ขอมีส่วนช่วยเด็กพิเศษ
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2551
 
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
24 พฤศจิกายน 2551
 
All Blogs
 
รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือ

รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือ


(Instructional  Models  of  Cooperative  Learning)


                ก.    ทฤษฎี/หลักการ/แนวคิดของรูปแบบ


                        รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือพัฒนาขึ้นโดยอาศัยหลักการเรียนรูปแบบร่วมมือของจอห์นสัน และจอห์นสัน  ( Johnson & Johnson, 1974 : 213 - 240 )  ซึ่งได้ชี้ให้เห็นว่าผู้เรียนควรร่วมมือกันในการเรียนรู้มากกว่าการแข่งขันกันเพราะการแข่งขันก่อให้เกิดสภาพการณ์ของ        การแพ้-ชนะ  ต่างจากการร่วมมือกัน  ซึ่งก่อให้เกิดสภาพการณ์ของการชนะ-ชนะ  อันเป็นสภาพการณ์ที่ดีกว่าทั้งทางด้านจิตใจและสติปัญญาหลักการเรียนรู้แบบร่วมมือ 5 ประการ  ประกอบด้วย


                        (1)      การเรียนรู้ต้องอาศัยหลักการพึ่งพากัน  (positive  interdependence) โดยถือว่าทุกคน              มีความสำคัญเท่าเทียมกันและจะต้องพึ่งพากันเพื่อความสำเร็จร่วมกัน


                        (2)      การเรียนรู้ที่ดีต้องอาศัยการหันหน้าเข้าหากัน  มีปฏิสัมพันธ์กัน (face to face interaction)  เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  ข้อมูล  และการเรียนรู้ต่าง ๆ


                        (3)      การเรียนรู้ร่วมกันต้องอาศัยทักษะทางสังคม (social skills) โดยเฉพาะทักษะในการทำงานร่วมกัน


                        (4)      การเรียนรู้ร่วมกันควรมีการวิเคราะห์กระบวนการกลุ่ม  (group processing) ที่ใช้ใน            การทำงาน


                        (5)      การเรียนรู้ร่วมกันจะต้องมีผลงานหรือผลสัมฤทธิ์ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่มที่สามารถตรวจสอบและวัดประเมินได้ (individual  accountability) หากผู้เรียนมีโอกาสได้เรียนรู้แบบร่วมมือกัน 


                นอกจากจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ทางด้านเนื้อหาสาระต่าง ๆ ได้กว้างขึ้นและลึกซึ้งขึ้นแล้ว            ยังสามารถช่วยพัฒนาผู้เรียนทางด้านสังคมและอารมณ์มากขึ้นด้วย  รวมทั้งมีโอกาสได้ฝึกฝนพัฒนาทักษะกระบวนการต่าง ๆ  ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตอีกมาก


                ข.    วัตถุประสงค์ของรูปแบบ


                        รูปแบบนี้มุ่งช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาสาระต่าง ๆ  ด้วยตนเองและด้วยความร่วมมือและความช่วยเหลือจากเพื่อน ๆ  รวมทั้งได้พัฒนาทักษะทางสังคมต่าง ๆ  เช่น  ทักษะการสื่อสาร  ทักษะ           การทำงานร่วมกับผู้อื่น  ทักษะการสร้างความสัมพันธ์  รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้  ทักษะการคิด  การแก้ปัญหาและอื่น ๆ


                ค.    กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ


                      รูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้แบบร่วมมือมีหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีวิธีการดำเนินการหลัก ๆ  ซึ่งได้แก่  การจัดกลุ่ม  การศึกษาเนื้อหาสาระ  การทดสอบ การคิดคะแนน และระบบการให้รางวัล แตกต่างกันออกไปเพื่อสนองวัตถุประสงค์เฉพาะ แต่ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด  ต่างก็ใช้หลักการเดียวกันคือหลักการเรียนรู้แบบร่วมมือ 5 ประการและมีวัตถุประสงค์มุ่งตรงไป           ในทิศทางเดียวกันคือเพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในเรื่องที่ศึกษาอย่างมากที่สุดโดยอาศัย                    การร่วมมือกัน  ช่วยเหลือกันและแลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างกลุ่มผู้เรียนด้วยกัน  ความแตกต่างของรูปแบบแต่ละรูป จะอยู่ที่เทคนิคในการศึกษาเนื้อหาสาระและวิธีการเสริมแรงและการให้รางวัล                 เป็นประการสำคัญ


