กุมภาพันธ์ 2554

 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
23
24
25
26
27
28
 
 
All Blog
ชมวัดแล้วลุยดอย(น่าน)กับมณีกุลทัวร์
ในช่วงระยะเกือบยี่สิบปีมานี้ มณีกุลทัวร์โดย อ.มณีกุล นาคะวิทย์ ได้จัดทัวร์แบบเพื่อนสนิทมิตรสหายมาจำนวนมากมายหลายสิบทริป อาจจะแบ่งโดยคร่าวๆคือ เป็นทริปแบบท่องเที่ยวทั่วไป ทริปแบบเที่ยวแสวงบุญ เช่น ทริปถวายเทียนพรรษาจำนวน 9 วัด ตามภาคต่างๆทั่วประเทศ เป็นต้น

ในช่วงระหว่างวันที่ 17-20 กพ. นี้ เป็นช่วงตรงกับวันมาฆบูชาพอดี มณีกุลทัวร์ก็จัดทริปท่องเที่ยวขึ้นอีกเช่นเคย เป็นทริปเล็กๆจำนวนสมาชิก 9 คนพอดี ไปเที่ยว น่านและแพร่ โดยใช้สโลแกนว่า "สัมผัสความงามของขุนเขา ป่าไม้ ดอกไม้ อากาศแบบบริสุทธิ์ และชมศิิลปหัตถกรรมอันทรงคุณค่า แพร่ น่าน"

แต่ผมเปลี่ยนสโลแกนตามสไตล์ของผมว่า " ชมวัดแล้วลุยดอยกับมณีกุลทัวร์"

น่าน



คำขวัญประจำจังหวัด

แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำ

จิตรกรรมวัดภูมินทร์ แดนดินส้มสีทอง

เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง




จังหวัดน่านเป็นจังหวัดเงียบๆที่ไม่ค่อยมีใครให้ความสนใจมากนัก การไปก็ต้องข้ามภูเขาเทือกเขาไปยากๆพอๆกับไปอำเภอปาย และยังไม่ใช่เมืองผ่านไปยังจังหวัดอื่นๆได้โดยง่าย ทำให้นักท่องเที่ยวไม่ให้ความสนใจจังหวัดนี้มากนัก กลายเป็นเมืองลับแลน้อยคนจะรู้จักและเคยไปเที่ยวจังหวัดนี้

ในความเงียบและสงบกลับกลายมาเป็นจุดเด่นที่ทำให้เมืองน่านมีเสน่ย์ที่ใครหากได้ไปเที่ยวสักครั้งจะมีความสุข ณ.ตัวจังหวัดน่านกลางเมืองตกกลางคืนดึกหน่อยก็ไม่มีรถวิ่งแล้วเงียบเหมือนอยู่ตำบนปลายทางของจังหวัดใหญ่ๆ

ที่น่านชาวบ้านก็ยังคงรักษาความเป็นอยู่ของเขาได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นตลาดเช้ากลางเมืองน่านบริเวณตรงข้าโรงแรมเทวราช ที่ทุกวันนี้ถึงแม้จะมีบิ๊กซีเป็นทางเลือกแต่คนเมืองน่านก็ยังนิยมใช้ตลาดเช้าและตลาดเย็นเป็นที่ซื้อของสด ผัดสด จากภูเขาที่ชาวเขานำมาขายกัน

เมืองน่าเป็นเมืองสงบมีวัดหลายวัดในเขตตัวเมือง วัดจะอยู่ติดๆกัน เหมาะสำหรับท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอย่างมาก โดยเฉพาะวัดภูมินทร์มีจิตกรรมฝาผนังที่ดังไปทั่วโลก รูปดังกล่าวคือรูปที่ภูชายกำลังกระซิบให้ผู้หญิงฟัง ว่ากันว่าเป็นเสียงกระซิบที่ดังไปทั่วโลก

