Group Blog
 
 
สิงหาคม 2548
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
1 สิงหาคม 2548
 
All Blogs
 
คุยกันเรื่องหนังสือพิมพ์

ผลกระทบจากหนังสือพิมพ์เมืองเมืองไทยมีหลายประเด็นน่าพูดคุย ใครมีข้อคิดในการเลือกเสพหนังสือพิมพ์อย่างไร

มาคุยกัน


Create Date : 01 สิงหาคม 2548
Last Update : 1 สิงหาคม 2548 19:12:01 น. 7 comments
Counter : 836 Pageviews.

 
ผมอ่านหนังสือพิมพ์ต่อวันเยอะมาก เมื่อก่อนซื้อ
เดี่ยวนี้ไม่...หาอ่านตามเว็บสนุกกว่า
หลาย ๆ คนบอกว่า สื่อหนังสือพิมพ์เดี๋ยวนี้จรรยาบรรณหดหาย
บางคนก็บ่นเรื่องข่าวอาชญากรรม มากไปนิด
บางคนก็บ่นว่ารุกล้ำเสรีภาพประชาชน
บางคนก็บ่นว่าเอาแต่ค้านรัฐบาล - มองแต่ด้านลบ
บางคนบอกว่าสื่อโดนซื้อ

ตกลงเลยไม่รู้กันว่าจริง ๆ แล้วมันเป็นยังไง


โดย: Can (ไทเมือง ) วันที่: 1 สิงหาคม 2548 เวลา:19:16:19 น.  

 
ผมอ่านได้ทุกฉบับ เพราะแล้วแต่ว่าผมต้องการอะไร
ดังนั้นมันอยู่ที่ว่า เราจะอ่านเพื่ออะไร

อ่านเพื่ออัพเดทข่าว อ่านเพื่อแสวงหาแนวคิดหรืออ่านเพื่อความบันเทิง

ส่วนการ "ตัดสิน" ว่าหนังสือนั้นเป็นยังไงมันขึ้นอาชีพ การศึกษา ความสนใจ และ จริต ของแต่ละคน


๏ จริต 6 ๏

จริตนั้นแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 6 ประเภท หรือ 6 จริต คือ

๑. ราคจริต คือผู้มีปกตินิสัยหนักไปทางราคะ รักสวยรักงาม ละมุนละไม ชอบสิ่งที่สวยๆ เสียงเพราะๆ กลิ่นหอมๆ รสอร่อยๆ สัมผัสที่นุ่มละมุน และจิตใจจะยึดเกาะกับสิ่งเหล่านั้นได้เป็นเวลานานๆ

๒. โทสจริต คือผู้มีปกตินิสัยหนักไปทางโทสะ ใจร้อน วู่วาม หงุดหงิดง่าย อารมณ์รุนแรง โผงผาง เจ้าอารมณ์

๓. โมหจริต คือผู้มีปกตินิสัยหนักไปทางโมหะ เขลา เซื่องซึม เชื่อคนง่าย งมงาย ขาดเหตุผล มองอะไรไม่ทะลุปรุโปร่ง

๔. วิตักกจริต หรือวิตกจริต คือผู้มีปกตินิสัยหนักไปทางฟุ้งซ่าน คิดเรื่องนี้ทีเรื่องนั้นที เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ไม่สามารถยึดเกาะกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้นานๆ
วิตก แปลว่าการยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ หรือการเพ่งจิตสู่ความคิดในเรื่องต่างๆ ไม่ได้หมายถึงความกังวลใจ วิตกจริตจึงหมายถึง ผู้ที่เดี๋ยวยกจิตสู่เรื่องโน้น เดื๋ยวยกจิตสู่เรื่องนี้ ไม่ตั้งมั่น ไม่มั่นคงนั่นเอง

๕. ศรัทธาจริต หรือสัทธาจริต คือผู้มีปกตินิสัยหนักไปทางศรัทธา น้อมใจเชื่อ เลื่อมใสได้ง่าย ซึ่งถ้าเลื่อมใสในสิ่งที่ถูกก็ย่อมเป็นคุณ แต่ถ้าไปเลื่อมใสในสิ่งที่ผิดก็ย่อมเป็นโทษต่างจากโมหจริตตรงที่โมหจริตนั้นเชื่อแบบเซื่องซึม ส่วนศรัทธาจริตนั้นเชื่อด้วยความเลื่อมใส เบิกบานใจ

๖. ญาณจริต หรือพุทธิจริต คือผู้มีปกตินิสัยหนักไปทางชอบคิด พิจารณาด้วยเหตุผลอย่างลึกซึ้ง ชอบใช้ปัญญาพิจารณาตามความเป็นจริง ไม่เชื่ออะไรโดยไม่มีเหตุผล

