๐♥๐ My little Kyara...My ordinary miracle ๐♥๐
Group Blog
 
 
มกราคม 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
29 มกราคม 2551
 
All Blogs
 
โภชนาการรายสัปดาห์ของคุณแม่ตั้งครรภ์

เขียนโดย กัมพล

เกิดอะไรขึ้นในช่วง 40 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ อ่านบทความนี้แล้วคุณจะรู้ว่าในแต่ละสัปดาห์ลูกน้อยมีพัฒนาการอย่างไรบ้าง และคุณแม่ควรรัปประทานอาหารอย่างไรเพื่อตอบสนองกับความต้องการของลูกน้อยและตัวคุณแม่เอง

Week 1 วางแผนตั้งครรภ์ ถ้าไม่เคยใส่ใจกับโภชนาการที่ถูกสุขลักษณะมาเลย เห็นทีคราวนี้ต้องปฏิวัติตัวเองเพื่อลูกซะแล้ว คุณควรเริ่มกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ เริ่มกินยาบำรุงประเภทวิตามินรวมวันละ 1 เม็ด (ไม่ควรเกินจากนี้) โดยคุณจะต้องปรึกษากับแพทย์ก่อน เพราะบางทีคุณอาจไม่ถึงกับต้องพึ่งยาบำรุงก็ได้แตงโมอาจช่วยให้คู่ของคุณมีน้ำเชื้อที่มากพอที่จะทำให้คุณตั้งครรภ์ได้ งด เหล้า บุหรี่ ทั้งตัวคุณ และคู่ของคุณอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้การปฏิสนธิของไข่ล้มเหลวได้ หรืออาจส่งผลต่อสุขภาพครรภ์ของคุณได้รวมทั้งคุณผู้ชายที่สูบบุหรี่จะมีน้ำเชื้อน้อยกว่าผู้ชายที่ไม่สูบ

Week 2 เลือกเพศลูก นอกจากเลือกช่วงเวลาในการร่วมเพศแล้วโภชนาการก็มีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จในการเลือกเพศให้ลูกเช่นกัน ถ้าหากคุณต้องการลูกผู้หญิง คุณต้องกินอาหารที่มีสารอาหารประเภทแคลเซียมและแมกนีเซียมสูง ซึ่งคุณจะได้สารอาหารเหล่านี้จากอาหารจำพวกแป้ง หรือผลิตภัณฑ์นม แต่ถ้าหากคุณต้องการลูกผู้ชาย คุณต้องกินอาหารที่มีสารประเภทโปตัสเซียม และโซเดียมเป็นส่วนประกอบ ซึ่งคุณจะได้จาก ผัก ผลไม้สด และเนื้อสัตว์ทุกชนิด

Week 3 เริ่มการปฏิสนธิ ทันทีที่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้น ไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะขยายเซลล์ออกไปอย่างรวดเร็ว และต่อเนื่อง ดังนั้นหากคุณต้องเอาใจใส่กับคุณภาพลูกน้อยในครรภ์ ควรเริ่มจริงจังนับตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไปกินอาหารที่มีกรดโฟลิกสูงจะช่วยให้เซลล์เม็ดเลือดแดง และเซลล์ของตัวอ่อนมีความแข็งแรงคุณควรได้รับกรดโฟลิก และวิตามินรวมให้ได้วันละ 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน ตั้งแต่ช่วงก่อนตั้งครรภ์ไปจนปลายสัปดาห์ 12

Week 4 ตัวอ่อนฝังตัวในมดลูก ช่วงนี้เองที่คุณเริ่มรู้สึกแปลกๆ ของอาการแพ้ท้อง ที่เป็นสัญลักษณ์ที่บอกให้คุณได้รู้ว่าคุณกำลังตั้งครรภ์แล้ว อาการแปลกๆ เหล่านี้อาจทำให้คุณอยากกินอาหารแปลกๆ ที่ปกติไม่เคยชอบ หรืออยากกินอาหารที่มีรสเปรี้ยวการตามใจปากบริโภคอาหารเหล่านี้เข้าไปมากอาจทำให้คุณขาดสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ของคุณได้ช่วงที่ตัวอ่อนกำลังฝังตัวในเยื่อบุผนังมดลูก คุณจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เพราะมันจะช่วยสร้างฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นสารสำคัญที่นำเอาออกซิเจนมาสู่ตัวอ่อนได้ คุณสามารถได้รับธาตุเหล็กจากอาหารกลุ่มธัญพืชต่างๆ ถั่ว ตระกูลต่างๆ ผักขม และผงกะหรี่