จังหวัดน่านมีแม่น้ำน่านไหลผ่านจังหวัดเหนือจากแม่น้ำน่านนี้ขึ้นไปทางเหนือไม่มีเขื่อนอยู่เลยทำให้น้ำแม่น้ำน่านช่วงหน้าแล้งแห้งเดินข้ามไปมาได้ หน้าฝนน้ำหลากน้ำแรงพัดบ้านทั้งหลังหายไปได้เลย บริเวณตัวเมืองน่านมีการสร้างเขื่อนไว้กันตลิ่งทรุดตัว กลับกลายเป็นที่ท่องเที่ยวที่นิยมไปกินลมชมวิวกันริมแม่น้ำน่าน ในช่วงน้ำหลากชาวเมืองน่านก็ยังไปลุ้นว่าจะท่วมตัวเมืองหรือไม่ แม่น้ำน่านไหลลงทางใต้และจะไปลงเขื่อนเขื่อนสิริกิต์ที่จังหวัดอุตรดิตถ์

เนื่องจากจังหวัดน่านเงียบสงบยังคงวัฒนธรรมต่างๆไว้ได้อย่างดี ตลาดจนสิ่งปลูกสร้างก็ไม่มากมายยังคงรักษาบ้านเก่าๆ ทรงล้านนาโบราณไว้ได้มาก หากใครได้ไปหลวงพระบางก็คงนึกภาพออกมาคล้ายๆกัน ในวันที่หลวงพระบางได้เป็นมรดกโลก ขอให้คนไทยได้ภูมิใจในเมืองน่านของเรา เพราะถึงแม้ยังไม่ได้เป็นมรดกโลกในวันนี้ ความงดงามด้านต่างๆของน่านก็มีคุณค่ามากพอในใจเราโดยที่ไม่ต้องประกาศเป็นมรดกโลกก็ได้

จังหวัดน่าน มีพื้นที่ 11,472,076 ตารางกิโลเมตร หรือ ประมาณ 7 ล้านไร่เศษ อาณาเขตทิศเหนือและทิศตะวันออกจดสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทิศใต้จดจังหวัดอุตรดิตถ์ ทิศตะวันตกจดจังหวัดแพร่ พะเยา และเชียงราย

ความที่เป็นเมืองชายแดนแห่งล้านนาตะวันออกอันอุดมไปด้วยวัฒนธรรมที่หลอมรวมจากเทือกเขาสูงถึงพื้นราบทำให้เสน่ห์ของเมืองน่านยั่งยืนมาจนถึงทุกวันนี้ ประกอบกับลักษณะภูมิประเทศที่เป็นท้องทะเลแห่งขุนเขา อีกทั้งสายลมหนาวและสายหมอกที่พัดผ่าน ทุ่งข้าวสีเขียวฉ่ำฝน หรือ เหลืองทองพร้อมจะเก็บเกี่ยว ยังทำให้ผู้มาเยือนเก็บความประทับใจกลับไปด้วย ป้อมปราการธรรมชาติที่บดบังเมืองน่านจากคนต่างถิ่นก็คือเทือกเขาผีปันน้ำและหลวงพระบาง
พื้นที่ป่าของเมืองน่านมีประมาณ 5 ล้านไร่ เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ทั้งจังหวัดประมาณ 7 ล้านไร่ ถือว่ามีความอุดมสมบูรณ์มาก ชาวบ้านเชื่อว่ามนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติจึงไม่สามารถฝืนกฎของธรรมชาติได้ พวกเขาจะไม่ตัดไม้ หรือถางป่าทำไร่ในพื้นที่ลุ่มน้ำ พวกเขาดูแลรักษาภูเขาและป่าไม้ด้วยความเคารพ ชาวเขาเผ่าต่างๆ เช่น ขมุ ลัวะ และเมี่ยน เชื่อว่ามีดวงวิญญาณที่รักษาป่า

พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำของจังหวัดน่านมีเพียง ร้อยละ 14 เท่านั้น จะกระจัดกระจายอยู่ตามหุบเขาในอำเภอต่างๆ ชุมชนตามที่ราบลุ่มเหล่านี้จะใช้ระบบการทดน้ำท้องถิ่น ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร ทุกปีเครือข่ายชุมชนที่ใช้ระบบการประปาร่วมกัน โดยเฉพาะ ไทลื้อ ลาวพวน จะร่วมกันจัดงานสักการะดวงวิญญาณที่เฝ้าดูแลรักษาป่า
แม่น้ำที่เป็นเสมือนเส้นเลือดของชาวน่าน คือ แม่น้ำน่าน มีต้นกำเนิดจากดอยขุนน้ำน่าน ตำบลขุนน่าน อำเภอบ่อเกลือ ซึ่งจะไหลขึ้นเหนือไปทางอำเภอทุ่งช้าง ก่อนจะไหลลงใต้ ไปยังอำเภอปัว, ท่าวังผา, เมืองน่าน, เวียงสา หลังจากนั้นจะไหลลงไปยังจังหวัดอื่น คือ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และ พิจิตร จึงไปรวมกับแม่น้ำยมที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ และแม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากน้ำโพ นครสวรรค์ ร้อยละ 40 ของลำน้ำน่านนั้นหล่อเลี้ยงลำน้ำเจ้าพระยา

