กรกฏาคม 2552

 
 
 
3
4
5
7
8
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
โครงการเรือเยาวชนเอเชียอาคเนย์ : ภาค 2 เตรียมตัวสอบข้อเขียน
หลังจากที่ได้รู้แล้วว่า ตัวผมเองมีคุณสมบัติที่จะสมัครได้ ก็มาเตรียมตัวสมัครสอบกันดีกว่า ผมก็ไปเล่าให้เพื่อนๆฟังว่า เฮ้ย!!! จะสมัครโครงการเรือเยาวชนแล้วนะเฟ้ย คำตอบแรกที่ได้ยินกลับมาจากทุกคนคือ "เมิงยางเป็นเยาวชนอยู่อีกเหรอฟะ แก่ป่านนี้" เอ่อ !! คุณเพื่อนแต่ละคนครับ ช่วยถนอมน้ำใจกันสักนิดได้ไหมครับ กระผ๊มก็รู้ครับว่าตัวเองอายุเยอะแล้ว จะเลข 3 แล้ว แต่ก็นะ กรุณาอย่าย้ำกันมากนักจะได้ไหม ช่างปวดใจซะเหลือเกิน แถมยังบอกอีกว่า "ถ้าเมิงได้ทุนนี้ จะไม่แก่ที่สุดในรุ่นเหรอ" กรรมจริงๆเลยตู ผิดไหมเนี่ยที่อายุเยอะ


ปรกติแล้วกำหนดการรับสมัครของแต่ละปีก็คือประมาณกลาง เม.ย. มีระยะเวลาการรับสมัคร 1 เดือน ทีนี้ผมก็ต้องมานั่ง search ในเน็ตหาข้อมูลเกี่ยวกับคนที่เคยได้ทุนนี้ไปแล้วล่ะ ว่าเค้ามีการเตรียมตัวกันยังไงกันบ้าง เพราะผมเองก็ไม่รู้จักใครที่เคยได้ทุนโครงการนี้เลย (คนที่เคยรู้จักที่จุดประกายผมเรื่องทุน ก็ไม่ได้ติดต่อกันตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาเป็นเวลาเกือบ 10 ปี ) เอาล่ะวะ ไม่เป็นไร หาข้อมูลในเน็ตเอาก็ได้ ก็พอมีบ้างครับ แต่ก็ไม่เยอะเท่าไหร่ ก็อ่านดูว่าแต่ละคนมีการเตรียมตัวกันยังไงบ้าง มีอยู่คนนึงแนะนำว่าให้เขียนในใบสมัครให้ดีๆไว้เลย เพราะเป็นเหมือนเอกสารแนะนำตัว เคยทำกิจกรรมอะไรไปในอดีตตั้งแต่สมัยมหาวิทยาลัย หรือเคยได้รับทุนอะไร ก็ให้ใส่และเตรียมเอกสารส่งไปพร้อมใบสมัครเลย


การสมัครแบ่งเป็นเยาวชน 2 ประเภท

1.เยาวชนทั่วไป - เยาวชนจากทั่วประเทศ เยาวชนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเยาวชนจากครอบครัวเจ้าภาพเยาวชน ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในประกาศรับสมัคร

2.เยาวชนผู้แทนจังหวัด-เยาวชนที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในประกาศรับสมัคร เป็นผู้ที่มีภูมิลำเนา/มีถิ่นที่อยู่ (กำลังศึกษาอยู่/กำลังทำงาน) ในจังหวัดที่ตนสมัคร โดยอาจเป็นเยาวชนเครือข่ายที่ปฏิบัติงานด้านเยาวชนในพื้นที่ เยาวชนดีเด่นในด้านต่างๆ หรือเยาวชนที่สร้างคุณประโยชน์ให้แก่สังคม


