BYRD WEERAPOL

 
สิงหาคม 2563
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
18 สิงหาคม 2563
 

กรณีศึกษา บทบรรณาธิการโดย เบิร์ด วีระพล


"กรณีศึกษา"
บทบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ชาวไทย มกราคม 2547
(หนังสือพิมพ์ชาวไทย เป็นหนังสือพิมพ์ภาษาไทยสำหรับชุมชนคนไทยในรัฐออนตาริโอ ประเทศแคนาดา)  



คนญี่ปุ่นชอบกินเนื้อปลาสด แต่ทะเลหรือแหล่งน้ำแถบญี่ปุ่นนั้นไม่มีปลาชุกชุมมานานหลายทศวรรษแล้ว ดังนั้นเรือประมงทั้งหลายจึงจำต้องมีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อให้สามารถหาปลาได้เพียงพอต่อการบริโภคและชาวประมงก็ออกไปหาปลาในน่านน้ำที่ไกลออกไปยิ่งขี้นเรื่อยๆ  ยิ่งออกจากฝั่งไปไกลก็ยิ่งใช้เวลานานเวลาที่จะนำปลากลับมา ถ้าออกทะเลไปนานเกิน 2-3 วันปลาก็จะไม่สด และคนญี่ปุ่นก็ไม่ชอบรสชาติแบบนั้น  วิธีแก้ปัญหาของชาวประมงก็คือการติดตั้งตู้แช่แข็งเอาไว้บนเรือ พอจับปลาได้ก็เอาใส่ไว้ในตู้แช่แข็งตั้งแต่ตอนที่ยังอยู่ในทะเล ทำให้พวกชาวประมงสามารถออกไปหาปลาได้ไกลจากฝั่งมากขึ้น

แต่ว่าคนญี่ปุ่นก็สามารถแยกความแตกต่างในรสชาติของเนื้อปลาสดกับเนื้อปลาแช่แข็งได้อยู่ดี และพวกเขาก็ไม่ชอบปลาแช่แข็งเสียด้วย ปลาแช่แข็งจึงมีราคาถูก เมื่อเป็นเช่นนั้นชาวประมงจึงแก้ปัญหาใหม่ด้วยการติดตั้งแท้งค์น้ำในเรือสำหรับเอาปลาที่จับได้ใส่ลงไปทำให้ปลายังมีชีวิตอยู่จนถึงกลับเข้าฝั่ง แต่ปรากฎว่าพอปลาถูกเหวี่ยงไปเหวี่ยงมาและต้องโคลงเคลงอยู่ในแทงค์นานๆ เข้า ปลาก็ไม่ยอมว่ายน้ำเพราะมันอ่อนล้า แล้วก็เซื่องซึมลงแม้จะยังมีชีวิตอยู่ก็ตาม

โชคไม่ดีที่คนญี่ปุ่นก็ยังสามารถแยกความแตกต่างในรสชาติของเนื้อปลาได้อยู่เหมือนเดิม ปลาซังกะตายเหล่านั้นไม่ให้รสชาติความสดใหม่เสียแล้วเพราะว่ามันไม่ได้ว่ายมาหลายวัน คนญี่ปุ่นชอบรสชาติความสดของปลาใหม่ๆมากกว่าปลาเฉื่อยๆแบบนั้น แล้วคราวนี้ชาวประมงญี่ปุ่นแก้ปัญหานี้อย่างไร?  พวกเขาจะจับปลาที่ให้รสชาติของความสดใหม่กลับประเทศได้อย่างไร? หากคุณจะให้คำปรึกษาแก่อุตสาหกรรมประมงคุณจะแนะนำอย่างไร?

ในเมื่อเสือ...ไม่ยอมกินเหยื่อที่ตายแล้ว  คน.... ก็ไม่ชอบกินปลาที่ตายด้านเหมือนกัน บางทีการเป็น “ของตาย” มันก็ไม่น่าสนใจอะไรอีกต่อไป เรามาดูทางแก้ปัญหาเรื่องปลาของญี่ปุ่นกันดีกว่า ปรากฎว่ามันกลายเป็นเรื่องที่เราคาดไม่ถึงและเขาแก้ปัญหาได้ง่ายนิดเดียว ชาวประมงญี่ปุ่นเขาก็ยังคงใส่ปลาไว้ในแทงค์ไว้เหมือนเดิม แต่เขาใส่ ”ปลาฉลาม” ลงไปในแต่ละแทงค์ด้วย ปลาฉลามอาจกินปลาไปนิดหน่อยแต่มันทำให้บรรดาปลาส่วนใหญ่มีชีวิตชีวามากขึ้นเพราะต้องคอยว่ายหนีปลาฉลามตลอดเวลา ปลาก็ได้ผจญกับเรื่องท้าทาย ไม่เบื่อหน่าย ไม่เป็นปลาที่รอวันตาย


