ขอมีส่วนช่วยเด็กพิเศษ
Group Blog
 
 
กันยายน 2551
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
13 กันยายน 2551
 
All Blogs
 
เนื้อหาสาระของแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล

แผนการศึกษาเฉพาะบุคคล ควรประกอบด้วยเนื้อหาสาระตลอดจนข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก ดังนี้


1.
ข้อมูลทั่วไป
เป็นข้อมูลเบื่องต้นเกี่ยวกับเด็ก เช่น ชื่อ นามสกุล อายุ วันเดือนปีเกิด ที่อยู่
ชื่อโรงเรียน อำเภอ จังหวัด เป็นต้น


2.
บริการที่เด็กจะได้รับ
หมายถึง
บริการในทางการศึกษาและบริการที่เกี่ยวข้องบริการทาง การศึกษาเป็นโครงการพิเศษที่ทางโรงเรียนจัดให้ คือ ระบุว่าเด็กจะได้รับการบรรจุ เข้าศึกษาในโครงการใดโครงการหนึ่ง ต่อไปนี้


2.1
โครงการสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน


2.2
โครงการสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา


2.3โครงการสำหรับเด็กปัญญาอ่อน


2.4โครงการสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย


2.5
โครงการสำหรับเด็กที่มีปัญหาในการเรียนรู้


2.6โครงการสำหรับเด็กที่มีปัญหาทางอารมณ์


2.7
โครงการสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษอื่น ๆ ที่ทางโรงเรียนเปิดบริการ


บริการที่เกี่ยวข้อง หมายถึง บริการที่ทางโรงเรียนจัดควบคู่ไปกับบริการทางการศึกษาพิเศษ ดังนี้ การแก้ไขการพูด การบำบัดทางกายภาพ อาชีวบำบัด ดนตรีบำบัด พฤติกรรมบำบัด บริการอ่านหนังสือให้เด็กตาบอดฟัง บริการล่ามสำหรับเด็กหูหนวก บริการรับส่งนักเรียน บริการแนะแนว และให้คำปรึกษา อื่น ๆ


3. การเรียนร่วมในชั้นปกติ หากเป็นไปได้ควรให้เด็กมีโอกาสเรียนร่วมในชั้นปกติให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดังนั้นในแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล จะต้องละบุว่าจะให้เด็กเรียนร่วมในลักษณะใด เรียนร่วมเต็มเวลา หรือเรียนร่วมบางเวลา การเรียนร่วมคิดเป็นเวลาร้อยละเท่าใดของเวลาทั้งหมด และจะให้เรียนร่วมในวิชาใดบางเรียนร่วมคิดเป็นเวลาร้อยละเท่าใดของเวลาทั้งหมดและจะให้เรียนร่วมในวิชาใดบ้าง วิชาทักษะ(
เลข ภาษาไทย)
พลศึกษา ศิลปะ การงานพื้นฐานอาชีพ ดนตรี ลูกเสือ เนตรนารี และวิชาอื่น ๆที่ทางโรงเรียนเปิดสอน


4. ระดับความสามารถของเด็ก ในแผนการศึกาเฉพาะบุลคล จะต้องระบุระดับความสามารถของเด็ก มักจะพบจากผลการทดสอบในด้านต่างๆ
ด้านที่สำคัญที่ควรระบุมีดังนี้


4.1
พื้นความรู้ด้านวิชาทักษะ เช่น การอ่าน คณิตสาสตร์


4.2 การพูดและภาษา


4.3 วุฒิภาวะทางสังคม


4.4 การใช้ประสาทสัมผัสในการรับรู้


4.5 การเคลื่อนไหว รวมไปถึงการเดิน การวิ่ง การยิบจับสิ่งของ


4.6 การชช่วยตนเอง


4.7 วุฒิภาวะทางอารมณ์


4.8 การเตรียมอาชีพ


การที่ครูผู้สอนทราบความสามารถของเด็ก จะช่วยในครูจัดเนื้อหาตลอดจนหลักสูตรที่จะใช้สอนเด็กได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการและความสามารถของเด็กจึงจะทำให้เด็กเรียนรู้ได้มากที่สุด


5 .
จุดมุ่งหมายระยะยาว
โดยปกติกำหนดไว้ไม่เกิน 1 ปี ในระยะเวลาของการเรียน 1 ปี ครูต้องการให้เด็กมีทักษะและความสามารถเพิ่มขึ้นเท่าใดควรกำหนดไว เช่น เด็กสามารถแต่งตัวเองได้ เด็กสามารถทำเลขในหนังสือแบบเรียนเลขคณิตสาสตร์ชั้น 2 ได้


การกำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวจะต้องสอดคล้องกับระดับความสามารถของเด็ก จุดมุ่งหมายไม่ควรกำหนดสูงเกินไป หรือไม่ควรต่ำเกินไปจุดมุ่งหมายระยะยาวจะต้องมีการทบทวนอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง


6. จุดมุ่งหมายระยะสั้น เป็นจุดมุ่งหมายใน 1 ภาคเรียน การกำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวกำหนดว่า เด็ก(ปัญญาอ่อน) สามารถแต่งตัวได้ โดยไม่ต้องมีคนอื่นช่วยเหลือนั้น
เด็กจะสามารถทำอะไรไดบ้าง เช่น เด็กสามารถหยิบเสื้อ สวมเสื้อเองได้ กลัดกระดุมได้ถูกต้อง
สวมกางเกงได้ และสามารถสวมรองเท้าได้ เป็นต้น


7. เกณฑ์การวัดผล ควรมีการวัดอย่างนี้ปีละครั้ง โดยทั่วไปแล้วจะมีการวัดผลปีละ 1 ครั้ง หรือมากกว่านั้น จุดมุ่งหมายสำคัญของการประเมินผลคือ เพื่อสำรวจว่าเด้กเรียนรู้ตามวัดถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ การวัดผลอาจใช้แบบทดสอบมาตรฐานก็ได้หากแบบทดสอบนั้นเหมาะที่จะนำมาใช้กับเด็ก แต่การวัดผลส่วนมากใช้แบบทดสอบที่ครูสร้างขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญเกี่ยวกับการวัดผลที่จะต้องกำหนดไว้ในแผนการศึกษาเฉพาะบุคลคล คือ
เกณฑ์ในการตัดสินซึ่งจะต้องกำหนดไว้ควบคู่กันไปกับการวัดผล เช่น



การวัดผล เกณฑ์


1. แบบทดสอบที่ครุสร้างขึ้น 1.
นักเรียนตอบข้อทดสอบได้ 9
0%


2.ขอสังเกตของเด็ก 2.วันละ 5
นาทีเป็ยเวลา 5 วัน


3.การนับของครู 3.นักรียนกระโดดได้
10 ครั้ง


4.การนับของครู 4.
นักเรียนออกเสียงครบกล้ำ ร ได้ถูก 9 ครั้งใน 10 ครั้ง


5.ครูตั้งคำถาม 5.นักเรียนตอบได้ 100 %



การวัดผลจะช่วยให้ครูทราบความก้าวหน้าของเด็กในด้านการ้เรียนรู้ ผลการประเมินจะช่วยให้ครูปรับปรุงแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล
หรือช่วยในการกำหนดแผนใหม่ได้อย่างเหมาะสม


8.ระยะเวลา
ระยะเวลาหมายถึง ช่วงเวลาที่ครูนำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลไปใช้
ดังนั้นแผนการศึกษาเฉาพะบุคคลต้องกำหนดวันเริ่มต้นและวันสั่นสุด
ซึ่งอาจกำหนดเป็นรายปี หรือกำหนดในหนึ่งภาคเรียนก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม


9.การลงรายมือกำกับ
แผนการศึกษาเฉพาะบุคคลควรระบุผู้รับผิดชอบซึ่งอาจเป็นครูผู้สอน
หรือเป็นขณะกรรมการที่ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครูแนะแนว ครูผู้สอน ผู้ปกครอง


เป็นต้น


10.ข้อมูลอื่นๆ
ข้อมูลอื่นๆหมายถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเด็ก
ซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ใช้แผนการศึกษาเฉพาะบุคคล
หากบรรจุข้อมูลที่เกี่ยวข้องไว้ข้อมูลที่อาจจำเป็นที่ควรได้รับการบรรจุไว้ในแผนการศึกษานี้ได้แก่
ประหวัดการเจ็บป่วย รายชื่อแบบทดสอบที่ใช้ในการวินิฉัยเด็กการปรับพฤติกรรม โครงการสอนรายสัปดาห์ หรือรายเดือนเป็นต้น
ข้อมูลดังกล่าวจะบรรจุหรือไม่บรรจุไว้ในแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลก็ได้
ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทางดรงเรียน ส่วนข้อมูล 1-9
นั้นจำเป็นต้องได้รับการบรรจุไว้ในแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล






Free TextEditor


Create Date : 13 กันยายน 2551
Last Update : 13 กันยายน 2551 20:56:44 น. 1 comments
Counter : 2326 Pageviews.

 
ขอบคุณมากสำหรับความรู้เรื่องแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล จะนำไปปรับปรุงใช้ในโรงเรียนค่ะ


โดย: เพ็ญศิริ ภุชฌงค์ IP: 111.84.129.39 วันที่: 7 พฤศจิกายน 2553 เวลา:5:52:16 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

chotirosj
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




ขอมีส่วนช่วยเด็กพิเศษ
Friends' blogs
[Add chotirosj's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.