สิทธิของภรรยาไทยในการรับบำนาญของสามีชาวอังกฤษ








เมื่อยายเก๋าไปอ่านเจอเรื่อง "คลีนิคกฏหมาย" คอลัมภ์ประชาชื่น จากหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ก็คิดถึงเพื่อนพ้อง น้องๆ หลานๆ ที่มีสามีเป็นฝรั่ง เผื่อว่าสักวันเกิดมีปัญหาด้านกฎหมาย แล้วไม่รู้จะไปพึ่งใคร จะได้รู้ว่าที่ไหน ใครบ้างจะช่วยเราได้ จดไว้เลยนะค๊ะเว็บไซต์ //www.humanrights.ago.go.th




คำถามคำตอบเกี่ยวกับกฎหมาย ตอน:-

สิทธิของภรรยาไทยในการรับบำนาญของสามีชาวอังกฤษ



ดิฉันแต่งงานและจดทะเบียนสมรสกับชาวอังกฤษอย่างถูกต้องตามกฎหมายที่ประเทศไทย แต่ก่อนหน้านี้เขาเคยมีภรรยาชาวไอร์แลนด์และลูก 3 คน แต่หลังจากที่เขาหย่าขาดจากกันภรรยาและบุตรได้ย้ายไปอยู่ที่ไอร์แลนด์กับลูกๆ ส่วนเขาก็ดูแลส่งเสียเลี้ยงดูบุตรโดยตลอด เวลาผ่านมาหลายปีแล้ว แต่ตอนนี้เขาไม่ได้ส่งเสียอุปการะแล้ว แต่ดิฉันก็ไม่เข้าใจว่า หลังจากที่เขาเกษียณแล้วเขาจะได้รับบำนาญ และถ้าเขาเสียชีวิตดิฉันก็อาจจะได้รับบำนาญนั้นต่อจากเขา สิ่งที่ดิฉันอยากเรียนถามคือ ลูก ๆ ทั้ง 3 คนของเขายังมีสิทธิที่จะได้รับในประโยชน์ในส่วนนั้นด้วยไหม เพราะตอนนี้พวกเขาโตแล้ว และก็มีพ่อไหม่แล้ว ฟังดูอาจจะไร้สาระสักหน่อยนะค่ะแต่อยากทราบ จะได้ปฏิบัติตัวถูกและเป็นธรรมกับลูก ๆ เขา

« ถาม 28 มกราคม 2552 »





ตามที่คุณแจ้งว่าคุณจดทะเบียนสมรสกับสามีชาวอังกฤษและสามีคุณเคยมีภรรยาและลูก 3 คน คุณทราบว่าหลังจากที่สามีคุณเกษียณแล้วเขาจะได้รับบำนาญ ซึ่งถ้าสามีคุณเสียชีวิตคุณอาจจะได้รับบำนาญนั้นต่อ คุณจึงต้องการทราบว่าลูกของสามีกับภรรยาเก่าจะมีสิทธิในเงินบำนาญนั้นหรือไม่



สำนักงานอัยการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาชนระหว่างประเทศ (สฝคป.) ขอเรียนว่า ตามที่ สฝคป. ได้ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับกฎหมายของประเทศอังกฤษทางเว็บไซต์ ได้ความในเบื้องต้นว่า ตามหลักแล้วการที่สามีชาวอังกฤษคุณจะได้รับเงินบำนาญ จะต้องดูว่าเป็นบำนาญชนิดไหนและเงื่อนไขการขอรับบำนาญเป็นอย่างไร ซึ่งโดยเบื้องต้นแล้วจะต้องดูว่าบำนาญที่สามีคุณได้รับเป็นบำนาญของรัฐ (state pension), บำนาญของที่ทำงาน (occupational), หรือบำนาญส่วนตัว (personal pension)


เนื่องจากเงื่อนไขในการจ่ายบำนาญแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน ซึ่งกรณีนี้ สฝคป.จะกล่าวถึงบำนาญของรัฐ(state pension) ว่าโดยหลักแล้วบำนาญของรัฐจะจ่ายให้เฉพาะตัวเมื่อบุคคลนั้นมีอายุครบตามที่กำหนด ถ้าเป็นผู้ชายจะได้รับเมื่ออายุครบ 65 ปี ผู้หญิงจะได้รับเมื่ออายุครบ 60 ปี ถ้าผู้มีสิทธิรับบำนาญเสียชีวิตบุคคลอื่นก็ไม่สามารถรับบำนาญแทนได้ ดังนั้น ถ้าเป็นกรณีบำนาญของรัฐคุณก็ไม่อาจรับบำนาญดังกล่าวต่อจากสามีคุณได้ ส่วนลูกๆ ของภรรยาเก่าก็ไม่อาจรับบำนาญของรัฐได้เช่นกันตามหลักดังกล่าว







แต่อย่างไรก็ตาม ที่คุณกล่าวมาว่าคุณอาจได้รับบำนาญต่อจากสามี กรณีนั้นก็อาจเป็นไปได้ถ้าสามีคุณได้รับบำนาญของที่ทำงาน (occupational) หรือบำนาญส่วนตัว (personal pension) แต่ก็ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่สามีคุณได้ทำไว้ในการรับบำนาญดังกล่าวด้วยว่าสามีคุณได้เคยระบุไว้หรือไม่ว่าจะให้ภรรยารับบำนาญต่อถ้าเกิดสามีคุณเสียชีวิต

« ตอบ#1 28 มกราคม 2552 »






ขอบคุณเรื่อง จากสำนักงานอียการพิเศษฝ่ายคุ้มครองสิทธิประชาขนระหว่างประเทศ
ขอบคุณกรอบจากคุณ ดอกหญ้าเมืองเลย










Create Date : 23 กุมภาพันธ์ 2552
Last Update : 23 กุมภาพันธ์ 2552 13:00:00 น. 1 comments
Counter : 6791 Pageviews.

 
แว๊บบบบ

มาแอบดูเจ้าค่า


โดย: Ab Psy ReinDEAR++ วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:22:11:10 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

ชมพร
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 162 คน [?]




https://www.codetukyang.com/html/testcode.htm





หลังเกษียณเรามีเวลาว่าง
'Internet' แม้จะเป็นเรื่อง
ใหม่ แต่ก็เหมาะกับเรา
"Bloggangเปิดโอกาสให้
เราบันทึกได้อิสระดังใจคุณ"
เมื่อเข้ามาแล้วก็เพลิดเพลิน
มีเพื่อนที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน
แวะเวียนมาทักทาย บ้างก็
ผ่านมา แล้วก็ผ่านไป บ้าง
ก็คงอยู่ ทักทายช่วยเหลือกัน
เราอยากให้ผู้สูงวัยที่มีเวลาว่าง
สมัครเข้ามาเป็นสมาชิกBloggang
กันมากๆจะได้มีเพื่อนๆ เป็นสังคม
Online ที่ไม่จำกัด เพศและวัย




Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2552
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
 
23 กุมภาพันธ์ 2552
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add ชมพร's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friends


 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.