                                รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือ   ดังนี้


1.       กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบจิ๊กซอร์  ( Jigsaw )


                        1.1     จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ ( เก่ง-กลาง-อ่อน )  กลุ่มละ 4 คนและเรียกกลุ่มนี้ว่า  กลุ่มบ้านของเรา (home group) 


                        1.2     สมาชิกในกลุ่มบ้านของเราได้รับมอบหมายให้ศึกษาเนื้อหาสาระคนละ 1 ส่วน              (เปรียบเสมือนได้ชิ้นส่วนของภาพตัดต่อคนละ 1 ชิ้น) และหาคำตอบในประเด็นปัญหาที่ผู้สอนมอบหมายให้


                        1.3     สมาชิกในกลุ่มบ้านของเรา  แยกย้ายไปรวมกับสมาชิกกลุ่มอื่นซึ่งได้รับเนื้อหาเดียวกัน  ตั้งเป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (expert group)  ขึ้นมา  และร่วมกันทำความเข้าใจในเนื้อหาสาระนั้นอย่างละเอียด  และร่วมกันอภิปรายหาคำตอบประเด็นที่ผู้สอนมอบหมายให้


                        1.4    สมาชิกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ  กลับไปสู่กลุ่มบ้านของเรา  แต่ละกลุ่มช่วยสอนเพื่อนในกลุ่ม ให้เข้าใจสาระที่ตนได้ศึกษาร่วมกับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเช่นนี้  สมาชิกทุกคนก็จะได้เรียนรู้ภาพรวมของสาระทั้งหมด


                        1.5    ผู้เรียนทุกคนทำแบบทดสอบ  แต่ละคนจะได้คะแนนเป็นรายบุคคล  และนำคะแนนของทุกคนในกลุ่มบ้านของเรามารวมกัน  (หรือหาค่าเฉลี่ย ) เป็นคะแนนกลุ่ม  กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุดได้รับรางวัล


2.       กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ จี.ไอ. ( G.I. )


                      “ G.I. ”   คือ  “ Group  Investigation ”  รูปแบบนี้เป็นรูปแบบที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนช่วยกันไปสืบค้นข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้ร่วมกัน  โดยดำเนินการเป็นขั้นตอน  ดังนี้


            จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ ( เก่ง-กลาง-อ่อน ) กลุ่มละ 4 คน


            กลุ่มย่อยศึกษาเนื้อหาสาระร่วมกัน  โดย


ก.       แบ่งเนื้อหาออกเป็นหัวข้อย่อย ๆ  แล้วแบ่งกันไปศึกษาหาข้อมูลหรือคำตอบ


ข.       ในการเลือกเนื้อหา  ควรให้ผู้เรียนอ่อนเป็นผู้เลือกก่อน


                        2.3      สมาชิกแต่ละคนไปศึกษาหาข้อมูล /คำตอบมาให้กลุ่ม  กลุ่มอภิปรายร่วมกัน  และสรุปผลการศึกษา


                        2.4      กลุ่มเสนอผลงานของกลุ่มต่อชั้นเรียน


3.       กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ แอล. ที. ( L.T. )


                       “ L.T. ”  คือ  “Learning  Together”  ซึ่งมีกระบวนการที่ง่ายไม่ซับซ้อน  ดังนี้


            จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ ( เก่ง - กลาง - อ่อน )  กลุ่มละ 4 คน


            กลุ่มย่อยกลุ่มละ 4 คน  ศึกษาเนื้อหาร่วมกันโดยกำหนดให้แต่ละคนมีบทบาทหน้าที่ช่วยกลุ่มในการเรียนรู้  ตัวอย่างเช่น