ความเกี่ยวดองกันด้วยศรัทธาในพุทธศาสนา วัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และความหวงแหนในทรัพยากรธรรมชาติที่มีร่วมกัน ทำให้ชาวน่านมีเครือข่ายชุมชนที่เข้มแข็งเรียนรู้ที่จะยู่กับความเปลี่ยนแปลง แต่ยังคงตระหนักถึงความเป็นตัวเองอยู่เสมอ อันจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ประวัติศาสตร์เมืองน่าน

หลักฐานสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่พบในบริเวณจังหวัดน่าน เช่น เครื่องมือหิน กลองสัมฤทธิ์ที่ใช้ประกอบพิธีศพสำหรับชาวเอเชียตะวันออกเฉียงไต้ เป็นเครื่องยืนยันว่าดินแดนนี้มีมนุษย์มาตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ก่อนสมัยประวัติศาสตร์

ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ 18 ขุนน่านและขุนฟองได้นำผู้คนอพยพจากตอนบนของแม่น้ำโขงมาตั้งถิ่นฐานยังที่ราบลุ่มตอนบนของแม่น้ำน่าน ใกล้กับเทือกเขาดอยภูคา


และในปี พ.ศ. 1902 เจ้าพระยาการเมืองย้ายเมืองไปยังเวียงภูเพียงแช่แห้งฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่านซึ่งไม่ได้ใหญ่กว่าหรืออุดมสมบูรณ์กว่าเมืองปัวแต่ใกล้กับเมืองสุโขทัยมากขึ้น ในปี พ.ศ. 1911 เจ้าพระยาผากองบุตรของเจ้าพระยาการเมืองได้ย้ายเมืองมายังฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่านซึ่งเป็นเมืองน่านในปัจจุบัน ตามศิลาจารึกหลักที่ 45 และ 46 ในปี พ.ศ. 1935 ปู่พระยา (เจ้าพระยาผากอง) และพระราชนัดดา (พระมหาธรรมราชาที่ 2 แห่งสุโขทัย)ได้ให้คำสาบานที่จะช่วยเหลือกันและกันในยามสงคราม ความสัมพันธ์ระหว่างน่านและสุโขทัยได้ดำเนินมาจนกระทั่งสุโขทัยผนวกเข้ากับอยุธยาในปี พ.ศ. 1981

เมืองน่านมีความสัมพันธ์ติดต่อค้าขายกับนครรัฐเล็กๆ รอบบ้าน เช่น หลวงพระบาง ล้านช้าง และสิบสองปันนา รัฐเหล่านี้มีความร่วมมือทางการเมืองอย่างเข้มแข็ง ทำการค้าขายกันตามเส้นทางแม่น้ำโขงด้วยคาราวานเกวียน

ก่อนหน้าที่น่านจะถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งชองล้านนาทั้งสองดินแดนมีความสัมพันธ์กันผ่านการค้าวัวต่าง และเมื่อเชียงใหม่ตกเป็นประเทศราชของพระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองแห่งพม่า ในระหว่างปี พ.ศ.2096-2101 เจ้าพระยาพลเทพรือชัย เจ้าเมืองน่านได้หลบหนีไปยังเมืองหลวงพระบาง และน่านตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่าจนกระทั่งสิ้นกรุงศรีอยุธยาในปี พ.ศ. 2310 ระหว่างปีพ.ศ. 2101 - 2317 น่านพยายามต่อสู้เพื่ออิสรภาพจากพม่าหลายครั้ง ในปี พ.ศ. 2246 ถือว่าเป็นช่วงเวลาทุกข์เข็ญ ผู้คนต้องหลบหนีสงครามเข้าป่า บางคนถูกจับเป็นเชลยในพม่า ทั้งเมืองและวัดถูกเผาทำลายลง

