"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2563
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
282930 
 
21 มิถุนายน 2563
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 

57. อ.อารมณ์ดี ไม่มีปัญหา



อ.อารมณ์ดี ไม่มีปัญหา

เป็น อ. ที่มีความสำคัญมากที่สุด

และ เป็น อ. ที่ทำ ยากที่สุด
 
***************
 
วิธีการทำตน ให้เป็นคน "อารมณ์ดี ไม่มีปัญหา” คือ

1. ขจัด “อารมณ์ที่ไม่ดี” ออกไปจากชีวิตและจิตใจ

2. ทำชีวิตให้ติดบวก ในทางโลก

3. ทำชีวิตให้ติดบวก ในทางธรรม
 
***************
 
อารมณ์ที่ไม่ดี ที่ต้องขจัดออกไปจากชีวิตและจิตใจ คือ

อารมณ์ทุกข์ อารมณ์เครียด อารมณ์วิตกกังวลใจ

อารมณ์ไม่ชอบใจ อารมณ์ไม่พอใจ อารมณ์อึดอัดขัดเคืองใจ

อารมณ์โกรธ อารมณ์ฉุนเฉียวโมโหร้าย อารมณ์พยาบาทอาฆาตแค้น

อารมณ์เกลียดชัง อารมณ์หงุดหงิดรำคาญใจ อารมณ์อิจฉาริษยา

อารมณ์น้อยใจ อารมณ์ท้อแท้ใจ

อารมณ์โลภ อยากได้ อยากมี และ อยากเป็น ในสิ่งที่มากมายเกินความจำเป็นของชีวิต

ฯลฯ
 
***************
 
การขจัด “อารมณ์ที่ไม่ดี” ออกไปจากชีวิตและจิตใจ คือ การเพ่งพิจารณา เพื่อ “ปล่อยวางอารมณ์ที่ไม่ดี”

การเพ่งพิจารณา เพื่อ “ปล่อยวางอารมณ์ที่ไม่ดี” มีวิธีการ ดังนี้

1. เพียรหมั่นเพ่งพิจารณา ให้เห็นจนชัดแจ้งว่า “อารมณ์ที่ไม่ดีทั้งหลาย” เป็นสิ่งที่ มีความไม่เที่ยง และ มีความไม่ยั่งยืน เป็นธรรมดา (อนิจจัง) ถ้าเราไม่เอาจิตเอาใจ เข้าไปปรุงแต่งร่วม (สังขาร) มันจะดับลงไปเอง ในเวลา ไม่นานนัก

2. เพียรหมั่นเพ่งพิจารณา ให้เห็นจนชัดแจ้งว่า “อารมณ์ที่ไม่ดีทั้งหลาย” เป็นสิ่งที่ ก่อโทษและก่อภัย และ มันเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายและโรคต่างๆ มากมาย (ทุกขัง)

3. เพียรหมั่นเพ่งพิจารณา ให้เห็นจนชัดแจ้งว่า “อารมณ์ที่ไม่ดีทั้งหลาย เป็นสิ่งที่ ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนของตน ไม่ควรหลงไปยึดมั่นถือมั่นเอาไว้ และ เป็นสิ่งที่ สามารถทำให้ลดลงได้ จางคลายลงได้ และ ดับสูญสิ้นไปจากชีวิตและจิตใจได้ (อนัตตา)

4. เพียรหมั่นเพ่งพิจารณา ให้เห็นจนชัดแจ้งว่า จริงๆแล้ว...

เราไม่ควรทุกข์ เราไม่ควรเครียด เราไม่ควรวิตกกังวลใจ

เราไม่ควรไม่ชอบใจ เราไม่ควรไม่พอใจ เราไม่ควรอึดอัดขัดเคืองใจ

เราไม่ควรโกรธ เราไม่ควรฉุนเฉียวโมโหร้าย  เราไม่ควรพยาบาทอาฆาตแค้น

เราไม่ควรเกลียดชัง เราไม่ควรหงุดหงิดรำคาญใจ เราไม่ควรอิจฉาริษยา

เราไม่ควรน้อยใจ เราไม่ควรท้อแท้ใจ

เราไม่ควรโลภ เราไม่ควรอยากได้ เราไม่ควรอยากมี และ เราไม่ควรอยากเป็น ในสิ่งที่มากมายเกินความจำเป็นของชีวิต

