ตุลาคม 2551

 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
31
 
 
All Blog
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
ปกติผมไม่ค่อยถนัดเขียนเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บ อาจจะเพราะตนเองไม่ค่อยมีประสบการณ์เกี่ยวกับการเจ็บไข้ได้ป่วยบ่อยนักก็เป็นได้

วันนี้ค้นหนังสือเก่าๆในห้องสมุดส่วนตัวดู พบหนังสือเล่มหนึ่ง เป็นหนังสืออนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ อาจารย์สุทธิ เพ็งปาน เมื่อวันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2541 หนังสือเล่มนี้นับว่าเป็นหนังสืออนุสรณ์งานศพที่จัดว่าสวยงามเล่มหนึ่ง พิมพ์ด้วยกระดาษอย่างดี หน้าปกเป็นภาพดอกกุหลาบสวยงามทั้งปกหน้าและปกหลัง เรียกว่าถ้าดูเผินๆอาจจะไม่ทราบว่านี่เป็นหนังสืออนุสรณ์งานศพ ฉีกแนวหนังสือประเภทนี้ที่นิยมกันมานานว่า รูปแบบต้องเรียบๆ หนังสือเล่มนี้มีความหนาประมาณ 200 หน้า ส่วนใหญ่เนื้อหาจะเป็นประวัติของผู้ตาย ภาพต่างๆที่เกี่ยวข้อง คำไว้อาลัยของญาติมิตร เพื่อน ผู้ที่เคารพนับถือ เพราะอาจารย์เป็นบุคคลที่มีลูกศิษย์ลูกหามากมายทั่วประเทศ

ในเล่มมีบทความน่าสนใจสองเรื่องคือ เรื่อง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ เขียนโดย ศ.นพ.วิเชียร ทองแตง เป็นบทความสั้นๆ อ่านง่ายและให้ความรู้ที่ดี อีกเรื่องหนึ่งคือเรื่อง เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย ซึ่งผมจะนำมาถ่ายทอดให้อ่านในโอกาสต่อไป

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ




โดย



ศ.นพ.วิเชียร ทองแตง




โรคหลอดเลือดหัวใจตีบส่วนใหญ่กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ มีสาเหตุจากผนังหลอดเลือดหนาแข็งตัว ซึ่งเกิดจาก "ปัจจัยเสี่ยง" ต่างๆ ดังนั้น ประชาชนทั่วไปควรรู้เพื่อประโยชน์ในการป้องกันโรค ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญๆได้แก่ ไขมันสูงในกระแสเลือด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โคเลสเตอรอล การสูบบุหรี่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน นอกจากนั้นยังอาจรวมถึงความเครียด ทำงานนั่งโต๊ะไม่ออกกำลังกาย โรคอ้วนในแง่พยาธิสภาพของหลอดเลือดที่หนาแข็งตัว แพทย์พบว่าภายในประกอบด้วยสารไขมันโคเลสเตอรอลเป็นส่วนใหญ่








โดยสรุป ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่างๆเหล่านี้มักจะมีการหนาแข็งตัวของผนังหลอดเลือด และมีแนวโน้วที่จะหนาขึ้นเรื่อยๆ และนูนเข้าไปภายในท่อหลอดเลือด ส่วนใหญ่จะใช้เวลาหลายปี จนมีขนาดใหญ่และอุดกั้นการไหลของเลือด และทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด แต่ในทางตรงกันข้ามผู้ที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่างๆเหล่านี้ อาจเกิดโรคได้แม้โอกาสจะน้อยกว่า ดังนั้นทุกคนไม่ควรประมาท ท่านควรต้องรู้จักและจำปัจจัยเสี่ยงต่างๆนี้ไว้ให้ดี

อาการของหลอดเลือดหัวใจตีบ
อาการนั้นจะปรากฎต่อเมื่อหลอดเลือดตีบไปมากแล้ว เช่น ตีบไปแล้ว 50-75 เปอร์เซ็นต์ ขนาดท่อภายในเหลือเพียง 25-50 เปอร์เซ็นต์ และมีผลทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลง จะเกิดความิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจและทำให้เกิดอาการต่างๆ อาการที่พบบ่อยได้แก่

1.การเจ็บหรือปวด หรือแน่นหน้าอก
2.อาการที่เกิดจากการเสื่อมสมรรถภาพของกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งหมายถึงหัวใจวายเลือดคั่ง

อาการเหล่านี้เป็นอาการของกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด อันเป็นผลจากหลอดเลือดหัวใจตีบ ดังนั้น ความรุนแรงของอาการจึงขึ้นอยู่กับ

1.ระดับการขาดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งขึ้นอยู่กับการตีบมากหรือตีบน้อยของหลอดเลือดหัวใจ
2.สภาวะการทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ ถ้าหัวใจทำงานมากย่อมต้องใช้พลังงานมาก แต่เลือดมาเลี้ยงได้น้อยเพราะหลอดเลือดตีบ กล้ามเนื้อหัวใจจะขาดเลือดมาก อาการต่างๆมักรุนแรงขึ้น ในทางตรงกันข้ามถ้าหัวใจทำงานน้อยลง การใช้พลังงานลดลง แม้เลือดจะมาเลี้ยงน้อยลงก็อาจเพียงพอ ดังนั้นอาการอาจจะไม่รุนแรงหรือกลับทุเลาลง เปรียบเหมือนรถยนต์ที่ขับเร็วพอควร วิ่งบนพื้นราบย่อมกินน้ำมันน้อยกว่าการขับเร็วมากและวิ่งขึ้นเขา ถ้าท่อน้ำมันเปรียบเสมือนหลอดเลือดหัวใจ เล็กหรือตีบแคบ น้ำมันไหลไม่สะดวก เครื่องยนต์ต้องติดขัดแน่นอน



หลอดเลือดหัวใจตีบรักษาอย่างไร?