ในปี พ.ศ. 2331 เจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าหลวงเมืองน่าน หันมาสวามิภักดิ์กรุงเทพฯ (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 1) เมื่อ พ.ศ.2333 น่านเริ่มนโยบาย "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" มีการอพยพ ชาวไทลื้อจำนวนมากกลับสู่เมืองน่าน ในสมัยรัชกาลที่ 5 กรุงเทพฯถูกคุกคามจากลัทธิล่าอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศสได้ก่อให้เกิดการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองล้านนา เพื่อรวมศูนย์อำนาจที่ส่วนกลาง ตั้งแต่ พ.ศ.2435 รัฐบาลกลางกรุงเทพฯได้แต่งตั้งข้าหลวงเข้ามาแทนคณะขุนนางผู้ช่วยเจ้าผุ้ครองนครในการบริหารกิจการบ้านเมือง

หลังจากเหตุการณ์ร.ศ.112 (พ.ศ.2436) ไทยต้องยอมเสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงแก่ฝรั่งเศส เมืองน่านจึงเพิ่มความสำคัญมากขึ้นในฐานะเมืองหน้าด่านติดกับเมืองหลวงพระบางในลาว ซึ่งเป็นของฝรั่งเศส ความสัมพันธ์ระหว่าง เจ้าเมืองน่านกับกรุงเทพฯดำเนินไปด้วยดี รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯให้แต่งตั้งเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เป็นพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช พื่อตอบแทนคุณงามความดีที่น่าน ช่วยกรุงเทพฯในสงครามปราบกบฏที่เชียงตุง

นครเมืองน่านกลายเป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทยอย่างสมบูรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 7 หลังจากเจ้ามหาพรหมสุรธาดาเจ้าเมืองน่านองค์สุดท้ายถึงแก่กรรมในปีพ.ศ. 2474 จึงยกเลิกระบบการปกครองโดยเจ้าผู้ครองนครนับแต่นั้นเป็นต้นมา

