Group Blog
สิงหาคม 2555

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
15
16
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
30
 
 
All Blog
ทัวร์ทนายอ้วน ... เที่ยวไปตามใจฉัน - ย้อนรอยภาพยนต์เรื่อง"สุริโยไท" พาเที่ยว "วัดโลกโมฬี" เชียงใหม่
ความจริง วัดโลกโมฬี เป็นวัดสุดท้ายที่ได้ไปมาในทริปเชียงใหม่ล่าสุดครับ แต่เห็นว่าข้อมูลเกี่ยวกับวัดเยอะมากๆ กว่าจะรวบรวมมาได้คงต้องใช้ความอุตสาหะอย่างมากๆ กเลยหยิบเอาทำบล็อกซะก่อนที่จะขี้เกียจมากไปกว่านี้ครับ อิอิอิ

จำได้ว่า... วันที่ไปวัดโลกโมฬีกัน (ใช้คำว่า “กัน” ไม่น่าจะถูก เพราะทีแรกตั้งใจจะไปคนเดียว) เป็นเช้าวันที่จะกลับกรุงเทพฯ จะต้องไปขึ้นเครื่องกลับตอนบ่ายสาม ตื่นขึ้นมาก็กลิ้งอยู่บนเตียงตั้งแต่เช้าเนื่องจากไม่มีอะไรทำ กลิ้งไปกลิ้งมา ดูทีวีก็แล้ว อาบน้ำก็แล้วก็ยังไม่หายเบื่อก็เลยปิ๊งไอเดียว่าพลาดไปเที่ยววัดโลกโมฬีมาตั้งหลายวันแล้ว เช้านี้ไม่มีอะไรทำไปเดินเที่ยววัดดีกว่า ก็เลยแต่งเนื้อหยิบกล้อง ทีแรกคุณผู้ชายบอกไม่อยากไป ... ขี้เกียจ ... แต่ไปๆมาๆ พอจะออกจากห้องก็ร้องตามไปด้วยซะงั้น ..... แหมๆๆ

วิธีการเดินทางก็ง่ายแสนง่าย เดินมาขึ้นรถแดงหน้าโรงแรม บอกว่าจะไป วัดโลกโมฬี เดี๋ยวเดียวก็ขับมาจอดหน้าวัดแล้ว ทั้งๆที่วันนี้นเป็นวันทำงานเวลา 9 โมงเช้า .... ถ้าเป็นกรุงเทพฯ เมืองฟ้าอมรละก็อย่าได้หวังจะไปไหนในระยะทาง 3 กิโลเมตรในระยะเวลาสั้นๆเลย


Photobucket


วัดโลกโมฬี (มีความหมายว่าเป็นวัดสูงสุดของโลก) ตั้งอยู่บริเวณทิศเหนือของตัวเมืองเชียงใหม่ ใกล้แจ่งหัวลิน อยู่บนถนนมณีนพรัตน์ ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ติดคูเมืองด้านนอกกำแพงเมืองเชียงใหม่ ห่างจากประตูช้างเผือก (เดิมเรียกว่าประตูหัวเวียง)ประมาณ 400 เมตร ทางตะวันออกของ ตรงข้ามกับวัดมณเฑียรและวัดควรค่าม้า (ทั้ง 2 วัดนี้อยู่ด้านในคูเมือง)

วัดโลกโมฬี เป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ อายุกว่าห้าร้อยปี สร้างในสมัยอาณาจักรล้านนา เดิมเป็นวัดร้างมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มีเนื้อที่ ๔-๑-๓๗ ไร่ โบราณสถานที่ปรากฏอยู่คือ พระเจดีย์ที่มีอายุประมาณ ๔๗๐ กว่าปี ฐานพระอุโบสถซึ่งทางกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้ หลังจากได้ยกขึ้นเป็นวัดที่มีพระภิกษุจำพรรษาก็ได้มีการสร้างพระวิหารและกำแพงขึ้นใหม่ตามแบบสถาปัตยกรรมล้านนา สร้างกุฏิสงฆ์ หล่อพระพุทธรูปปฏิมาประธานประจำพระวิหาร ชื่อ “พระพุทธสันติจิรบรมโลกนาถ” และได้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้บนพระเมาลีเมื่อวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ ๒๕๔๖ และยังได้หล่อพระรูปของพระนางจิระประภา มหาเทวี องค์อุปถัมภ์วัดโลกโมฬีเมื่อครั้งเสวยราชย์ครองเมืองเชียงใหม่ไว้ให้คนรุ่นหลังได้สักการะรำลึกถึงคุณความดีของพระองค์ด้วย