                                    สมาชิกคนที่ 1  :   อ่านคำสั่ง


                                    สมาชิกคนที่ 2  :   หาคำตอบ


                                    สมาชิกคนที่ 3  :   หาคำตอบ


                                    สมาชิกคนที่ 4  :   ตรวจคำตอบ


            กลุ่มสรุปคำตอบร่วมกัน  และส่งคำตอบนั้นเป็นผลงานกลุ่ม


            ผลงานกลุ่มได้คะแนนเท่าไร  สมาชิกทุกคนในกลุ่มนั้นจะได้คะแนนนั้นเท่ากันทุกคน


4.       กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ เอส.ที.เอ.ดี. (  STAD)


 “ STAD ”  คือ  “Student Teams Achievement Division”  กระบวนการดำเนินการมีดังนี้


   จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ ( เก่ง - กลาง - อ่อน ) กลุ่มละ 4 คนและเรียกกลุ่มนี้ว่ากลุ่มบ้านของเรา  (Home Group)


                        4.2      สมาชิกในกลุ่มบ้านของเรา  ได้รับเนื้อหาสาระและศึกษาเนื้อหาสาระนั้นร่วมกัน   เนื้อหาสาระนั้นอาจะมีหลายตอนซึ่งผู้เรียนอาจต้องทำแบบทดสอบในแต่ละตอนและเก็บคะแนนของตนไว้


                        4.3      ผู้เรียนทุกคนทำแบบทดสอบครั้งสุดท้าย  ซึ่งเป็นการทดสอบรวบยอดและนำคะแนนของตนไปหาคะแนนพัฒนาการ  (Improvement Score)  ซึ่งหาได้ดังนี้


                                    คะแนนพื้นฐาน : ได้จากค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบย่อยหลาย ๆ ครั้งที่ผู้เรียน               แต่ละคนทำได้


                                    คะแนนพัฒนาการ  :   ถ้าคะแนนที่ได้คือ


                                    - 11  ขึ้นไป    คะแนนพัฒนาการ  = 0


                                    - 1  ถึง -10     คะแนนพัฒนาการ  = 10


                                    +1  ถึง +10     คะแนนพัฒนาการ  = 20


                                    +11 ขึ้นไป     คะแนนพัฒนาการ  = 30


                        4.4      สมาชิกในกลุ่มบ้านของเรานำคะแนนพัฒนาการของแต่ละคนในกลุ่มมารวมกัน              เป็นคะแนนของกลุ่ม  กลุ่มใดได้คะแนนพัฒนาการของกลุ่มสูงสุด กลุ่มนั้นได้รางวัล


5.       กระบวนการเรียนการสอนของรูปแบบ  ที.เอ.ไอ.  (  TAI )


“TAI”  คือ  “Team-Assisted Individualization”  ซึ่งมีกระบวนการ  ดังนี้


                        จัดผู้เรียนเข้ากลุ่มคละความสามารถ ( เก่ง - กลาง - อ่อน ) กลุ่มละ 4 คน และเรียกกลุ่มนี้ว่า                            


กลุ่มบ้านของเรา  (Home  Group)


            สมาชิกในกลุ่มบ้านของเรา  ได้รับเนื้อหาสาระและศึกษาเนื้อหาสาระร่วมกัน


            สมาชิกในกลุ่มบ้านของเรา  จับคู่กันทำแบบฝึกหัด


ก.    ถ้าใครทำแบบฝึกหัดได้ 75%  ขึ้นไปให้ไปรับการทดสอบรวบยอดครั้งสุดท้ายได้


ข.    ถ้าใครทำแบบฝึกหัดได้ไม่ถึง 75% ให้ทำแบบฝึกหัดซ่อมจนกระทั่งทำได้แล้ว


จึงได้รับการทดสอบรวบยอดครั้งสุดท้าย


                        5.4      สมาชิกในกลุ่มบ้านของเราแต่ละคน นำคะแนนทดสอบรวบยอดมารวมกัน               เป็นคะแนนกลุ่ม  กลุ่มใดได้คะแนนกลุ่มสูงสุด  กลุ่มนั้นได้รับรางวัล


                        ที่มา  :   ทิศนา  แขมมณี . (2548).  ศาสตร์การสอน. พิมพ์ครั้งที่ 4.  กรุงเทพมหานคร :


                                      จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.