รู้จักคน รู้จักชุมชน น่านมีจำนวนประชากร 514,688 คน ประกอบด้วยหลายชนเผ่าได้แก่
ไทยวน เป็นคนกลุ่มใหญ่ของเมืองน่าน ตั้งบ้านเรือนบนที่ราบลุ่มริมแม่น้ำน่าน ประกอบอาชีพเกษตรกรรม นักวิชาการบางท่านสันนิษฐานว่าเป็นบรรพบุรุษ ของคนเมืองน่านที่อพยพมาจากล้านช้างฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง
ไทลื้อ มีถิ่นฐานเดิมอยู่บริเวณชายแดนพื้นที่รอยต่อระหว่างสิบสองปันนาเชียงตุง ลาว และล้านนา อพยพเข้ามาในประเทศไทยหลายครั้ง ทั้งจากเหตุผลทางการดำรงชีพ การถูกกดขี่จากจีน และพม่า หรือหนีภัยสงครามช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครองในจีน บ้างก็อพยพตามสายเครือญาติ และการค้าขาย วัฒนะธรรมไทลื้อกับไทยวนมีความคล้ายคลึงกันทั้งภาษา ศาสนา การแต่งกาย อาหาร งานหัตถกรรม โดยเฉพาะวิถีการผลิตแบบ "เอ็ดนาเมืองลุ่ม" หรือทำนาดำ เอกลักษ์ทางวัฒนธรรมของชาวไทลื้อคือ ผ้าทอลายน้ำไหลและลายลื้อ โดยใช้เทคนิควิธีที่เรียกว่า "เกา" หรือ "ล้วง"
ลัวะ/ถิ่น เป็นกลุ่มที่ตั้งถิ่นฐานมาดั้งเดิม รวมทั้งที่อพยพมาจากเมืองไชยบุรี สปป.ลาว ส่วนคำว่า "ถิ่น" เป็นชื่อที่ทางการไทยเรียกกลุ่มชนดั้งเดิมกลุ่มนี้ในจังหวัดน่าน ลัวะมักตั้งบ้านเรือนบนพื้นที่สูงระหว่าง 2,500-3,000 ฟุต จากระดับน้ำทะเลปานกลาง บริเวณลำน้ำสาขาแม่น้ำน่าน เช่น น้ำวาง น้ำว้า และน้ำมาง ดำรงชีพด้วยการปลูกข้าวไร่ และหาของป่า มีฝีมือในการจักสานหญ้าสามเหลี่ยมเป็นภาชนะต่างๆ หลายๆหมู่บ้านยังคงความเชื่อดั้งเดิมที่ผีสัมพันธ์กับธรรมชาติ เช่น ผีป่า ผีน้ำ ผีไร่ และผีบรรพบุรุษ งานพิธีใหญ่ที่สุดในรอบปีได้แก่ พิธี "โสลด" (อ่าน สะโหลด) หรือพิธี "กิ๋นดอกแดง" เพื่อเฉลิมฉลองผลผลิต และเพื่อเตรียมต้อนรับฤดูการผลิตใหม่ ปัจจุบันลัวะตั้งถิ่นฐานมากที่สุดในอำเภอเฉลิมพระเกียรติ รองลงมาคือ ที่อำเภอบ่อเกลือ ปัว ทุ่งช้าง และเชียงกลาง
ขมุ สันนิฐานว่าตั้งถิ่นฐานอยู่ตามหมู่บ้านชายแดนเมืองน่านและลาว เมื่อประมาณเกือบ 200 ปีก่อน สันนิษฐานว่าในปี พ.ศ.2373 ขมุถูกกวาดต้อนเพื่อเป็นกำลังในการสร้างกำแพงเมืองเก่าน่าน เจมส์ เอฟ แม็คคาธีร์ได้สำรวจเพื่อทำแผนที่ทางภาคเหนือช่วงปี พ.ศ.2433-2436 กล่าวถึงขมุตามชายแดนเมืองน่านว่ามี 2 กลุ่ม คือ ขมุ (ลาว เรียกว่า ข่า) หรือ "ข่าลาว" อยู่ใต้อำนาจหลวงพระบางและขมุที่อยู่ใต้อำนาจของน่าน เรียก "ข่าแคว้น"ชาวขมุได้ชื่อว่ามีฝีมือในการตีเหล็กเพื่อเป็นเครื่องมือ เช่น มีด ดาบ จอบ เสียม
ม้ง (แม้ว) ตำนานของชนเผ่ากล่าวว่า อพยพมาจากที่ราบสูงทิเบต ไซบีเรีย และมองโกเลียสู่ประเทศจีน ลาว และไทย เชื่อว่าม้งอพยพมาเมืองน่านราว พ.ศ. 2433-2442 มีความสามารถในด้านการค้า เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ลิ้นจี่ ลำไย และทำเครื่องเงิน ชาวม้งมีความเชื่อว่าโลหะเงินเป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่ง และมงคลแก่ชีวิต
เย้า (เมี่ยน) ถิ่นเดิมอยู่แถบมณฑลยูนนาน ฮุนหนำ กวางสี กวางเจา และทางตะวันออกของประเทศจีน ตั้งบ้านเรือนอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลกว่า 1,000 เมตร วัฒนธรรมของเมี่ยนจึงได้รับอิทธิพลจากจีน เช่น ภาษา การสืบสกุลทางฝ่ายสามี การใช้แซ่ ประเพณีปีใหม่ (ตรงกับเทศกาลตรุษจีน) สาวเมี่ยนมีฝีมือในการปักผ้า ปัจจุบันมีเมี่ยนอยู่มากที่สุดที่อำเภอเมือง
มลาบรี (ผีตองเหลือง) สันนิษฐานว่าเป็นเผ่าผสมชนชาติละว้าที่หนีร่นกลุ่มชนไทไปอยู่ตามป่าเขา ในแขวงไชยบุรี สปป.ลาว เมื่อประมาณ 800 กว่าปีมาแล้ว เดิมดำรงชีพด้วยการเก็บของป่าล่าสัตว์ไม่ตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่ง สร้างเพียงเพิงมุงใบตอง และจะย้ายถิ่นเมื่อใบตองเริ่มแห้งคือเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ปัจจุบันมลาบรีตั้งถิ่นฐานอยู่ที่อำเภอเวียงสา วัฒนธรรมถูกกลืนกลายไปหมดแล้ว

คณะเรา(9คน) โดยมี อ.มณีกุล นาคะวิทย์ เป็นหัวหน้าทีมรวมเป็น 10 คน เริ่มต้นออกเดินทางเวลา 20.30 น. โดยรถตู้ทันสมัย รุ่น D4D จากหน้าห้างฯตั้งฮั่วเส็ง สาขาธนบุรี มุ่งหน้าไปนครสวรรค์