Week 5 สร้างรกและอวัยวะ คุณควรกินอาหารที่มีโปรตีนสูง กรดอะมิโนที่มีอยู่ในโปรตีน จะช่วยให้ลูกของคุณมีเสบียงมากพอในการสร้างอวัยวะต่างๆ โปรตีนจะมีอยู่ในอาหารจำพวก เนื้อ, นม, โยเกิร์ต, ชีส และพืชตระกูลถั่วนอกจากนี้ธาตุเหล็ก และแคลเซียมยังคงจำเป็นอยู่มาก คุณควรเลิกดื่มชา กาแฟ เพราะคาเฟอีนจะทำให้การดูดซึมของธาตุเหล็กได้ไม่ดีนัก แต่ถ้าคุณอดไม่ได้จริงๆ คุณก็สามารถดื่มได้ เพราะไม่มีอันตรายใดๆ ต่อลูกในครรภ์ แต่ควรดื่มประมาณวันละ 2-7 ถ้วยต่อวันสำหรับกาแฟสำเร็จรูป และ 1-4 ถ้วยต่อวันสำหรับชา และควรทิ้งระยะเวลาจากอาหารมื้อที่มีธาตุเหล็กประมาณครึ่งชั่วโมง เท่านี้คุณก็สามารถลิ้มรสชากาแฟ โดยที่ยังคงได้รับธาตุเหล็กอย่างเต็มที่จากอาหารมื้อปกติด้วย

Week 6 ระดับฮอร์โมนเพิ่มขึ้น ทำให้อาการแพ้ท้องเริ่มรุนแรงในบางราย คุณควรเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค กินให้น้อยลง แต่ให้บ่อยครั้งขึ้น ถ้ากินอะไรไม่ได้เลย ให้กินขนมปังกรอบที่ผสมธัญพืช หรือผักโขมแทนได้ ในรายที่มีอาการแพ้ท้องรุนแรงมาก ให้ฝานขิงอ่อนเป็นแผ่นบางๆ แช่ในน้ำร้อน แล้วค่อยๆ จิบ จะช่วยให้ดีขึ้น นอกจากนี้ให้พยายามหลีกเลี่ยงการได้รับเชื้อโรคจากการกินอาหารดิบๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไข่ที่ไม่ได้ปรุงให้สุกเสียก่อน, อาหารที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ และอาหารแช่แข็ง

Week 7 เซลล์ประสาทส่วนกลางและสมองพัฒนา ช่วงสำคัญที่สุดในการปูพื้นฐานสู่ความเป็นอัจฉริยะให้กับลูกอยู่ตรงนี้เอง โอเมก้าทรี คือสารอาหารที่จะช่วยให้สมองของลูกเจริญเติบโตขึ้นอย่างแข็งแรง ซึ่งคุณจะได้รับจากน้ำมันปลา (ปลาแซลมอน, ปลาซาร์ดีน, ถั่วอัลมอล, ถั่วเหลือง, ถั่ววอลนัท), เมล็ดฟักทอง อย่าลืม! กรดโฟลิกช่วยทำให้เซลล์แต่ละตัวของตัวอ่อนแข็งแรง คุณยังคงจะต้องได้รับสารอาหารตัวนี้ต่อไปจนเข้าสัปดาห์ที่ 12

