Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2549
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
9 พฤษภาคม 2549
 
All Blogs
 

นกแต้วแล้วอกเขียว

นกแต้วแล้วอกเขียว Pitta Sordida (Hooded Pitta) ที่พบในประเทศไทยเป็นชนิดย่อยCucullataซึ่งมีหน้าผาก กระหม่อม ท้ายทอยเป็นสีน้ำตาลแดง หน้าจนถึงคอเป็นสีดำ ปากหนาแข็งแรงสีดำ ลำตัวด้านบนและด้านล่างเป็นสีเขียวกลมกลืนกับสภาพป่าที่อาศัยอยู่ ขนคลุมท้องด้านล่างจนถึงโคนหางเป็นสีแดง ขนคลุมโคนหางด้านบนและตะโพกสีฟ้าสดใสเป็นมัน ขนหางสั้นมากจนดูกุดๆเหมือนไม่มีหาง ขาและนิ้วเท้ายาวแข็งแรง ความยาวกจากปลายปากจรดปลายหางประมาณ 20 เซ็นติเมตร ตัวผู้และตัวเมียคล้ายคลึงกัน







เนื่องจากนกแต้วแล้วเป็นนกที่พบได้เฉพาะในเขตร้อนของทวีปอาฟริกา ทวีปเอเชีย และทวีปออสเตรเลีย ไม่มีการกระจายพันธุ์ในยุโรปและอเมริกาเหนือ ทำให้ในช่วงแรกเมื่อชาวตะวันตกเข้ามาพบนกแต้วแล้วซึ่งชอบกระโดดหากินตามพื้นดินเหมือนกับนกเดินดง เข้าใจว่านกแต้วแล้วเป็นนกเดินดงชนิดหนึ่ง สำหรับแต้วแล้วอกเขียวนี้ แม้แต่ผู้ที่วิเคราะห์นกชนิดนี้เป็นคนแรกคือ PLS Muller เมื่อปี2319ยังให้ชื่อชนิดว่าเป็น Turdus sordidus ซึ่ง Turdusเป็นชื่อสกุลของนกเดินดง เพิ่งเปลี่ยนเป็น Pitta ในปี 2359 ในสมัยแรกๆนกชนิดนี้ได้ชื่อสามัญว่า Green-Breasted Pitta จึงได้ชื่อสามัญภาษาไทยดังที่เป็นอยู่







ในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนมีนาคม นกแต้วแล้วอกเขียวจะหากินอยู่ทางใต้ของไทย มลายู สุมาตรา ชวา พอถึงเดือนเมษายน นกแต้วแล้วที่หากินอยู่ในมลายู สุมาตรา ชวาจะอพยพย้ายถิ่นไปพร้อมกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เข้าไปทำรังวางไข่ในไทย พม่า อินโดจีน ยูนนาน อินเดียด้านตะวันออกเฉียงเหนือ บังคลาเทศ และแถบเชิงเขาหิมาลัยของอินเดีย เนปาล สิกขิม และภูฐาน ตั้งแต่ที่ราบต่ำถึง 1800 เมตรจากระดับน้ำทะเล แต่ในไทยพบสูงสุดเพียง 750 เมตรจากระดับน้ำทะเลเท่านั้น (Bird-Home)







สำหรับประเทศไทยในช่วงเดือนเมษายนถึงกันยายนจะเป็นช่วงที่นกชนิดนี้เดินทางมาทำรังวางไข่ เราจะพบพวกเค้าในป่าผสมผลัดใบ ป่าดิบแล้ง และป่าชั้นสองในภาคตะวันตก เช่น อช.แก่งกระจานจ.เพชรบุรี จ.กาญจนบุรี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี อช.เขาใหญ่ จ.ปราจีนบุรี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาเขียว-เขาชมภู่ จ.ชลบุรี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขาสอยดาว จ.จันทบุรี

ในช่วงต้นฤดูอพยพอย่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม เราสามารถพบนกแต้วแล้วอกเขียวซึ่งกำลังเดินทางได้ที่บริเวณอ่าวไทย ทั้งป่าชายเลน ป่าชั้นสองในภาคกลางตอนล่าง และในปีนี้มีรายงานการพบที่พุทธมณฑล จ.นครปฐม ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม







สำหรับป่าดิบชื้น ป่าชั้นสอง สวนยางพารา ในภาคใต้นั้น สามารถพบได้ตลอดทั้งปีเพราะนกแต้วแล้วอกเขียวชอบอยู่ในป่าที่มีความชื้นสูง ใบไม้เขียวชอุ่ม มีใบไม้แห้งกองทับถมอยู่ด้านล่าง นกจะกระโดดหากินตามพื้น จิกกินไส้เดือน แมลง หนอน ไข่ ตัวอ่อนของแมลง ตะขาบ หอยทากอย่างเพลิดเพลิน ในแต่ละวัน นกแต้วแล้วอกเขียวจะจิกกินเหยื่อมากจนน้ำหนักอาหารพอๆกับน้ำหนักตัวของตัวเองทีเดียว สถานที่ที่พบได้ทั้งปีเช่น อช.เขาสก จ.สุราษฎร์ธานี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาประ-บางคราม จ.กระบี่ และ อช.ทะเลบัน จ.สตูล

นกชนิดนี้จับคู่ทำรังในราวเดือนพฤษภาคม ถึงเดือน กรกฎาคม เมื่อนกจับคู่จะอยู่ด้วยกันตลอดเวลา ราว 1 สัปดาห์หลังจากนั้น นกก็จะสร้างรัง นกทั้งสองตัวจะช่วยกันหาวัสดุทำรังอย่างรวดเร็ว จนเสร็จในเวลาประมาณ 3 วัน วัสดุที่สร้างรังได้แก่ กิ่งไม้แห้ง ใบไม้แห้ง รากพืชเล็กๆ เส้นใยของพืช ใบไผ่ นำมาขัดสานกันหลวมๆ รองรังด้วยเส้นใยพืช รังของนกชนิดนี้จึงผุง่าย แต่ก็กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม สถานที่ทำรังอาจเป็นดงพืชรกๆ กอไผ่ บนตอไม้ กองใบไม้แห้ง ก้อนหินใหญ่ที่ขวางลำห้วย หรืออื่นๆ







