ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

cartoonthai
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 237 คน [?]




New Comments
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2555
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
26 ตุลาคม 2555
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add cartoonthai's blog to your web]
Links
 

 
สวัสดีชุมพร เที่ยวเกาะเลาะทะเล นอนเล่นโฮมสเตย์ 3 วัน 2 คืน ตอนที่ 2

หลังจากไปลั้ลลาขึ้นเขาดูเหยี่ยว ล่องเรือดำน้ำดูปลาท้องทะเลในทะเลจังหวัดชุมพรกันแบบจัดเต็มแล้ว พวกเราก็ออกเดินทางไป บ้านท้องตมใหญ่ หมู่บ้านชาวประมงที่ยังรักษาวิถีชีวิตเรียบง่ายและดั้งเดิมของ อ.สวี และมีโฮมสเตย์ริมทะเลอ่าวไทยที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่งในเรื่องการจัดการท่องเที่ยวที่มีแนวทางการพัฒนาและเอกลักษณ์ในแบบฉบับของตัวเอง เน้นความสงบเรียบง่ายด้วยความร่วมมือร่วมใจของคนในชุมชน ที่นี่จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการพักผ่อนในแบบที่ไม่ซ้ำใคร เหมาะการมานั่งมองท้องทะเลท่ามกลางบรรยากาศสวยๆ นอนดูฟ้า นอนดูดาว และกินเมนูซีฟู้ดสดๆ รสชาติอร่อยจนอิ่มหมีพีมัน


เราเดินทางไปถึงบ้านท้องตมใหญ่ในตอนเย็นๆ และแวะพักกันที่โฮมสเตย์บ้านลุงน้อย โดยมีคุณไก่ ผู้นำกลุ่มโฮมสเตย์ของที่นี่เป็นผู้ต้อนรับ ซึ่งบ้านหลังนี้เป็นบ้านสีชมพูหลังขนาดใหญ่ ยื่นไปในทะเล เบื้องหน้ามองเห็นทิวเขาสลับซับซ้อนและผืนน้ำขว้างใหญ่ มองไปซ้ายขวาเป็นบ้านเรือนชาวประมงมีเรือจอดนอนแน่นิ่งอยู่หลายสิบลำ และเกือบทุกบ้านมีอุปกรณ์การจับปลาและหมึก อุปกรณ์ทำมาหาหาเลี้ยงชีพของคนที่นี่

ส่วนในบ้านมีห้องนอนและห้องน้ำพร้อมสรรพ สามารถรองรับรับนักท่องเที่ยวได้เกือบ 50 คน มีเรือนชานให้นั่งทำกิจกรรมและนั่งเล่นรับลมเย็นๆ จากทะเลได้ตลอดทั้งวัน อุปกรณ์เครื่องนอนหมอนมุ้งเขาเตรียมให้พร้อมน้ำดื่ม พัดลม ตู้เย็น มีให้ครบเหมือนอู่กับบ้านตัวเอง แต่ยกเว้นผ้าขนหนูและทีวีที่ไม่มีให้ เพราะต้องการให้นักท่องเที่ยวได้ใช้วิถีชีวิตแบบโฮมสเตย์จริงๆ และป้องกันเสียงรบกวนจากทีวี เพื่อให้เพื่อนๆ นักท่องเที่ยวที่มาด้วยกันได้พักผ่อนแบบเต็มที่

