มกราคม 2554

 
 
 
 
 
 
1
3
4
5
6
7
8
9
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
All Blog
ข้างหลังชีวิต ภาคมัชฌิมวัย ตอน"คนขายเงา"(3)


ผมยังไม่ได้กล่าวถึงอัตราค่าเข้าชมหนัง ค่าดูหนังตามโรงหนังชั้นสองสมัยนั้น กำหนดราคาดังนี้ 5 บาท (2-3 แถวหน้า) ต่อมา 7 บาท (มีจำนวนประมาณไม่เกิน 10 แถว) 10 บาท (มีประมาณ 10-15 แถว) ที่เหลือเป็นชั้นราคา 12 บาท ผมกล่าวถึงคำว่า คัทเอ้าท์ และใบปิดหนัง ในตอนที่แล้ว คัทเอ้าท์คือแผ่นป้ายโปสเตอร์ขนาดใหญ่ ที่ติดหน้าโรง และติดตามสี่แยกย่านชุมชน เป็นภาพพระเอกนางเอกในหนังเรื่องนั้นๆและมีภาพตัวประกอบแทรกเป็นพื้นหลัง มีชื่อหนังที่สวยสะดุดตา ชื่อผู้แสดงเป็นพระเอกนางเอก เช่น มิตร ชัยบัญชา เพชรา เชาวราษฏร์ สมบัติ เมทะนี อรัญญา นามวงศ์ ชื่อตัวแสดงประกอบที่มีชื่อเสียง เช่น ประจวบ ฤกษ์ยามดี ทัต เอกทัต ฯลฯ


ตัวอย่างใบปิดหนัง หรือโปสเตอร์หนังขนาดเล็ก




สำหรับนักเขียนคัทเอ้าท์หรือช่างวาดภาพคัทเอ้าท์ในสมัยนั้นที่มีชื่อเสียง และทุกวันนี้ผู้คนก็ยังไม่ลืมผลงานของเขาคือ "เปี๊ยก โปสเตอร์" อีกคนหนึ่งที่มีผลงานรองลงมาคือ "เฮียหมง เฉลิมไทย" เป็นคนจีนแต่มีฝีมือในการวาดคัทเอ้าท์ เหตุผลที่มีชื่อตามมาว่า เฉลิมไทย เพราะเฮียหมงมีห้องทำงานอยู่ด้านหลังโรงหนังเฉลิมไทย(ปัจจุบันรื้อทิ้งไปแล้ว)

คัทเอ้าท์หนังไทยมีชื่อเสียงไปทั่วโลก แม้กระทั่งฝรั่งก็ยังทึ่งในความสามารถของคนไทยที่วาดภาพคัทเอ้าท์ขนาดใหญ่ที่มีความสวยงามและเหมือนจริงที่สุด เพราะในวงการหนังฝรั่งเค้าจะใช้พิมพ์บนกระดาษและเอามาต่อกันเป็นโปสเตอร์ขนาดใหญ่ แต่คนไทยวาดภาพด้วยมือล้วนๆ แผ่นต่อแผ่น

หน้าที่ของผู้จัดการโรงหนังอีกอย่างหนึ่งคือ ต้องคอยเร่งรัดให้บุคเกอร์นำหนังตัวอย่างที่มีโปรแกรมจะเข้าฉายมาฉายโชว์ก่อนโรงอื่นๆ และต้องนำภาพตัวอย่างของหนังเรื่องนั้นๆ พร้อมทั้งใบปิดหนังเรื่องนั้นมาใหเ เพื่อที่จะติดไว้หน้าโรง เป็นการประชาสัมพันธ์ว่า หนังเรื่องนี้จะเข้าฉายที่นี่แน่นอน ไม่ต้องไปดูที่โรงอื่น

กลยุทธ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ ต้องรู้ว่าหนังที่มีโปรแกรมฉายจะออกจากโรงชั้นหนึ่งเมื่อไร เพื่อจะได้นำพนักงานไปขนคัทเอ้าท์ที่ติดตั้งหน้าโรงชั้นหนึ่ง วิธีการนี้ก็ต้องมีเทคนิครู้จักสนิทสนมกับผู้จัดแบ่งคัทเอ้าท์หนังเรื่องนั้นๆ เพื่อจะได้คัทเอ้าท์มามากที่สุด เป็นคัทเอ้าท์ที่สมบูรณ์แบบ ไม่ใช่มีแต่หน้าพระเอกนางเอกเท่านั้น เมื่อนำมาติดโชว์ที่หน้าโรงคนดูก็ไม่รู้ว่าเป็นคัทเอ้าท์หนังอะไร