Photobucket


นักโบราณคดีสัญนิษฐานว่าวัดโลกโมฬีน่าจะสร้างขึ้นในสมัยของพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์มังราย แต่ในรัชสมัยของกษัตริย์พระองค์ใดนั้นยังไม่พบหลักฐานโดยแน่ชัด แต่จากหลักฐานที่ค้นพบในบันทึกต่างและได้กล่าวถึงวัดโลกโมฬีเป็นครั้งแรกก็คือใน ตำนานวัดพระธาตุดอยสุเทพฯ (ฉบับพิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔) มีบันทึกเอาไว้ว่า


“เมื่อ พ.ศ. ๑๙๑๐ พระเจ้ากือนาธรรมิกราช กษัตริย์ล้านนารัชกาลที่ ๖ แห่งราชวงศ์เม็งรายและรัชกาลที่ ๓๑ หากนับแต่พระเจ้าลวจังกราช เป็นต้นมา พระองค์เป็นกษัตริย์ที่ทรงทศพิธราชธรรมและมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอันมาก พระองค์ทรงมีพระราชศรัทธาเลื่อมใสในพระมหาอุทุมพรบุปผมหาสวามีเจ้าเมืองมติมา (เมืองเมาะตะมะ) จึงใช้ให้ราชบุรุษไปอัญเชิญพระมหาเถระเจ้ามาสืบศาสนาในล้านนา แต่พระมหาเถระทรงชราภาพ จึงให้พระอนันทะเถระและพระเถระที่เป็นศิษย์อีก ๑๐ รูป มายังนครเชียงใหม่และจำพรรษาอยู่ที่วัดโลก ที่บ้านหัวเวียง กำแพงเมืองชั้นนอก"


ดังนั้นเราพอจะสัณนิษฐานได้ว่าวัดโลกโมฬีมีอยู่แล้วในช่วงเวลาที่พระเจ้ากือนาขึ้นครองราชสมบัติ (ประมาณปีพุทธศักราช ๑๙๑๐) และการที่พระเจ้ากือนาและการที่พระเจ้ากือนานำพระเถระที่พระองค์เคารพศรัทธาและเป็นแขกต่างเมืองไปพักจำพรรษาที่วัดโลกโมฬี วัดนั้นจะต้องเป็นวัดที่เหมาะสมใหญ่โตเป็นสัปปายะสถาน


Photobucket


ในหนังสือตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่หน้า ๘๗-๘๘ บันทึกไว้ว่า ปีพุทธศักราช ๒๐๗๐ ในสมัยของพระเมืองเกศเกล้า (บางแห่งออกเสียงเป็น พญาเกศ, พญาเมือง เกศเกล้า หรือ พระเมืองเกษเกล้า) กษัตริย์ราชวงศ์มังรายลำดับที่ ๑๒ (พระเมืองเกศเกล้าครองราช 2 ช่วง ช่วงที่ ๑ ปี พ.ศ ๒๐๖๘-๒๐๘๑ และช่วงที่ 2 พ.ศ ๒๐๘๖-๒๐๘๘) ได้ทรงมีพระราชศรัทธาได้ถวายที่ดินบ้านหัวเวียงให้แก่วัดโลกโมฬี และโปรดให้สร้างมหาเจดีย์และพระวิหาร ตามหลักฐานบันทึกไว้ว่า