หลังจากเก็บสัมภาระกันเรียบร้อย พวกเราก็ใช้เวลายามเย็นออกไปเดินลัดเลาะชมความเป็นอยู่ของชุมชนเดียว ซึ่งจากที่สังเกตด้วยสายตาอันแสนซอกแซก ก็เห็นว่า บ้านเรือนของชาวท้องตมใหญ่ ส่วนใหญ่ปลูกยื่นลงไปในทะเลตามเชิงเขา ลักษณะโค้งเป็นรูปเกือกม้า มีโขดหินเรียงรายตามไหล่เขา ด้านในมีป่าชายเลนที่ยังอุดมสมบูรณ์และมีระบบนิเวศทางธรรมชาติที่มาศึกษาเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง เดินไปไม่ไกลนักก็ถึงท่าเทียบเรือที่ยื่นยาวไปในเวิ้งอ่าวท้องตม เวลานั้นมีเรือชาวประมง 2 ลำ จอดเทียบท่า ซึ่งเราก็ได้เดินเข้าไปดู และพูดคุยกับพวกเขาแบบสนุกสนานโดยบนเรือมีลูกเรือหลายสิบคนกำลังเตรียมน้ำแข็งใส่ใต้ท้องเรือกันอย่างขมักขเม้นสำหรับเตรียมตัวเดินเรือออกจับปลาในตอนพลบค่ำ และใช้เวลาอีกหลายวันกว่าพวกเขาจะกลับเข้าฝั่ง ซึ่งการมาเยือนที่นี่ทำฝห้เราได้เห็นวิถีชาวแระมงแบบใกล้ชิดติดตา ไม่ใช่เพียงแค่เห็นจากรายการต่างๆ ในทีวีที่บ้านอีกต่อไป

ขณะเดินกลับบ้านพัก บนสะพานปลามีชาวบ้านหยิงชาย 4-5 คนชวนลูกหลานตัวเล็กตัวน้อยมานั่งตกปลาสบายอารมณ์อยู่บนสะพาน ใกล้ๆ ตัวมีอุปกรณ์ตกปลาแบบจัดเต็ม พร้อมถังน้ำแช่ปลามาพร้อมสรรพ ซึ่งปลาที่พวกเขาตกได้ส่วนใหญ่นั้นเป็นตัวเล็กๆ พี่สาวคนหนึ่งบอกกับเราว่า ปลาพวกนี้ส่วนใหญ่จะนำกลับไปทำอาหารกินที่บ้าน ตกครั้งหนึ่งก็กินได้มื้อสองมื้อ ได้ยินแล้วผมรู้สึกประทับใจมาก เพราะการใช้ชีวิตอยู่ต่างจังหวัด แม้จะไม่มีแสงสีและรายได้ฟู่ฟ่าให้ชื่นใจมากนัก แต่ความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติรอบๆ ตัว ที่เมืองใหญ่ไม่มี ก็ทำให้พวกเขามีอาหารกินกันทุกมื้อ โดยไม่ต้องใช้เงินซื้อให้เสียเงินเสียทองมากนัก เพียงแค่ใช้เวลาชิลล์ๆ ช่วงเย็นมานั่งรับลมตกปลาทุกวัน ใช้ฝีมือเฉพาะตัวอีกนิดหน่อย ก็ได้อาหารสดๆ จากท้องทะเลกลับบ้านไปกินที่บ้านอิ่มหมีพีมัน ช่างเป็นวิถีชีวิตในฝันของคนเมืองแบบพวกเราเสียจริงๆ เรียกได้ว่าอยู่แบบพึ่งพาตัวเอง โดยไม่แคร์สื่อจริงๆ และยิ่งเย็นมากเท่าไหร่ บนสะพานปลาก็ยิ่งคึกคักไปด้วยผู้คนที่มาเดินเล่นกินลมชม ซึ่งหากใครได้มาสัมผัสสักครั้งรับรองเลยว่าจะติดใจในความธรรมชาติและลืมกรุงเทพฯ ที่แสนวุ่นวายไปได้เลย

