ชีวิตคือความไม่แน่นอนแต่ในความไม่แน่นอนของชีวิตเรากลับพบความสวยงามของชีวิต
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2552
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
 
21 กุมภาพันธ์ 2552
 
All Blogs
 
พระราชบัญญัติว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสินค้าและบริการที่ผลิต (Product Liability Law)

หลังจากที่มีการพิจารณาและโต้เถียงกันในสภามาเป็นเวลาหลายปี สุดท้ายพระราชบัญญัติว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสินค้าและบริการที่ผลิตก็มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการในเมืองไทยเสียที

ประเทศที่พัฒนาแล้วเขาตระหนักถึงคุณภาพชีวิตของผู้คน และหน้าที่ของผู้ผลิตซึ่งมีหน้าที่ที่ต้องผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ หลีกเลี่ยงการผลิตสินค้าที่มีปัญหาอันจะนำไปสู่ความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้บริโภค ผู้ผลิตสินค้าชนิดนั้นไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคได้ถ้าสินค้าที่ผลิตขึ้นมีผลเสียหายต่อผู้บริโภค เขาจึงมีการตรากฎหมายว่าด้วยความรับผิดชอบต่อสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้น (Product Liability Law)

ตอนที่เรียนหนังสือในญี่ปุ่นได้เห็นตัวอย่างของ Product Liability Law ที่มีผลบังคับใช้ในญี่ปุ่นแล้ว ทำให้บรรดาผู้ผลิตสินค้าตื่นตัวและแสดงความรับผิดชอบต่อสินค้าที่ผลิตขึ้นเมื่อสินค้าที่ผลิตทำให้ผู้ใช้เกิดความเสียหาย บาดเจ็บ หรือถึงแก่ชีวิต ผู้ผลิตให้ความสำคัญกับการผลิต พยายามควบคุมคุณภาพในการผลิต และเมื่อเกิดความเสียหายเกิดขึ้น ผู้ผลิตแสดงความรับผิดชอบทันที

กรณีผู้ผลิตรถบรรทุกมิตซูบิชิฟูโซ่รู้ว่าเพลาและคลัชท์ที่ผลิตขึ้นมีปัญหาแต่ก็ไม่รีบเรียกสินค้าคืนส่งผลทำให้เกิดอุบัติเหตุมีผู้เสียชีวิตเมื่อ ๔-๕ ปีก่อนทำให้บริษัทเสื่อมเสียชื่อเสียง และขาดทุนมหาศาล กรณีฮีทเตอร์ของบริษัทมัตสุชิตะอิเล็กทริคเป็นต้นเหตุทำให้เกิดไฟไหม้ ผู้ผลิตทำการเรียกสินค้าคืนจากผู้บริโภคทันที หรือกรณีบริษัทซันโยที่ผลิตแบตเตอรี่สำหรับคอมพิวเตอร์แล้วเกิดปัญหาไฟฟ้าลัดวงจร...เขาก็แสดงความรับผิดชอบด้วยการประกาศเรียกคืนสินค้า กรณียางของบริดจสโตนมีปัญหาทำให้รถกระบะของฟอร์ดเกิดอุบัติเหตุแก่ผู้ขับขี่ ผู้บริหารของบริดจสโตนบินไปฟังการประชุมกับตัวแทนของฟอร์ดและชี้แจงข้อเท็จจริงผลของการทดสอบยาง รวมทั้งเรียกสินค้ายางรุ่นที่มีปัญหาออกจากตลาดด้วยความสมัครใจทันที

กรณีสินค้ามีปัญหาอย่างเดียวกันถ้าเกิดในไทย....แม้ว่าผู้ผลิตสินค้าจะมาจากประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งมี Produt Liability Law บังคับใช้แล้ว แต่ว่าในไทยที่ยังไม่มีกฎหมายตัวนี้บังคับใช้ ผู้ผลิตหลายรายขาดความกระตือรือล้นที่จะควบคุมคุณภาพสินค้าเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาสินค้าทีผลิตออกมาสร้างความเสียหายต่อผู้บริโภค หรือเมื่อผลิตสินค้าออกมาแล้วพบว่ามีปัญหาก็ขาดความกระตือรือล้นที่จะแสดงความรับผิดชอบต่อสินค้าที่ตนเองผลิตขึ้นเนื่องจากยังไม่มีกฎหมายบังคับใช้และลงโทษผู้ผลิต

แต่ณ.ตอนนี้ที่กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้แล้วในประเทศไทย ผู้ผลิตทุกรายในประเทศไทยหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบต่อสินค้าและบริการที่ผลิตขึ้นมาไม่ได้แล้ว การที่จะอ้างว่าไม่รู้กฎหมายไม่สามารถใช้เป็นข้ออ้างได้อีกต่อไป