 

 

ความท้าทายในชีวิตคนเราก็เช่นเดียวกัน มันทำให้เราสนุกกับปัญหา ตื่นเต้นกับสิ่งกระตุ้นใหม่ๆที่เข้ามาในชีวิต   

ครับ... ที่ยกเรื่องอ้างมาทั้งหมดนี้ผมเพียงต้องการ อธิบายว่าทำไม ผมจึงหาเรื่องมาทำหนังสือพิมพ์ชาวไทยให้พวกเราคนไทยในแคนาดาได้อ่านกัน  ความจริงมันไม่ใช่เรื่องสนุกอะไรหรอกครับ เมื่อ 8 ปี ที่แล้วผมก็คิดว่าเราน่าจะทำสื่ออะไรออกมาสำหรับคนไทยสักอย่าง พอที่จะไม่ให้ชีวิตพวกเราในต่างแดนมันอัปเฉาจนเกินไป เพราะข่าวสารจากเมืองไทยกว่าจะเดินทางมาถึงแคนาดาใช้เวลานานมาก เรามีแค่หนังสือพิมพ์มติชนรายสัปดาห์ หนังสือสกุลไทยส่งมาเพียงอาทิตย์ละครั้ง ผมอยากให้คนไทยในโตรอนโตเข้าถึงข่าวสารจากเมืองไทย ข่าวสารของแคนาดาและมีสื่อกลางที่เชื่อมความสัมพันธ์สำหรับคนไทยที่นี่ทุกคน ถึงวันนี้ผมก็ยังคิดอยู่เหมือนเดิมครับ

และวันนี้เราก็มาถึงจุดเริ่มต้นที่น่าตื่นเต้น เรามีหนังสือพิมพ์ไทยฉบับแรกเป็นของเราเองแล้ว และเรากำลังจะมีรายการวิทยุภาคภาษาไทยที่ผมจะเข้าไปร่วมงานด้วย สำหรับการทำอะไรที่มันท้าทายความสามารถออกมาบ้าง ผมคิดว่าผมได้กำไรชีวิตและคนไทยในโตรอนโตได้ประโยชน์ร่วมกันครับ เพียงขอให้พวกเราชาวไทยสนับสนุนทีมงานของหนังสือพิมพ์ชาวไทยด้วยนะครับ  แค่นี้เราก็มีเรื่องวิ่งหนีฉลามในแท๊งค์ให้สนุกสนานกันแล้ว  และผมขอยกเรื่องนี้เป็นกรณีศึกษาครับ.

วีระพล สุขเจริญ
บรรณาธิการ



Create Date : 18 สิงหาคม 2563
Last Update : 7 พฤศจิกายน 2563 15:45:38 น. 1 comments
Counter : 627 Pageviews.  
 
 
 
 
ชอบอ่านมากเลยค่ะ ขออนุญาตติดตามนะคะ
 
 

โดย: Max Bulliboo วันที่: 20 สิงหาคม 2563 เวลา:17:12:20 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

สมาชิกหมายเลข 4749426
 
Location :
Toronto Canada

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




"Byrd" Weerapol Sukcharoen
เบิร์ด วีระพล สุขเจริญ
Scarborough Ontario Canada

"รักการอ่านหนังสือและชอบเขียนหนังสือมาตลอดชีวิต เขียนหนังสือไทยเพราะคิดถึงเมืองไทยอยากใช้ภาษาไทย หลังจากใช้ชีวิตอยู่ในประเทศแคนาดามา 30 ปี ได้พบเรื่องราวหลากหลายรสชาติกับชีวิตในต่างแดน เรียนจบ Graphic Design แต่ทำงานเป็น Chef de Cuisine แอบผลิตงานเขียน บทกวีและแปลเอาไว้อ่านเองหลายชิ้น ตั้งความหวังว่าน่าจะมีคนชอบอ่านเรื่องจากประสบการณ์จริงหล่านี้บ้าง รวมทั้งเก็บบทความดีๆ มีสาระเอามานำเสนอไว้ในพื้นที่แห่งนี้ เพื่อแบ่งปันประสบการณ์มาเป็นตัวหนังสือสำหรับคนรักการอ่านเหมือนๆ กัน "
New Comments
[Add สมาชิกหมายเลข 4749426's blog to your web]

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com