Week 8 เซลล์เม็ดสีพัฒนาระบบนัยน์ตาที่ซับซ้อนภายในสมอง คุณจึงยังต้องหมั่นกินอาหารที่อุดมไปด้วยโอเมก้าทรีขณะเดียวกัน วิตามินบี 2 ก็มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของทารกน้อยในครรภ์ คุณจึงต้องได้รับสารอาหารชนิดนี้ตลอดช่วงของการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วง 12 สัปดาห์แรก โดยคุณจะได้วิตามินบี 2 จาก นม, ไข่แดง, ไข่ปลา, เนยแข็ง ผักใบเขียว เป็นต้น

Week 9 เซลล์กระดูกมีโครงร่างที่ชัดเจน นิ้วมือและเท้าของทารกเริ่มแยกออกจากกันแคลเซียมคือสารอาหารหลักที่ช่วยเสริมสร้างกระดูกที่แข็งแรง คุณควรได้รับวันละ 700-800 มิลลิกรัมต่อวันจึงจะเพียงพอต่อการสร้างรากฐานกระดูก และฟันที่แข็งแรงให้กับทารกและยังช่วยป้องกันการขาดแคงเซียมในตัวคุณด้วย และเพื่อให้การดูดซึมแคลเซียมมีประสิทธิภาพ คุณยังต้องได้รับวิตามินดีด้วย ออกไปนอกบ้านรับแดดยามเช้าตรู่สักครึ่งชั่วโมง หรือถ้ากลัวผิวเสีย หรือไม่แน่ใจว่าแดดแรงเกินไปหรือไม่ ก็ให้กินพวกน้ำมันปลา ไข่ และนม ก็สามารถช่วยได้

Week 10 ทารกเริ่มได้อาหารจากคุณโดยตรง เพราะรกเริ่มมีการทำงานสมบูรณ์แล้ว ในช่วงนี้คุณจะต้องระมัดระวังอาหารที่บริโภคเข้าไป อาหารที่ไม่มีประโยชน์กับคุณ ก็จะให้ผลเช่นเดียวกับลูกของคุณ คุณควรงดการกินตับ และน้ำมันตับปลา หรืออาหารที่มีวิตามินเอสูง เพราะอาหารกลุ่มนี้จะมีกรดไขมันอิ่มตัวสามารถสะสมในร่างกายได้

Week 11 อัตราการเผาผลาญพลังงานในร่างกายคุณเร็วกว่าปกติ วิตามินบี 2 จำเป็นต่อเอนไซม์ต่างๆ ที่ช่วยให้กระบวนการเผาผลาญพลังงานทำงานได้ดี นอกจากนี้ ยังช่วยป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือดด้วยขณะเดียวกันคุณก็ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันและมีรสจัดด้วย

Week 12 ร่างกายของคุณมีความต้องการน้ำมากขึ้น เพราะช่วงนี้ หน้าท้องของคุณจะขยายใหญ่จนไปกดทับกระเพาะปัสสาวะ ทำให้คุณต้องเข้าห้องน้ำบ่อยๆ ดังนั้น คุณจึงต้องดื่มน้ำมากๆ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพื่อทดแทนกับน้ำที่คุณสูญเสียไปเพราะน้ำมีความสำคัญต่อกระบวนการย่อยอาหารภายในร่างกายของคุณ

Week 13 รกเริ่มทำหน้าที่ผลิตโปรเจสเตอโรนและเอสโทล เพื่อช่วยรักษาครรภ์ และควบคุมการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นในร่างกายของคุณ แต่ระดับฮอร์โมนที่เพิ่มขึ้นนี้ อาจทำให้คุณมีอาการอักเสบ และมีเลือดออกได้ อาหารที่มีวิตามินซีสูง จะช่วยรักษาโรคเหงือกบวม และโรคเลือดออกตามไรฟันได้ ทั้งยังมีส่วนช่วยเสริมให้กระดูกและฟันของทารกในครรภ์แข็งแรงอีกด้วยวิตามินซีมีในผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวทั้งหลาย มีมากในฝรั่ง สตรอเบอรี่ บรอ๊อคโคลี่