อีกวิธีการหนึ่งคือนำพนักงานไปถอด(รื้อ)คัทเอ้าท์ที่ติดตั้งตามสี่แยกย่านชุมชน แต่ต้องไปรื้อตอนค่อนข้างดึก เพราะจะไม่มีคนเห็น เมื่อได้มาแล้วก็ต้องเอาไปเก็บซ่อนไว้ที่อื่นก่อน กันเจ้าของหนังมาพบเข้า

ผมยังเสียดายที่รูปใบปิดหนังที่ผมสะสมไว้จำนวนมาก สูญหายชำรุดไปหมด เพราะตอนนี้มีคนเก็บสะสมกันมาก เลยทำให้รูปใบปิดหนังเหล่านี้มีราค่างวดขึ้นมา






Create Date : 21 มกราคม 2554
Last Update : 11 มกราคม 2560 9:42:59 น.
Counter : 1538 Pageviews.

2 comments
  
สวัสดีครับ

ชอบบรรยากาศเรื่องเล่าตอนนี้มากครับ
ผมยังจำได้ถึงโรงหนังที่เพิ่งเลิกไปเมื่อ 2-3 ปีมานี้ อยู่ที่เจริญกรุงทางโรงหนังเอาโปสเตอร์เก่ามาขาย แต่ราคาแพงมาก ผมจึงซื้อมาเพียงบางแผ่น เป็นหนังคาวบอย หรือหนังจีนกำลังภายในครับ
โดย: Insignia_Museum วันที่: 21 มกราคม 2554 เวลา:22:07:43 น.
  
ขอบคุณที่ชอบเรื่องที่ผมเขียนเล่ามาครับ บางท่านเคยหลังไมค์ถึงผมว่า อยากทราบว่าทำไมช่างเขียนเค้าจึงเขียนรูปพระเอก นางเอก หนังได้เหมือนมากๆ ขอเฉลยว่า ช่างเขียนเค้าจะตีตารางบนรูปตัวอย่างที่จะเขียน แล้วมาขยายอัตราส่วนลงบนแผ่นคัทเอ้าท์ที่จะเขียน พูดอย่างนี้ดูเหมือนว่าจะง่าย ความจริงมันยากนะครับ ต้องมีประสบการณ์มากๆ จึงจะเขียนเหมือน
โดย: หนุ่มร้อยปี (ศตวรรษ ศรีสมบูรณ์ (หนุ่มร้อยปี ) วันที่: 22 มกราคม 2554 เวลา:10:20:33 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนุ่มร้อยปี
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 24 คน [?]



บล็อกนี้สร้างสรรค์ขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2549 โดย ชายไทยวัยสูงอายุ มีวัตถุประสงค์ในการบันทึกและนำเสนอเรื่องราวต่างๆแบบครอบจักรวาล อาทิ ภาพยนตร์ ดนตรี รายการทีวี หนังสือน่าอ่าน อาหารน่ากิน ท่องเที่ยว สะสมสิ่งของ ตำนานชีวิตบุคคลน่าสนใจ รู้ไว้ใช่ว่า จิปาถะ
ฯลฯ เป็นต้น คำขวัญประจำบล็อก ประสบการณ์ชีวิตที่ดีในอดีต คือทรัพยากรที่ทรงคุณค่าในปัจจุบัน คำขวัญประจำตัวเจ้าของบล็อก "อายุเป็นเพียงตัวเลข" บรรณาธิการบริหารบล็อกคือ หนุ่มร้อยปี บล็อกนี้ไม่สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ท่านใดเห็นว่าข้อเขียนหรือภาพประกอบในบล็อกนี้มีประโยชน์ สามารถนำไปใช้ได้ แต่โปรดอ้างอิงชื่อบล็อกนี้ด้วย จักขอบคุณยิ่ง