วันนี้หลังพระอาทิตย์ลาลับขอบฟ้าไปอย่างแสนโรแมนติก พวกเราก็อาบน้ำอาบท่ามาล้อมวงกินข้าวกันบริเวณชานหน้าบ้านแบบเป็นกันเอง การมาอยู่โฮมสเตย์บ้านท้องตมใหญ่ เจ้าของบ้านหนุ่มใหญ่บอกกับเราว่านักท่องเที่ยวทุกคนที่มาเที่ยวต้องใช้ชีวิตเหมือนบ้านตัวเอง ไม่ได้มีคนดูแลและบริการตลอดเวลาเหมือนอยู่โรงแรม เพราะต้องการให้นักท่องเที่ยวได้พักผ่อนแบบส่วนตัวและได้สัมผัสวิถีชีวิตของพวกเราจริงๆ ดังนั้น มาที่นี่ทุกคนจะต้องยกกับข้าวมากินเอง โดยมีแม่ครัวฝีมือเอกเป็นคนทำอาหารให้และเก็บล้างให้ ซึ่งจะว่าไปแล้วก็ไม่ใช่เรื่องยากเลย เพราะมันเป็นสิ่งที่นักท่องเที่ยวทุกคนทำกันอยู่บ้านอยู่แล้ว มื้อนี้อาหารของเราเป็นอาหารซีฟู้ดซะส่วนใหญ่ กุ้ง ปู หมึก ปลา ยกมาเป็นขบวน รวมไปถึงอาหารท้องถิ่นแบบชาวใต้ เช่น แกงส้ม น้ำพริกกะปิ ซึ่งเป็นกะปิที่ชาวท้องตมใหญ่ทำเองกับมือ รสชาติอร่อยมาก แต่ถ้าใครกินเผ็ดไม่ได้ขอบอกว่า มื้อนี้คุณอาจแอบน้ำตาเล็ด ร้องไห้กระซิกๆในความจัดจ้านของรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์

เมื่อกินอิ่มแล้วก็ถึงเวลาพักผ่อนของแต่ละคน บางกลุ่มก็ล้อมวงนั่งคุยกัน บ้างก็นอนอ่านหนังสือ บ้างก็เล่นไอโฟน ไม่ก็โฟสต์รูปลงเฟสบุ๊กให้เพื่อนๆ ได้กด Like เพราะที่นี่มีสัญญาณ Wi-Fi ไว้รองรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการใช้ชีวิตเงียบสงบ แต่ยังไม่ชินกับความเงียบที่มากเกินไป ถือเป็นการบริการเล็กๆ ที่เพิ่มความสุขและความสำราญในวันพักผ่อนของนักเดินทาง ส่วนกิจกรรมอื่นๆ นั้น ที่นี่เขาจะมีกิจกรรมทางทะเลให้ได้ร่วมสนุกตลอดทั้งวัน ไม่ว่าจะเป็นการ ปลูกป่าชายเลน ตกหมึก ตกหมึก ดำน้ำชมปะการัง ชมม้าน้ำ เล่นน้ำชายหาด รวมไปถึงพาเที่ยวสถานที่ท่องเที่ยวใกล้เคียง และมีงานบวชทะเล หรือการทำซั้ง ซึ่งเป็นที่อยู่อากาศของสัตว์น้ำ (บ้านปลา) แบบภูมิปัญญาชาวบ้าน เพื่อฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำและปะการังในท้องทะเล มาแล้วรับรองว่าไม่เหงาอย่างแน่นอน


บรรยากาศบ้านท้องตมใหญ่ยามค่ำคืนเงียบสงบมากๆ อากาศดีสุดๆ บนท้องฟ้าก็เต็มไปด้วยดาวดวงเล็กดวงน้อยระยิบระยับ หากใครชวนคู่รักมา คอนเฟิร์มเลยว่า บรรยากาศโรแมนติกมากจนคุณต้อง แอร๊ย..ยยยๆ ออกมาดังๆ ยิ่งกลางคืนฝนตกพรำๆ อากาศเย็นสบาย ไม่ต้องมีแอร์หรือพัดลม ก็นอนหลับสนิทตลอดทั้งคืน

มานอนที่นี่ ทุกคนตื่นเช้ากว่าปกติ เพราะอากาศสดชื่นมากๆ ใครไม่ตื่นมาสูดให้เต็มปอดต้องขอบอกว่าคุณพลาดของดีอย่างแรงส์ พวกเราเติมพลังมื้อเช้ากันด้วยข้ามต้มปลาหม้อโต ที่รสชาติหอมหวานอร่อยเว่อร์จนกันไปคนละหลายชาม แต่ที่เห็นแล้วสะดุดตาจนเราอดถามขอความรู้จากเจ้าของบ้านอีกครั้งว่า ทำไมมีผลส้มจี๊ดผ่าซีกอยู่ในถาดเครื่องปรุงด้วย เขาก็อธิบายว่า คนทางภาคใต้และแถบชุมพรไม่นิยมใช้มะนาวปรุงอาหาร แต่ชอบนำส้มจี๊ด ส้มผลเล็กๆ ที่มีรสชาติเปรี้ยวนิดๆ หวานๆ มาปรุงอาหารเพิ่มความอร่อย จึงเป็นโอกาสดีที่เราได้กินข้าวต้มรสชาติต้นตำรับท้องถิ่น ที่อยากให้นักท่องเที่ยวที่อยากเก็บเกี่ยวประสบการณ์ใหม่ๆ มาสัมผัสสักครั้ง