อันนี้เราต้องเลือกตั้งแต่แรกเลยครับ ว่าจะสมัครแบบไหน เพราะว่าการคัดเลือกก็จะคัดเลือกแยกกันเลยครับ ไม่รวมกัน จริงๆผมอยากจะสมัครแบบ 2 เยาวชนผู้แทนจังหวัด เพราะไม่ต้องสอบข้อเขียนครับ และสอบสัมภาษณ์ก็จะเป็นทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ หรืออาจจะเป็นภาษาไทยมากกว่าภาษาอังกฤษก็ได้ (ซึ่งแบบที่ 1 เยาวชนทั่วไปจะต้องผ่านข้อเขียนภาษาอังกฤษ และสัมภาษณ์ภาษาอังกฤษล้วนๆ) เพราะว่าัตัวผมเป็นคนขอนแก่นครับ แต่ดันมาย้ายทะเบียนบ้านมาอยู่ กทม ก็เลยสมัครแบบที่ 2 ไม่ได้ครับ ต้องสมัครแบบที่ 1 ไปโดยปริยาย ซึ่งจากที่หาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต เห็นบ่นกันมาว่าข้อสอบยากมากก ผมก็ชักหวั่นๆสิครับ กลัวจะไม่ผ่าน และก็เป็นปีสุดท้ายที่จะมีโอกาสสมัครได้ซะด้วย เฮ่อออ!!!! แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการคัดเลือกของเยาวชนตัวแทนจังหวัด จะง่ายกว่าการคัดเลือกเยาวชนทั่วไปนะครับ เพียงแต่ในความรู้สึกผม ผมได้ยินมาว่าข้อสอบภาษาอังกฤษนั้นยาก ถ้าไม่ได้สอบข้อเขียนแล้วไปลุ้นสัมภาษณ์เลย น่าจะดีกว่า (บอกตรงๆ กลัวสอบตกน่ะครับ พี่น้องงง)


ในใบสมัครเค้าก็จะถามครับว่าเราเคยทำกิจกรรมอะไรมาบ้าง หรือเคยได้รับทุนอะไรมาบ้าง เขียนเพิ่มเติมในกระดาษได้หากเขียนในใบสมัครไม่พอ ทีนี้ ผมก็เอาเลยสิครับ โม้แหลกลาญเลยครับ ว่าเคยทำอะไรมาบ้าง ผมขุดมาตั้งแต่สมัคร ม.ปลายเลยครับ ตั้งแต่ที่เคยได้ทุน AFS ไปประเทศเยอรมัน ในสมัยมหาวิทยาลัยเคยทำค่ายอาสาพัฒนาชนบท ทำชมรมพัฒนาบุคลิกภาพและจริยะสัมพันธ์ ทุนฝึกงานต่างประเทศของบริษัท Schlumberger, ค่ายลูกเสือโลกที่สัตหีบ โดยองค์กรลูกเสือโลก, ชนะเลิศการประกวด Mister University Thailand และเป็นตัวแทนประเทศไทยไปประกวดที่เกาหลีใต้ (เหมือนนางงามจักรวาลอย่างไงอย่างนั้นครับ), กิจกรรม Service For Peace ที่ทำโดยการเป็นเยาวชนตัวอย่าง, ทุน Best & Brightest Scholarship ไปดูงานที่เยอรมัน, ฮังการี และออสเตรีย ของ สกอ. กระทรวงศึกษาธิการ โม้แหลกเลยครับ และทำเป็น Portfolio ส่งไปพร้อมใบสมัคร พร้อมทั้งแนบ Resume ประสปการณ์การทำงานอย่างอลังการ แบบว่า ไม่เลือกชั้นแล้วยูจะเสียใจนะ จะบอกให้ ก็เหมือนกับการพรีเซนต์ตัวเราน่ะล่ะครับ มีอะไรเด่น อะไรดัง ก็งัดออกมาสู้กันเลย เพราะเราก็ไม่รู้ว่าคนอื่นเค้าจะใส่อะไรลงไปบ้าง อ้อ มีให้ใส่ความสามารถพิเศษไปด้วยครับ ผมก็ใส่ไปว่าสามารถพูดภาษาอังกฤษและเยอรมันได้อย่างคล่องแคล่ว (มันเรียกว่าฟามสามารถพิเศษตรงไหนหว่า ) แล้วก็เป่าแคนครับ เพราะคิดว่ามันเป็นอะไรที่ไทยๆดี ทั้งๆที่จริงๆแล้ว ผมไม่ได้เป่าแคนมาเกือบ 13 ปีแล้วครับ ตั้งแต่กลับมาจาก AFS แต่ก็ใส่ไปก่อนดีฝ่า ถ้าได้เข้าไปถึงรอบสัมภาษณ์แล้วค่อยมาฟื้นน่า