“พญาเกศได้ถวายบ้านหัวเวียงให้เป็นอารามวัดโลกโมฬี ปีพุทธศักราช ๒๐๗๑ พญาเกศ เมื่อได้บูรณะฟื้นฟูวัดโลกโมฬีและได้ทำบุญฉลองถวายให้เป็นอารามวัดโลกโมฬีแล้ว ก็ได้ทรงสร้างพระเจดีย์ ขนาดองค์ใหญ่ (มหาเจดีย์) ขึ้น พร้อมกันนั้นก็ได้สร้าง พระวิหาร เพื่อใช้ประกอบพิธีบำเพ็ญศาสนกิจของพุทธศาสนิกชน พระเมืองเกศเกล้า หรือพญาเกศ ครองราชย์ครั้งที่ ๒ เป็นลำดับที่ ๑๔ พ.ศ ๒๐๘๖-๒๐๘๘ พญาเกศฯ ทรงออกผนวชมีพระสิริมังคลาจารย์เป็นพระอุปัชฌาจารย์ พระองค์ยังได้โปรดเกล้าแต่งตั้ง พระมหาสรภังค์เถระเป็นพระมหาสังฆราชนครพิงค์เชียงใหม่”

*** บางตำราบอกว่า “พระเมืองแก้ว” โปรดให้สร้างวิหารและมหาเจดีย์ในปี พ.ศ.2070 ซึ่งเมื่อพิจารณาปีที่ครองราชแล้วก็น่าจะหมายถึง “พระเมืองเกศเกล้า” นั่นเอง ***


Photobucket


จนกระทั่งปี พ.ศ. 2088 บ้านเมืองเกิดความไม่สงบภายใน พระเมืองเกษเกล้าถูกลอบปลงพระชนม์ หลังจากสวรรคตแล้ว ข้าราชการขุนนาง ได้ทำพิธีปลงศพพญาเกศที่วัดแสนพอก ในกำแพงเมืองชั้นในหลังจากได้ถวายพระเพลิงแล้วก็ได้นำพระอัฐิของพระองค์มาบรรจุไว้ ณ ทิศเหนือของวัดโลกโมฬี ซึ่งเป็นพระอารามหลวงประจำพระองค์

จากนั้นเสนาอมาตย์จึงได้ทูลเชิญพระนางจิรประภา ราชธิดาขึ้นครองราชย์ต่อจากพระบิดาเป็นกษัตริย์ ในราชวงศ์มังรายลำดับที่ ๑๕ (***บางตำราให้ความเห็นว่า พระนางจิรประภา น่าจะเป็นพระมเหสีของพญาเมืองเกศเกล้า เพราะมีบันทึกชื่อของพระนางว่า "พระนางจิรประภามหาเทวี"***)


Photobucket


และมาถึงประวัติวัดโลกโมฬีส่วนที่สำคัญมาก (ตามความคิดของผม) เพราะว่ามีส่วนเกี่ยวข้องเป็นฉากอันยิ่งใหญ่ในภาพยนต์เรื่อง “สุริโยไท” ด้วย

พระนางจิรประภามหาเทวี ขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2088 - 2089 อันเป็นช่วงที่เหล่าขุนนางเรืองอำนาจ ทำให้เมืองเชียงใหม่อ่อนแอ เป็นเหตุให้สมเด็จพระไชยราชาธิราช กษัตริย์อยุธยายกทัพมาหมายจะตีเมืองเชียงใหม่ แต่ด้วยพระปรีชาสามารถของพระนางจิรประภามหาเทวี จึงรักษาเอกราชไว้ได้ด้วยการแต่งเครื่องบรรณาการไปถวายขอเป็นมิตร พร้อมทูลเชิญพระไชยราชาธิราชเสด็จมาทำบุญที่กู่พญาเมืองเกศเกล้าที่วัดโลกโมฬี และพระไชยราชาธิราชยังพระราชทานทรัพย์สร้างกู่พญาเมืองเกศเกล้าใหม่ ด้วย 5000 เงิน กับผ้าทรง 1 ผืนให้สมพระราชเกียรติ นอกจากนั้นยังได้รับพระราชทานรางวัลให้กับเจ้านายและขุนนางที่รับเสด็จด้วย ได้มีบันทึกไว้ว่า

