ตัดต่อสร้าง Bloggif บอนสี (Caladium) ประทีป บอนสี สร้างสีสันให้สวนคุณสวยสดใส จำหน่ายหัวบอนสีหลายสายพันธุ์
Group Blog
 
 
กรกฏาคม 2557
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
26 กรกฏาคม 2557
 
All Blogs
 

การพัฒนาพันธุ์ บอนสีราชินีแห่งใบไม้

การพัฒนาพันธุ์ บอนสีราชินีแห่งใบไม้

บอนสีมีถิ่นกำเนิดในบราซิล อเมริกากลางและอเมริกาใต้ ขึ้นอยู่ทั่วๆไปตามพื้นป่าและริมธาร มีด้วยกัน 7 ชนิด (species) ได้แก่ Caladium humboldtii (พญาเสวต) Caladium bicolor ( มีชื่อห้อง Syn. C. marmoraium. C. picturatum, ประเทศไทยได้อย่างไรนั้น ม.ล.ประจวบ นพวงศ์ ได้เขียนเรื่องวิวัฒนาการบอนสี ลงพิมพ์ในวารสารบอนสีฉบับครบรอบปีที่ 17 พ.ศ. 2542 ปัจจุบันมีลูกผสมมากมาย ใบมีสีสวยงาม มีทั้งสีเขียว สีขาว สีชมพู สีแดง ปะปนกันเกิดเป็นลวดลายต่างๆสวยงาม จึงได้ชื่อว่าเป็นราชินีแห่งใบไม้ และนับว่าประเทษไทยน่าจะมีพันธุ์บอนสีมากที่สุดในโลก และยังสวยงามอีกด้วยจะเห็นได้จากการโฆษณาของหลายบริษัทใหญ่ๆ ในอเมริกา ว่ามี บอนสีจากเมืองไทยจำหน่ายในเว็บไซด์

วิธีการสร้างบอนสีพันธุ์ใหม่

มีวิธีการหลายแบบ ได้แก่

1. การผ่าหัว ปกติแล้วจะได้ต้นพันธุ์ที่เหมือนเดิม แต่มีโอกาสเกิดบอนแผลงเป็นพันธุ์ใหม่ได้

2. การผสมเกสร บอนสีมีดอกแบบสมบูรณ์เพศ มีลักษณะเป้นแท่งเรียกปลี ส่วนบนเป้นที่อยู่ของดอกเพศผู้ ส่วนกลางเป็นหมัน ส่วนล่างเป็นที่อยู่ของดอกเพศเมีย

บอนสีที่ได้จากการเพาะเมล็ด มีใบรูปร่างต่างๆ และมีหลากหลายจึงต้องคัดพันธุ์ต่อไป ปัญหาของการผสมพันธุ์คือจะต้องทำให้บอนออกดอกเป็นจำนวนมากและดอกบานพร้อมๆกันหรือใกล้เคียงกันจึงจะผสมติดเมล็ดได้ การออกดอกของบอนสีตามปกตินั้นหลังจากเก็บหัวที่มีขนาดใหญ่ให้พักตัวเสียก่อน เมื่อนำไปปลูกก็จะให้ดอกนำไปผสมเกสรได้ ได้มีรายงานการวิจัยของ Harbaugh & Wilfret ตีพิมพ์ในวารสาร HortScirnce ปี ค.ศ. 1979 สามารถทำให้บอนสีออกดอกมากชึ้นโดยการนำหัวขนาดใหญ่ไปแช่ใน GA ความเข้มข้น 250-500 มก./ลิตร เป็นเวลา 8 ช.ม. แล้วนำไปปลูก จะออกดอกได้มากกว่าหัวที่ไม่แช่ GA ออกดอกใช้เวลา 2 เดือน ดอกมีเกสรตัวผู้ที่สมบูรณ์ใช้ผสมติดเมล็ดได้ สำหรับหัวที่ปลูกลงกระถางไปแล้วแต่ไม่ออก ให้พ่น GA ความเข้มข้น 500 มก./ลิตร ที่โคนใบ ถ้าจะให้ดีก็ตัดใบทิ้งให้เหลือก้านใบยาว 5 ซ.ม. ทำให้ GA ซึมลงไปที่หัวได้สะดวก ก็สามารถทำให้ออกดอกได้ การปรับปรุงพันธุ์บอนสีในต่างประเทศ เช่น ในยุโรป อเมริกาใต้และอเมริกาทำกันมานามมากกว่า 150 ปีแล้ว แต่ยังไม่สามารถสร้างพันธุ์ใหม่ให้ได้ตามต้องการดดยมีลักษณะต่างๆครบถ้วนดังนี้ ใบต้องมีสีสดใสเป็นมัน มีแพทเทอร์นที่เป็นระเบียบ มีก้านใบตั้งและใบแข็งแรง มีจำนวนใบมากทนต่อดรคสาเหตุจากเชื้อ Fusarium และ Erwinia ทนต่อใส้เดือนฝอย มีหัวขนาดใหญ่ ทนต่ออากาศหนาวเย็น