โดยความเป็นจริงแล้ว คนเรามักมีจริตมากกว่า 1 อย่างผสมกัน เช่น

ราคโทสจริต
ราคโมหจริต
โทสโมหจริต
ราคโทสโมหจริต
สัทธาพุทธิจริต
สัทธาวิตกจริต
พุทธิวิตกจริต
สัทธาพุทธิวิตกจริต เป็นต้น

เมื่อรวมกับจริตหลัก 6 ชนิด จึงได้เป็นบุคคล 14 ประเภท หรือ 14 จริต

การรับรู้ของบุคคล หากใช้จริตเป็นตัวตัดสิน เราอาจเห็นความจริงจากสื่อบ้างไม่มากก็น้อย

ที่สำคัญคนเราอาจลืม "จริต" ของตนเองเพราะคิดว่าจริตของตนเองเป็น"ปมด้อย"

จึงพยายาม..ดัดจริต...เผื่อจะทำให้รู้สึกดูดีขึ้น

เหมือน ไฮซ้อ อยากเป็น ไฮโซ นั่นประไร

เอวังก็มีด้วยประการฉนี้...อาเมน


โดย: Can (ไทเมือง ) วันที่: 1 สิงหาคม 2548 เวลา:19:18:13 น.  

 
ตะกร้อครอบปากหมา พรุ่งนี้ (อาจ) ไม่มีเสียงเห่า !

กลางสัปดาห์ที่ผ่านมาศาลพิพากษายกฟ้องคดีที่ พล.ต.อ.สันต์ ศรุตานนท์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายสนธิ

ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ และ

นางสาวสโรชา พรอุดมศักดิ์ ผู้ดำเนินรายการ เมืองไทยรายสัปดาห์ เป็นจำเลยที่ 1 และ 2 ฐานร่วมกันดูหมิ่นเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่และหมิ่นประมาทใส่ความโดยการแพร่ภาพ และการกระจายเสียงหรือป่าวประกาศ

ศาลชี้ว่า เป็นหน้าที่ของสื่อที่สามารถติติงการทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และไม่ใช่เรื่องส่วนตัว

"สนธิ" ย้ำว่า คดีดังกล่าวเป็นการประกาศจุดยืนของคนที่อยู่ในวงการสื่อสารมวลชนว่าสิ่งที่ทำมาตลอดเป็นเรื่องที่ทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ เพื่อสังคมและประเทศชาติ

จริงๆ แล้วสื่อมวลชนกับรัฐบาลทุกยุคทุกสมัยต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่ เพราะหน้าที่ของสื่อก็คือการนำเสนอข่าวอย่างตรงไปตรงมามิได้มุ่งหวังโจมตีให้ร้ายรัฐบาล แต่เอาเข้าจริงภายใต้รัฐบาลธนกิจการเมือง "สื่อตกเป็นจำเลยในคดีหมิ่นประมาทนับคดีไม่ถ้วน"

ขณะที่แนวโน้มการฟ้องร้องคดีหมิ่นประมาทระหว่างสื่อกับผู้ที่อ้างว่าได้รับความเสียหาย มีการเปลี่ยนแปลงไปมาก โดยเฉพาะในเรื่องการเรียกค่าเสียหายทางแพ่งที่เพิ่มสูงมากขึ้นอย่างน่าขนลุก

กล่าวกันว่า ยุคหนึ่งที่ "พล.อ.อาทิตย์ กำลังเอก" ฟ้องหนังสือพิมพ์มติชน โดยเรียกค่าเสียหาย 50 ล้านบาท ถือว่าเป็นการเรียกค่าฟ้องร้องที่มีมูลค่าสูงมากแล้ว

แต่ 2-3 เดือนที่ผ่านมา มีหลายคดีที่สื่อมวลชนถูกกลุ่มธุรกิจหรือการเมืองใช้อำนาจทางกฎหมายฟ้องร้องด้วยข้อหาหมิ่นประมาททั้งทางอาญาและทางแพ่ง และถูกเรียกร้องค่าชดเชยเป็นจำนวนมหาศาล

เช่น ที่เป็นข่าวเมื่อเร็วๆ นี้คือ กรณีบริษัท ปิคนิค คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ฟ้องหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจราย 3 วัน และหนังสือพิมพ์มติชน ข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร เรียกค่าเสียหายจาก 2 ฉบับรวมกัน 15,000 ล้านบาท

ส่วน "นางเยาวเรศ ชินวัตร" มอบหมายให้ "นายธนา เบญจาธิกุล" เป็นทนายฟ้องหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ร่วมกับ นายอลงกรณ์ พลบุตร กรณีนำข่าวสินบน 300 ล้านบาทจากงานก่อสร้างคาร์ปาร์กที่สนามบินสุวรรณภูมิ รวมถึงถูกคดีชินคอร์ปฟ้องร่วมกับ สุภิญญา กลางณรงค์ เรียกค่าเสียหาย 400 ล้านบาทไปแล้วก่อนหน้านี้

