"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2562
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
17 สิงหาคม 2562
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 

26. ๓๔ ปี ของการปฏิบัติธรรม


 

เดือน สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๒


ครบรอบ ๓๔ ปี ของการปฏิบัติธรรม


ครบรอบ ๓๔ ปี ของการกินอาหารมังสวิรัติ


และ ครบรอบ ๘ ปี ของการกินอาหารมื้อเดียว (เอกาสนโภชนัง)


***************


สิ่งที่ทำให้ผู้เขียน ต้องเริ่มต้น ศึกษาธรรมและปฏิบัติธรรม อย่างจริงจัง คือ


ในช่วงอายุ ประมาณ ๑๗ – ๒๔ ปี


ผู้เขียนมีความสับสนในชีวิต


มีความไม่เข้าใจในชีวิต


มีความทุกข์ มีความเครียด และ มีความวิตกกังวลใจ มากมาย


ภายในจิตใจของผู้เขียน มีคำถาม เกิดขึ้นมากมาย ดังเช่น


“คนเรา เกิดมาเพื่ออะไร?”


“ทำไม? คนบางคน เกิดมาแล้ว จึงมีความทุกข์ มากกว่า ความสุข”


“ทำไม? คนบางคน เกิดมาแล้ว จึงมีความสุข มากกว่า ความทุกข์”


“ทำไม? คนบางคน ได้เกิดมา ในครอบครัว ที่มีฐานะดี”


“ทำไม? คนบางคน ได้เกิดมา ในครอบครัว ที่มีฐานะยากจน”


“ทำไม? คนเรา จึงไม่มีความสุข โดยถ่ายเดียว”


“ทำไม? ความสุข ที่เราได้รับ จึงไม่อยู่กับเรา ตลอดไป”


“ความสุข ที่เป็นความสุขนิรันดร์ มีไหม?”


“ทำอย่างไร? ชีวิตจึงจะมีความสุข ไม่ทุกข์ ไม่เครียด และ ไม่วิตกกังวล”


“อะไร? คือเป้าหมายที่แท้จริงของชีวิต”


“อะไร? คือภารกิจที่สำคัญของชีวิต ฯลฯ

 

***************


จากการศึกษาธรรมและปฏิบัติธรรม อย่างจริงจัง

ทำให้ผู้เขียน ได้เข้าใจในสิ่งต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อชีวิต อย่างชัดแจ้งยิ่งขึ้น ดังเช่น


๑. คนเราเกิดมา เพื่อมารับผลของกรรม หรือ วิบากกรรม ที่ตนได้เคยกระทำเอาไว้ ในชาติก่อนๆ


เหตุที่คนเราเกิดมา แตกต่างกัน และ ได้รับสิ่งต่างๆ แตกต่างกัน


เป็นเพราะ ในชาติก่อนๆ คนเรา กระทำกรรมสั่งสมเอาไว้ แตกต่างกัน


กรรมดี มีผลเป็น วิบากกรรมดี (กุศลวิบาก)

กรรมไม่ดี มีผลเป็น วิบากกรรมไม่ดี (อกุศลวิบาก)


๒. ความสุขและความทุกข์ ที่เกิดขึ้นมา ภายในจิตใจของคนเรา โดยส่วนใหญ่แล้ว เกิดจาก การปรุงแต่ง (สังขาร) ของจิตใจ ไปตามอำนาจของกิเลส


การปรุงแต่ง (สังขาร) ของจิตใจ เกิดขึ้นจาก การหลงยึดมั่นถือมั่น ไปตามอำนาจของกิเลส หรือ อุปาทาน (อุปาทานขันธ์ ๕)


อุปาทาน หรือ การหลงยึดมั่นถือมั่น ไปตามอำนาจของกิเลส ในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ จิต เจตสิก คือ มูลเหตุของความสุขและความทุกข์ ที่เกิดขึ้น ภายในจิตใจของคนเรา


อุปาทาน เป็นสิ่งที่คนเรา มีอยู่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น


คนบางคน ได้เห็นรูปนี้แล้ว ชอบ มีความสุข (สุขเวทนา)


คนบางคน ได้เห็นรูปนี้แล้ว ไม่ชอบ มีความทุกข์ (ทุกขเวทนา)


คนบางคน ได้เห็นรูปนี้แล้ว เฉยๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข (อทุกขมสุขเวทนา)


คนบางคน ได้กินปลาร้าแล้ว อร่อย ชอบ มีความสุข (สุขเวทนา)


คนบางคน ได้กินปลาร้าแล้ว ไม่อร่อย ไม่ชอบ มีความทุกข์ (ทุกขเวทนา)


