Group Blog
พฤษภาคม 2562

 
 
 
1
2
3
4
6
7
9
10
11
12
14
15
16
17
18
19
21
22
23
24
25
26
28
29
30
31
 
 
All Blog
ทนายอ้วนพาเที่ยวเชียงใหม่ - ดี๋ใจยิ่งแล้ว .. แขกแก้วมาเยือนอีกเตื้อ - วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม)
สถานที่ท่องเที่ยว : วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม), เชียงใหม่ Thailand
พิกัด GPS : 18° 46' 58.39" N 98° 57' 4.93" E





สถานที่ท่องเที่ยวในเชียงใหม่ที่ได้ไปเที่ยวมาในทริปเชียงใหม่คราวล่าสุดยังเป็นสถานที่สำคัญทางศาสนาครับ  นอกจากจะมีความเก่าแก่นับย้อนไปถึงสมัยที่สร้างเมืองเชียงใหม่แล้วยังเป็นสถานที่ปฎิบัติธรรมที่มีชื่อเสียงโดยการบูรณะปฎิสังขรณ์ของพระภิกษุสายปฏิบัติที่มีชื่อสียงที่เป็นที่รู้จักอีกด้วยนะครับ  นอกเหนือไปจากนั่นวัดนี้ยังมีความพิเศษด้วยศาสนสถานที่มีหนึ่งเดียวไม่เหมือนใคร  ...  จะเป็นอะไรนั้นโปรดติดตามครับ




วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) 


 
 
วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) ตั้งอยู่ที่ ถนนสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ อยู่ทางทิศตะวันตกของเมืองเชียงใหม่ และตั้งอยู่บริเวณเชิงดอยสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรืออยู่ในซอยหลังมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 
 
ประวัติความเป็นมาของวัดอุโมงค์ นับย้อนหลังไปตั้งแต่การสร้างเมืองเชียงใหม่ ประมาณปี พ.ศ. 1839 พระยามังรายทรงสร้างอาณาจักรล้านนาร่วมกับพระสหาย คือ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์ปกครองสุโขทัย และพระเจ้างำเมือง กษัตริย์ปกครองพะเยา มาสร้างเมืองเวียงเหล็ก (บริเวณวัดเชียงมั่นในปัจจุบัน) และตั้งชื่อเมืองว่า “นพบุรีศรีนครพิงค์”

 
หลังจากสร้างราชธานีเรียบร้อยแล้ว พระเจ้ามังรายมหาราชได้ทรงสร้างวัดสำคัญฝ่ายคามวาสี (วัดสำหรับภิกษุที่ชอบอยู่ในเมือง เพื่อเรียนพุทธวจนะ) ประจำเมืองทั้ง 4 ทิศพร้อมทั้งวัดภายในพระราชวัง   และทรงสร้างวัดฝ่ายอรัญวาสี (วัดสำหรับภิกษุที่เรียนพุทธวัจนะแล้ว ออกไปหาความสงบในป่า บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน) บริเวณชานพระนครขึ้นหลายวัด
 
พระเจ้ามังรายมหาราชได้ทราบข่าวว่าพ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ส่งคนนิมนต์พระสงฆ์จากลังกามาพักอยู่ในเมืองนครศรีธรรมราช เพื่อที่พระสงฆ์ได้เผยแพร่พระพุทธศาสนาในสุโขทัย  จึงส่งคนไปนิมนต์พระสงฆ์ลังกาจากพ่อขุนรามคำแหงมหาราชจำนวน  5 รูป โดยมีพระกัสสปะเถระเป็นหัวหน้าคณะสงฆ์นี้ 
 