Week 14 ต่อมไทรอยด์พัฒนาถึงขั้นพร้อมผลิตฮอร์โมน ถ้าหากคุณชอบกินผักกะหล่ำปลี คุณจะได้รับวิตามินซีจากผักชนิดนี้ แต่ในระยะนี้คุณควรจำกัดปริมาณการบริโภคผักกะหล่ำปลีลง หรือไม่กินดิบๆ เพราะมันมีสารยับยั้งการทำงานไทรอยด์ได้

Week 15 ผิวหนังเริ่มพัฒนา ถ้าหากคุณสามารถมองทะลุเข้าไปในท้องได้ คุณจะเห็นว่าลูกของคุณมีผิวหนังที่บางและโปร่งใสจนคุณสามารถมองเห็นเส้นเลือดของเขาได้ คุณสามารถช่วยเขาพัฒนาผิวหนังให้หนาขึ้นได้ด้วยการกินอาหารที่มีวิตามินเอคงจำกันได้ว่าเราห้ามไม่ให้คุณกินตับเพราะภายในตับมีวิตามินเอ ถูกแล้วล่ะค่ะ วิตามินเอในตับจะอยู่ในรูปของ “เรตินอล” ซึ่งจะให้ผลเสียมากกว่าผลดี ส่วนวิตามินเอ ที่จะมีประโยชน์ต่อการควบคุมกระบวนการผลิตเซลล์ผิวหนังจะอยู่ในรูปของ “แคโรทีน” จะมีอยู่ในแครอท ผักใบเขียวเหลือง เนย ฟักทอง

Week 16 มดลูกขยาย น้ำคร่ำในรกเพิ่มขึ้นเป็น 7 ออนซ์ครึ่งวิตามินซี จะช่วยให้คอลลาเจนรวมตัวกันได้ดี ทำให้เซลล์ยึดติดกันเหนียวแน่น วิตามินซีนอกจากจะช่วยให้กระดูกและฟันของลูกคุณแข็งแรงแล้ว ยังช่วยผิวหนังของคุณมีความยืดหยุ่นสูงทำให้การแตกลายของผิวหนังลดลงและกลับคืนมาเป็นปกติอย่างสมบูรณ์หลังคลอด แต่คุณก็ไม่ควรลืมทาโลชั่นบริเวณผิวหนังที่แตกลายร่วมด้วยนะคะ

Week 17 ไขเคลือบผิวทารกเริ่มพัฒนาขึ้น เป็นไขมันชนิดพิเศษที่จะช่วยให้ความอบอุ่นแก่ทารกตลอดระยะเวลาที่อยู่ในครรภ์และช่วยปกป้องผิวอ่อนบางของทารกด้วย ไบโอตินจะช่วยในกระบวนการย่อยสลาย และดูดซึมกรดไขมัน วิตามินช่วยลดไขมันที่มีสภาพเป็นกลางในเส้นเลือด ทำให้เลือดไหลเวียนสะดวกมีมากในถั่วต่างๆ ผลไม้ น้ำมันจากข้าวสาลี เมล็ดทานตะวัน และผักเขียวปนเหลือง

Week 18 ระบบประสาทหู พัฒนาจนใช้งานได้แล้ว อวัยวะต่างๆ เติบโตจนทำให้ลูกของคุณสามารถรับรู้ความรู้สึกจากโลกภายนอกได้แล้วไบโอตินนอกจากจะช่วยในการถนอมผิวพรรณแล้ว ยังมีความสำคัญต่อระบบประสาทด้วยขณะที่วิตามินบี 1 จะทำหน้าที่เปลี่ยนน้ำตาลเป็นอาหารต่อระบบประสาท และยังช่วยปกป้องคุณจากโรคเหน็บชา อันเนื่องมาจากน้ำหนักครรภ์ที่เพิ่มขึ้นและไปกดทับเส้นเลือดของคุณ ทำให้การหมุนเวียนของเลือดติดขัด มีมากในธัญพืช ข้าวกล้อง เนื้อวัว หรือเนื้อหมู เต้าหู้ ถั่วหมัก งา กระเทียม