ฯลฯ

***************

ผู้ที่มีชีวิต “ติดลบในทางโลก” มักจะเป็นผู้ที่มี “อารมณ์ทุกข์ อารมณ์เครียด และ อารมณ์วิตกกังวลใจ” เป็นธรรมดา

ดังนั้น จึงควรทำให้ชีวิต ติดบวกในทางโลก

การทำให้ชีวิต ติดบวกในทางโลก มีวิธีการ ดังนี้

1. หยุดสร้างภาระ ที่เกินตัว หรือ ที่เกินกำลังของตน เข้ามาทับถมตน

2. พยายามปลดเปลื้องภาระหนี้สิน ที่มีอยู่

3. เริ่มต้น เก็บเงินสำรอง เพื่อทำให้ยอดเงินเก็บ สูงกว่า ภาระหนี้สิน

4. จัดสรรรายได้ที่ได้รับมา ให้เหมาะสม คือ

ส่วนหนึ่ง...ใช้เลี้ยงชีพตน

ส่วนหนึ่ง...เก็บสำรองเอาไว้ ตามสมควร

ส่วนหนึ่ง...ใช้แสวงหาความสุข ให้แก่ตน

และ อีกส่วนหนึ่ง ใช้สร้างกุศล เพื่อสั่งสม “วิบากกรรมดี(กุศลวิบาก)”
 
***************

ชีวิตที่ติดบวกในทางธรรม หมายถึง ชีวิตที่มี “วิบากกรรมดี หรือ กุศลวิบาก” มากกว่า “วิบากกรรมไม่ดี หรือ อกุศลวิบาก”

ชีวิตที่ติดลบในทางธรรม หมายถึง ชีวิตที่มี “วิบากกรรมดี หรือ กุศลวิบาก” น้อยกว่า “วิบากกรรมไม่ดี หรือ อกุศลวิบาก”

วิบากกรรมดี หรือ ผลของการกระทำดี คือ การได้ประสบกับความสุข การได้ลาภ การได้ยศ การได้สรรเสริญ การได้ห่างไกลจาก “ความทุกข์ ความโศก โรค โทษ และ ภัย” การได้รับการช่วยเหลือเกื้อกูลจากผู้อื่น และ การได้รับ หรือ การได้ประสบกับ สิ่งที่ดีๆทั้งหลาย

วิบากกรรมไม่ดี หรือ ผลของการกระทำไม่ดี คือ การได้ประสบกับ “ความทุกข์ ความโศก โรค โทษ และ ภัย” การไม่มีลาภ การเสื่อมลาภ การไม่มียศ การเสื่อมยศ การไม่ได้รับคำสรรเสริญ การได้รับคำนินทาว่าร้าย และ การได้รับ หรือ การได้ประสบกับ สิ่งที่ไม่ดีทั้งหลาย
 
***************
 
ผู้ที่มีชีวิต “ติดลบในทางธรรม” มักจะเป็นผู้ที่ “มีปกติอารมณ์ไม่ดี”

เพราะเหตุว่า ผู้ที่มีชีวิต “ติดลบในทางธรรม” มักจะได้รับสิ่งที่ไม่ดี หรือ มักจะได้ประสบกับสิ่งที่ไม่ดี อันเป็นผลมาจาก “กรรมไม่ดี” ที่เขาได้เคยกระทำ สั่งสมเอาไว้ ในอดีต ทั้งในชาตินี้ และ ชาติก่อนๆ

ดังนั้น จึงควรทำให้ชีวิต ติดบวกในทางธรรม

การทำให้ชีวิต ติดบวกในทางธรรม มีวิธีการดังนี้

1. ไม่ทำบาปอกุศลทั้งปวง ทั้งทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ หรือ ไม่กระทำอกุศลวิบาก (วิบากกรรมไม่ดี) มาเติมเพิ่ม ให้กับชีวิต

2. เพียรหมั่นทำกุศลกรรมทั้งหลาย ทั้งทางกาย ทางวาจา และ ทางใจ หรือ เพียรหมั่นทำกุศลวิบาก (วิบากกรรมดี) มาเติมเพิ่ม ให้กับชีวิต (คิดดี พูดดี และ ทำดี ให้ติดเป็นนิสัย)

ชาญ คำพิมูล


 




 

Create Date : 21 มิถุนายน 2563
0 comments
Last Update : 21 มิถุนายน 2563 7:29:34 น.
Counter : 565 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.