เปลว สีเงิน คนปลายซอย (28 ก.ค.48) กล่าวว่า ตอนนี้ไทยโพสต์ถูกฟ้องอยู่ 30-40 คดี และเมื่อแยกคดีแพ่งออกจากคดีอาญาแล้ว ถูกเรียกค่าเสียหาย 2,000 กว่าล้านบาท ขณะที่ "เครือมติชน" ถูกฟ้องคดีอยู่ในศาลเกือบ 60 คดี

แรงสั่นสะเทือนดังกล่าวส่งผลให้สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติออกสมุดปกขาวเรื่อง "ความจำเป็นที่จะต้องปฏิรูปการใช้กฎหมายหมิ่นประมาท" เพื่อหันมาทบทวนกฎหมายหมิ่นประมาท โดยเฉพาะคดีหมิ่นประมาทที่เกี่ยวกับสื่อว่าสมเหตุสมผลหรือไม่ ?

เนื้อหาของสมุดปกขาวสรุปว่า เจตนารมณ์ในการใช้กฎหมายหมิ่นประมาทได้เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งไม่ตรงกับหลักการและเหตุผลของกฎหมาย ประสงค์จะใช้เพื่อปกป้องเกียติยศหรือชื่อเสียงของบุคคลโดยสุจริต

แต่กลับใช้เพื่อปิดปากเพื่อต่อรองในเรื่องต่างๆ ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม มีผลในด้านลบต่อสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน และการทำหน้าที่สื่อมวลชนเพื่อประโยชน์สาธารณะ ทำให้กระบวนการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐหรือพฤติกรรมของบุคคลสาธารณะต้องชะงักสะดุดลง น่าจะถึงเวลาที่จะต้องปฏิรูปการใช้กฎหมายหมิ่นประมาทในประเทศไทย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและมีนโยบายอย่างแท้จริง

ขณะที่ก่อนหน้านี้ที่ประชุมทางวิชาการเรื่องมโนธรรมและความเป็นธรรมในการใช้กฎหมายหมิ่นประมาทในประเทศไทย มีความเห็นว่า การให้ข้อมูลแก่สาธารณะในเรื่องไม่ชอบมาพากล ไม่ควรฟ้อง เพราะสื่อใช้อำนาจแทนประชาชน ถ้ายังไม่ใช้สิทธิให้สื่อชี้แจง กฎหมายควรห้ามไม่ให้ฟ้อง โดยเฉพาะในสื่อที่ลงข่าว ถ้าหนังสือพิมพ์ไม่ลงข่าวชี้แจงจึงจะมีสิทธิฟ้องได้

ส่วนประเด็นการถูกฟ้องร้องโดยผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่ประชุมเห็นว่า น่าจะมีการแก้ไขเพิ่มเติมในคดีหมิ่นประมาทในประมวลกฎหมายอาญาที่เจาะลงไปเป็นการเฉพาะว่า การเผยแพร่ข่าวสารผ่านสื่อมวลชนสู่สาธารณะกับบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะเอาในคดีหมิ่นประมาทกันง่ายๆ ไม่ได้

เพราะนักการเมืองเป็นบุคคลสาธารณะ อาสาเข้ามาทำงานแทนประชาชน ใช้อำนาจรัฐตามกฎหมาย กินเงินเดือนประชาชน ดังนั้นต้องทนต่อการตรวจสอบ ถ้าหากเป็นการวิพากษ์วิจารณ์ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 39

ล่าสุดนายกล้านรงค์ จันทิก รองประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ กล่าวว่าในช่วงที่ผ่านมาสภาการหนังสือพิมพ์ฯได้เล็งเห็นปัญหาในเรื่องของการใช้กฎหมายหมิ่นที่ไม่ตรงกับเจตนารมณ์ที่มีอยู่ในกฎหมาย จึงได้จัดให้มีการทำวิจัยเรื่องการบังคับใช้กฎหมายหมิ่นประมาทขึ้น และจัดสัมมนาไปแล้ว 6-7 ครั้ง

ล่าสุดได้มีผลสรุปออกมาแล้วว่าควรจะผลักดันให้มีการแก้ไขกฎหมาย ยกตัวอย่างเช่น การไต่สวนมูลฟ้อง จำเลยไม่มีสิทธินำสืบพยานในการพิสูจน์เลย เมื่อศาลประทับรับฟ้องว่าคดีมีมูล ควรจะให้โอกาสจำเลยได้สืบพยานหลักฐานได้ หรือแม้กระทั่งการแจ้งความจับในคดีหมิ่นประมาท จะแจ้งที่ไหนก็ได้ไม่จำเป็นต้องลงไปดำเนินคดีในสถานที่เกิดเหตุ หรือเดินสายแจ้งความหลายที่ให้เกิดความยุ่งยาก

นี่คือต้นทุนและความเสี่ยงของสื่อในการเสนอข่าวเปิดโปงความไม่ชอบมาพากลในยุคธนกิจการเมือง


โดย: Can IP: 202.5.88.150 วันที่: 2 สิงหาคม 2548 เวลา:7:10:09 น.  