Free TextEditor


Create Date : 24 พฤศจิกายน 2551
Last Update : 24 พฤศจิกายน 2551 18:55:31 น. 45 comments
Counter : 4970 Pageviews.

 
เจ๋งค่ะ


โดย: <br><br><a href=http://www.pantip.com/cafe/richtext/ target=_blank>Free TextEditor</a> IP: 202.129.29.99 วันที่: 6 ตุลาคม 2553 เวลา:22:28:46 น.  

 

ขอบคุณสำหรับวิชาการดีดี สามารถนำไปปรับใช้กับเด็กได้ทุกระดับ เยี่ยมมากค่ะ


โดย: สุริยาพร รัชนิพนธ์ IP: 223.205.79.194 วันที่: 16 ตุลาคม 2553 เวลา:19:36:12 น.  

 
เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ดีสามารถนำจัดประสบการณ์ได้


โดย: นางการุณ หวังชม IP: 113.53.122.92 วันที่: 25 ตุลาคม 2553 เวลา:9:54:58 น.  

 
ได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้วครับ ดีมาก


โดย: บุญเหลือ กิ่มเกิด IP: 118.172.157.218 วันที่: 25 ตุลาคม 2553 เวลา:13:18:47 น.  

 
รูปแบบการสอนแบบร่วมมือเป็นอีกรูปแบบการสอนหนึ่งที่ประสบความสำเร็จในการสอนเด็กระดับปฐมวัยเพราะเป็นการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ


โดย: ฑัณฑิกา คำเงิน IP: 223.207.135.6 วันที่: 26 ตุลาคม 2553 เวลา:7:31:49 น.  

 

เป็นรูปแบบการสอนที่ดีทำให้เด็กมีความสัมพันธ์ในหมู่คณะและทำให้ครูได้เห็ความแตกต่างระหว่างเด็กด้วย


โดย: รุ่งรัตน์ กุดแถลง IP: 223.206.222.154 วันที่: 27 ตุลาคม 2553 เวลา:7:34:55 น.  

 



การทำงวานรวมกล่มกันฝึกเด็กให้รับผิดชอบในหน้าที่ที่ต้องทำร่วมกันให้ประสบผลสำเร็จขอบคุณค่ะ


โดย: ชูศรี สุทธะมี IP: 117.47.78.17 วันที่: 30 ตุลาคม 2553 เวลา:10:25:40 น.  

 
เป็นรูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการกลุ่มฝึกให้เด็กได้อยู่ร่วมกับเพื่อน ทำงานร่วมกันและเป็นการส่งสริมพัฒนาการด้านสังคมของเด็กด้วย


โดย: กฤตติการ มงคลวิสุทธิ์ จังหวัดน่าน IP: 118.172.126.62 วันที่: 30 ตุลาคม 2553 เวลา:11:34:25 น.  

 
เป็นรูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันทำให้เด็กมีปฎิสัมพันธ์กันดีมาก ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมของเด็กด้วย


โดย: วิยะดา พลรักษ์ IP: 125.26.128.127 วันที่: 30 ตุลาคม 2553 เวลา:22:31:03 น.  

 
เป็นรูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันทำให้เด็กมีปฎิสัมพันธ์กันดีมาก ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมของเด็กด้วย


โดย: วิยะดา พลรักษ์ IP: 125.26.128.127 วันที่: 30 ตุลาคม 2553 เวลา:22:31:42 น.  

 
เป็นรูปแบบที่ดีมาก เพราะเด็กเรียนรุ้ได้ดีโดยผ่านกระบวนการกลุ่ม ตลอดจนส่งเสริมพัฒนาการได้ครบทุกด้าน


โดย: สุวารี ไกรบำรุง IP: 182.93.186.67 วันที่: 31 ตุลาคม 2553 เวลา:12:34:45 น.  

 
เป็นรูปแบบการสอนที่ทำให้เด็กได้ทำงานเป็นกลุ่มเด็กได้รับพัฒนาการทุกด้าน


โดย: ว่าที่ร.ต.หญิงสาธิกา ธนะสีลังกูร IP: 118.173.216.52 วันที่: 1 พฤศจิกายน 2553 เวลา:11:01:02 น.  

