กุมภาพันธ์ 2561

 
 
 
 
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
 
 
1 กุมภาพันธ์ 2561
All Blog
ระลึกถึง ทูล ทองใจ


ห้องฟังเพลงไม่ได้ได้เขียนถึงนักร้องคนใดมานานหลายปี วันนี้ขอเขียนถึงนักร้องคนโปรดในจำนวนไม่กี่คนสักท่านหนึ่ง เพื่อระลึกถึงการจากไปของท่านครบรอบ 23 ปี คือ ทูล ทองใจ ซึ่งถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2538 ที่โรงพยาบาลวชิระ

ประวัติชีวิตจากวีกิพีเดีย บันทึกไว้ดังนี้

ฉายา เจ้าชายแห่งรัตติกาล

นิคเนม พ่อระฆังฝังเพชร

สี่ทหารเสือของวงดนตรีจุฬารัตน์ จากซ้าย ปอง ปรีดา, นคร ถนอมทรัพย์, ทูล ทองใจ, พร ภิรมย์

ทูล ทองใจ ชื่อจริง น้อย ทองใจ เกิดเมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2470 ที่อัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม  ตอนหลังย้ายไปอยู่ที่อำเภอแม่กลอง พ่อเป็นชาวจีน “แซ่ทอง” ต่อมาพ่อเปลี่ยนนามสกุลเป็น “ทองใจ”  แม่ชื่อ “นิ่ม  ทองใจ”  มีพี่น้อง  4 คน  ชาย 3  หญิง 1 ทูลคนที่ 3

แต่พ่อมาตายตั้งแต่ลูกๆยังเล็ก แม่จึงได้แต่งงานใหม่กับพนักงานการรถไฟ และย้ายไปอยู่มหาชัย มีลูกอีกคนเป็นผู้หญิง ทูลได้ช่วยเลี้ยงน้อง และได้ช่วยแม่ขายของ และอีกอาชีพนึงคือหาบน้ำขาย

ทูลจบการศึกษาชั้นมัธยมปีที่ 3 ชอบการร้องเพลงมาตั้งแต่เด็ก ร้องเพลงประกวดครั้งแรกเมื่ออายุได้ 14 ปี เพลงที่ชื่นชอบเป็นพิเศษในช่วงนั้นคือ “ค่ำแล้วในฤดูหนาว” ของครูล้วน  ควันธรรม  และเพลง “หยาดฟ้ามาดิน”  ของครูสมยศ  ทัศนพันธ์  ประกวดที่ไหนจะนำ 2เพลงนี้ขึ้นประกวดเสมอ และจะชนะเลิศทุกครั้งไป  จนกรรมการขยาด เขาจึงได้รับเกียรติให้เป็นกรรมการตัดสินการประกวดร้องเพลงซ่ะเลย นับเป็นกรรมการที่มีอายุน้อยที่สุดด้วยวัยเพียง 19 ปี ทำให้เขาภูมิใจไม่เคยลืม   หลังจากนั้นครูชาญชัย  บัวบังศร แนะนำให้ไปร้องเพลงอยู่ที่ห้องอาหารจังหวัดภูเก็ต   ทนลำบากอยู่หลายปีเหมือนกัน จึงหวลกลับกรุงเทพฯ อีกครั้งหนึ่ง

ความใฝ่ฝันที่จะเป็นนักร้องอาชีพเริ่มเป็นจริง  เมื่อได้เข้ารับราชการเป็นทหาร สังกัด  ขส.ทบ. ความสามารถในการร้องเพลง  ทำให้เขาได้เป็นนักร้องประจำวง “ลูกมาตุลี” ซึ่งเป็นวงดนตรีชื่อดังของกรมการขนส่งทหารบกในสมัยนั้น