คนบางคน ได้กินปลาร้าแล้ว เฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ (อทุกขมสุขเวทนา) ฯลฯ

 

๓. ความสุข ที่เกิดขึ้นจาก การปรุงแต่ง (สังขาร) ของจิตใจ ไปตามอำนาจของกิเลส หรือ โลกียสุข แท้จริงแล้ว คือ บ่อเกิดของความทุกข์ ความโศก โรค โทษ และ ภัย ทั้งหลาย


“ความสุข (โลกียสุข) และ ความทุกข์ เป็นสิ่งที่เกิดมาคู่กัน ไม่สามารถแยกออกจากกันได้”


๔. ความสุขและความทุกข์ ที่เกิดจาก การปรุงแต่ง (สังขาร) ของจิตใจ ไปตามอำนาจของกิเลส เป็นสิ่งที่คนเรา สามารถทำให้ดับสิ้นไปจากจิตใจได้ หรือ สามารถทำความปล่อยวางได้


๕. หากเราต้องการจะพ้นทุกข์ เราต้องทำความปล่อยวาง ทั้งความสุขและความทุกข์ ที่เกิดจาก การปรุงแต่ง (สังขาร) ของจิตใจ ไปตามอำนาจของกิเลส หรือ ต้องทำให้ ทั้งความสุขและความทุกข์ ที่เกิดจาก การปรุงแต่ง (สังขาร) ของจิตใจ ไปตามอำนาจของกิเลส ดับสูญสิ้นไป จากจิตใจของเรา ให้เป็นอนัตตา (ล้างอุปาทาน)


๖. การทำความปล่อยวาง ความสุขและความทุกข์ ที่เกิดจาก การปรุงแต่ง (สังขาร) ของจิตใจ ไปตามอำนาจของกิเลส ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เราต้องเพียรหมั่นอบรมจิต (สมถภาวนา) และ เราต้องเพียรหมั่นอบรมปัญญา (วิปัสสนาภาวนา) เพื่อทำให้เห็น “จนชัดแจ้งที่ใจ” ในความเป็น อนิจจัง ทุกขัง และ อนัตตา ของความสุขและความทุกข์ ที่เกิดจาก การปรุงแต่ง (สังขาร) ของจิตใจ ไปตามอำนาจของกิเลส หรือ ต้องทำให้เกิดปัญญาในทางธรรม เพื่อล้างอวิชชา (ล้างอุปาทาน)


“การรู้เพียงนิรุตติภาษา หรือ การรู้ด้วยปัญญาในทางโลก ไม่สามารถจะทำให้เกิด การปล่อยวางได้”


๗. เมื่อเราปล่อยวาง “ความทุกข์ ที่เกิดจาก การปรุงแต่ง (สังขาร) ของจิตใจ ไปตามอำนาจของกิเลส” ได้แล้ว เราจะได้รับ “ความสุขสงบ หรือ วูปสโมสุข” ในระดับหนึ่ง


๘. เมื่อเราได้รับ “ความสุขสงบ หรือ วูปสโมสุข” ในระดับหนึ่งแล้ว เราจะรู้ว่า “ความสุขสงบ หรือ วูปสโมสุข” คือความสุขที่แท้จริง ที่ยิ่งใหญ่ เหนือกว่า “โลกียสุข” มากมาย เราจะเริ่มมองเห็น ความจริงตามความเป็นจริงของ “โลกียสุข” และ เราจะเริ่มมีความปรารถนา อยากจะปล่อยวาง “โลกียสุข หรือ ความสุข ที่เกิดจาก การปรุงแต่ง (สังขาร) ของจิตใจ ไปตามอำนาจของกิเลส”


๙. ยิ่งเราปล่อยวาง “โลกียสุข” ได้มากเท่าใด เรายิ่งได้รับ “ความสุขสงบ หรือ วูปสโมสุข” มากขึ้นเท่านั้น


๑๐. ที่สุดของความสุขสงบ หรือ วูปสโมสุข คือ พระนิพพาน


๑๑. ทางเดินสู่ความพ้นทุกข์ คือ มรรคมีองค์ ๘


๑๒. การเดินไปตามทาง มรรคมีองค์ ๘ ต้องใช้ ศีล สมาธิ และ ปัญญา (ไตรสิกขา) ขับเคลื่อน


๑๓. หลักธรรมที่ต้องใช้ประกอบกัน เพื่อทำให้คนเราพ้นทุกข์ คือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประกอบด้วย สติปัฏฐาน ๔, สัมมัปปธาน ๔, อิทธิบาท ๔, อินทรีย์ ๕, พละ ๕, โพชฌงค์ ๗ และ มรรคมีองค์ ๘