หลังจากกรอกข้อมูลและเอกสารทุกอย่างพร้อมแล้วก็ส่งไปยัง สยช. ครับ และรอประกาศเรียกสอบข้อเขียน ซึ่งสอบข้อเขียนนี้ในแต่ละปีจะมีผู้สมัครประมาณ 500 คน แล้วจะคัดเหลือรอบสัมภาษณ์ประมาณ 100 กว่าคน และจากรอบสัมภาษณ์ 100 คน ก็จะมีผู้ที่ผ่านการสอบสัมภาษณ์่ได้เข้าร่วมโครงการ 15 คน และจากฝั่งเยาวชนประเภทที่ 2 คือตัวแทนจังหวัดอีก 12 คน (โดยที่ทำการสัมภาษณ์แยกกัน) โอ้ววว!!!! จาก 500 เหลือ 15 คน อัตราการรับคือ 3% !!!! แม่เจ้า แล้วตูจะรอดไหมเนี่ย เอาวะ!! ไหนๆก็ไหนๆแล้ว ทำให้ดีที่สุด สู้โว๊ยยย!!!


สอบข้อเขียนจะใช้เวลาสอบทั้งหมด 3 ชั่วโมง แบ่งเป็น 4 Part คือ

1. Structure/Grammar
2. Reading Comprehension
3. Translation แปลบทความจากอังกฤษเป็นไทย
4. Essay หรือ เรียงความ


ก่อนสอบผมก็หวั่นๆเหมือนกัน เพราะห่างหายจากภาษาอังกฤษไปนาน จะสู้เด็กมหาลัยได้ไหมเนี่ยกรูวว์ ยิ่งอ่อน Reading ซะด้วย แล้ว Structure จะเป็นประมาณไหน แปลบทความจะทำได้ไหม เรียงความอีก โอ๊ยยย ยิ่งเขียนภาษาอังกฤษเก่งๆอยู่ แล้วเค้าจะออกเกี่ยวกับเรื่องอะไร จะรู้ไหมเนี่ย จากการค้นคว้าหาข้อมูล รู้มาว่า Essay จะมีหัวข้อมาให้เลือกเขียน ซึ่งจะเป็นหัวข้อที่เป็นประเด็นสำคัญๆของประเทศในปีนั้นๆ ตายล่ะ!!! บอกตรงๆด้วยความสัตย์จริง ผมไม่เคยติดตามข่าวคราวบ้านเมืองเลย เป็นคนที่ไม่ฟังข่าว อ่านข่าวเลย แล้วจะเอาฟามรู้อะไรมาเขียนเรียงความล่ะเนี่ย ก็เลยต้องมานั่งไล่ดูประเด็นที่สำคัญ ที่ร้อนๆ มานั่งไล่ว่าเกิดอะไรขึ้นกับบ้านเมืองเราช่วงที่ผ่านมา ต้องมานั่งอ่านในเน็ต ไล่อ่านข่าวแล้วก็โหลดข้อมูลต่างๆลงหัวสมองอันมีน้อยนิดของผม แถมยังต้องมานั่งนึกว่าจะเขียนเป็นภาษาอังกฤษว่าไงอีก บอกตรงๆ ว่าท้อครับ เหนื่อยที่ต้องมานั่งอ่าน เพราะแต่ละเรื่องก็ต้องใช้เวลาเป็นหลายชั่วโมงที่จะอ่าน หาย้อนหลัง ที่มาที่ไป และทำการวิเคราะห์ แต่ก็พยายามให้กำลังใจตัวเอง ไม่มีอะไรที่ได้มาง่ายๆ ซึ่งถ้าสามารถเขียน Essay หรือเก็งหัวข้อที่จะออกได้ มันก็คงคุ้มกับความพยายามที่ลงทุนไป ก็ใช้เวลาอ่านข่าวและหาข้อมูลอยู่ 1 วันเต็มก่อนวันสอบครับ (พร้อมทั้งฟื้นภาษาปะกิตที่ทิ้งไปนานนนน)


