วัดสิรินธรวรารามภูพร้าว จ.อุบลราชธานี อัศจรรย์แห่งแรงศรัทธาที่เรืองแสง

วัดสิรินธรวรารามภูพร้าว หรือนิยมเรียกกันว่า วัดเรืองแสง ตั้งอยู่ที่อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี การสร้างวัดนั้น ท่านพระอาจารย์บุญมากเป็นผู้ริเริ่ม ท่านเป็นคนฝั่งลาวจำปาสักเข้ามาเผยแพร่อบรมสมาธิทางฝั่งไท และได้ปักกลดที่ภูพร้าวแห่งนี้ในปี 2497-2498 ต่อมาปี 2516ท่านได้ขอบิณฑบาตพื้นที่ให้เป็นวัดจากทางหน่วยทหารและทางราชการอ.พิบูลมังสาหาร ทางอำเภอจึงให้ตั้งชื่อวัดว่า "วัดสิรินธรวราราม" หลังจากนั้นท่านพระอาจารย์บุญมากต้องกลับประเทศลาว ทิ้งให้วัดร้างหลายสิบปี จนกระทั่งปี 2542 พระครูกมล ลูกศิษย์ของท่านได้ค้นพบวัดอีกครั้ง และบูรณะให้กลับมาเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมได้ดังเดิม

วัดสิรินธรวรารามภูพร้าว" มีเนื้อที่วัดทั้งหมด 15 ไร่ วัดนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวและฝึกปฏิบัติธรรม เมื่อก่อนพื้นที่วัดมีธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และมีความพิเศษ กล่าวคือ มีหินคล้ายลูกมะพร้าวเต็มไปหมด เมื่อทุบออกมาจะมีฝุ่นหรือเม็ดหินใสใสแวววาวระยับคล้ายเพชรพลอย ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นหินศักดิ์สิทธิ์ เป็นมะพร้าวที่ฤาษีทำเอาไว้ จึงเอาไปรักษาโรค จึงเรียกเขาลูกนี้ว่า ภูพร้าว ต่อมามีคนเก็บเอาไปขายจนหมด

วัดสิรินธรวราราม เป็นวัดที่ตั้งอยู่บนเนินเขาสูง โดยจำลองสภาพแวดล้อมของวัดป่าหิมพานต์หรือเขาไกรลาส บริเวณบนยอดเขาจะมองเห็นพระอุโบสถสีปัดทองตั้งเด่นเป็นสง่า จุดเด่นของวัดคือ การได้มาชมภาพเรืองแสงเป็นสีเขียวของของต้นกัลปพฤกษ์ ที่เป็นจิตรกรรมที่อยู่บนผนังด้านหลังของอุโบสถในยามค่ำคืน ตั้งแต่เวลา 06.00 และเวลา 19.30 น. ภาพเรืองแสงนี้หากมองด้วยตาเปล่าจะเห็นเพียงเล็กน้อย จะไม่เห็นเป็นสีเขียวชัดเจนเท่ากับภาพที่ถ่ายด้วยกล้องถ่ายรูป

สำหรับต้นกัลปพฤกษ์เรืองแสง เป็นฝีมือการออกแบบของช่างคุณากร ปริญญาปุณโณ ผู้ลงมือติดโมเสกแต่ละชิ้นด้วยตัวเอง โดยมีแรงบันดาลใจมาจากต้นไม้แห่งชีวิต ในภาพยนตร์เรื่องอวตาร โดยใช้สารเรืองแสง หรือสารฟลูออเรสเซนต์รอบต้น ที่มีคุณสมบัติของสารฟลูออเรสเซนต์จะรับแสงพระอาทิตย์ในตอนกลางวัน พร้อมกับที่ศิลปกรรมชิ้นนี้ได้หันหน้าไปทางทิศตะวันออก หรือหันข้างไปทางทิศตะวันตก จึงเหมือนเป็นฉากกั้น "พลังงาน" ในช่วงเวลาตอนกลางวัน แล้วจะฉายแสงออกมาในตอนกลางคืน คือเป็นการคายพลังงานออกมา


พระอุโบสถมีต้นแบบมาจากวัดเชียงทอง ประเทศลาว แต่มีความกว้างมากกว่า 1 เท่า และความยาวมากกว่า 2 เท่า เสาแต่ละต้นลง ที่วาดลวดลายด้วยมือ โดยรอบนอกเป็นลายดอกบัวและสัตว์ทั้งหลายตามคติบัว 4 เหล่า หัวใจหลักของการทำพุทธศิลป์ คือ การนำเสนองานศิลปะที่เกิดจากความสงบ ความเพียร ความอดทน และวิสัยทัศน์ งานแต่ละชิ้นต้องคิดจากความคิดอันวิจิตรและขบคิดมาก่อนทั้งสิ้น อย่างแนวคิดการจำลองให้วัดเป็นเขาพระสุเมรุ ตรงกลางของพระอุโบสถ เป็นที่ตั้งของพระประธาน แต่เดิมที่คล้ายกับพระพุทธชินราช ในจังหวัดพิษณุโลก มีการนำเพียงส่วนรัศมีออกไป พื่อให้แลดูกลมกลืนกันยิ่งขึ้น พร้อมกับได้ทำฉากหลังเป็นต้นโพธิ์ โดยเบื้องบนติดด้วยแผ่นพระทอง



ขอฝากความรักและความปรารถนาดีมายังเพื่อนชาว bloggang แม้จะเปิดประเทศแล้วก็ตาม ฉีดวัคซีน 2 เข็มแล้วแต่การ์ดอย่าตก สวมใส่แมสตลอดและล้างมือบ่อยๆ นะครับ ที่สำคัญอ่านแล้วไม่มโนนะจ๊ะ ด้วยความห่วงใยจากช่างภาพวัดและธรรมชาติครับ
Create Date : 23 กรกฎาคม 2565 |
Last Update : 24 กรกฎาคม 2565 1:34:45 น. |
|
7 comments
|
Counter : 4446 Pageviews. |
 |
|
|
ผู้โหวตบล็อกนี้... |
คุณnewyorknurse, คุณกะว่าก๋า, คุณอุ้มสี, คุณmultiple, คุณมาช้ายังดีกว่าไม่มา, คุณฟ้าใสวันใหม่, คุณสายหมอกและก้อนเมฆ, คุณtanjira, คุณภาวิดา คนบ้านป่า, คุณเนินน้ำ, คุณhaiku, คุณจันทราน็อคเทิร์น |
โดย: กะว่าก๋า วันที่: 24 กรกฎาคม 2565 เวลา:5:42:38 น. |
|
|
|
โดย: อุ้มสี วันที่: 24 กรกฎาคม 2565 เวลา:6:20:38 น. |
|
|
|
โดย: multiple วันที่: 24 กรกฎาคม 2565 เวลา:8:24:08 น. |
|
|
|
โดย: เนินน้ำ วันที่: 24 กรกฎาคม 2565 เวลา:18:05:24 น. |
|
|
|
|
|
อรุณสวัสดิ์ครับ
ภาพถ่ายสวยมากๆ
เป็นวัดที่สวยงามมากๆเลยครับ