....ครั้งนั้นเมืองเชียงใหม่มีเหตุการณ์ไม่สงบเนื่องจากขุนนางทั้งหลายไม่สามัคคีกัน สมเด็จพระไชยราชาธิราชกษัตริย์อยุธยาได้ยกทัพขึ้นมาหมายจะตีเมือง เชียงใหม่ พระนางจิรประภาทรงทราบว่ากำลังทัพหลวงของพระไชยราชาใหญ่หลวงนักและเมือง เชียงใหม่ไม่พร้อมที่จะรับศึก เมื่อกองทัพพระไชยราชาธิราชยกทัพมาถึงนอกเมือง พระนางจึงได้แต่งเครื่องราชบรรณาการออกไปถวาย และทูลเชิญเสด็จพระไชยราชาธิราชเสด็จเข้าเมืองและได้นำเสด็จมาทำบุญที่กู่ พระเมืองเกษเกล้าที่วัดโลกโมฬี สมเด็จพระไชยราชาธิราชได้พระราชทานพระราชทรัพย์ทำบุญไว้กับกู่พระเมืองเก ษเกล้าอีก ๕,๐๐๐ เงินกับผ้าทรง ๑ ผืน ยังได้พระราชทานรางวัลให้กับเจ้านายขุนนางที่รับเสด็จ…


Photobucket


ในรัชสมัยของพระนางวิสุทธิราชเทวี กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์มังรายได้ทรงทำนุบำรุงในพระศาสนาอีกครั้ง ทรงเลื่อมใสในพระสังฆราชโลกโมฬีเจ้า จวบจนพระนางทิวงคต พ.ศ. 2121 ได้มีการถวายพระเพลิงพระนางวิสุทธิราชเทวีและบรรจุพระอัฐิไว้ในบริเวณพระอาราม หลวงวัดโลกโมฬีนี้เช่นกัน


Photobucket


หลังจากนั้นเมืองเชียงใหม่ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าตั้งแต่ปี พ.ศ. 2122 เป็นต้นมารวมระยะเวลานานกว่า 200 ปี ช่วงนั้นวัดวาอารามต่าง ๆ ถูกเผา ยกเว้นวัดโลกโมฬีเนื่องจากกษัตริย์เมืองเชียงใหม่พระนามว่า พระเจ้ามังทรานรมัยคุย (บางตำราออกพระนามว่า มังนราช่อ หรือ สาวัตถีนรถามังคะยอ หรือ พระเจ้าสาวถีนรตรามังซอศรีมังสรธาช่อ เป็นราชบุตรของพระเจ้าบุเรงนองครองราชย์ พ.ศ. 2122 - 2150) ได้ทรงเมตตาธรรมพระมหาสมเด็จวัดโลกโมฬีไว้กับวัดวิสุทธาราม ให้คนบ้านแปะและพวกยางบนดอยเป็นข้าวัดดูแลห้ามฝ่ายบ้านเมืองนำไปใช้แม้จะมีศึกสงคราม (วัดบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ปัจจุบัน) และให้ถือว่าวัดโลกโมฬีเป็นวัดสำคัญในพระราชสำนักมาโดยตลอด และวัดโลกโมฬียังเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชโลกโมฬีเจ้าอีกด้วย (พงศาวดารโยนกและตามรอยโครงมังทรารบเชียงใหม่)


จวบจนถึงสมัยของพระเจ้าสุทโธธรรมราชา พ.ศ. 2182 ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ บันทึกไว้ว่า พระเจ้าสุทโธธรรมราชาได้มีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาและถวายทานในพระบาทสมเด็จพระสังฆราชโมฬีเจ้า วัดทุกวัดเป็นราชฐาน ทำบุญเดือนยี่เป็ง บูชาพระพุทธรูป พระธาตุเจ้าและพระภิกษุ สามเณร ตามพระราชประเพณีแห่งเมืองเชียงใหม่เป็นประจำทุกปีถือเป็นประเพณีปฏิบัติที่สำคัญในช่วงเวลานั้น


