Group Blog
 
 
สิงหาคม 2557
 
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
 
31 สิงหาคม 2557
 
All Blogs
 

เคลือบผลึก หรือ reactive glaze

                   รับปากกับใครหลายคนว่าจะเขียนบทความเกี่ยวกับเคลือบสวยๆเพื่อให้พวกเราชาวเซรามิกไปพัฒนาต่อยอดอย่างต่อเนื่องเขียนถึงเคลือบมาหลายตัวแล้วทั้งเคลือบ Kinyo,Tesha aventurine,  Copper red, Temmoku oil spot,Namako และ เคลือบผลึก ครั้งนี้ขอเขียนถึงเคลือบผลึกหรือReactive glaze  ซึ่งเป็นเคลือบที่นิยมแพร่หลายในวงการนักเซรามิค โดยเป็นการผสมผสานระหว่างการตกผลึกเล็กๆกับการหลอมตัวที่ดีและให้ผลึกละลายเข้าไปในเนื้อแก้วเซรามิครวมทั้งอาจใช้เทคนิคเรื่องความแตกต่างของจุดหลอมตัวของเคลือบ 2 ตัวหรือเป็นการผสมกันของเคลือบที่หลอมตัวทั้งคู่ก็ได้

                 เคลือบ Reactive นั้นมีลักษณะคือสีเคลือบจะเป็นริ้วที่มีส่วนผสมมากกว่าหนึ่งสีซึ่งเกิดจากการผสมกันของวัตถุดิบที่มาเกิดปฏิกิริยากันที่อุณหภูมิสูงบริเวณตรงที่เคลือบบางจะมีสีแตกต่างจากตรงที่มีเคลือบหนา ทำให้เกิดความแตกต่างของสีที่ชัดเจนและนี่คือเสน่ห์ของเคลือบผลึกที่แตกต่างจากเคลือบสีโดยทั่วไปโดยเป็นเคลือบที่มีส่วนผสมของวัตถุดิบซึ่งทำให้เกิดผลึกเล็กๆละลายอยู่ในเนื้อเคลือบโดยตัวที่นิยมทำให้เกิดผลึกละเอียดๆเช่นนี้ได้แก่ Dolomite, Wollastonite ,TiO2, ZnO, BaCO3 ซึ่งเมื่อเราใส่วัตถุดิบดังกล่าวในปริมาณที่เหมาะสมและในสูตรเคลือบพื้นฐานของเราเป็นเคลือบที่หลอมตัวดีและมีการไหลตัวดีได้แก่ เฟลด์สปาร์, หินปูน หรือแม้แต่เคลือบฟริตก็จะทำให้เกิดการละลายของผลึกที่ตกมาจาก CaO, MgO ,TiO2, ZnO,BaO

               การทำเคลือบ Reactive ยังสามารถทำได้โดยอาศัยการเกิดปฏิกิริยาระหว่างเคลือบพื้นกับเคลือบทับโดยที่ทำให้เคลือบพื้นมีความแข็งหรือหลอมตัวต่ำกว่าเคลือบทับทำให้เกิดการดึงตัวกันระหว่างพื้นกับทับและเกิดสีที่แตกต่างกันที่บริเวณขอบหรือในจุดที่เคลือบทับมีการไหลตัวที่ดีทำให้มีสีที่แตกต่างกันในแต่ละตำแหน่งและดูมีมิติ

              ข้อเสียของเคลือบผลึกอันหนึ่งก็คือเคลือบตัวนี้จะค่อนข้างควบคุมเฉดสีได้ยาก โดยเฉพาะถ้าการควบคุมการผลิตสีเคลือบการชุบเคลือบและการเผาเคลือบไม่ดีพอจะทำให้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เคลือบตัวนี้มีโทนสีที่แตกต่างกันในแต่ละชิ้นได้ซึ่งถ้าเป็นงานศิลปะก็จะดูมีคุณค่าเพราะไม่เหมือนกันในแต่ละใบ แต่ถ้าเป็นงาน Massที่ลูกค้าต้องการสีใกล้เคียงกัน จะมีปัญหาได้แต่การควบคุมคุณภาพก็สามารถทำได้ แม้ว่าไม่สามารถทำให้เคลือบ Reactive เหมือนกันทุกชิ้นได้เหมือนเคลือบสีธรรมดาแต่ก็สามารถที่จะควบคุมโทนสีให้ใกล้เคียงกันจนลูกค้ายอมรับได้ โดยอาจจะจัดชุดที่สินค้าที่มีvariation และให้ลูกค้าเซ็นต์รับรองว่ารับสีเฉดใดได้บ้าง 

                จุดสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการผลิตเคลือบผลึกแบบ Mass production ก็คือเรื่องการเผาเคลือบ Reactive เพราะจะ Sensitive กับอุณหภูมิค่อนข้างมากและเคลือบบางตัวก็Sensitive ต่อบรรยากาศในเตาด้วยซึ่งโรงงานขนาดเล็กและขนาดกลางส่วนใหญ่ยังใช้เตา Shuttle และเตาอุโมงค์ (Tunnel kiln) ที่มีความแตกต่างของอุณหภูมิในแต่ละตำแหน่งเตาที่ไม่เท่ากันดังนั้นในการผลิตต้องสังเกตว่าตำแหน่งตรงไหนของเตาที่ทำให้เคลือบนี้เกิดเฉดสีใด ก็ต้องเรียงสินค้าในตำแหน่งบริเวณดังกล่าวและหาของที่เป็นเคลือบอื่นที่ไม่Sensitive ต่ออุณหภูมิ มาเรียงเสริมให้จนเต็มเตาก็จะสามารถควบคุมเฉดของผลิตภัณฑ์นี้ได้นอกเสียจากโรงงานไหนจะมีผู้ชำนาญการในการปรับเตา Shuttle และเตาอุโมงค์จนไม่มีความแตกต่างของอุณหภูมิได้นั่นแหละคุณก็สามารถจะเรียงตรงส่วนไหนของเตาก็ได้

              ผลิตภัณฑ์ที่ใช้เคลือบผลึกนี้ สามารถใช้ได้ทั้งกับของตกแต่งบ้าน ถ้วยชาม แก้วเซรามิค กระเบื้อง รวมถึงปัจจุบันเครื่องสุขภัณฑ์ก็ยังนำเคลือบแบบนี้มาใช้กับ ส้วม อ่างล้างหน้า และชุดเครื่องใช้ในห้องน้ำอื่นๆสำหรับคนที่เบื่อความจำเจของสุขภัณฑ์สีขาวที่เราเห็นมาตั้งแต่ยุคก่อนชิ้นงานที่เหมาะสำหรับเคลือบชนิดนี้ ควรมีพื้นผิวที่ไม่เรียบนัก อาจมีส่วนนูน ร่องซึ่งจะทำให้เกิดความแตกต่างของสีในส่วนที่เป็นร่องกับส่วนนูน ทำให้เกิดสีที่หลากหลายในชิ้นงานเดียวกันและนี่คือเสน่ห์ของเคลือบผลึกนั่นเอง 

ขอขอบคุณ ดร.คชินท์ สายอินทวงศ์ สำหรับข้อมูลดีๆด้านบนนี้ด้วยครับ

//www.ceramiclover.com




 

Create Date : 31 สิงหาคม 2557
0 comments
Last Update : 31 สิงหาคม 2557 21:00:13 น.
Counter : 3260 Pageviews.


amean
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add amean's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.