Week 19 หนังศรีษะเริ่มมีผมงอกออกมา เล็บมือและเท้าเริ่มเจริญขึ้นผิวหนังหนาขึ้นเป็น 4 ชั้นแล้ว ในช่วงนี้คุณควรเริ่มให้ความสำคัญกับอาหารที่มีสังกะสีเพราะนอกจากจะช่วยเสริมการเติบโตของทารกน้อยในครรภ์คุณแล้ว ยังช่วยป้องกันการคลอดก่อนกำหนดด้วย มีมากในเนื้อสัตว์ อาหารทะเล ถั่วอบแห้ง

Week 20 มดลูกขยายเบียดเข้าไปในช่องท้อง ช่วงนี้คุณจึงอาจมีปัญหาท้องผูกบ่อยๆ ถ้าปล่อยไว้อาจเป็นริดสีดวงทวารได้ คาร์โบไฮเดรตนอกจากจะให้พลังงานกับคุณแล้ว ยังช่วยแก้ปัญหาท้องผูกให้กับคุณได้อีกด้วย มีมากในข้าว มันฝรั่ง ขนมปังโฮลวีต

Week 21 ระบบการย่อยอาหารพัฒนาจนสามารถดูดซึมน้ำ และน้ำตาลจากน้ำคร่ำที่กลืนเข้าไปได้ และขับของเสียออกมาในลำไส้ใหญ่ช่วงนี้ร่างกายของคุณมีความต้องการพลังงานเพิ่มขึ้น เพื่อช่วยในการเผาผลาญอาหารไนอะซินจะช่วยเปลี่ยนน้ำตาล และไขมัน เป็นพลังงาน และยังช่วยให้ระบบย่อยอาหารทั้งของคุณ และเจ้าตัวน้อยในครรภ์ มีการทำงานที่ดีขึ้นด้วย มีมากในเนื้อหมู ไก่ ปลา เห็ด ถั่วต่างๆ งา และธัญพืช

Week 22 เซลล์ประสาทพัฒนาอย่างสมบูรณ์ ประสาทสัมผัสเจริญเต็มที่ ลูกของคุณจะใช้ประสาทส่วนนี้ในการเรียนรู้การเคลื่อนไหวความแตกต่าง และความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆ ของร่างกาย วิตามินบี 12 ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง และช่วยบำรุงระบบประสาทส่วนกลางและเส้นประสาทส่วนปลาย มีมากในเนื้อวัว ไก่ หมู ปลา นม เนยแข็ง

Week 23 ปริมาณพลาสมาในตัวคุณเพิ่มขึ้น ทำให้คุณมีโอกาสเกิดภาวะโลหิตจางได้ ควรให้แพทย์ตรวจดูว่าคุณได้รับธาตุเหล็กเพียงพอหรือไม่ เพราะภาวะโลหิตจาง หากเป็นมากอาจเข้าขั้นอันตรายได้

Week 24 น้ำหนักของคุณเพิ่มขึ้นถึงระดับสูงสุด การกินอาหารที่มีไฟเบอร์สูงตลอดช่วงของการตั้งครรภ์โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนสุดท้ายจะทำให้มีไขมันน้อยลง ทำให้ทรวงทรงของคุณกระชับเข้าที่ได้อย่างรวดเร็วหลังคลอดแถมยังช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวานที่อาจเกิดขึ้นในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ด้วย คุณจะได้ไฟเบอร์จากผัก ผลไม้ ธัญพืช

Week 25 อวัยวะเพศ และระบบสืบพันธ์พัฒนาขึ้นอย่างชัดเจน ช่วงนี้การแบ่งเพศชายหญิงในตัวทารกจะชัดเจนแล้ว เด็กชายจะเริ่มมีถุงอัณฑะ ส่วนเด็กหญิงบริเวณช่องคลอดจะมีช่องลึกเข้าไป วิตามินเอ จะช่วยพัฒนาอวัยวะสืบพันธ์ของทารก

Week 26 ระบบนัยน์ตาพัฒนาเกือบสมบูรณ์ ลูกของคุณเริ่มลืมตาขึ้นได้แล้วในสัปดาห์นี้ สีนัยน์ตาของเขาจะพัฒนาต่อไปจนหลัง
คลอด 2-3 เดือน สีนัยน์ตาจึงถูกกำหนดขึ้นอย่างถาวรโดยรูม่านตา อย่าลืม! โอเมก้าทรีช่วยพัฒนาระบบนัยน์ตาของทารก