ในฐานะผู้บริโภค การที่มีกฎหมายฉบับนี้ออกมามีผลบังคับใช้ทำให้เราได้รับสิทธิ์คุ้มครองถ้าสินค้าหรือบริการที่เราใช้เกิดปัญหาและสร้างความเสียหายขึ้นแก่ชีวิตและทรัพย์สิน ในฐานะผู้ผลิตมีหน้าที่ต้องควบคุมคุณภาพในการผลิตและการให้บริการอย่างดีที่สุดและหลีกเลี่ยงการผลิตและการให้บริการที่นำมาซึ่งปัญหาต่อผู้บริโภค

กฎหมายตัวนี้ในแง่ผู้ผลิต....ผู้ผลิตหลายรายหวาดกลัวมาก เพราะว่ามีความเสี่ยงจากการถูกฟ้องร้องได้ง่ายถ้าสินค้าที่ผลิตขึ้นหรือบริการที่ให้แก่ผู้บริโภคเกิดปัญหาขึ้นมา ถ้าเพียงผู้ผลิตประมาทเลินล่อ ไม่ใส่ใจในการผลิต หรือการให้บริการ ซึ่งความประมาทเลินเล่อเพียงนิดเดียว อันนำมาซึ่งความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้บริโภค ผู้ผลิตไม่สามารถหลีกเลี่ยงความรับผิดได้

กฎหมายตัวนี้มีคนพยายามให้ครอบคลุมถึงการให้บริการทางการแพทย์ด้วย แต่ทางแพทยสภาพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้กฎหมายตัวนี้ครอบคลุมถึงการให้บริการทางการแพทย์ ถ้ากฎหมายตัวนี้ครอบคลุมถึงการให้บริการทางการแพทย์ เมื่อคนไข้รับการรักษาที่ผิดพลาดจากแพทย์จนทำให้พิการ สูญเสียอวัยวะ หรือถึงแก่ชีวิต แพทย์ไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดชอบได้ ทางเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์เห็นด้วยว่ากฎหมายตัวนี้ควรจะครอบคลุมถึงการให้บริการทางการแพทย์ เพราะที่ผ่านมามีจำนวนผู้เสียหายทางการแพทย์จำนวนมากแต่ผู้เสียหายเหล่านั้นไม่ทราบว่าจะไปดำเนินการเรียกร้องความเสียหายจากใคร? เนื่องจากยังไม่มีกฎหมายคุ้มครอง


ตอนนี้มีกฎหมายตัวนี้บังคับใช้แล้ว โฉมหน้าการให้บริการและการควบคุมการผลิตจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร ผู้บริโภคที่อยู่ในไทยจะได้รับความคุ้มครองและมั่นใจว่าจะมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นจากการเลือกใช้สินค้าและบริการมากน้อยแค่ไหน? คดีฟ้องร้องความเสียหายจากสินค้าที่ผลิตและให้บริการในไทยจะเพิ่มมากขึ้นแค่ไหน? นับจากนี้ไปเป็นเรื่องที่เราในฐานะคนที่อยู่ในประเทศไทยควรติดตามกันต่อไป


Create Date : 21 กุมภาพันธ์ 2552
Last Update : 22 กุมภาพันธ์ 2552 10:01:19 น. 5 comments
Counter : 2744 Pageviews.

 
อ่านสองสามบันทัดเเรกเรื่องกฎหมายที่ออกใช้บังคับสินค้าให้ผลิตในคุณภาพที่ดี

นึกถึงเรื่องเดียวกันกับคุณชีวประภาทันที คือเรื่องรถมิตซูบิชิ เเต่คิดว่าเรื่องนี้ยังไม่มาถึงเมืองไทย ซึ่งยังนิยมรถยี่ห้อนี้กันอยู่ซึ่งผิดกับคนในประเทศญี่ปุ่น

กฎหมายใหม่นี้จะทำได้เต็มที่หรือคะในประเทศไทย? เเต่อย่างน้อยก็ทำให้ผลผลิตคุณภาพดีขึ้นไม่มากก็น้อย
มาคอยดูกันต่อไป..

เคยฟังข่าวที่นายเเพทย์หญิงผ่าตัดคนไข้ที่คิดว่าเป็นเนื้องอกเเต่เมือผ่าเเล้วปรากฎว่าเป็นการ" ตั้งครรภ์ "

กฏหมายยังไม่รับผิดชอบ ไม่มีการถอดไรเซ่น ถ้าเป็นต่างชาติไม่ได้ผุดเกิดเเล้วหมอคนนี้

ความรู้สึกยังไม่เคยลืมเเละยังฝังอยู่ในจิตใจทุกวันนี้



โดย: ยูกะ (YUCCA ) วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:6:30:49 น.  