แถมวันนี้ยังเป็นโอกาสดี ที่พวกเราได้เดินทางไปร่วม งานบุญเดือนสิบ ของชาวท้องตมใหญ่ ที่วัดท้องตมใหญ่ ซึ่งเป็นวันสำคัญทางประเพณีของชาวใต้ เพื่อทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติพี่น้องและบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว โดยภายในงานมีประเพณีชิงเปรตควบคู่กันด้วย วันนี้ชาวบ้านทุกคนเตรียมข้าวของมาทำบุญกันเต็มวัด พร้อมมิตรไมตรีและรอยยิ้มต้อนรับพวกเรา ที่มาร่วมทำบุญกับพวกเขา แม้จะมาอยู่กันเพียงสั้นๆ แค่คืนเดียว แต่สิ่งที่เราได้รับจากการมาเยือนชุมชนแห่งนี้ มันเป็นความอบอุ่นที่ทำให้เรามีความสุขและประทับใจจริงๆ

ในยามสายเราโบกมือลาบ้านท้องตมใหญ่ ออกเดินทางไป ตำบลช่องไม้แก้ว อ. ทุ่งตะโก เพื่อไปเยี่ยมชม สวนเรียนรู้กสิกรรมธรรมชาติ (สวนลุงนิล) ที่ได้รับรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย ประเภทแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรดีเด่นครั้งที่ 8 เมื่อปี 2533 ที่นี่มีแหล่งเรียนรู้ต่างๆ มากมายไว้ต้อนรับนักท่องเที่ยวไว้มากมายในพื้นที่ 17 ไร่กว่าๆ สวนลุงนิลมองดูเผินๆ ภายนอก ก็มีลักษณะเหมือนสวนทั่วไปทางภาคใต้ที่มีต้นไม้และผลไม้ปลูกเรียงรายไว้แน่นขนัด มองเห็นความเขียวครึ้มและอากาศชิ้นนิดๆ

แต่สิ่งที่ทำให้สวนลุงนิลโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์นั่นก็คือ การปลูกพืชคอนโด 9 ชั้น ที่หลายคนสงสัยว่า คืออะไร โดยลุงนิลให้คำตอบว่า การปลูกพืชคอนโด 9 ชั้นนั้นเป็นการปลูกพืชหลักพร้อมสัตว์เลี้ยง เน้นดูแลด้วยวิธีเกษตรอินทรีย์ให้พืชเจริญเติบโตเป็นธรรมชาติ ไม่ใส่ปุ๋ยใดๆ ทั้งสิ้น แต่กลับงอกงามและเติบโตจนเราที่เดินเข้าไปชมในสวนแล้วต้องตื่นตาตื่นใจกับผลไม้ลูกโตๆ อาทิ ลองกอง ทุเรียน เงาะ มังคุด และพืชผักสวนครัวมากมายก่ายกองเต็มไปหมด

โดยทริปนี้เรามีอาสาสมัครที่มาเรียนรู้การปลูกพืชคอนโด 9 ชั้นจากสวนลุงนิล เป็นไกด์พาพวกเราเดินชมสวนตั้งแต่หน้าบ้านจนถึงปลายสวน ท่ามกลางความร่มรื่นย์ของหมู่แมกไม้ พร้อมชี้ชวนให้ดูและเล่าถึงพืชคอนโด 9 ชั้นจากไอเดียของลุง

