"ไม่มีใครผู้ใด ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้ ตัวของเราเท่านั้น ที่จะทำให้เรา พ้นทุกข์ได้"

สมาชิกหมายเลข 5067499
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 5 คน [?]




ศึกษาและปฏิบัติธรรม มากกว่า 38 ปี
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2562
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
1 มิถุนายน 2562
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add สมาชิกหมายเลข 5067499's blog to your web]
Links
 

 

20. การกำหนดตั้งศีล เพื่อยึดถือปฏิบัติ ให้เป็นปกติ


การกำหนดตั้งศีล เพื่อยึดถือปฏิบัติ ให้เป็นปกติ

การปฏิบัติธรรม เพื่อความพ้นทุกข์ คือ การปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา” ให้เกิดเป็น “อธิศีล อธิจิต และ อธิปัญญา” เพื่อทำให้เกิด การเคลื่อนที่ไปตามทาง “มรรคมีองค์ ๘” สู่ความพ้นทุกข์

“ศีล” คือ สิ่งที่กำหนดตั้งขึ้นมา เพื่อยึดถือปฏิบัติ ให้เป็น “ปกติ” หรือ ให้เป็น “นิสัย” (ปกติวิสัย)

“ศีล” คือ สิ่งที่กำหนดตั้งขึ้นมา
เพื่อขัดเกลา หรือ เพื่อชำระล้าง กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ออกจากจิตใจ ให้หมดสิ้น

กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ซึ่งเป็นมูลเหตุของความทุกข์ ที่เราต้องชำระล้างออกจากจิตใจ ให้หมดสิ้น คือ ความโลภ ความโกรธ และ ความหลง

“ศีล” ที่พระพุทธองค์ ทรงกำหนดตั้งขึ้นมา เป็นเบื้องต้น เพื่อให้พวกเรา ได้ยึดถือปฏิบัติ ให้เป็นปกติ คือ ศีล ๕

***************

การปฏิบัติ “ศีล สมาธิ และ ปัญญา” ในเบื้องต้น คือ การปฎิบัติศีล ๕ ให้เป็นปกติ โดยใช้ สมาธิ และ ปัญญา ร่วมกัน

ศีล ๕ ประกอบด้วย

๑. งดเว้นจากการฆ่าสัตว์
๒. งดเว้นจากการลักทรัพย์
๓. งดเว้นจากการประพฤติในกาม
๔. งดเว้นจากการพูดเท็จ
๕. งดเว้นจาก การดื่มสุราเมรัย และ การเสพสิ่งเสพติดทั้งหลาย

มูลเหตุสำคัญ ที่ทำให้คนเรา ประพฤติผิดศีล ๕ คือ กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ที่ครอบงำจิตใจของคนเราอยู่ อันได้แก่ ความโลภ ความโกรธ และ ความหลง

ตัวอย่าง เช่น การฆ่าสัตว์ (รวมถึงคนด้วย) อาจเกิดจาก

๑. ความโกรธ ที่มีอยู่มากมาย ภายในจิตใจ จนกลายเป็น ความพยาบาท ความอาฆาทแค้น จนต้องฆ่าผู้อื่น และ สัตว์อื่น

๒. ความโลภ ความอยากได้ ความอยากมี และ ความอยากเป็น ที่มีอยู่มากมาย ภายในจิตใจ จนต้องฆ่าผู้อื่น และ สัตว์อื่น

๓. ความหลง ที่มีอยู่มากมาย ภายในจิตใจ จนต้องฆ่าผู้อื่น และ สัตว์อื่น

การปฏิบัติศีล ๕ คือ การปฏิบัติ เพื่อขัดเกลา หรือ เพื่อชำระล้าง กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน คือ ความโลภ ความโกรธ และ ความหลง ที่มีอยู่ภายในจิตใจ ให้ลดลง ให้จางคลายลง โดยใช้ สมาธิ และ ปัญญา ร่วมกัน

***************

เมื่อเรามีศีล ๕ เป็นปกติแล้ว

เราต้องกำหนดตั้ง “ศีล” ให้สูงขึ้น ให้เป็น “อธิศีล”

เพื่อขัดเกลา หรือ เพื่อชำระล้าง กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน คือ ความโลภ ความโกรธ และ ความหลง ที่มีอยู่ในจิตใจ ออกจากจิตใจ ให้หมดสิ้น

การกำหนดตั้ง “ศีล” ให้สูงขึ้น ให้เป็น “อธิศีล” คือ การนำเอากิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ในระดับหยาบ ในระดับกลาง และ ในระดับละเอียด มากำหนดตั้ง ให้เป็น “ศีล” ตามลำดับ ดังนี้