การถ่ายทอดลักษณะในการผสมเกสร

ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีโอกาสสร้างบอนสีพันธุ์ใหม่ๆได้หลายวิธีตามความถนัดและความพร้อมของนักปรับปรุงพันธุ์บอนสีแต่วิธีที่เป็นที่นิยมกันมากเนื่องจากมีคนไทยหลายคนมีความชำนาญมากในการผสมเกสรสามารถผลิตบอนสีพันธุ์ใหม่ๆสวยๆได้อย่างติอเนื่องทุกปี อยากบอกว่าคนไทยเก่งกว่าก็ได้ อย่างไรก็ตาม ความรู้ที่เกี่ยวกับลักาณะเด่น ลักษณะด้อยที่จะถ่ายทอดไปยังต้นลูกนั้นไม่ค่อยมีคนทราบนัก ไม่ทราบถึงวิธีการเลือกพ่อแม่พันธุ์อย่างไร จึงจะได้ลูกมีลักษณะดีตามความต้องการ จึงทำให้การรวบๆข้อมูลมาเปิดเผยเพื่อจะเป็นประโยชน์ช่วยกันพัฒนาวงการบอนสีให้เจริญเร็วขึ้น Dr. Gary Wilfret ผู้เชี่ยวชาญบอนสีของมหาวิทยาลัยฟลอริดา เป็นผู้หนึ่งที่สร้างพันธุ์บอนสีเป็นการค้าไว้หลายพันธุ์ ได้รวบรวมข้อมูลลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุกรรมของบอนสีไว้ดังนี้ ถ้าใช้บอนสีใบสีแดง ( Florida carginal) กับต้นที่มีใบเป็นร่างแห ( Candidum) ลูกที่ได้ทุกต้นมีร่างแหที่ใบมากน้อยแตกต่างกันไป มีเส้นใบสีแดง ถ้าเอาต้นลูกที่มีร่างแหเหล่านี้ไปผสมกับต้นแม่ที่มีร่างแห ( Candidum) ลูกที่ได้ครึ่งหนึ่งมีใบเป็นร่างแหเหมือนกันละมีเส้นกลางใบสีแดง ถ้าผสมระหว่างใบร่างแหกับใบเป็นปื้น ( White Christmas) ลูกที่ได้ครึ่งหนึ่งเป้นร่างแหอีกครึ่งหนึ่งเป็นปื้น ถ้าพันธุ์ใบเป็นร่างแหเส้นกลางใบสีแดงผสมตัวเอง จะได้ลูกหนึ่งส่วนใบเป็นร่างแห เส้นใบใบสีเขียว สองส่วนใบเป็นร่างแห เส้นกลางใบสีแดง หนึ่งส่วนได้ใบตรงกลางสีแดง ในการผสมต้นที่มีจุดขาวหรือจุดชมพูกับต้นไม้ไม่มีจุด ลูกที่ได้ครึ่งหนึ่งมีจุดสีขาว อีกครึ่งหนึ่งมีจุดสีชมพู นอกจากนี้ยังคาดว่ามรยีน modifying gene ที่ควบคุมความเข้มของสีชมพูอ่อน ชมพูกลาง และชมพูแก่

3. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ป็นการขยายพันธุ์โดยให้ได้ต้นเหมือนเดิมเป็นจำนวนมากในเวลาอันรวดเร็ว โดยการนำตาจากหัวบอนหรือนำใบอ่อนมาฟอกฆ่าเชื้อแล้วเลี้ยงในอาหารวุ้นโดยใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อสามารถผลิตบอนต้นเล็กๆได้เป็นจำนวนมาก ถ้าต้นบอนที่นำมาขยายพันธุ์มีลวดลายที่เป็นระเบียบ เช่น บอนพญาเสวตต้นแคระมีใบสีเขียว มีปื้นสีขาวส่วนใหญ่จะได้ต้นมีลวดลายเหมือนเดิม แต่บางต้นจะได้ใบที่มีสีขาวเป็นพื้นมีสีเขียว ได้เป็นพันธุ์ใหม่เรียกว่า Marcel เกิดจากการกลายพันธุ์จาการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อโดยบริษัท Marcel Lecoufle ในปี ค.ศ. 1981 นอกจากนี้ในประเทศไทยยังได้ต้นบอนพญาเสวตที่มีใบหนาขึ้น เนื่องจากมีการเพิ่มโครโมโซม ได้เป็นต้นเตตราพลอยด์ แต่ถ้าเป็นบอนป้ายก็จะให้ต้นกลายพันธุ์ไปมากมีใบสีไม่เหมือนเดิม ส่วนใหญ่จะได้ใบเขียวเพราะสามารถเจริญได้ดีกว่าสีอื่นๆ จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อบอนสีหลายพันธุ์พบว่าถ้ายิ่งขยายในขวดเป้นเวลานานมากขึ้นก็ยิ่งมีโอกาสได้ต้นกลายพันธุ์มากขึ้นมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ขนาด สี และความหนาของใบ ตัวอย่างของบอนสีพันธุ์ใหม่ที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อโดยผู้เขียน คือพญานาคราชที่เป็นบอนใบกาบได้จากต้นเดิมนายทองเหม็น ที่มีก้านใบกลม นอกจากนี้เมื่อทำการเพนาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกับต้นอื่นๆ ก็ได้ต้นกลายพันธุ์เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเกิดเป็นต้นเตตราพลอยด์ที่มีใบหนา ซึ่งมีประโยชน์ในการสร้างพืชทิพพลอยด์ โดยการผสมเกสรระหว่างต้นดิพพลอยด์กับต้นเตตราพลอยด์ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อนอกเหนือจากเป็นวิธีขยายพันธุ์เพื่อให้ได้ต้นเดิมเพื่อการผลิตหัวเป็นอุตสาหกรรมแล้ว ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สามารถสร้างบอนสีพันธุ์ใหม่ๆ ได้สำหรับคนที่ไม่สามารถบังคับให้บอนออกดอกเพื่อผสมเกสรได้

4.การฉายรังสี สามารถ สร้างบอนสีใบด่างได้จากการนำหัวหรือขวดเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อบอนสีไปฉายรังสีแกมมา เป็นวิธีการสร้างบอนสีพันธุ์ใหม่ได้เช่นกัน แต่ไม่นิยมทำเพราะจะกลับมาเหมือนต้นเดิมได้ง่าย