แต้วแล้วอกเขียววางไข่ครั้งละ3-5ฟอง เปลือกไข่สีขาว มีจุดสีม่วงหรือสีน้ำตาล อาจมีลายเส้นสีดำอมม่วง ขนาดของไข่ 23.0-28.0x19.6-22.5 มม. วางไข่วันละ 1 ฟอง เมื่อวางหมดทั้งพ่อและแม่นกจะผลัดกันกกไข่ทันที ใช้เวลา 15-16 วันลูกนกก็จะออกจากไข่พ่อแม่นกจะนำอาหารจำพวกไส้เดือนมาเลี้ยงลูกนกจนอายุราว 12 วัน ลูกนกก็จะโตพอจะออกจากรังได้ และหากินร่วมกับพ่อแม่ระยะหนึ่งจึงแยกตัวออกหากินเอง

ลูกนกที่ยังตัวไม่เต็มวัยมีคอ คางสีขาว หลัง ไหล่ะ ตะโพก ขนคลุมโคนหางบนสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ หน้าอก ท้อง ขนคลุมโคนหางด้านล่างเป็นสีน้ำตาลจางๆปนสีเนื้อ ปีกสีคล้ำเกือบดำ ขนคลุมปีกมีแถบสีขาวขวางอยู่







นกชนิดนี้เป็นนกที่หวงอาณาเขตมาก ไม่ว่าจะเป็นช่วงฤดูผสมพันธุ์หรือไม่ ดังนั้น นอกฤดูผสมพันธุ์ เราจะพบนกแต้วแล้วอกเขียวหากินอยู่ตัวเดียว

ภาพนกแต้วแล้วอกเขียวถ่ายจากอช.แก่งกระจานเมื่อปีที่แล้ว และพุทธมณฑล จ.นครปฐม ต้นเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา เป็นนกอพยพผ่านช่วงต้นฤดูกาล นกค่อนข้างเชื่องคนมาก สามารถเข้าใกล้ได้พอสมควร แต่ถ้ามีคนมากก็จะตื่นบินขึ้นไปหลบบนต้นไม้ได้ ดังนั้นถ้าใครยังต้องการไปดูตอนนี้ต้องใช้ความระมัดระวังในการเข้าหานกด้วย จึงจะได้เจอสมใจ

ข้อมูลเกี่ยวกับนกทั้งหมด จาก //www.bird-home.com




 

Create Date : 09 พฤษภาคม 2549
8 comments
Last Update : 10 พฤษภาคม 2549 7:33:36 น.
Counter : 4127 Pageviews.

 

โอ๊ะ ตัวเล็กๆตัวเดียว คาบหนอนตั้งสามตัวแน่ะ

แต่ตั้งชื่อได้สมตัวดีนะครับ ทั้งเจ้าปิตต้าหมวกแดง หรือ แต้วแล้วอกเขียว

 

โดย: เซียวเปียกลี้ 13 พฤษภาคม 2549 9:29:10 น.  

 

เวลาหาอาหารมาให้ลูกกิน เค้าก็จะจับไส้เดือนมากองๆรวมกันแล้วคาบมาป้อนทีเดียวแบบนี้ค่ะ

ลูกๆจะได้อิ่มๆ

 

โดย: จันทร์น้อย 17 พฤษภาคม 2549 19:24:12 น.  

 

ชอบภาพนกที่คุณจันทร์น้อยเอามาให้ดูมากๆค่ะ สวยจริงๆ

 

โดย: มาใหม่ IP: 203.144.216.250 19 ตุลาคม 2549 9:52:19 น.  

 

สวยมากเลยคับ-มีถึง6สีเลย

 

โดย: นักอนุรักษ์นก IP: 125.26.239.87 27 มีนาคม 2550 12:57:41 น.  

 

ขอบคุณครับ ถ้าไม่ได้ข้อมูลนี้ ผมซวยแหง

 

โดย: 11! IP: 61.90.77.80 23 กันยายน 2551 20:11:05 น.  

 

สวยงามมากเลยเนื้อหาดี แล้วออกแบบ banner เองเหรอสวยจัง รูปแบบค่อนข้างน่าสนใจ ว่างแล้วช้วย comment สอนใหทำออกแบบหน้าเว้บบ้างนะบ้างติดต่อได้ หากประสงค์จะช่วยเหลือ
napatkanok@gmail.com

 

โดย: มิ้น มทร IP: 203.158.176.200 10 กันยายน 2552 22:01:50 น.  

 

สวยงามมากเลยเนื้อหาดี แล้วออกแบบ banner เองเหรอสวยจัง รูปแบบค่อนข้างน่าสนใจ ว่างแล้วช้วย comment สอนใหทำออกแบบหน้าเว้บบ้างนะบ้างติดต่อได้ หากประสงค์จะช่วยเหลือ
napatkanok@gmail.com

 

โดย: มิ้น มทร IP: 203.158.176.200 10 กันยายน 2552 22:02:30 น.  

 

ขอบคุณครับ พี่หม่อม.

 

โดย: tatui1761 IP: 124.121.111.193 26 เมษายน 2553 2:55:32 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


จันทร์น้อย
Location :
ปทุมธานี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 15 คน [?]




Friends' blogs
[Add จันทร์น้อย's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.