 
เป็นรูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการกลุ่ม ช่วยส่งสริมพัฒนาการด้านสังคมของเด็กด้วย คะ


โดย: นางละเมาะ สมศรีแสง IP: 61.19.66.185 วันที่: 1 พฤศจิกายน 2553 เวลา:21:40:46 น.  

 
ได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้วเป็นการการเรียนการสอนแบบกลุ่มจะทำให้พัฒนาเด็ได้หลายด้านพร้อมกัน


โดย: นางทองจันทร์ ภาพสิงห์ IP: 223.206.86.216 วันที่: 3 พฤศจิกายน 2553 เวลา:0:08:34 น.  

 



การได้เข้ามาศึกษาในรอบที่2นี้ ได้เรียนร้เพิ่มเกี่ยวกับการสอนหลายรูปแบบ การสอนแต่ละรูปแบบเด็กต้องมีส่วนร่วมเด็กจะมีประสบการณ์หลายรูปแบบนำมาปฎิบัติจริงในการสอนขอขอบคูณค่ะ


โดย: ชูศรี สุทธะมี IP: 117.47.186.32 วันที่: 3 พฤศจิกายน 2553 เวลา:6:09:44 น.  

 
เป็นบทเรียนที่ดี จะนำไปใช้ในการเรียนการสอนในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนต่อไป


โดย: ครูวร IP: 110.49.193.104 วันที่: 4 พฤศจิกายน 2553 เวลา:0:32:03 น.  

 
ได้ศึกษารูปแบบการสอนและการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ พบว่าเป็นกระบวนการสอนที่เน้นการทำงานร่วมกัน
มีหลายรูปแบบ ผู้สอนควรทำความเข้าใจกระบวนการจัดกิจกรรมแต่ละรูปแบบให้เข้าใจ แล้ววิเคราะห์ว่ามีความสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพความต้องการของเด็กหรือไม่ อย่างไร จึงนำไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนอย่างแท้จริง


โดย: นางมาณวิกา บุญรินทร์ IP: 180.180.56.218 วันที่: 4 พฤศจิกายน 2553 เวลา:4:16:13 น.  

 


ศึกษาแล้วเข้าใจ ถ้าไม่มีทฤษฏีคงไม่มีใครเชื่อ


โดย: นางวิญญาณ์ เถาว์ชาลี IP: 125.26.232.83 วันที่: 5 พฤศจิกายน 2553 เวลา:0:16:27 น.  

 
ทำให้เด็กรู้หน้าที่การทำงานร่วมกับผู้อื่น


โดย: อำไพ กองเพชร IP: 182.93.226.61 วันที่: 5 พฤศจิกายน 2553 เวลา:9:56:18 น.  

 
ได้ศึกษารูปแบบการสอนและการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือพบว่าเป็นกระบวนการสอนที่เน้นการทำงานร่วมกัน
มีหลายรูปแบบ ผู้สอนควรทำความเข้าใจกระบวนการจัดกิจกรรมแต่ละรูปแบบให้เข้าใจ แล้ววิเคราะห์ว่ามีความสอดคล้องเหมาะสมกับสภาพความต้องการของเด็ก และจะนำไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนต่อไป


โดย: เพ็ญศิริ ภุชฌงค์ IP: 115.67.111.184 วันที่: 6 พฤศจิกายน 2553 เวลา:20:48:56 น.  

 
แบบการสอนที่เน้นกระบวนการกลุ่มฝึกให้เด็กได้อยู่ร่วมกับเพื่อน ทำงานร่วมกันและเป็นการส่งสริมพัฒนาการของผู้เรียนจ้า


โดย: เพ็ญศิริ ภุชฌงค์ IP: 115.67.111.184 วันที่: 6 พฤศจิกายน 2553 เวลา:21:46:57 น.  

 
ขอขอบคุณเพราะได้รับความรู้เกี่ยวกับรูแบบการสอนแบบต่างๆที่เป็นประโยชน์และจะนำไปปรับใช้ค่ะ


โดย: ภารดี เดชะรัฐ IP: 58.9.148.218 วันที่: 7 พฤศจิกายน 2553 เวลา:8:05:30 น.  

