ติดตาม twitter ได้ที่ @karnoi กด
ติดตามข้อมูลเว็บทาง FaceBook กด

cartoonthai
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 237 คน [?]




New Comments
Group Blog
 
<<
มิถุนายน 2555
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
27 มิถุนายน 2555
 
All Blogs
 
Friends' blogs
[Add cartoonthai's blog to your web]
Links
 

 
เยี่ยมชมเรือนไทยหลังงาม ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช

บ้านคึกฤทธิ์

บ้านคึกฤทธิ์

บ้านคึกฤทธิ์

บ้านคึกฤทธิ์

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก คุณ Artiste

กว่า 50 ปี ที่บ้านเรือนไทยหลังงาม บนพื้นที่ 5 ไร่ ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ปูชนียบุคคลท่านหนึ่งของไทย ได้ถูกสร้างขึ้นในซอยสวนพลู แม้วันนี้เจ้าของบ้านจะจากไปได้ 17 ปีแล้ว แต่บ้านหลังนี้ก็ยังคงเป็นโบราณสถานสำคัญ ที่เปิดให้ชนรุ่นหลังได้เข้าชมและสัมผัสบรรยากาศแบบดั้งเดิมใจกลางกรุงเทพฯ อีกทั้งยังได้รับการขึ้นทะเบียนกับกระทรวงวัฒนธรรม ให้เป็นบ้านของบุคคลสำคัญ

          บ้าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช หรือที่เรียกกันติดปากว่า บ้านซอยสวนพลู ตั้งอยู่ในซอยพระพินิจ (ซอยย่อยของ ซอยสวนพลู) เป็นบ้านเรือนไทยโบราณ อายุกว่า 200 ปี ประกอบด้วยบ้านเรือนไทย 5 หลัง แต่ละหลังมีอายุหลายสิบปี ได้รับการดูแลและตกแต่งอย่างสวยงาม โดยตัวอาคารหลักเป็นเรือนไม้สัก ยกพื้นสูง เหมือนบ้านทรงไทยทั่วไป ก่อสร้างเป็นเรือนหลังเล็กแบบห้องเดี่ยว 5 หลัง เชื่อมต่อถึงกันด้วยเฉลียงและทางเดินที่มีลักษณะโปร่ง ใกล้ ๆ อาคารหลักมีอาคารที่มีห้องโถงขนาดใหญ่ สำหรับจัดงานสังสรรค์หรืองานสังคม อาคารหลังนี้เชื่อมต่อกับเรือนใหญ่ด้วยกำแพงทางเดินในสวน จึงให้ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของบ้านทั้งหลัง

บ้านคึกฤทธิ์

บ้านคึกฤทธิ์

บ้านคึกฤทธิ์

บ้านคึกฤทธิ์

สำหรับบรรยากาศภายในบ้านเต็มไปด้วยต้นไม้น้อยใหญ่คอยให้ความร่มรื่น มีศาลาอเนกประสงค์ชื่อว่า "ศาลาไทย" ไว้สำหรับทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยได้แรงบันดาลใจมาจาก ศาลาใหญ่หน้าพระอุโบสถของวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ด้านในมีตู้ใส่หัวโขน 2 ตู้ ชวนให้นึกถึงโขนธรรมศาสตร์ ที่หม่อมท่านจัดตั้งขึ้น

          นอกจากนี้ยังมี ตู้พระไตรปิฏก ฝีมือ อาจารย์ถวัลย์ ดัชนี ปรมาจารย์ชั้นครูด้านศิลปะ ที่ด้านในบรรจุพระไตรปิฏกสองใบ และตู้ลายรดน้ำลงรักปิดทองอายุเกือบ 200 ปี รวมทั้งมีรูปเคารพของเจ้าแม่กวนอิมและเทพเจ้ากวนอู ที่ระลึกจากอดีตผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของจีน เติ้งเสี่ยวผิง อีกด้วย

ส่วนเขมร เป็นอีกมุมสำคัญที่ถูกจัดแต่งไว้อย่างงดงาม เชื่อมกับใต้ถุนบ้านชั้นล่างของเรือนไทย ที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ มักจะใช้เวลาส่วนใหญ่ในบริเวณนี้ เฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ ถูกจัดวางอย่างเป็นระเบียบ แม้จะดูออกว่าเป็นเครื่องเรือนในสมัยโบราณ แต่ทุกชิ้นก็ถูกรักษาไว้อย่างดี ราวกับว่าบ้านหลังนี้ยังคงมีชีวิต ของสะสมทุกชิ้นที่ล้วนแต่มีที่มาที่ไป ถูกวางไว้รอบบริเวณอย่างดี

บ้านคึกฤทธิ์

บ้านคึกฤทธิ์

บ้านคึกฤทธิ์

บ้านคึกฤทธิ์

บ้านคึกฤทธิ์

บ้านคึกฤทธิ์

          หมู่เรือนชั้นบน มีเรือนไม้สัก 5 หลัง ประดับด้วยฝีพาย เพื่อระลึกถึงพระองค์เจ้าคำรบ พระบิดาของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ เอาไว้เหนือประตูเรือนต่าง ๆ ในรั้วแมกไม้ สะท้อนภาพเก่า ๆ จากความทรงจำของเจ้าของบ้าน โดยเรือนต่าง ๆ แบ่งออกเป็น เรือนนอน หอพระ ห้องหนังสือ หอนก และเรือนใหญ่ที่เก็บของสะสมต่าง ๆ

แม้ว่าสถานที่แห่งนี้จะไม่มีผู้อยู่อาศัย เหลือทิ้งไว้เพียงแค่ความทรงจำ ให้ระลึกถึงคุณงามความดีของเจ้าของบ้านเท่านั้น แต่ท่ามกลางความทรงจำที่แฝงความเป็นไทยเอาไว้อย่างเต็มร้อย บ้านหลังนี้กลับกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ทรงคุณค่าท่ามกลางตึกสูงระฟ้าใจกลางเมือง เป็นเครื่องยืนยันได้ว่าการจากไปของท่านยังก่อให้เกิดประโยชน์มากมายแก่คนรุ่นหลัง ไม่ว่าท่านจะมองเห็นภาพดี ๆ เหล่านั้นหรือไม่ก็ตาม

          อย่างไรก็ตาม บ้าน ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ยังเปิดเพื่อให้หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน รวมไปถึงผู้ที่สนใจที่จะใช้พื้นที่ของบ้านนี้จัดงาน พิธีการ หรืองานมงคลต่าง ๆ นอกเหนือไปจากที่ทางบ้านได้เปิดให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าเยี่ยมชม (ค่าเข้าชมต้องเสียคนละ 50 บาท) สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 02-287-2937, 02-286-8185 หรือเว็บไซต์ www.kukritshousefund.com

สถานที่ตั้ง เลขที่ 19 ซอยพระพินิจ (สาทรซอย 3) ถนนสาทรใต้ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120


บ้านคึกฤทธิ์

บ้านคึกฤทธิ์

บ้านคึกฤทธิ์

บ้านคึกฤทธิ์

บ้านคึกฤทธิ์

บ้านคึกฤทธิ์

บ้านคึกฤทธิ์

บ้านคึกฤทธิ์

บ้านคึกฤทธิ์



บ้านคึกฤทธิ์




ขอขอบคุณข้อมูลจาก
และ kukritshousefund.com


Create Date : 27 มิถุนายน 2555
Last Update : 27 มิถุนายน 2555 10:34:23 น. 1 comments
Counter : 3390 Pageviews.

 


โดย: Kavanich96 วันที่: 28 มิถุนายน 2555 เวลา:10:36:34 น.  

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 
 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.