พระเจ้ามังรายมหาราชไม่แน่พระทัยว่าจะให้พระสงฆ์จากลังกาจำนวน  5  รูปนี้พักอยู่ที่วัดใดดีเพราะวัตรปฎิบัติของสงฆ์จากลังกาอาจจะต่างจากสงฆ์ในล้านนาจึงทรงสร้างวัดเวฬุกัฏฐาราม ปัจจุบัน คือ วัดอุโมงค์  (ตามตำนานกล่าวว่าบริเวณที่สร้างวัดมีไผ่  11  กอ  จึงพระราชทานชื่อวัดว่า “เวฬุกัฏฐาราม”)   โดยมีพระกัสสปะเถระหัวหน้าคณะสงฆ์เป็นผู้วางแบบแผนนการสร้างวัดให้เหมือนกับวัดในลังกา  เมื่อสร้างเสร็จจึงอาราธนาพระมหากัสสปะเถระจำพรรษาที่วัดแห่งนี้
 
ต่อมาเมื่อพระเจ้ามังรายสวรรคต ศาสนาพุทธขาดการทำนุบำรุง เพราะมัวแต่ทำศึกสงครามกันเองในเชื้อพระวงศ์ในการแย่งชิงราชสมบัติ  วัดอุโมงค์ได้ร้างลง  จนถึงสมัยพระเจ้ากือนาธรรมาธิราช (ประมาณ พ.ศ. 1910) มีการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดเวฬุกัฏฐารามเป็นการใหญ่เพื่ออาราธนาพระมหาเถระจันทร์ซึ่งเป็นพระเถระที่พระเจ้ากือนาธรรมาธิราชทรงเลื่อมใสมาจำพรรษาทีวัดแห่งนี้ และตั้งชื่อวัดนี้ว่า “วัดอุโมงค์เถรจันทร์” ตามชื่อของพระมหาเถระจันทร์ มีการซ่อมแซมเจดีย์โดยการพอกปูนทับเจดีย์เก่าที่สร้างในสมัยพระเจ้ามังรายมหาราช  และสร้างอุโมงค์ใหญ่ถัดจากฐานพระเจดีย์ด้านเหนือขึ้นหนึ่งอุโมงค์
 
 
ราชวงศ์มังรายล่มสลาย ราวๆปี พ.ศ. 2106 เปลี่ยนเป็นพม่าปกครองล้านนา ทำให้วัดอุโมงค์ขาดการทำนุบำรุง ปล่อยให้ร้างปรักหักพังเรื่อยๆ ต่อมา เจ้าชื่น สิโรรส ได้จัดการแผ้วถางบูรณะวัดนี้ และสร้างกุฏิหลังใหม่เพิ่ม จากนั้นจึงนินต์พระภิกษุปัญญานันทะจากสวนโมกข์ อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี มาจำพรรษา ได้ทำการปฎิสังขรณ์วัดอุโมงค์และบริเวณรอบๆ  (ตามตำนานว่ากันว่าประกอบด้วยวัดร้านจำนวนหลายวัด)  ให้กลายเป็นสวนพุทธธรรมเพื่อเป็นที่ศึกษาปฏิบัติสำหรับพระภิกษุและประชาชนทั่วไปก่อนที่ท่านจะมาจำพรรษาอยู่วัดชลประทานรังสฤษฎ์  นนทบุรีและมรณภาพลง




 