 
เนื้อหาดีมาก เป็นประโยชน์ในการจัดการเรียนการสอน


โดย: พรสวรรค์ ชาติวรรณ IP: 118.172.224.63 วันที่: 8 พฤศจิกายน 2553 เวลา:6:40:32 น.  

 
ได้ศึกษาบทเรียนแล้วจะทำไปใช้กับเด็กให้เป็นประโบชนืมากที่สุด


โดย: นิตยา ขุนอำไพ IP: 118.173.206.146 วันที่: 11 พฤศจิกายน 2553 เวลา:21:56:34 น.  

 
นำปรั๙ญาการเรียนรู้ของนักจิตวิทยาไปบูรณาการในการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยไดเหมาะสมกับวัยและการพัฒนาการเด็ก


โดย: เทวี ราชาตัน IP: 118.172.23.92 วันที่: 14 พฤศจิกายน 2553 เวลา:8:18:10 น.  

 
อ่านแล้วเข้าใจดีมากเลยค่ะ


โดย: นางชัชฎา บริพันธ์ IP: 58.147.59.16 วันที่: 14 พฤศจิกายน 2553 เวลา:8:52:06 น.  

 
รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือพัฒนาขึ้นโดยอาศัยหลักการเรียนรูปแบบร่วมมือของจอห์นสัน และจอห์นสัน ( Johnson & Johnson, 1974 : 213 - 240 ) ซึ่งได้ชี้ให้เห็นว่าผู้เรียนควรร่วมมือกันในการเรียนรู้มากกว่าการแข่งขันกันเพราะการแข่งขันก่อให้เกิดสภาพการณ์ของ การแพ้-ชนะ ต่างจากการร่วมมือกัน ซึ่งก่อให้เกิดสภาพการณ์ของการชนะ-ชนะ อันเป็นสภาพการณ์ที่ดีกว่าทั้งทางด้านจิตใจและสติปัญญาหลักการเรียนรู้แบบร่วมมือ 5 ประการ
อ่านแล้วเข้าใจดีมากเลยค่ะตัวหนังสือห่างไปหน่อย


โดย: นางอำภา เวียงเกตุ IP: 223.206.227.127 วันที่: 16 พฤศจิกายน 2553 เวลา:20:46:45 น.  

 
ได้รับความรู้เกี่ยวกับรูแบบการสอนแบบต่างๆที่เป็นประโยชน์และจะนำไปปรับใช้ค่ะ


โดย: มยุรี IP: 182.93.200.58 วันที่: 17 พฤศจิกายน 2553 เวลา:14:37:16 น.  

 
ได้ศึกษาแล้วและจะนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด


โดย: นางมยุรี พรหมรักษา IP: 182.52.132.147 วันที่: 18 พฤศจิกายน 2553 เวลา:19:50:47 น.  

 
การเรียนรู้แบบร่วมมือ ทำให้ครู เด็ก มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดกิจกรรมได้มาก


โดย: เพ็ญดารา ชัยรัตน์ IP: 118.173.216.97 วันที่: 19 พฤศจิกายน 2553 เวลา:15:52:18 น.  

 
รูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือทำให้ทราบกระบวนการเรียนการสอนหลายรูปแบบสามารถนำไปปรับใช้กับเด็กได


โดย: นางประณีต สุริยงค์ IP: 118.173.211.4 วันที่: 19 พฤศจิกายน 2553 เวลา:21:17:00 น.  

 
ได้ศึกษาเรื่องรูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือ ได้รับความรู้จะนำไปเป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้
และพัฒนาเด็กให้มีคุณภาพต่อไป ขอบคุณค่ะ


โดย: นางทวี ปิติรัตน์ IP: 113.53.90.112 วันที่: 19 พฤศจิกายน 2553 เวลา:23:09:31 น.  

 
เป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่น่าสนุกมากขอบคุณอาจารย์ท่านเก่งมากค่ะ


โดย: สมจิตร วิสุทธิ์ IP: 182.93.141.214 วันที่: 20 พฤศจิกายน 2553 เวลา:16:01:22 น.  

