สิงหาคม 2551

 
 
 
 
 
1
2
3
4
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
 
 
สยามสมัย ๑๒๕ ปี ไปรษณีย์ไทย

สยามสมัย ๑๒๕ ปี ไปรษณีย์ไทย



คงไม่ช้าเกินไปนะท่านที่มาแนะนำงานนี้ เพราะเขาจัดงานตั้งแต่วันที่ 1- 10 สิงหาคมนี้ ที่ห้องเพลนารี 1-3 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ยังมีเวลาอีกหลายวันสำหรับท่านที่ยังคิดไม่ตกว่าจะไปดีหรือไม่ ไปเถอะครับ แล้วท่านจะดีใจที่ได้มางานแบบนี้ เพราะคงไม่มีใครเขาจัดกันบ่อยๆหรอกนะ



พอท่านเดินขึ้นบันไดมาเพื่อจะเข้าบริเวณงาน เหลียวไปทางขวามือก็จะเห็นทางเดินเข้าบริเวณงาน มองไปไกลๆจะเห็นตู้ไปรษณีย์สีแดงสดสองตู้ตั้งอยู่หน้าทางเข้าบริเวณจัดงาน เสมือนเป็นสัญญลักษณ์อย่างหนึ่งของงานนี้



มีการจำลองเอารถรางสมัยก่อนมาตั้งไว้หน้างานด้วย



มีผู้มาเที่ยวงานบางท่านที่คงไม่เคยเห็นรถรางจริงๆ ก็แอบขึ้นไปถ่ายรูปไว้เป็นที่ระลึกตามธรรมเนียมอันดีงาม (ของใครไม่รู้?) บริเวณจัดงานกว้างขวางมากทีเดียว ผู้จัดฯเขาแบ่งเป็นโซนต่างๆไว้ ตามแผนผังด้านล่างนี้


หากจะให้สะดวกในการเดินชมโซนต่างๆ ท่านต้องมีเอกสารคู่มือฉบับนี้



ผมก็ได้อาศัยเอกสารฉบับนี้แหละในการเดินชมงานเป็นเวลาประมาณ 3-4 ขั่วโมง เห็นเขาเล่าว่าหลายคนมาชมงานตั้งแต่เวลา 10.00 น. จนถึงเวลาปิดงานเวลา 20.00 น. เมื่อยนักก็มีเก้าอี้ให้นั่งพักผ่อน หิวเหรอมีร้านอาหารอร่อยๆยกมาบริการในงานนี้เพียบครับ เลือกรับประทานตามความพอใจ



ก่อนที่เราจะเข้าไปในบริเวณงานด้านใน เรามาแวะดูบูทของกรมประชาสัมพันธ์ ที่ตั้งต้อนรับผู้มาเที่ยวงานก่อนนะครับ บูทนี้จะมีนิทรรศการเกี่ยวกับในหลวงด้านการสื่อสาร และมีภาพสิ่งพิมพ์ของกรมชื่อ "ข่าวโฆษณาการ" ที่พิเศษคือ เมื่อเราชมนิทรรศการเสร็จแล้ว จะมีโต๊ะให้เราเขียนแบบสอบถามเกี่ยวกับการจัดนิทรรศการครั้งนี้ แล้วรับหนังสือฟรีหนึ่งเล่มชื่อ "คู่พระบารมี ศรีแผ่นดิน"





เรามาเริ่มชมกันที่บูทหมายเลข ๑ นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณแห่งพระมหากษัตริย์ผู้ทรงคุณูปการต่อกิจการไปรษณีย์ไทย ร่วมรับรู้และสัมผัสความผูกพันต่อเนื่องยาวนานระหว่างเจ้าฟ้าในราชวงส์จักรีกับกิจการไปรษณีย์ ผ่านหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์และสิ่งสะสมส่วนพระองค์ ที่นำจัดแสดงเป็นครั้งแรก



นิทรรศการชุดนี้ชื่อว่า "พระผู้ทรงพระราชทานกำเนิดกิจการไปรษณีย์ไทย"