๑๔. การก้าวเดินไปตามทาง มรรคมีองค์ ๘ หรือ การก้าวเดินไป ในทางธรรม ยิ่งก้าวเดินไปข้างหน้า ยิ่งสุข ยิ่งสงบ ยิ่งเบา ยิ่งสบาย และ มีจุดหมายปลายทาง คือ พระนิพพาน


๑๕. การก้าวเดินไปในทางโลก ยิ่งก้าวเดินไปข้างหน้า ยิ่งทุกข์ ยิ่งเครียด ยิ่งเหนื่อย ยิ่งหนัก และ มองไม่เห็นจุดหมายปลายทาง อันเป็นที่สิ้นสุด


“การก้าวเดินไปในทางโลก เป็นการเวียนวน อยู่ในวังวนของ “ความสุข (โลกียสุข)” และ “ความทุกข์” อันไม่มีที่สิ้นสุด”


๑๖. การปฏิบัติธรรม เพื่อให้ได้มรรคผลจริง ต้องปฏิบัติให้ถูกมรรคถูกทาง ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามลำดับ ต้องมีผัสสะเป็นปัจจัย และ ต้องมองให้เห็นมรรคผลแม้มีประมาณน้อย


๑๗. บทสรุปของการปฏิบัติธรรม เพื่อความพ้นทุกข์ หรือ ภารกิจที่สำคัญของชีวิต คือ ๑. การไม่ทำบาปอกุศลทั้งปวง ทั้งทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ, ๒. การทำกุศลทั้งหลาย ให้ถึงพร้อม ทั้งทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ และ ๓. การทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส ด้วยการชำระล้าง กิเลส ตัณหา และอุปาทาน ออกจากจิตใจ 


๑๘. เป้าหมายที่แท้จริงของชีวิต คือ ความพ้นทุกข์


๑๙. ความสุขที่แท้จริงของชีวิต อยู่ที่ใจ ไม่ต้องไปแสวงหา จากที่อื่นใด ให้ทำที่ใจ ของตน


๒๐. ความสุขที่แท้จริงของชีวิต ไม่อาจซื้อหาเอามาได้ ด้วยทรัพย์สินเงินทอง ไม่ว่ายาจกหรือเศรษฐี ก็มีสิทธิได้ครอบครอง เสมอกัน

ฯลฯ


***************


การปฏิบัติธรรม ตามคำสอนของพระพุทธองค์ ทำให้ผู้เขียนหลุดพ้นจาก “ความทุกข์ ความเครียด และ ความวิตกกังวลใจ” ที่ผู้เขียนเคยมี

 

การปฏิบัติธรรม ตามคำสอนของพระพุทธองค์ ทำให้ผู้เขียนได้รับ “ความสุขสงบ หรือ วูปสโมสุข” มากขึ้น โดยลำดับ

 

ธรรมของพระพุทธองค์ คือ หนทางสู่ความพ้นทุกข์ อย่างแท้จริง

 

ธรรมของพระพุทธองค์ คือ คำตอบของชีวิต


***************


การปฏิบัติธรรม เป็นสิ่งที่มีความยากลำบาก ในช่วงต้นๆ เท่านั้นเอง


ถ้าเราปฏิบัติธรรม “อย่างถูกมรรคถูกทาง” และ “อย่างถูกต้องตามลำดับ” โดยมีความเพียรเป็นที่ตั้ง แล้ว


เราจะได้รับมรรคผล เป็น “ความสุขสงบ (วูปสโมสุข)” ในเวลาไม่นานมากนัก


และ เมื่อเราได้รับมรรคผล เป็น “ความสุขสงบ (วูปสโมสุข)” แล้ว


เราก็จะมี “ฉันทะ” มากขึ้น มี “พลังศรัทธา” มากขึ้น มี “พลังความเพียร” มากขึ้น มี “พลังสติ” มากขึ้น มี “พลังสมาธิ” มากขึ้น และ มี “พลังปัญญา” มากขึ้น


ทำให้การปฏิบัติธรรม ง่ายขึ้น และ มีความก้าวหน้า เร็วขึ้น


***************


กี่ปี กี่เดือน กี่วัน แล้ว


ที่พวกเรา เดินอยู่บนเส้นทาง “สายโลกิยะ”


เหนื่อยไหม? ทุกข์ไหม? เบื่อไหม?


ลองเปลี่ยน มาเดินบนเส้นทาง “สายโลกุตระ” ดีกว่าไหม?

 

ชาญ คำพิมูล




 

Create Date : 17 สิงหาคม 2562
0 comments
Last Update : 28 กรกฎาคม 2563 4:21:25 น.
Counter : 1920 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.