Photobucket


ในปีพุทธศักราช ๒๔๔๐ สมัยของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ และสมัยของเจ้าอินทวโรรส เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ลำดับที่ ๗ และ ๘ มีบันทึกไว้ว่า “ วัดโลกโมฬี ตั้งอยู่แขวงบ้านทับม่านขึ้นกับแคว้นเจ็ดยอด เจ้าอธิการชื่อ ตุ๊พวง นิกายเชียงใหม่ ยังไม่ได้เป็นอุปัชฌาย์ รองอธิการชื่อ ตุ๊คำ มีโฉนดออกเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2482 ผืนที่ 1 มีเนื้อที่ 1 ไร่ 2 งาน 28 ตารางวา

และในปีพุทธศักราช ๒๔๕๒-๒๔๘๒ พลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าครองนครเชียงใหม่ลำดับที่ ๙ ได้ บูรณะวัดโลกโมฬี เหนือเวียงและสร้างพระพุทธรูปพร้อมทั้งธรรมมาสน์


Photobucket


กระทั่งสงครามโลกครั้งที่ 2 วัดโลกโมฬีถูกทิ้งให้ร้าง หลังจากนั้นก็ไม่ปรากฏหลักฐานใด ๆ ที่จะบอกถึงความเป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษ จนถึงปี พ.ศ. 2502 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนวัดโลกโมฬีเป็นโบราณสถานแห่งชาติ


Photobucket


ในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ พระราชพุทธิญาณ เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ ได้ทำหนังสือขอให้ยกวัดโลกโมฬี (ร้าง) เป็นวัดที่มีพระสงฆ์อยู่จำพรรษาตลอดไป ซึ่งก็ได้รับอนุมัติจากกรรมการศาสนา พร้อมแต่งตั้งให้ พระญาณสมโพธิ เป็นรักษาการเจ้าอาวาส ได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์สิ่งก่อสร้างต่างๆภายในวัดโลกโมฬี สร้างพระวิหารขึ้นใหม่แทนหลังเดิม มีพิธีหล่อพระพุทธรูป พระพุทธสันติจิรบรมโลกนาถ ขนาดหน้าตักกว้าง ๘๐ นิ้วขึ้น เพื่อเป็นองค์ประธานประจำวิหารหลังใหม่ และได้นำพระบรมสารีริกธาตุบรรจุไว้ที่พระเศียร


ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ได้มีการเททองรูปเหมือนพระนางจิริประภามหาเทวี เพื่อประดิษฐานภายในวัด พร้อมทั้งสร้างซุ้มประตูโขงและกำแพงวัด


ในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้สร้างหอที่ประทับของพระนางจิรประภามหาเทวี และในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๔๘ ได้มีการยกฉัตรมหาเจดีย์วัดโลกโมฬี


Photobucket


ก่อนที่จะเดินเข้ามาในวัด จะเห็นซุ้มประตูโขงใหญ่โตสวยงามมาก เป็นศิลปะแบบซุ้มประตูล้านนาที่สร้างขึ้นตามคติการสร้างแบบอินเดีย อยู่ตรงด้านหน้าของวิหาร ติดกับถนน มีลวดลายปูนปั้นงดงาม ซุ้มประตูโขงนี้เป็นซุ้มประตูที่ทำขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2546 พร้อมกับรูปเหมือนพระนางจิระประภามหาเทวี


Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket


เมื่อเดินผ่านซุ้มประตูโขงที่สวยงามก็จะเป็นทางเดินสั้นๆ ตรงไปยังพระวิหาร เป็นวิหารที่สร้างขึ้นใหม่ภายหลังได้มีการบูรณะและยกฐานะจากวัดร้างเป็นวัดที่มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา


Photobucket


Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket


สร้างเป็นศิลปะแบบล้านนา ลักษณะงดงาม ประณีต มีลายแกะสลักอย่างสวยงาม หน้าบันจำหลักลวดลาย ประดับกระจกสี อย่างประณีต


Photobucket

Photobucket


เชิงบันไดประตูทางเข้าประดับด้วยปูนปั้นรูปนาคปากนกแก้ว ที่มีความสวยงามแปลกตา


Photobucket


เพดานและต้นเสาภายพระวิหารก็แกะสลักลวดลายต่างๆ อย่างงดงาม พระพุทธรูป ประดิษฐานพระพุทธรูปปางขัดสมาธิราบเป็นประธาน ส่วนวิหารหลังเดิมนั้น ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่าสร้างขึ้นพร้อมกับเจดีย์ เมื่อ พ.ศ. 2071