 
สวัสดีค่ะ คุณชีวประภา...
ดีใจที่เมืองไทยมีกฏหมายนี้นะคะ ผู้บริโภคจะได้รับความเป็นธรรมมากขึ้น

เรื่องดอกทิวลิป ...ที่นี่มีเยอะค่ะ เพราะเค้าทำเป็นเกษตรอุตสาหกรรมกันเลย ขายหัว ส่งออกเยอะค่ะ ช่วงนี้เริ่มแตกหน่อพ้นดินมาแล้วนะคะ ช่วงปลายเดือนมีนาถึงปลายเดือนเมษาฯ จะบานสวยล่ะค่ะ แถว Noord-Holland จะมีปลูกกันเยอะ ที่เมือง Lisse มีจัดพาเหรดดอกไม้ทุกปี และสวน keukenhof ก็จะอยู่แถว ๆ นั้นค่ะ ส่วนตัวชอบไปดูตามทุ่งที่ชาวสวนเขาปลูกกันจริง ๆ ได้บรรยากาศบ้าน ๆ ดีค่ะ


โดย: iamjuta วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:2:44:25 น.  

 
ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นครับ

โชคดีที่มหาวิทยาลัยเขาอนุมัติปริญญาให้ไปเมื่อปีที่แล้ว ไม่อย่างนั้นเนื้อหาวิทยานิพนธ์และงานวิจัยของผมต้องมีภาคค่อไป...เปรียบเทียบผลกระทบภายหลังจากไทยมี Product Liability Law เหมือนกับญี่ปุ่น ผู้บริหารไทยจะมีแนวคิดในการป้องกันวิกฤตในองค์กรถ้าสินค้าหรือบริการที่ผลิดขึ้นมาเกิดปัญหาต่อตัวผู้บริโภคแตกต่างอย่างไรกับผู้บริหารองค์กรญี่ปุ่นที่คุ้นเคยกับกฎหมายตัวนี้มากว่าทศวรรษ รวมทั้งเปรียบเทียบว่าบริษัทต่างชาติในไทยจะตื่นตัวมากน้อยแค่ไหนที่จะป้องกันวิกฤตจากความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภค


โดย: ชีวประภา วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:9:53:29 น.  

 
คิดว่าเป็นเรื่องที่ดีนะคะ ผู้ผลิตรายไหนที่กลัวกฎหมายนี้คงต้องปรับตัวเยอะหน่อย แต่สุดท้ายก็ดีกับผู้บริโภคซึ่งหมายถึงเราทุกคน

ปล.ขอบคุณสำหรับคำชมภาพดอกไม้ค่ะ

ที่ญี่ปุ่นดอกไม้สวยมาก แป๋วเคยไปเกียวโตครั้งหนึ่งน่ะค่ะ อยากมีโอกาสกลับไปถ่ายซากุระที่ถนนสายนักปราชญ์สักครั้ง(ไม่รู้ว่าชื่อญี่ปุ่นว่าอะไร) ตอนไปนั้นยังไม่บานค่ะ



โดย: SevenDaffodils IP: 69.140.230.39 วันที่: 23 กุมภาพันธ์ 2552 เวลา:9:14:50 น.  

 
ยกตัวอย่างนะครับ แล้วถ้าในกรณ๊ที่บริษัท A ขายรถให้กับผมมา ต่อมาบริษํท A ได้แจ้งกับผมมาว่ารถมีปัญหาเรื่องระบบเบรค จึงขอให้ผมหยุดใช้รถคันดังกล่าว โดยบรษํทจะส่งเจ้าหน้าที่ไปรับรถกลับมาเพื่อเปลี่ยนอุปกรณ์ให้ แต่หลังจากได้รับคำเตือน ผมก็ยังนำรถไปใช้แล้วเกิดอุบัติเหตุจากระบบเบรคไม่อยู่ ทำให้รถได้รับความเสียหาย และร่างกายได้รับบาดเจ็บ จากเหตุการณ์นี้ ทางบริษัทจะต้องรับผิดชอบอย่างไรตามกฎหมาย Product Liability ครับ


โดย: Marijo IP: 122.155.64.33 วันที่: 21 ตุลาคม 2556 เวลา:20:29:39 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ชีวประภา
Location :
พิษณุโลก Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 6 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add ชีวประภา's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.