากการจุดธูปเทียนบูชาอินทขิล ทางวัดจะเตรียมพานเรียงไว้เป็นจำนวนมากเพื่อให้ประชาชนนำดอกไม้ ที่ตนเตรียมมาไปวาง
ในพาน (ขัน) จนครบ เหมือนกับการใส่บาตรดอกไม้ เป็นการถวายดอกไม้เป็นการแสดงความเคารพบูชาแก่เสาอินทขิล กุมภัณฑ์ฤาษี และพระรัตนตรัย



พิธีสืบชะตาเมือง พิธีสืบชะตาเมือง เป็นพิธีที่กระทำหลังจากสิ้นสุดการบูชาเสาอิทขิลแล้วระยะหนึ่ง แต่ก็ยังคง อยู่ในช่วงครึ่งแรก ของเดือน ๙ เหนือ ประเพณีมีขึ้นเนื่องจาก เมืองเชียงใหม่ สร้างชื้นตามหลัก โหราศาสตร์ และ การเลือกชัยภูมิ ตลอดจน มหาทักษา เพื่อให้ได้ชัยภูมิ เวลา และฤกษ์ที่เป็นมงคลอันจะบันดาล ให้เมืองเจริญรุ่งเรือง สืบไปอย่างไรก็ตาม เมื่อวันเวลาผ่านไป ย่อมมีบางช่วง ที่ดวงเมืองเบี่ยงเบน ตามลัคนา การทำบุญสืบชะตาเมืองจะช่วยให้เคราะห์ร้ายลดลงและสถานการณ์ต่างๆ กลับดีขึ้นไป การสืบชะตาของชาวล้านนาเทียบได้กับการทำบุญวันเกิด แต่มีพิธีการค่อนข้างละเอียดถี่ถ้วนโดยมีความเชื่อว่า หากกระทำแล้วจะช่วย สืบ อายุให้ยืนยาวต่อไป พิธีสืบชะตาเมืองเชียงใหม่ จะกระทำในตัวเมือง ๑๐ แห่ง คือที่กลางเวียง อันเคยเป็นสะดือเมือง ประตูทั้ง ๕ ประตู และแจ่ง เวียง (มุมเมือง) ทั้ง ๔ แจ่ง เมื่อมีพระบรม ราชานุสรณ์ สามกษัตริย์ มาประดิษฐาน ที่หน้าศาลากลางเก่า ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๖ การทำพิธีสืบชะตา ณ กลางเวียง ก็กระทำที่บริเวณอนุสาวรีย์ สามกษัตริย์ โดยมีพระสงฆ์ ๙ รูปที่เหลืออีก ๙ แห่ง มีพระสงฆ์แห่งละ ๑๑ รูป รวมทั้งสิ้นเป็น ๑๐๘ รูป เท่ากับ จำนวน ๑๐๘ มงคลในลัทธิพราหมณ์และเท่ากับ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ รวม ๑๐๘ ประการเช่นกัน

พิธีสืบชะตาเมือง ซึ่งเริ่มทำตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๑ นั้น จะกระทำขึ้นพร้อมๆกัน
ทุกจุดในเวลา ๐๗.๐๐ นาฬิกา จะเริ่มพิธีสืบชะตาเมือง โดยเริ่มด้วย การจุดธูปเทียนบูชา
พระรัตนตรัย สมาทานเบญจศีลพระภิกษุสงฆ์ เจริญพระพุทธมนต์แล้วแสดงธรรมเทศนา
เมื่อจบแล้วจึงถวาย ภัตตาหารเพล แก่พระสงฆ์ หลังจาก เพลมีพิธีถวายไทยทาน
พระสงฆ์อนุโมทนา ผู้ประกอบพิธี กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล แก่เทพยดาอารักษ์
ตลอดจนพระ วิญญาณ พญามังราย และเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ทุกพระองค์

คำบูชาเสาอินทขิล
“อินทะขีลัง สิทธิชัยยะ อินทะขีลัง สิทธิชัยยะ อินทะขีลัง มังคะลัตถิ อินทะขีลัง โสตถิมังคะลัง”



Photobucket

Photobucket



Chubby Lawyer Tour ......... เที่ยวไป ..... ตามใจฉัน







Create Date : 13 ธันวาคม 2554
Last Update : 13 ธันวาคม 2554 11:33:53 น.
Counter : 1845 Pageviews.

4 comments
  
ตอนงานอินทขิล ใส่ขันดอก

คอนอยู่เชียงใหม่ เราไปช่วยงานทุกปีเลยค่ะ

ช่วยนับเหรียญใส่บาตรสตางค์ 108 บาตร

ช่วยขนดอกไม้ และธูปเที่ยนออกให้มีที่ว่าง
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 13 ธันวาคม 2554 เวลา:16:06:36 น.
  
เฮ่ยยยย มันต้องสวยเหมือนคนทำด้วยดิ
ใจคอคิดจะสวยคนเดียวเลยเหร๊อ

ตามมาดูเสาด้วย อิอิ เพิ่งเคยได้ยินชื่อน่ะ

โดย: Schnuggy ชนุ๊กกี้ วันที่: 13 ธันวาคม 2554 เวลา:16:52:08 น.
  



อุ๊ยหายหน้ามาเที่ยวนี่เองเหรอค่ะ
ผึ้งเอาช็อคโกแลตคาเร มาให้ทานค่ะ เที่ยวแล้วเดี๋ยวหิวค่ะ
โดย: Mitsubachi วันที่: 13 ธันวาคม 2554 เวลา:19:01:35 น.
  
โดย: Kavanich96 วันที่: 14 ธันวาคม 2554 เวลา:7:43:38 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทนายอ้วน
Location :
นนทบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 156 คน [?]