ชุดที่สองชื่อว่า "พระผู้ทรงวางรากฐานกิจการไปรษณีย์" (เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุ์วงศ์เดช)



ชุดที่สามชื่อว่า "พระผู้บันทึกประวัติศาสตร์ไทยผ่านการไปรษณีย์" (สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์)



ชุดที่สี่ชื่อว่า "เจ้าฟ้านักสะสม" (สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินทร สยามบรมราชกุมารี)



ชุดที่ห้า(สุดสุดท้าย)ชื่อว่า "ในหลวง ดวงใจไทยในดวงแสตมป์"


ใกล้ๆกันเป็นโซนที่ ๕ สร้างจำลอง ศาลาเฉลิมกรุง พาโนรามา เธียเตอร์ ชมตำนานไปรษณีย์ไทยในรูปแบบภาพยนตร์พาโนรามา และตื่นตาตื่นใจกับการแสดงสุดพิเศษหาชมได้ยาก ตลอดงาน 10 วัน



ใกล้ๆกันเป็นโซนที่ 10 ในจำนวนทั้งหมด 12 โซน โซนนี้จัดจำลองเป็นอาคารบริษัทไทยที่มีอายุการดำเนินกิจการมาใกล้เคียงกับกิจการไปรษณีย์ไทย




มีร้านจำหน่ายเครื่องโทรศัพท์แบบโบราณที่หาดูได้ยาก โทรศัพท์เหล่านี้เป็นโทรศัพท์ที่สร้างขึ้นใหม่ สามารถใช้งานได้





ในบริเวณงานจะมีพนักงานของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด แต่งกายด้วยเครื่องแบบพนักงานไปรษณีย์ไทยสมัย ร.๕ และ ร.๗ เดินไปมาเพื่อสร้างบรรยากาศของงานให้มีสีสันยิ่งขึ้น


พนักงานสองท่านนี้จะมีผู้มาชมงานขอถ่ายภาพด้วยเป็นระยะๆ กลายเป็นนายแบบกิตติมศักดิ์ไปเลย

วันนี้ขอพาชมงานเพียงเท่านี้นะครับ หิวข้าวแล้วขอตัวไปหาอะไรอร่อยๆกินก่อนนะครับ


ข้อมูลจากงาน ๑๒๕ ปี ไปรษณ๊ย์ไทยภาพประกอบถ่ายด้วยมือถือ NK N81



Create Date : 05 สิงหาคม 2551
Last Update : 6 สิงหาคม 2551 9:42:22 น.
Counter : 3545 Pageviews.

1 comments
  
good
โดย: สุดารัตน์ IP: 101.108.21.149 วันที่: 10 กรกฎาคม 2554 เวลา:20:09:55 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนุ่มร้อยปี
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 24 คน [?]



บล็อกนี้สร้างสรรค์ขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2549 โดย ชายไทยวัยสูงอายุ มีวัตถุประสงค์ในการบันทึกและนำเสนอเรื่องราวต่างๆแบบครอบจักรวาล อาทิ ภาพยนตร์ ดนตรี รายการทีวี หนังสือน่าอ่าน อาหารน่ากิน ท่องเที่ยว สะสมสิ่งของ ตำนานชีวิตบุคคลน่าสนใจ รู้ไว้ใช่ว่า จิปาถะ
ฯลฯ เป็นต้น คำขวัญประจำบล็อก ประสบการณ์ชีวิตที่ดีในอดีต คือทรัพยากรที่ทรงคุณค่าในปัจจุบัน คำขวัญประจำตัวเจ้าของบล็อก "อายุเป็นเพียงตัวเลข" บรรณาธิการบริหารบล็อกคือ หนุ่มร้อยปี บล็อกนี้ไม่สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ท่านใดเห็นว่าข้อเขียนหรือภาพประกอบในบล็อกนี้มีประโยชน์ สามารถนำไปใช้ได้ แต่โปรดอ้างอิงชื่อบล็อกนี้ด้วย จักขอบคุณยิ่ง