 
เป็นการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้เด็กร่วมมือกันทำงาน ซึ่งรูปแบบการสอนแบบนี้เป็นการจักการเรียนรู้ที่ดีอีกทางหนึ่งเหมาะกับการสอนเด็กระดับปฐมวัย


โดย: วิภาภรณ์ เมืองเกิด IP: 118.175.188.174 วันที่: 22 พฤศจิกายน 2553 เวลา:20:53:12 น.  

 
ถ้าคุณครูทุกคนนำการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือไปใช้จะดีมาก


โดย: พนิดา ปัดชา IP: 223.206.19.200 วันที่: 27 พฤศจิกายน 2553 เวลา:21:20:30 น.  

 
ได้รับความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการสอนแบบต่างๆที่เป็นประโยชน์มาก และจะนำไปปรับใช้ค่ะ


โดย: สายใจ ภูสีเขียว IP: 203.172.248.20 วันที่: 29 พฤศจิกายน 2553 เวลา:17:59:30 น.  

 
ได้ศึกษารูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบการร่วมมือ ทำให้เด็กรู้หน้าที่การทำงานร่วมกับผู้อื่น



โดย: นางมุกดา มีชัย IP: 203.172.248.20 วันที่: 29 พฤศจิกายน 2553 เวลา:18:05:12 น.  

 
ได้ศึกษา การออกแบบการเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้ เป็นรูปแบบการสอนที่ทำให้เด็กได้ทำงานเป็นกลุ่มเด็กได้รับพัฒนาการทุกด้าน



โดย: นางมุกดา มีชัย IP: 203.172.248.20 วันที่: 29 พฤศจิกายน 2553 เวลา:18:11:22 น.  

 
เป็นการจัดประสบการณ์ที่ให้เด็กได้ลงมือทำเป็นกลุ่ม


โดย: นางนงนุช บุญที IP: 182.232.143.62 วันที่: 30 พฤศจิกายน 2553 เวลา:7:04:55 น.  

 
ขอบคุณค่ะ อ่านแล้วเข้าใจง่าย มีประโยชน์ สามารถเอาหลักการทฏษฏีรูปแบบการสอนไปใช้ได้เลยค่ะ


โดย: ทองษร นาสมวา IP: 125.26.140.180 วันที่: 28 มีนาคม 2554 เวลา:17:32:41 น.  

 
เป็นรูปแบบการสอนที่ให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติกิจจกรรมด้วยตนเอง ทำให้เด็กสามารถเกิดการเรียนรู้ที่หลากหลายเหมาะสมกับพัฒนาการและวัยของเด็กมากค่ะ


โดย: หทัยทิพย์ อัมหธร IP: 110.49.232.159 วันที่: 21 เมษายน 2555 เวลา:11:42:05 น.  

 
ได้ศึกษารูปแบบการเรียนการสอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือ ทั้ง 5 รูปแบบแล้ว ทำให้เข้าใจได้ดียิ่งขึ้น


โดย: รุ้งทอปัด ศรีทองมา IP: 110.49.234.111 วันที่: 18 พฤษภาคม 2555 เวลา:15:03:42 น.  

 
เป็นรูปแบบการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ที่ดี


โดย: จินตภาณัฏฐ์ อินทองช่วย IP: 113.53.209.201 วันที่: 23 พฤษภาคม 2555 เวลา:18:01:24 น.  

 
ขอบคุณมากคะ ใช้บางครั้ง คะ


โดย: ธัชกร ผิวงาม IP: 171.98.7.0 วันที่: 9 มิถุนายน 2555 เวลา:20:42:10 น.  

 
ได้นำรุปแบบไปใช้เป็นบางเรื่องเท่านั้น ซึ่งทำให้เด็กได้เรียนรู้ร่วมกันมาก ทำให้เด็กเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข


โดย: นางวิไลวรรณ ใจนวน IP: 101.51.253.160 วันที่: 19 สิงหาคม 2555 เวลา:10:18:43 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

chotirosj
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ขอมีส่วนช่วยเด็กพิเศษ
Friends' blogs
[Add chotirosj's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.