1.การใช้ยา โดยมีจุดประสงค์เพื่อลดความรุนแรงของการขาดเลือดของกล้ามเนื้อหัวใจ ยาที่แพทย์ใช้จะมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดเพื่อเพิ่มเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งมีผลให้อาการเจ็บแน่นหน้าอกทุเลาลง แต่การรักษาด้วยยา ไม่สามารถแก้ไขการตีบของหลอดเลือดได้ เป็นเพียงบรรเทาอาการ แต่ในกรณีที่หลอดเลือดหัวใจตีบอย่างเฉียบพลันเพราะมีลิ่มเลือดอุด และผู้ป่วยสามารถไปถึงโรงพยาบาลได้อย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่เกิน 6 ชั่วโมง การใช้ยาละลายลิ่มเลือดอาจช่วยชีวิตและช่วยไม่ให้กล้ามเนื้อหัวใจตายมาก แต่รอยตีบที่หลอดเลือดก็ยังคงอยู่เหมือนเดิม ยาอื่นๆนอกจากนี้ เช่นยาต้านเกร็ดเลือดเพื่อสลายลิ่มเลือดเล็กๆ หรือป้องกันไม่ให้เกิดลิ่มเลือดอุด หรือยาลดไขมันในกระแสเลือด หรือยารักษาเบาหวาน เป็นต้น

2.การรักษาด้วยสายสวน ซึ่งหมายถึงการใส่สายสวนผ่านจากหลอดเลือดแดงที่ขาหนีบหรือแขน สวนตามแนวหลอดเลือดไปยังขั้วหัวใจ แล้วทำการแก้ไขรอยตีบของหลอดเลือดด้วยวิทยาการทันสมัยต่างๆ เช่น การใช้ลูกโป่ง (บอลลูน) เข้าไปถ่างให้รอยตีบขยายออก ทำให้หายตีบหรือตีบน้อยลง หรือใช้หัวกรอกากเพ็ชรเข้าไปกรอบริเวณรอยตีบ ทำให้หายตีบหรือน้อยลง หรือใช้เครื่องตัดผนังหลอดเลือดเข้าไปตัดเกลี่ยบริเวณรอยตีบ หรือวิทยาการล่าสุดคือ พอถ่างหลอดเลือดเสร็จแล้วก็ใช้ขดลวดพิเศษเข้าไปค้ำ หรือยันไว้เพ่อทำให้หลอดเลือดไม่กลับตีบซ้ำในระยะยาว ข้อดีของการรักษาด้วยสายสวนคือไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องใช้ยาสลบ ผู้ป่วยพูดคุยได้ อยู่โรงพยาบาลไม่นานและฟื้นตัวเร็ว ส่วนข้อเสียคือค่อนข้างแพง และอาจตีบซ้ำใหม่อีก

3.การผ่าตัด คือการผ่าตัดต่อหลอดเลือด เอาหลอดเลือดใหม่ต่อเข้ากับหลอดเลือดแดงใหญ่ทางด้านหนึ่ง และอีกด้านหนึ่งต่อเข้ากับหลอดเลือดหัวใจตรงบริเวณปลายของรอยตีบ วิธีการนี้เรียกว่าทำบายพาส [bypass] เหมือนทำถนนบายพาสหรือทางเบี่ยงเพื่อเลี่ยงเมือง หลอดเลือดใหม่นี้นิยมนำมาจากหลอดเลือดแดงที่ผนังทรวงอก และหลอดเลือดดำที่ขา ข้อดีของการผ่าตัดคือ ผลมักจะดีกว่าการรักษาด้วยวิธีอื่นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว แต่ข้อเสียคือต้องผ่าตัดหน้าอก ต้องดมยาสลบ อยู่โรงพยาบาลหลายวันและพักฟื้นหลายวัน



ข้อเขียนนี้เขียนเมื่อวันที่ 6 กรกฏาคม 2549 ย้ายมาจากห้องสิ่งของสะสม



Create Date : 30 ตุลาคม 2551
Last Update : 30 ตุลาคม 2551 12:32:00 น.
Counter : 2236 Pageviews.

0 comments
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนุ่มร้อยปี
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 24 คน [?]



บล็อกนี้สร้างสรรค์ขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2549 โดย ชายไทยวัยสูงอายุ มีวัตถุประสงค์ในการบันทึกและนำเสนอเรื่องราวต่างๆแบบครอบจักรวาล อาทิ ภาพยนตร์ ดนตรี รายการทีวี หนังสือน่าอ่าน อาหารน่ากิน ท่องเที่ยว สะสมสิ่งของ ตำนานชีวิตบุคคลน่าสนใจ รู้ไว้ใช่ว่า จิปาถะ
ฯลฯ เป็นต้น คำขวัญประจำบล็อก ประสบการณ์ชีวิตที่ดีในอดีต คือทรัพยากรที่ทรงคุณค่าในปัจจุบัน คำขวัญประจำตัวเจ้าของบล็อก "อายุเป็นเพียงตัวเลข" บรรณาธิการบริหารบล็อกคือ หนุ่มร้อยปี บล็อกนี้ไม่สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ท่านใดเห็นว่าข้อเขียนหรือภาพประกอบในบล็อกนี้มีประโยชน์ สามารถนำไปใช้ได้ แต่โปรดอ้างอิงชื่อบล็อกนี้ด้วย จักขอบคุณยิ่ง