๑. กิเลสในระดับหยาบ ได้แก่ ความทุกข์ ความเครียด ความวิตกกังวลใจ, ความโลภ ความอยากได้ ความอยากมี และ ความอยากเป็น ที่มีมากมาย จนเกินความจำเป็นของชีวิต, ความโกรธ ความขัดเคืองใจ ความไม่พอใจ, ความหลงติดใจในโลกียสุข ที่ทำให้เกิดโทษและเกิดภัย แก่ตน แก่ผู้อื่น และ แก่สัตว์อื่น, ความหลงเข้าไปเกี่ยวข้องกับอบายมุขทั้งหลาย ฯลฯ

๒. กิเลสในระดับกลาง ได้แก่ อารมณ์ชอบใจ และ อารมณ์ไม่ชอบใจ ที่เกิดจาก กามคุณ ๕ คือ รูป รส กลิ่น เสียง และ สัมผัส

๓. กิเลสในระดับละเอียด ได้แก่ รูปราคะ คือ ความกำหนัดยินดี ที่เกิดขึ้นโดยอาศัยรูปในจิต, อรูปราคะ คือ ความกำหนัดยินดี ที่เกิดขึ้น โดยไม่อาศัยรูป, มานะ คือ ความถือตัวถือตนเป็นใหญ่, อุทธัจจะ คือ ความฟุ้งซ่าน และ อวิชชา คือ ความหลงยึดมั่นถือมั่นในจิต และ เจตสิก

***************

ถ้าไม่มีการกำหนดตั้ง “ศีล” ให้สูงขึ้น โดยลำดับ

ก็จะไม่เกิด การบรรลุธรรม โดยลำดับ คือ พระโสดาบัน พระสกิทาคามี  พระอนาคามี และ พระอรหันต์

ถ้าไม่มีการกำหนดตั้ง “ศีล” ให้สูงขึ้น โดยลำดับ

ก็จะไม่เกิด การเคลื่อนที่ไปตามทาง “มรรคมีองค์ ๘” สู่ความพ้นทุกข์

***************

เมื่อเรากำหนดตั้ง “ศีล” ขึ้นมา เพื่อยึดถือปฏิบัติแล้ว

เราต้องปฏิบัติ “สมาธิ” และ “ปัญญา” ร่วมกัน

เพื่อขัดเกลา หรือ เพื่อชำระล้าง กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ซึ่งเป็นมูลเหตุที่ทำให้เรา “ละเมิดศีล” ออกจากจิตใจ

เมื่อเราสามารถชำระล้าง กิเลส ตัณหา และ อุปาทาน ซึ่งเป็นมูลเหตุที่ทำให้เรา “ละเมิดศีล” ออกจากจิตใจ ได้แล้ว

“ศีล” ก็จะกลายเป็นปกติวิสัยของเรา (ไม่ต้องยึด ไม่ต้องถือ)

***************

ศีล (สก. ศีล มค. สีล) น. ความเคย, นิสัย, ความประพฤติองค์แห่งจรรยา, ข้อบัญญัติสำหรับความประพฤติ, บัญญัติทางพระพุทธศาสนา, ศีล คือ การรักษากายวาจาให้เรียบร้อยเป็นปรกติ หมายถึง ความประพฤติกายและวาจาให้สุภาพเรียบร้อยเพื่อรักษาสันติสุขแห่งประชุมชน, ศีลในพระพุทธศาสนา

อธิ (มค. อธิ) คำใช้ประกอบหน้าศัพท์อื่น แปลว่า พ้น, เหนือ, ทับ, ยิ่ง, เจริญ, เช่น อธิราช = พระราชาผู้ยิ่งใหญ่กว่าราชาอื่นๆ

*** ความหมายจาก พจนานุกรมแปล ไทย-ไทย อ.เปลื้อง ณ นคร

ชาญ คำพิมูล

 




 

Create Date : 01 มิถุนายน 2562
2 comments
Last Update : 12 พฤศจิกายน 2562 7:29:52 น.
Counter : 1817 Pageviews.

 

ผมเพิ่งไปรับศิลแปดมา เมื่อไม่นานครับ ตอนนี้ถือศิลห้า..

...

เป็นนักวิ่งด้วยเหรอครับ

 

โดย: ไวน์กับสายน้ำ 1 มิถุนายน 2562 17:32:04 น.  

 

สาธุ สาธุ สาธุครับ คุณไวน์กับสายน้ำ

ผมเน้นดูแลทั้งสุขภาพจิต และ สุขภาพกาย ไปพร้อมๆกันครับ

 

โดย: chancamp (chancamp ) 1 มิถุนายน 2562 17:41:27 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.