Week 27 ระบบภูมิคุ้มกันของทารกยังอ่อนแอ ลูกของคุณมีรูปร่างหน้าตาคล้ายทารกแรกคลอดแล้วล่ะ ถ้าเขาเกิดอยากออกมาดูโลกตอนนี้ เขาจะมีโอกาสรอดชีวิต 85% ภายใต้การดูแลพิเศษ ปัญหาคือว่าระบบต่างๆ และอวัยวะอีกหลายส่วนยังมีการทำงานที่ไม่เต็มที่และระบบภูมิต้านทานยังอ่อนแออยู่ ธาตุเหล็ก แคลเซียม โอเมก้าทรี วิตามินซี ล้วนช่วยให้เขามีการเติบโตที่แข็งแรงมากขึ้น

Week 28 ถึงเวลาทดสอบภาวะต่างๆ ในร่างกายของคุณแล้ว ช่วงนี้คุณหมอจะนัดคุณถี่ขึ้น เพราะในช่วง 3 เดือนสุดท้ายอาจภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ขึ้นได้ แถมร่างกายของคุณก็อ่อนล้าจากการเปลี่ยนแปลงในร่างกายหลายอย่าง คาร์โบไฮเดรตและวิตามินบี 1 จะช่วยให้คุณมีพละกำลังพร้อมที่จะอึดเพื่อลูกน้อยในครรภ์ของคุณต่อไป

Week 29 โปรแลคตินกระตุ้นเต้านมพร้อมผลิตน้ำนม ช่วงนี้หัวนมของคุณอาจมีน้ำนมสีเหลืองข้นไหลออกมา ปรากฏการณ์นี้เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการทำงานของเต้านม คุณควรรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็ก แคลเซียม วิตามินซี วิตามินดี จะช่วยให้ร่างกายของคุณเตรียมพร้อมสำหรับการผลิตน้ำนมไว้ให้กับลูกน้อยของคุณ

Week 30 มดลูกเริ่มหดรัดตัวเป็นครั้งแรก คุณจะรู้สึกเกร็งที่ยอดมดลูกเป็นพักๆ แต่ยังไม่ใช่อาการเจ็บท้องคลอด เป็นเพียงการเตรียมท่าของทารกให้พร้อมสำหรับการคลอดเท่านั้นไบโอตินในผลไม้สดแช่เย็น หลังอาหารจะทำให้คุณรู้สึกสดชื่นกระปรี้กระเปร่า และยังช่วยให้กล้ามเนื้อผ่อนคลายอีกด้วย

Week 31 ปอดของลูกคุณพัฒนาขึ้นจนเกือบสมบูรณ์ ถุงลมในปอดสามารถหลั่งสารชนิดหนึ่งออกมาเพื่อช่วยให้ถุงลมสามารถทำหน้าที่ของมันได้ หากทารกก่อนคลอดก่อนกำหนด แต่ตอนนี้เขายังต้องพึ่งออกซิเจนที่มีอยู่ในกระแสเลือดที่ฉีดเข้ามาทางสายสะดืออยู่ ช่วงนี้วิตามินซี มีความจำเป็นมาก มันจะช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กและช่วยสร้างเม็ดเลือดให้กับทารกในครรภ์ขณะที่แคลเซียมยังเป็นสิ่งที่จำเป็นวิตามินเค จะช่วยในการดูดซึมแคลเซียม ช่วยบรรเทาอาการปวดหลังให้กับคุณ

Week 32 ศรีษะของลูกคุณเริ่มเคลื่อนลงแล้ว ลำตัวของเขาจะใหญ่ขึ้นจนเท้าชี้ขึ้นไปถึงซี่โครง แรงกดทำให้คุณรู้สึกเจ็บชายโครง อย่าลืมขอวิตามินเสริมจากหมอที่คุณฝากครรภ์ ลูกของคุณต้องการการบำรุงมากเป็นพิเศษในช่วงนี้