 
อุโมงค์ที่วัดอุโมงค์ทั้งใหญ่และสวยงามมากมีทางเข้าออก 4 ช่อง แต่ละช่องเดินติดต่อกันได้ทั่วถึงข้างฝาผนังด้านในอุโมงค์เจาะช่องสำหรับจุดประทีปให้เกิดความสว่างเป็นระยะ สะดวกแก่พระเดินจงกรม และภาวนาอยู่ข้างใน อุโมงค์สร้างโดยการก่ออิฐถือปูน แยกไปแต่ละช่อง โดยเริ่มก่ออิฐเรียงสลับกันจากผนังอุโมงค์ขึ้นมาทั้งสองด้านจนได้ความสูงระดับที่เป็นเพดานก่ออิฐให้โค้งเข้าหากัน โดยใช้ด้านสันของอิฐที่มีทรงสี่เหลี่ยมคางหมูหันด้านสันเข้าหากัน จึงเป็นซุ้มโค้งครึ่งวงกลม จำเป็นต้องก่ออิฐผนังหนามากเพื่อรองรับโครงสร้างของอุโมงค์ ส่วนเหนือสุดก็มีการก่ออิฐเหลื่อมเรียงสลับกันปิดอยู่ด้านบนอีกชั้นหนึ่ง และพบว่าพื้นที่ระหว่างอุโมงค์แต่ละช่องนั้นล้วนเป็นดินลูกรังสีน้ำตาลอมส้มจนถึงระดับพื้นดินทั้งสิ้น ไม่ปนเศษอิฐ ปูน หรือเศษเครื่องเคลือบดินเผาเลย และชั้นดินลูกรังนี้ปิดมิดคลุมเพดานทุกอุโมงค์ด้วย และชั้นบนสุดจะมีอิฐปูทับอีกหลายชั้น ดังนั้น ภายในอุโมงค์ล้วนเป็นดินลูกรังและปิดทับด้วยอิฐภายนอกทั้งสิ้น และไม่มีห้องลับใดๆซ่อนอยู่ในระหว่างอุโมงค์ตามที่สงสัยกันแต่แรกแต่อย่างใด และบ่งชี้ได้ว่าเป็นอุโมงค์ที่ไม่ได้เกิดจากธรรมชาติ แต่เกิดจากการก่อสร้างของมนุษย์ขึ้นมาอย่างจงใจแล้วฉาบปูนปิดทับโครงสร้างอิฐอีกชั้นหนึ่ง แต่ปัจจุบันชั้นปูนฉาบนี้ได้หลุดกะเทาะเกือบหมดสิ้นแล้ว ส่วนบริเวณด้านนอกเกือบทั้งหมดนั้นไม่ปรากฏชั้นของปูนฉาบแล้ว เหลือเพียงอิฐก่อผนังและอิฐก่อโครงสร้างอุโมงค์เท่านั้น
 
เพดานอุโมงค์มีร่องรอยของจิตรกรรมฝาผนังเขียนด้วยสีน้ำมันไว้ตลอดทั้ง 2 ช่อง ฝีมือที่เขียนดูจะเป็นช่างจีนผสมช่างไทย







จิตรกรรมผาผนังภายในอุโมงค์ของวัดอุโมงค์ตามสภาพปัจจุบันนั้น อยู่ในสภาพที่ชำรุดลบเลือนมาก จนหลายคนเข้าใจว่าคงไม่มีภาพจิตรกรรมหลงเหลือแล้ว แต่จากการสำรวจของโครงการย้อนรอยอดีตจิตรกรรมวัดอุโมงค์ กลับพบหลักฐานของจิตรกรรมฝาผนังมากกว่าที่คาดคิด เป็นเหตุให้กรมศิลปากรช่วยเหลือโดยจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน เพื่อมาทำการสำรวจ และอนุรักษ์จิตรกรรมแห่งนี้เมื่อปลายปี พ.ศ. 2542-กลางปี พ.ศ. 2543
 
จิตรกรรมฝาผนังวัดอุโมงค์ในส่วนที่เหลือหลักฐานให้ชมในปัจจุบันอยู่บริเวณเพดานโค้งภายในอุโมงค์ ตัวอุโมงค์ตั้งอยู่บริเวณต่อเนื่องกับเจดีย์ทางทิศเหนือ โดยหันทางเข้าหลักไปยังทิศตะวันออกจำนวน 3 อุโมงค์ในด้านหน้า ซึ่งอุโมงค์กลาง (อุโมงค์ที่ 4) มีขนาดใหญ่ที่สุด ซึ่งสามารถเห็นได้ เพียง 3 อุโมงค์เท่านั้น คือ อุโมงค์ที่ 1, 2, และ 3 นอกเหนือจากนี้ไม่สามารถเห็นได้
 