เมื่อออกจากวง “ลูกมาตุลี” ของ ขส.ทบ. ขณะนั้นมียศสิบเอก  ครูสิทธิ์  โมรากรานต์  นำไปพบกับครู “เบญจมินทร์”  ครูเบญจมินทร์แต่งเพลงแรกให้ร้องบันทึกเสียง เมื่อปี พ.ศ. 2499 ในเพลง “พี่ทุยหน้าทื่อ” พอมีคนรู้จักบ้าง นำไปร้องสลับหน้าม่านโรงละครอยู่เป็นปีจนช่ำชอง ตามมาด้วยเพลงกลิ่นปรางนางหอม ชื่อเสียงก็กระเตื้องขึ้น จนต่อมาในปี พ.ศ. 2500  หลังจากครูเบญจมินทร์เดินทางกลับจากประเทศเกาหลี จึงได้นำเพลง “โปรดเถิดดวงใจ”  ให้ ทูล   ทองใจ  ขับร้อง เกิดปรากฏการณ์ดังเป็นพลุแตก สร้างชื่อเสียงให้ทูล ทองใจอย่างมากมาย ต่อมาครูเบญจมินทร์แต่งให้ร้องอีกหลายเพลง เช่น ปรารถนา ในฝัน ๆ แต่เนื่องจากครูเบญจมินทร์มีงานล้นมือ ทั้งงานด้านดนตรีและงานภาพยนตร์  จึงฝากทูล  ทองใจ ให้ครูมงคลอุปการะต่อ  และได้ครูไพบูลย์  บุตรขัน  แต่งเพลงให้อีกแรงหนึ่ง  อาทิ เสียงดุเหว่าแว่ว นกเขาขันฉันครวญ รังรักในจินตนาการ ๆลๆ ทำให้ชื่อเสียงของทูล  ทองใจ  โด่งดังคับฟ้าจนดังไปไกลถึงประเทศลาว เป็นดาวค้างฟ้ามาตั้งแต่บัดนั้น

ทูลเสียชีวิตเมื่อ 1 กพ 2538 ด้วยอาการความดันโลหิตสูง เส้นเลือดในสมองแตก สิริรวมอายุได้ 65 ปี

ด้วยความรักและแรงศรัทธาของแฟนเพลงที่มีต่อเสียงเพลง จึงได้ร่วมกันสร้างอนุสรณ์ที่ระลึก หุ่นทูล ทองใจขึ้นที่บ้านเกิดสมุทรสงคราม ในท่ายืน มือขวาถือไมค์ตั้งอยู่บริเวณด้านหน้าพิพิธภัณฑ์บ้านดนตรี วัดภุมรินทร์กุฎีทอง ต.สวนหลวง จ.สมุทรสงคราม


 









 

เกียรติยศ[แก้]

ทูล ทองใจ ได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานจากเพลง

รักใครไม่เท่าน้อง (พ.ศ. 2509)

นางรอง(พ.ศ. 2514) ผลงานของครูพยงค์ มุกดา 

อยากบอกรักแต่ไม่กล้า (พ.ศ. 2522) ผลงานของ มงคล อมาตยกุล

ได้รับรางวัลพระราชทานกึ่งศตวรรษลูกทุ่งไทย

ในปี พ.ศ. 2532 [1]




Create Date : 01 กุมภาพันธ์ 2561
Last Update : 1 กุมภาพันธ์ 2561 10:58:06 น.
Counter : 1770 Pageviews.

0 comments

ผู้โหวตบล็อกนี้...
คุณวลีลักษณา

ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

หนุ่มร้อยปี
Location :
กรุงเทพ  Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 24 คน [?]



บล็อกนี้สร้างสรรค์ขึ้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2549 โดย ชายไทยวัยสูงอายุ มีวัตถุประสงค์ในการบันทึกและนำเสนอเรื่องราวต่างๆแบบครอบจักรวาล อาทิ ภาพยนตร์ ดนตรี รายการทีวี หนังสือน่าอ่าน อาหารน่ากิน ท่องเที่ยว สะสมสิ่งของ ตำนานชีวิตบุคคลน่าสนใจ รู้ไว้ใช่ว่า จิปาถะ
ฯลฯ เป็นต้น คำขวัญประจำบล็อก ประสบการณ์ชีวิตที่ดีในอดีต คือทรัพยากรที่ทรงคุณค่าในปัจจุบัน คำขวัญประจำตัวเจ้าของบล็อก "อายุเป็นเพียงตัวเลข" บรรณาธิการบริหารบล็อกคือ หนุ่มร้อยปี บล็อกนี้ไม่สงวนลิขสิทธิ์ตามกฏหมาย ท่านใดเห็นว่าข้อเขียนหรือภาพประกอบในบล็อกนี้มีประโยชน์ สามารถนำไปใช้ได้ แต่โปรดอ้างอิงชื่อบล็อกนี้ด้วย จักขอบคุณยิ่ง