พอถึงวันสอบตอนเช้า คนสอบเยอะเหมือนกัน ส่วนมากก็ใส่ชุดนักศึกษามากันเยอะครับ ชุดทำงานก็มีบ้าง แต่ก็ยังไม่เห็นใครที่ดูหน้าแก่ได้เท่าผม เอิ๊กๆๆๆ รุ่นนี้เค้าคงไม่มานั่งสอบแข่งกับเด็กให้อายแล้วล่ะมั๊ง เอาวะ ไงสู้ให้มันเห็นดำเห็นแดง แก่ก็ไม่ได้แก่กะโหลกกะลานะเฟ้ยย ถึงเวลาทำข้อสอบ เห็นข้อสอบ โอ้ววว!!! ข้อสอบไม่ได้ยากอย่างที่คิดเลยครับ ข้อสอบ 100 คะแนน แบ่งเป็น

1. Structure/Grammar 20 คะแนน
2. Reading Comprehension 20 คะแนน
3. Translation แปลบทความจากอังกฤษเป็นไทย 30 คะแนน
4. Essay หรือ เรียงความ 30 คะแนน


ในส่วนของ Structure/Grammar นี่ให้เติมคำในช่องว่าง ไม่มีชอยส์ แต่ก็ไม่ได้ยากเย็นอะไร ผมก็เลยแบ่งเวลาให้เป็น Part ละชั่วโมงละกัน โดยสอง Part แรกให้เวลาอย่างละครึ่งชั่วโมง Reading ก็ไม่ได้ยากครับเพราะอ่านแล้วก็มีคำตอบเลย ไม่ได้หินอย่าง TOEFL หรือ IELTS


ทีนี้มาถึง Part ที่ 3 เป็นบทความภาษาอังกฤษประมาณ 2 หน้ากระดาษให้แปล ผมอ่านดูตอนแรกนี่ ถึงกับส่ายหน้าเลยครับ แบบว่า กรูววว์!!! แปลไม่ได้แน่ๆๆๆเลย ทำไม่ได้!! ทำไงดีเนี่ย แงๆๆๆๆ แต่ก็พยายามสงบสติอารมณ์ครับ ใจเย็นๆๆ ค่อยๆคิด พอใจเย็นลง ก็เริ่มอ่านบทความดูสักสองสามรอบ ทีนี้พอสติมา ปัญญาเกิดครับ อ่านแล้วก็แปลได้ ทีนี้เขียนอย่างเมามันเลย เป็นเรื่องเกี่ยวกับการประชุม Asean Summit ที่ผ่านมา ผมใช้เวลากับการแปลอยู่ประมาณเกือบชั่วโมงครึ่ง เพราะเสียเวลาไปกับชั่วแรกที่จิตตกเพราะคิดว่าทำไม่ได้แน่ๆเลย แล้วผมก็เขียนแปลได้ 3 หน้ากระดาษ ต้องขอกระดาษเพิ่ม (ตอนขอกระดาษเพิ่มนี่คนทั้งห้องมองเลยครับ ประมาณว่า อีนี่!! ข่มกันหรือเปล่า) พอพี่คณะกรรมการเอากระดาษมาให้ (ซึ่งก็คือคนที่ตรวจข้อสอบเรา) มาเห็นตัวหนังสือผม ก็ถอนหายใจ ทำท่าอ่อนใจ บอกผมว่า เขียนสวยๆนะ เพราะถ้าพี่อ่านไม่ออก พี่ก็ให้คะแนนไม่ได้นะ (แต่พี่เค้าไม่ได้ดุนะครับ พูดแบบขอร้อง น่ารักๆ) ผมก็เลยบอกว่า นี่ผมเขียนสวยสุดแล้วนะคร๊าบบ อีกอย่าง ต้องเขียนแข่งกับเวลาด้วย (จริงๆลายมือผมนี่ไก่เขี่ยแต่ไหนแต่ไรมา เพื่อนยังทักประจำ ว่าแน่ใจเหรอว่าเอามือเขียน!! เขียนเร็วกะเขียนสวยนี่ ลายมือไม่ต่างกันเล๊ยยย กรรมจริงๆ) ตอนนั้นก็กลัวว่ากรรมการคนตรวจจะอ่านไม่ออกแล้วไม่ให้คะแนนเรา แต่ก็ช่างมันวะ ถอยไม่ได้แล้ว รีบทำ part ต่อไปดีกว่า