คณะเรานั่งหลับๆตื่นๆมาถึงนครสวรรค์ เมื่อเวลาประมาณ 01.00 น.โดยประมาณ เป็นธรรมเนียมของผู้เดินทางในเวลากลางคืนมาช้านานแล้วว่า จะต้องแวะหาอาหารรับประทานรองท้องก่อนที่จะเดินทางต่อไป

นครสวรรค์มีอาหารกลางคืนที่อร่อยติดอันดับคือ หอยทอด และข้าวต้มกินกับ กับข้าว คืนนี้คณะเราโชคไม่ดีหอยทอดเจ้าอร่อยขายหมดเร็ว ปิดร้านไปแล้ว คณะเราจึงต้องมากินข้างต้มแทน ก็ใช้ได้นะ




เมื่อเสร็จภาระกิจเกี่ยวกับกินอาหารรองท้องแล้ว คณะเราก็ออกเดินทางออกจากนครสวรรค์ ใช้เส้นทางสู่พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เข้าสู่แพร่ จุดหมายปลายทางคือ น่าน

คณะเรามาถึงน่านเวลาประมาณ 07.00 น.โดยประมาณ เข้าเกสต์เฮ้าแห่งหนึ่ง ซึ่งเจ้าของเป็นเพื่อนนักเรียนของ อ.มณีกุล สมัยเรียนที่โรงเรียนฝึกหัดครูสวนสุนันทา (มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนสุนันทา) เพื่อจัดการกับภาระกิจส่วนตัวของแต่ละคน เมื่อเสร็จแล้วก็มาอิ่มอร่อยกับกาแฟเลิศรสหอมกรุ่น ปาท่องโก๋ ข้าวเหนียว ขนมครก

ได้เวลาออกชมวัดเวลา 08.00 น.โดยประมาณ วัดแรกที่ชมคือ

วัดมิ่งเมือง





พระอุโบสถอันสวยงามตระการตา


มณฑปประดิษฐานเสาหลักเมือง


หลังจากเดินดูอะไรต่อมิอะไรพอสมควรแล้ว คณะเราก็ไปดูวัดที่สองคือ

วัดภูมินทร์





พระอุโบสถ


อาคารพิพิธภัณฑ์และร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก


ทัศนียภาพอีกมุมหนึ่งของพระอุโบสถ


วัดนี้ได้รับการยกย่องว่ามีภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เก่าและสวยงามมาก โดยเฉพาะภาพผู้ชายกระซิบข้างหูผู้หญิง และมีชื่อเสียงไปทั่วโลก

ใกล้ๆกันมีวัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร ไปดูกันเถอะครับ




ด้านหน้าพระอุโบสถ


องค์พระธาตุช้างค้ำอยู่ด้านหลังพระอุโบสถ


จากนี้เดินข้ามถนนไปอีกฝั่งหนึ่ง เพื่อชมพิพิธภัณฑ์ของจังหวัดน่าน มีสิ่งของโบราณที่น่าสนใจจำนวนมาก มีห้องแสดงงาช้างดำ ห้องแสดงวิถีความเป็นอยู่ของชาวเขาเผ่าต่างๆในจังหวัดน่าน
ด้านหน้าของพิพิธภัณฑ์ใต้ร่มไม้ต้นใหญ่ มีโบราณสถานวัดน้อย


โบราณสถานวัดน้อย


ป้ายอธิบายความเป็นมาของวัดน้อย

มีใจความว่า จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมา เชื่อว่าพระเจ้าสุริยพงษ์รักเดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่านองค์ที่ 63 กราบบังคมทูลถึงจำนวนวัดในเมืองน่าน ต่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แต่ปรากฏว่านับจำนวนวัดเกินหนึ่งวัด จึงได้สร้างวัดน้อยแห่งนี้ขึ้นมาให้ครบตามจำนวนที่กราบทูลไป พระองค์เข้าเฝ้ารัชกาลที่ 5ในพ.ศ. 2416 วัดน้อยสร้างหลังจากนั้น
รูปทรงของวัดเป็นวิหาร ก่ออิฐ ถือปูน ขนาดกว้าง 1.98 เมตร ขนาดยาว 2.34 เมตร สูง 3.35 เมตร แบบศิลปะล้านนา สกุลช่างน่าน มีพระพุทธรูปและพระพิมไม้ประดิษฐานอยู่ภายใน
เชื่อว่าเป็นวัดที่เล็กที่สุดในประเทศไทย

ก่อนที่คณะเราจะเดินทางขึ้นดอยเพื่อชมดอกชมพูภูคา ที่ถือเป็นจุดเด่นของน่าน เราก็ไปนมัสการพระธาตุแช่แห้ง ถือกันวาเป็นพระธาตุประจำคนเกิดปีเถาะ

จบภาคการชมวัดวันแรก




Create Date : 21 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 22 กุมภาพันธ์ 2554 10:00:31 น.
Counter : 2307 Pageviews.

