"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2563
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
4 ตุลาคม 2563
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 

70. ความเกิดแห่งกองทุกข์ และ ความดับแห่งกองทุกข์ ตอนที่ 11



การทำความดับแห่งกองทุกข์ ที่พระพุทธองค์ทรงให้มุ่งทำ คือ การทำความดับแห่งตัณหา
 
การทำความดับแห่งตัณหา คือ การทำให้เกิด วิราคะ” หรือ การทำให้เกิด ความปราศจากราคะ”
 
***************

ราคะและตัณหา มีลำดับของการเกิด ดังนี้
 
ลำดับที่ 1 มีอายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส (โผฏฐัพพะ) และ ธรรมารมณ์ มากระทบสัมผัสอายตนะภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ ใจ (รูป)

ลำดับที่ 2 เกิดสุขเวทนา ตามอุปาทานที่มีอยู่ในความทรงจำ (เวทนา)

ลำดับที่ 3 เกิดความจำได้หมายรู้ ในสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นตามอุปาทาน ที่มีอยู่ในความทรงจำ (สัญญา)

ลำดับที่ 4 เกิดการปรุงแต่งไปตามสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นตามอุปาทาน ที่มีอยู่ในความทรงจำ (สังขาร)

ลำดับที่ 5 เกิดความรับรู้ได้ ในสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นตามอุปาทาน ที่มีอยู่ในความทรงจำ (วิญญาณ)

ลำดับที่ 6 เกิดการกระทบสัมผัสที่บริบูรณ์ ครบองค์ 3 (ผัสสะ)

ลำดับที่ 7 เกิดอารมณ์สุข หรือ สุขเวทนาที่รับรู้ได้ (เวทนา)

ลำดับที่ 8 เกิดความกำหนัด ความยินดี ความชอบใจ ในอารมณ์สุข ที่เกิดขึ้นจาก อุปาทานขันธ์ 5 (ราคะ)

ลำดับที่ 9 เกิดความทะยานอยาก ไปตามอารมณ์สุข ที่เกิดขึ้นจาก อุปาทานขันธ์ 5 (ตัณหา)
 

หมายเหตุ:

1. ลำดับที่ 1 – 5 คือ อุปาทานขันธ์ 5
 
2. ถ้าเราไม่เพียรพยายาม ระงับดับตัณหาที่เกิดขึ้น จะทำให้เกิด การสั่งสมพอกพูนของอุปาทานในความทรงจำ

 
***************
 
การทำให้เกิด วิราคะ” หรือ การทำให้เกิด ความปราศจากราคะ” คือ

การทำให้เกิด การละหน่ายคลายในอุปาทานขันธ์ 5 หรือ การทำให้เกิด การละสักกายทิฏฐิได้

และ การทำให้เกิด การปล่อยวางอุปาทานขันธ์ 5 หรือ การทำให้เกิด การละอัตตานุทิฏฐิได้
 
***************

เวทนา ที่เกิดขึ้นตามอุปาทาน ที่มีอยู่ในความทรงจำ หลักๆแล้ว มีอยู่ 3 ประการ คือ

1. สุขเวทนา หมายถึง ความรู้สึกสุข

2. ทุกขเวทนา หมายถึง ความรู้สึกทุกข์

3. อทุกขมสุขเวทนา หมายถึง ความรู้สึกไม่ทุกข์ไม่สุข หรือ มิใช่สุขมิใช่ทุกข์
 
เวทนา ที่ทำให้เกิด ราคะและตัณหา คือ สุขเวทนา
 
เวทนาทั้ง 3 ประการ เป็นสิ่งที่ต้องทำให้เกิด การละหน่ายคลาย และ การปล่อยวางได้ ดังข้อความใน “สักกายทิฏฐิปหานสูตร” และ “อัตตานุทิฏฐิปหานสูตร” ที่ได้กล่าวไปแล้ว ในตอนที่แล้ว
 
***************
 

ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร

 

ธรรมารมณ์ [ทำ-มา-รม] น. ความคิดคำนึงในใจ เช่น เวลาเห็นรูปที่ชอบใจ แม้รูปนั้นผ่านพ้นไปแล้ว จิตใจก็ยังคำนึงนึกอยู่ ในความสุขใจอันเกิดจากการได้เห็นรูปนั้น, ในทางตรงกันข้ามก็เหมือนกัน จิตคำนึงนึกอยู่ ในความเศร้า ก็เรียกว่า ธรรมารมณ์.

 
***************
 
ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย ราชบัณฑิตยสถาน

 

ธรรมารมณ์ [ทํามา] น. อารมณ์ที่ใจรู้ อารมณ์ที่เกิดทางใจ. (ป. ธมฺมารมฺมณ).

 

ชาญ คำพิมูล




 

Create Date : 04 ตุลาคม 2563
0 comments
Last Update : 4 ตุลาคม 2563 7:09:56 น.
Counter : 597 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.