อีกทั้งภาพหลักฐานจิตรกรรมฝาผนังในอุโมงค์มีสภาพลบเลือนไปมาก จำเป็นต้องใช้เทคนิคคัดลอกจิตรกรรมด้วยมือและคอมพิวเตอร์ควบคู่กัน โดยการคัดลอกลายเส้น และการคัดลอกเป็นภาพสี จึงทำให้ยังสามารถเห็นภาพจิตรกรรมฝาผนังอันเก่าแก่ของศิลปะล้านนาซึ่งมีอายุกว่า 500 ปีได้ชัดเจนมากขึ้นกว่าเดิม
 
จากการศึกษาภาพจิตรกรรมฝาผนังในอุโมงค์พบว่า งานจิตรกรรมนี้มีสีที่ใช้มากอยู่ 2 สี คือสีแดงสด (แดงชาด) และลีเขียวสด สองสีนี้เป็นสีตรงข้าม จึงสามารถสันนิษฐานได้ว่า ช่างล้านนาสมัยนั้นรู้จักแนวคิดทฤษฎีสีและองค์ประกอบทางศิลปะก่อนที่ศิลปะจากตะวันตกจะแพร่หลายเข้ามาในประเทศไทยภายหลังอีกหลายร้อยปีต่อมา










  
เมื่อเดินขึ้นบันไดนาคเก่าแก่ซึ่งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของทางเข้าอุโมงค์จะพบกับเจดีย์ใหญ่ตั้งอยู่ในบริเวณที่ต่อเนื่องกับอุโมงค์ทางทิศเหนือ  เป็นเจดีย์ทรงระฆังระยะแรกของศิลปะล้านนาที่สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 19 ปรับปรุงมาจากเจดีย์ทรงระฆังแบบหนึ่งในศิลปะพุกาม ครั้นล่วงมาถึงช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 20 ต่อเนื่องกับต้นพุทธศตวรรษถัดมา เจดีย์ทรงนี้คลี่คลายไปโดยมีรูปทรงที่สูงโปร่ง และในช่วงเวลาของพุทธศตวรรษที่ 21 รูปแบบของเจดีย์ทรงระฆังจึงมีการคลี่คลายปรับเปลี่ยนค่อนข้างรวดเร็ว เพราะได้รับอิทธิพลจากเจดีย์ในศิลปะสุโขทัย อีกทั้งเป็นเจดีย์องค์สำคัญยุคต้นๆของพัฒนาการเจดีย์ทรงระฆังในศิลปะล้านนา งานก่อสร้างเริ่มขึ้นในรัชกาลของพระเจ้ามังรายคงสร้างเป็นเจดีย์ทรงระฆัง ต่อมาได้รับการบูรณะในรัชกาลของพระเมืองแก้ว มีการปั้นปูนประดับลวดลายที่ส่วนฐานใต้ทรงระฆังมีการปรับเปลี่ยนที่ทรงกรวยซึ่งเป็นส่วนบนของเจดีย์ โดยประดับรูปกลีบบัวทรงยาวประกอบกันเป็นบัวคว่ำและบัวหงาย (ปัทมบาท) ตามแบบอย่างของเจดีย์มอญพม่า ส่วนองค์เจดีย์ในปัจจุบัน ยังเหลือแบบแผนที่น่าจะเป็นเค้าเดิม คือระเบียบของฐานในผังกลม 3 ฐานซ้อนลดหลั่น เป็นชุดฐานรองรับทรงระฆังใหญ่ ต่อขึ้นไปคือบัลลังก์สี่เหลี่ยม ส่วนยอดที่ทรงกรวยประกอบด้วยส่วนสำคัญที่ทางภาคกลางเรียกว่า ปล้องไฉน และปลี ที่ท้องไม้ของบานกลมแต่ละฐานประดับด้วยแถวช่องสี่เหลี่ยมไว้โดยรอบงานประดับเช่นนี้รวมทั้งขนาดที่ใหญ่ของทรงระฆัง เกี่ยวข้องกับแบบแผนของเจดีย์แบบหนึ่งของพุกาม สร้างเมื่อราวกลางพุทธศตวรรษที่18 เช่นเจดีย์ในบริเวณวัดถิทสวดี (Thitsavadi Temple) ในหมู่บ้านปวาสอ (Pwasaw) ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมือง













อีกช่องทางหนึ่งในการติดตาม “ทนายอ้วนพาเที่ยว” นะครับ




Chubby Lawyer Tour - ทนายอ้วนพาเที่ยว


https://www.facebook.com/ChubbyLawyerTour/






Chubby Lawyer Tour ………….. เที่ยวไป............. ตามใจฉัน
 



 
136135134



Create Date : 27 พฤษภาคม 2562
Last Update : 27 พฤษภาคม 2562 19:55:39 น.
Counter : 1585 Pageviews.

7 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณโอน่าจอมซ่าส์, คุณtuk-tuk@korat, คุณอุ้มสี, คุณSweet_pills, คุณKavanich96, คุณแมวเซาผู้น่าสงสาร, คุณเนินน้ำ, คุณkae+aoe, คุณสองแผ่นดิน

  
ตามมาเที่ยวและไห้วสักการะองค์พระด้วยคนค่ะ ยังไม่เคยไปเลยจ้า
โดย: โอน่าจอมซ่าส์ วันที่: 27 พฤษภาคม 2562 เวลา:20:11:19 น.
  
ตามมาเที่ยวค่ะ
โดย: tuk-tuk@korat วันที่: 27 พฤษภาคม 2562 เวลา:20:16:44 น.
  
บันทึกการโหวต Blog ในวันนี้

ผู้เขียน Blog หมวดเนื้อหา Blog ได้รับโหวต
กะว่าก๋า Book Blog ดู Blog
mcayenne94 Home & Garden Blog ดู Blog
ฟ้าใสวันใหม่ Home & Garden Blog ดู Blog
วลีลักษณา Literature Blog ดู Blog
หอมกร Movie Blog ดู Blog
Sweet_pills Food Blog ดู Blog
สายหมอกและก้อนเมฆ Travel Blog ดู Blog
kae+aoe Parenting Blog ดู Blog
ภาวิดา คนบ้านป่า Literature Blog ดู Blog
ทนายอ้วน Travel Blog ดู Blog

ผ่านวัดนี้หลายรอบมากแต่ไม่เคยเข้า
อิอิอิ สงสัยพี่อุ้มบุญไม่ถึง
ไปแต่พระธาตุดอยสุเทพ
และวัดพระสิงห์กับวัดดอยคำ
โดย: อุ้มสี วันที่: 27 พฤษภาคม 2562 เวลา:22:31:53 น.
  
กราบพระค่ะคุณบอล
วัดอุโมงค์ต๋าได้ไปบ้างแต่ยังไม่ทราบรายละเอียดประวัติความเป็นมา
ขอบคุณคุณบอลมากนะคะ
รูปสวยมากค่ะ

.................

ผักพริกขิงสามชั้นกับไข่เค็มแค่ชื่อก็น่าอร่อยแล้ว
อยากทำให้ที่บ้านด้วยค่ะ
ขอบคุณคุณบอลสำหร้บกำลังใจนะคะ

โดย: Sweet_pills วันที่: 28 พฤษภาคม 2562 เวลา:0:07:29 น.
  
ขอบคุณที่แบ่งปัน
โดย: Kavanich96 วันที่: 28 พฤษภาคม 2562 เวลา:0:53:34 น.
  
อุโมงค์ดูจากภายนอกก็ยังสวยงามดีอยู่นะคะ
ถือเป็นวัดเก่าแก่อีกแห่ง มีภาพจิตรกรรมฝาผนังอันเก่าแก่ของศิลปะล้านนาอายุกว่า 500 ปีด้วย
โดย: เนินน้ำ วันที่: 28 พฤษภาคม 2562 เวลา:12:19:16 น.
  
มาเที่ยว ไหว้พระด้วยครับ คุณบอล
โดย: สองแผ่นดิน วันที่: 28 พฤษภาคม 2562 เวลา:23:40:20 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ทนายอ้วน
Location :
นนทบุรี  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 156 คน [?]