 
แค่ละครการเมือง?


หลายคนพูดตรงกันว่า เวลา 1 ชั่วโมง ในการสนทนาเรื่อง "สันติการสร้างสันติสุข ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้" ระหว่าง นายอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะกรรมการ อิสระเพื่อความสมานฉันท์แห่งชาติและ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ถ่ายทอดสดไปทั่วประเทศ จบลงแบบวิน-วิน เกมส์ สมานฉันท์อย่างที่คาดการณ์กันเอาไว้

ยิ่งเมื่อสำรวจพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ในเช้าตรู่วันรุ่งขึ้น เป็นการตอกย้ำให้เห็นได้กระจ่างขึ้น

"อานันท์" ย้ำกับ "แม้ว" ไม่เป็นศัตรู-ไม่เอาใจ คือพาดหัวใหญ่ของ มติชน เช้าวันศุกร์ที่ 29 กรกฏาคม 2548 ข่าวรอง มติชน ตอกย้ำติดปลายนวมแบบสยองขวัญว่า กอส.-รบ.ยันร่วมมือ "คู่ขนาน" กู้ระทึก 5 กก.แบงก์ยะลา

ขณะที่โพสต์ทูเดย์ พาดหัวโทนเดียวกับมติชนว่า "สมานจุดร่วมสงวนจุดต่าง" พร้อมกับให้น้ำหนักถึงประเด็นสำคัญของอานันท์และทักษิณ "อานันท์" ห่วงใบออกใบอนุญาติฆ่า "ทักษิณ" ยึดสันติคุมใช้อำนาจพรก.

หัวเขียว "ไทยรัฐ" พาดหัวแบบเรียบๆว่า ทักษิณ-อานันท์ แจงดับไฟใต้/ยันไม่ขัดแย้งยึดสมานฉันท์ เช่นเดียวกับ ผู้จัดการรายวัน ที่พาดหัวว่า 2 ผู้นำ 2จุดยืนดับไฟใต้

ต่างจาก "ไทยโพสต์" ที่พาดหัวแบบมันๆตามแบบฉบับว่า "แม้ว" งมเข็มห้องมืด ตอกย้ำหนักแน่นในอุดมการณ์ด้วยหัวรองว่า อานันท์อบรมเลิกติดหนวด/ท่านผู้นำมุสาพรก.ไม่มี "เชิญตัว"

ขณะที่สื่อออนไลน์อย่าง พันทิพย์ ดอตคอม โต๊ะราชดำเนิน เปิดโต๊ะสนทนาในเช้าวันศุร์ด้วยกระทู้ที่สะท้อนอารมณ์ความรู้สึกของชาวราชดำเนินได้อย่างชัดเจน

"ท่านนายกฯ กับ คุณอานันท์ ออกทีวีแล้ว ปัญหาภาคใต้คงจะแก้สำเร็จยาก คุณอานันท์ พยายามจะบอกว่าชาวบ้านไม่ไว้ใจเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพราะเจ้าหน้าที่ของรัฐใช้อำนาจเกินเลยที่กฏหมายกำหนด แต่ ท่านนายกฯ ไม่มีความคิดว่าจะมีอย่างนั้น"


//www.matichon.co.th/prachachart/prachachart_detail.php?s_tag=02pol03010848&day=2005/08/01


โดย: Can IP: 202.5.88.152 วันที่: 2 สิงหาคม 2548 เวลา:7:16:06 น.  

 
เรื่อง "อ่าน" ไม่สันทัด ที่บ้านรับ "ไทยรัฐ" ขอให้ได้เหลือบซักหน่อยก็ยังดี แค่หัวข้อข่าวสักนิดยังทำให้จิตสลดได้

เรื่องมันเศร้า


โดย: หลานแทน IP: 202.142.199.146 วันที่: 6 กันยายน 2548 เวลา:17:57:00 น.  

 
ไทยรัฐอ่านบทความ คอลัมน์ ผมว่าดีกว่าหลาย ๆ ฉบับครับ


โดย: Can IP: 202.5.88.138 วันที่: 1 พฤศจิกายน 2548 เวลา:4:53:52 น.  

 
ตอนนี้เว็บล่มหมดแล้วประจำที่โอเคเนชั่น

//www.oknation.net/blog/canthai


โดย: ลุงแคน IP: 58.11.74.111 วันที่: 13 ตุลาคม 2553 เวลา:17:55:42 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

ไทเมือง
Location :
อุบลราชธานี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add ไทเมือง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.