น้องอาสาสมัครเล่าว่า การปลูกพืชคอนโด 9 ชั้นของลุงนิลแบ่งออกเป็น ดังนี้คือ ชั้นที่ 1 ลุงปลูกพวกพืชหัว เช่น ขมิ้น กระชาย กลอย มัน ชั้นที่ 2 เป็นพืชน้ำ เช่น บัว ผักบุ้ง ผักกระเฉด ชั้นที่ 3 พืชสมุนไพรต้นเตี้ย เช่น ตะไคร้ ผักสวนครัว ชั้นที่ 4 ส้มจี๊ด ชั้นที่ 5 กล้วยเล็บมือนาง ไม้ผล เงาะ มังคุด ทุเรียน ลองกอง ลางสาด ชั้นที่ 6 ไม้ยืนต้น คือ ทุเรียนหมอนทอง หมาก สะตอ ชั้นที่ 7 คือ ปลูกพริกไทยแซมตามโคนต้นไม้ ชั้นที่ 8 ไม้ใช้สอย เช่น ตะเคียนทอง ชั้น 9 ไม้ยางนา ซึ่งการปลูกพืชหมุนเวียนแบบนี้ ทำให้สวนลุงนิลมีรายได้หมุนเวียนเข้ามาทั้งแบบรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และรายปี ซึ่งเป็นการใช้ชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

นักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมสวนลุงนิล สามารถอุดหนุนพืชผักผลไม้จากสวนกลับไปเป็นของฝากได้ ไม่ว่าจะเป็นกล้วยเล็บมือนาง ทุเรียน พืชผักผลไม้ ส้มจี๊ด กระชาย ทุกอย่างปลอดสารพิษหมด หรือจะชิมสดๆ จากต้นก็ได้ ลุงดูแลเต็มที่ สำหรับใครที่ชอบทุเรียนกวน ที่นี่ก็มีจำหน่ายเป็นของฝากในราคาชาวบ้าน รสชาติหอมหวานอร่อย จนพี่สาวคนสวยในทริปอุดหนุนกลับบ้านไปฝากเพื่อนฝูงซะหลายกิโล

ขากลับเมืองหลวง เราแวะซื้อของฝากริมทางที่อร่อยไม่เคยจืดจางอย่าง กล้วยเล็บมือนาง ของฝากยอดฮิตของนักท่องเที่ยว และอยู่ในคำขวัญจังหวัดชุมพร ที่ตั้งร้านเรียงรายอยู่ริมทางบริเวณศาลเจ้าพ่อตาหินช้าง มีทั้งกล้วยสดสีเหลืองสวยน่ากิน สำหรับกินเล่นเพลินๆ ระหว่างทาง กล้วยดิบๆ สีเขียว สำหรับกลับไปรอให้สุกและกินที่บ้าน รวมถึงกล้วยแปรรูปอบน้ำผึ้งที่ขึ้นชื่อเรื่องความอร่อย ที่จะกินเล่นเองหรือซื้อกลับไปฝากเพื่อนฝูงก็ได้

มาเที่ยวชุมพรครั้งนี้ได้ลบความคิดเดิมเกี่ยวกับเมืองทางผ่านของผมซะหมดสิ้น แม้ใครหลายคนยังมองว่าชุมพรอยู่ไกลบ้าน เดินทางไม่สะดวกบ้าน แหล่งท่องเที่ยวไม่ฮอตระเบิดระเบ้อบ้าง นั่นก็ว่ากันไป แต่สำหรับผมแล้ว การเดินทางมาเยือนชุมพรทริปนี้ รับรองว่าหากคุณเป็นคนหนึ่งที่ต้องการพักกายใจแล้วละก็ ธรรมชาติและความเงียบสงบของเมืองแห่งนี้ จะช่วยเติมพลังให้คุณมีความสุขเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวอย่างแน่นอน

เรื่องและภาพ: ธนปกรณ์ สุขสาลี

ขอขอบคุณ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานชุมพร



  • สนับสนุนเนื้อหา สนุกท่องเที่ยว



Create Date : 26 ตุลาคม 2555
Last Update : 26 ตุลาคม 2555 8:21:04 น. 1 comments
Counter : 5319 Pageviews.

 


โดย: Kavanich96 วันที่: 27 ตุลาคม 2555 เวลา:5:22:50 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.