Photobucket


พระประธานในวิหาร เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิขนาดหน้าตัก 80 นิ้ว มีนามว่า “พระพุทธสันติจิรบรมโลกนาถ” ทำพิธีหล่อเมื่อปี 2544


Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket


ด้านหลังพระวิหารมีธรรมาสน์ที่สร้างขึ้นในสมัยพลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าครองนครเชียงใหม่ลำดับที่ ๙



Photobucket


ด้านหลังพระวิหารจะเป็น Hilight ของวัดโลกโมฬีครับ นั่นก็คือเจดีย์ทรงปราสาทองค์ใหญ่ ตั้งอยู่ภายในกำแพงแก้ว


Photobucket

Photobucket

Photobucket


พระเจดีย์มีหลักฐานปรากฏอย่างชัดเจนว่าเป็นเจดีย์ที่สร้างปลาย พุทธศตวรรษที่ 21 ตำนานระบุว่าสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลพระเมืองเกศเกล้า เมื่อ พ.ศ. ๒๐๗๑


Photobucket

Photobucket

Photobucket


เป็นเจดีย์ทรงปราสาท ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมประดับบัวลูกแก้วอกไก่อย่งละ 2 ชุด ฐานปัทม์ชั้นล่างไม่มียกเก็จ ที่ฐานปัทม์ชั้นที่สองมีจำนวนยกเก็จที่เพิ่มมากขึ้น และเป็นมุมที่มีขนาดเล็กลง ส่วนกลาง ยังคงเป็นเรือนธาตุในผ้าสี่เหลี่ยมยกเก็จ ที่มีขนาดของมุมเล็กลง และจำนวนของมุมมากขึ้นเช่นเดียวกับฐานปัทม์ด้านล่าง


Photobucket

Photobucket


ทั้งสี่ด้านของเรือนธาตุมีซุ้มจระนำ มีรูปแบบของซุ้มลดได้ กรอบซุ้มจระนำมีการผสมผสานกันทั้งกรอบแบบคดโค้ง และกรอบแบบวงโค้ง ตลอดจนแนวของลูกแก้ว อกไก่ที่ประดับเสารับซุ้มจระนำ ก็มีขนาดเด่นขึ้น กลายเป็นรูปงอนคล้ายบัวคว่ำที่เรียกกันว่า ปากแล


Photobucket

Photobucket

Photobucket


ส่วนยอดเหนือเรือนธาตุ มีการทำให้สูงโดยเพิ่มจำนวนของชั้นลดรูปฐานปัทม์ลูกแก้ว อกไก่ ยกเก็จซ้อนกันสามฐาน รับทรงระฆังและบัลลังก์สิบสองเหลี่ยม ปล้องไฉนและปลี ซึ่งองค์ระฆังและบัลลังค์นั้น เป็นลักษณะร่วมของเจดีย์ทรงระฆัง


Photobucket

Photobucket


ติดกับพระเจดีย์ทรงปราสาทก็คือกุฏิสงฆ์วัดโลกโมฬี มีลักษณะต่างจากกุฏิทั่วไป เืนื่องจากเป็นประติมากรรมที่มีลักษณะงดงาม แบบล้านนา ด้านหน้ากุฏิมีรูปปั้นพระเมืองเกษเกล้า ประดิษฐานอยู่บนซุ้มประตู


Photobucket

Photobucket


มณฑปพระนางจิรประภามหาเทวี ซึ่งอยู่หน้าวัดติดทางรถเข้า ภายในประดิษฐานพระรูปของพระนางจิระประภา มหาเทวี ซึ่งพระองค์ได้ทรงอุปถัมภ์วัดโลกโมฬีครั้งเสวยราชย์ครองเมืองเชียงใหม่ไว้ให้คนรุ่นหลังได้ สักการะรำลึกถึงคุณความดีของพระองค์
ส่วนงานประจำปีที่สำคัญคือ วันที่ ๑ เดือนมกราคม จะมีการทำบุญวันขึ้นปีใหม่และในเดือนเมษายน ทำบุญปี๋ใหม่เมืองเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน งานเทศน์มหาชาติ


Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket

Photobucket


จากประเพณีการไหว้พระ ๙ วัดปัจจุบันถือเอาวัดโลกโมฬีเป็นหนึ่งใน ๙ วัด ด้วยเหตุผลต่อไปนี้


๑. ชื่อวัดเป็นนามมงคล “อยู่เย็นเป็นสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า”

๒. ตามตำนานล้านนา ทุกปีเกิดของทุกคนจะมีพระธาตุประจำวันเกิดแต่หากไม่ สามารถไปไหว้พระธาตุประจำปีเกิดของตนได้คนโบราณถือว่าก็จะมาไหว้ที่วัดโลกโมฬีเจ้าเพราะถือว่าเป็นตัวแทนของพระธาตุทั้งโลก

๓. ตามโบราณกาลถือว่าการได้กราบไหว้พระธาตุโลกโมฬีเจ้าเท่ากับได้สื่อถึงโลกทั้งสาม

๔. ตามโบราณกาลถือว่าการได้มากราบไหว้พระพุทธรูปวัดโลกโมฬีเท่ากับว่าได้กราบไหว้พระทั้งโลกตามนามมงคลโลกโมฬี

๕. จาก ตำแหน่งการสร้างวัดซึ่งอยู่ทางด้านทิศเหนือของคูเมืองเชียงใหม่จึงถือว่า เป็นหัวเมือง (เมาลี, โมฬี) หรือหัวของโลกอันสื่อถึงพลัง และอำนาจตามทิศของสนามแม่เหล็กโลก

๖. จากตำแหน่งของวัดโลกโมฬีตรงกับพระราชวังซึ่งเป็นเรือนจำหญิงในปัจจุบันเป็นวัดที่ก่อนบรรทมมักจะไหว้พระมาทางวัดโลกโมฬี

๗. วัด โลกโมฬีเป็นวัดที่กษัตริย์ได้ทรงสร้างขึ้นและได้ร้างไปเพราะภัยสงครามและ ได้มีการฟื้นฟูมาโดยบริวารของพระมหากษัตริย์ พระมเหสีที่ได้เคยมาสร้างไว้แต่ชาติปางก่อน

๘. วัดโลกโมฬีเป็นวัดที่พระนางจิระประภามหาเทวีเจ้าทรงพาพระไชยราชาธิราชมา สักการะคราวที่เสด็จยกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่แต่ไม่มีการสู้รบและเสียเลือด เนื้อวัดนี้จึงเป็นวัดที่เป็นสัญลักษณ์ของการสมานฉันท์ระหว่างกรุงศรีอยุธยากับนครพิงค์เชียงใหม่

๙. วัดโลกโมฬีเป็นวัดร้างที่ได้ถูกบูรณะฟื้นฟูมาให้เป็นวัดที่สวยสดงดงามผู้ที่มาทำบุญจึงถือคติว่า “ชีวิตจะไม่ร้างมีแต่เจริญในสิ่งที่ปรารถนาทั้งปวง”




ขอขอบคุณท่านผู้มีอุปการะคุณที่ทำให้การเที่ยววัดโลกโมฬีของเราสนุกขึ้น



เวบไซต์วัดโลกโมฬี



วัดโลกโมฬี ตำนานสุริโยทัย – โดยคุณ oishi-1


วัดโลกโมฬี - วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


วัดโลกโมฬี – ลานนาทอล์คของดีดอทคอม



ComingThailand.com - วัดโลกโมฬี เจดีย์ปราสาทเก่า



คุ้มดวงประทีบ ครอบครัวสุ่มสุข (Soomsuk Family) – เปิดตำนานวัดโลกโมฬี



ทนายอ้วนทัวร์ ............. เที่ยวไป ........ ตามใจฉัน








Create Date : 31 สิงหาคม 2555
Last Update : 31 สิงหาคม 2555 14:50:38 น.
Counter : 6576 Pageviews.

1 comments
  
โดย: Kavanich96 วันที่: 1 กันยายน 2555 เวลา:7:55:50 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทนายอ้วน
Location :
นนทบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 156 คน [?]