Part ที่ 4 Essay ผมมีเวลาเหลืออีกแค่ครึ่งชั่วโมงในการทำ Part นี้ ยังไม่ได้อ่านหัวข้อครบทุกหัวข้อเลยครับ เหลือบไปเห็นหัวข้อนึงเกี่ยวกับ H1N1 หรือไข้หวัดหมู ผมก็เลยเลือกข้อนี้เลยครับ ไม่มีเวลามานั่งคิดข้ออื่นแล้ว ผมพยายามเขียนเท่าที่ความรู้อันน้อยนิดที่มีอยู่ในหัวผมจะสามารถบรรยายออกมาได้ ก็เขียนไป 2 หน้าครับ หมดเวลาพอดี พอออกมาจากห้องสอบ คิดว่า ยังไงก็น่าจะได้แน่นอน เพราะผมว่า part ที่น่าจะตัดกันไปเลยว่าใครผ่านไม่ผ่านก็คือ Part ที่ 3 กับ 4 ซึ่งคนส่วนมากน่าจะทำกันไม่ค่อยได้ ถ้าใครทำได้ ก็น่าจะมีโอกาสผ่านข้อเขียนครับ โล่งใจ และก็ดีใจครับที่ทำได้ ทีนี้ก็มารอลุ้นกันดีกว่าว่าจะผ่านข้อเขียนไหม สาธุ!!! ขอให้ฝันผมเป็นจริงทีเถอะ โอมมมม เพี้ยงงงง!!! (น่าน เล่นคุณไสย์ มนต์ดำอีกตู)


หลังจากนั้นประมาณ 3 อาทิตย์ ก็ถึงวันประกาศผล ผมโทรไปถามที่ สยช. เลยครับ เพราะตอนแรกเห็นบอกว่าจะประกาศผลวันที่ 24 มิ.ย. เวลา 14.00 ซึ่งผมดูทางเน็ต ก็ยังไม่ขึ้น ก็เลยโทรไปถามว่าประกาศหรือยัง ซึ่งพี่ที่ สยช. ก็น่ารักมากๆเลยครับ เค้าก็บอกว่าน้องเอาชื่อมาเลยดีกว่า เดี๋ยวพี่ดูให้ตอนนี้เลย (ซึ่งปรกติ ถ้าเป็นหน่วยงานราชการอื่นจะดุเรา แล้วก็บอกให้รอหน่อย) ผมตอนนั้นก็ตื่นเต้นมากๆเลยครับ ก็คิดว่าน่าจะผ่านแหละ แต่มันก็อดตื่นเต้นไม่ได้ พอพี่เค้าบอกว่าผมผ่านข้อเขียนแล้ว ผมดีใจมากๆๆเลยครับ ร้องเย้!!! ออกมาด้วยความดีใจ จนพี่เค้าแซวกันว่า อ้าว น้องเป็นลมไปแล้วเหรอ (เกือบๆครับเพ่) ก็นัดมาสอบสัมภาษณ์วันที่ 29 ครับ ของผมสัมภาษณ์รอบบ่ายคนที่สองเลย โอ๊ยยย!! ดีใจครับพี่น้อง!!! ในที่สุด ผมก็สามารถฝ่าฟัน (เวอร์เชียว) ด่านแรก เป็น 1 ใน 132 คนที่ผ่านการสอบข้อเขียน จากผู้สมัครทั้งหมดเกือบ 500 คนเข้ามาได้แล้วครับ

ติดตามกันต่อ ภาค 3 สำหรับการเตรียมตัวสัมภาษณ์ นะครับ



Create Date : 01 กรกฎาคม 2552
Last Update : 9 กุมภาพันธ์ 2556 18:26:37 น.
Counter : 3622 Pageviews.

0 comments
ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะ VIP Friend
Comment :
 *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

CHaRLiE San
Location :
Tokyo  Japan

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 31 คน [?]



  •  Bloggang.com