6 comments
  
ยังไม่ืเคยไปเที่ยว จ.น่านเลยค่ะ จากที่อ่านบล้อกคุณอา(ขออนุญาติเรียกคุณอานะคะ) ดู..หนูว่าน่าเที่ยวดีจัง ยิ่งได้รู้ว่ามีผู้คนหลากหลายเผ่า ก็ยิ่งต้องเป็นเมืองที่อุดมด้วยวัฒนธรรมแน่ ๆ อยากไปจังเลยค่ะ ถ้ามีเวลาคงหาโอกาสไปเยือนสักครั้งหนึ่ง..

โดย: i'm not superman วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:18:03:56 น.
  
ขอบคุณหลายๆที่มาประเดิมคอมเมนต์เป็นท่านแรกเลย ที่คุณอ่านนี้เป็นเพียงบทไหว้ครู ต้องติดตามอ่านต่อไปนะ รับรองม่วนหลายๆ
โดย: หนุ่มร้อยปี (ศตวรรษ ศรีสมบูรณ์ (หนุ่มร้อยปี ) วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:18:16:37 น.
  
ขอแก้ไขข้อความข้างบนหน่อยจ๊ะเมืองน่านยังไม่มีบิ๊กซีครับมีแต่เทสโก้โลตัส(ชาวเมืองเขาเรียกโลตัสเล็ก)จ๊ะ
โดย: บอล IP: 118.172.51.18 วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:19:47:35 น.
  
ขอบคุณครับ คุณบอล ที่กรุณาเข้ามาอ่านและให้ข้อมูลเพิ่มเติม
โดย: หนุ่มร้อยปี (ศตวรรษ ศรีสมบูรณ์ (หนุ่มร้อยปี ) วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:20:45:17 น.
  
เคยไปน่านครั้งนึงค่ะ ตอนนั้นไป อ.ปัว อากาศดีมากๆ แต่นั่งรถไกลมากแบบเมื่อยก้นทั้งคนนั่งและคนขับเลยค่ะ
โดย: ส้มแช่อิ่ม วันที่: 21 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:21:41:49 น.
  
สวัสดีครับ คุณส้ม นั่งรถนานแบบที่คุณว่ามาจริงๆ ที่สำคัญตอนขึ้นดอยชมวิว นั่งรถมากมายข้ามภูเขาหลายลูกครับ
โดย: หนุ่มร้อยปี (หนุ่มร้อยปี ) วันที่: 22 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:1:31:18 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนุ่มร้อยปี
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 24 คน [?]



บล็อกนี้สร้างสรรค์ขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2549 โดย ชายไทยวัยสูงอายุ มีวัตถุประสงค์ในการบันทึกและนำเสนอเรื่องราวต่างๆแบบครอบจักรวาล อาทิ ภาพยนตร์ ดนตรี รายการทีวี หนังสือน่าอ่าน อาหารน่ากิน ท่องเที่ยว สะสมสิ่งของ ตำนานชีวิตบุคคลน่าสนใจ รู้ไว้ใช่ว่า จิปาถะ
ฯลฯ เป็นต้น คำขวัญประจำบล็อก ประสบการณ์ชีวิตที่ดีในอดีต คือทรัพยากรที่ทรงคุณค่าในปัจจุบัน คำขวัญประจำตัวเจ้าของบล็อก "อายุเป็นเพียงตัวเลข" บรรณาธิการบริหารบล็อกคือ หนุ่มร้อยปี บล็อกนี้ไม่สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ท่านใดเห็นว่าข้อเขียนหรือภาพประกอบในบล็อกนี้มีประโยชน์ สามารถนำไปใช้ได้ แต่โปรดอ้างอิงชื่อบล็อกนี้ด้วย จักขอบคุณยิ่ง