5. ใช้วิธีการทางพันธุวิศกรรม ปกติแล้วใบของบอนสีส่วนใหญ่คือมีสีเขียว ขาว เหลืง ชมพู แดง น้ำตาล สีคล้ำเกือบดำ มีหลายๆสีปะปนกันในลวดลายแบบต่างๆ ยังไม่พบบอนสีใบสีฟ้าเลย ซึ่งดอกไม้หลายชนิดมีสีม่วงเนื่องจากมีพิกเมนต์สีม่วงที่เรียกว่า anthocynin เช่นดอกพีทูเนีย เป็นต้น ได้มีนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ 4 คน คือ Li, Deng, Mao และ Hong ได้ทดลองใช้อโกรแบคทีเรียเป็นพาหะนำยีนที่ควบคุมสีในเมล็ดข้าวโพดเข้าไปในเยื่อของบอนสีและพบว่ามีการสะสม anthocynin มากขึ้นที่ราก ก้าน ใบ และลำต้น รายละเอียดของงานวิจัยนี้หาอ่านได้ใน Enhanced anthocyanin synthessis in foliage plant Caladium bicolor การทดลองคล้ายๆกันนี้กำลังทำอยู่ในประเทศไทย อยากให้นักวิชาการทดลองเปลี่ยนสีใบบอนของพญาเสวตแคระเป็นสีอื่นๆโดยวิธีการทางพันธุวิศวกรรมเพราะตลาดญี่ปุ่นต้องการมาก เนื่องจากบอนต้นนี้ไม่มีการฟักตัวมีใบอยู่ตลอดเวลา

ความฝันที่เป็นไปได้ถ้าร่วมมือกัน

เมือง Lake Placid รัฐฟลอริดา เป็นแหล่งปลูกบอนสีที่ใหญ่ที่สุกในโลก 98 เปอร์เซ็นต์ของบอนสีทั่วโลกผลิตที่นี่มีพื้นที่ปลูก 1,200 เอเคอร์ (7,500 ไร่ ) มีผู้ปลูก 14 ราย บางรายปลูกมาถึง3 ชั่วคนแล้ว บางรายก็ปลูกมานานมากกว่า 40 ปี มีการรวมกลุ่มกันปลูกบอนสีเพื่อผลิตหัวกลางแจ้งทั้งทุ่ง เทียบได้กับการปลูกทิวลิปในฮอลแลนด์ และมีงานวันบอนสีทุกปีในปีนี้เป็นการจัดงาน 16th Annual Caladium Festival ในวันศุกร์ เสาร์ ละอาทิตย์ วันที่ 25, 26 และ 27 สิงหาคม 2549 ชักชวนให้คนทั่วโลกไปเที่ยว และโฆษณาให้มีการใช้ประโยชน์จากบอนสีมากขึ้น โดยเฉพาะในการจัดสวนในพื้นที่กว้าง จัดสวนในกระถาง ประเทศไทยน่าจะมีการรวมกลุ่มการผลิตหัวบอนสีเป็นอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกนอกเหนือจากการเลี้ยงในตู้เพื่อการประกวด และจำหน่ายเป็นไม้กระถาง น่าจะมีรูปแบบการใช้งานให้มากขึ้น เช่น ปลูกจัดสวนแพร่หลาย ใช้เป็นไม้ตัดใบโดยตัดใบแล้วแช่น้ำทันทีให้ดูดน้ำเข้าไปเต็มที่ บางพันธุ์สามารถปักแจกันอยู่ได้ทนถึง 2-3 สัปดาห์ ประเทศไทมีภูมิอากาศเหมาะสมในการปลูกบอนสีได้อย่างดี มีสถานที่ให้เลือกมากมาย เป็นที่น่าสังเกตว่าบอนสีที่ตลาดต่างประเทศนิยมนั้นมีลักษณะดังกล่าว มีความแข็งแรงสามารถปลูกกลางแจ้งได้ดี เพื่อใช้ในการจัดสวนได้




 

Create Date : 26 กรกฎาคม 2557
0 comments
Last Update : 15 สิงหาคม 2557 21:49:51 น.
Counter : 4679 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


teepcaladium
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 3 คน [?]




New Comments
Friends' blogs
[Add teepcaladium's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.