Week 33 ภาวะโลหิตจางในตัวคุณลดลง สืบเนื่องมาจากปริมาณพลาสมาเริ่มมีปริมาณเท่ากับเซลล์เม็ดเลือดแดง อีกทั้งภาวะร่างกายของคุณในช่วงนี้ จะสามารถดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหารมื้อปกติเพิ่มขึ้นเป็น 66% คุณจึงไม่ต้องกังวลกับการบำรุงด้วยธาตุเหล็กอีกต่อไปแล้ว เว้นแต่คุณจะเป็นโรคโลหิตจาง

Week 34 ลูกของคุณอยู่ในท่าพร้อมที่จะคลอดแล้ว ต่อมหมวกไตของเขาจะผลิตฮอร์โมนสเตียรอยด์ออกมามากเป็น 10 เท่าของร่างกายผู้ใหญ่การทำงานของปอดดีขึ้น จนไม่จำเป็นต้องพึ่งการดูแลพิเศษ หากต้องคลอดออกมาในตอนนี้ ถึงสอย่างนั้นเขาก็ยังอยากอยู่ข้างในท้องของคุณ ดึงแคลเซียมจากร่างกายของคุณมาเสริมสร้างกระดูกของเขาให้มีความแข็งแรงมากกว่านี้ เพราะฉะนั้นอย่าลืมว่าแคลเซียมยังจำเป็นเสมอสำหรับคุณ

Week 35 ยอดมดลูกขยับขึ้นในระดับสูงสุด อยู่ใต้กระดูกสันอกทำให้คุณหายใจขัดเจ็บชายซี่โครง รับประทานอาหารลำบาก ลองใช้วิธีเดียวกับตอนแพ้ท้องใหม่ๆ ดูซิคะ รับประทานอาหารมื้อเล็กๆ แต่บ่อยครั้ง และพักผ่อนให้มากจะช่วยได้

Week 36 กระโหลกศรีษะเป็นรูปร่าง แต่ยังไม่แข็งแรงพอแคลเซียม วิตามินซี วิตามินดี และโอเมก้าทรี จะช่วยให้กะโหลกศรีษะของลูกคุณแข็งแรงมากขึ้นและพร้อมที่จะมุดตัวโผล่พ้นช่องคลอดออกมาพบกับคุณในไม่อีกกี่สัปดาห์นี้

Week 37 เริ่มมีการสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ประสาทในสมอง และจะมีการสร้างต่อไปอย่างต่อเนื่องในช่วงหลังคลอดเยื่อหุ้มเซลล์ประสาท มีความสำคัญต่อสมองอัจฉริยะของลูกคุณจำได้หรือไม่? โอเมก้าทรี อาหารพลังสมองของลูกในท้องของคุณ

Week 38 ทารกเริ่มเคลื่อนศรีษะลงมาอยู่ที่อุ้งเชิงกราน ทำให้คุณรู้สึกโล่ง และหายใจสะดวกขึ้น แต่น้ำหนักของมดลูกจะไปกดทับที่กระเพาะปัสสาวะแทน ทำให้คุณเข้าห้องน้ำบ่อยขึ้น หมั่นดื่มน้ำบ่อยๆ เพราะน้ำยังจำเป็นต่อการดูดซึมสารอาหารภายในร่างกายของคุณอยู่

Week 39 อาการเจ็บครรภ์เตือนเกิดขึ้น ความรู้สึกจะใกล้เคียงกับการเจ็บครรภ์คลอดจริง การหดรัดตัวไม่เป็นจังหวะสม่ำเสมอ ทำจิตใจให้สบาย คิดถึงลูกของคุณที่จะคลอดออกมา เจ็บท้องคลอดจะเป็นอุปสรรคขี้ปะติ๋วสำหรับคุณ วิตามินบี 1 จะช่วยให้ระบบประสาทของคุณผ่อนคลายขึ้น

Week 40 ได้เวลาสบตาเทวดาของคุณซะที จุกเมือกที่ปากทางเข้ามดลูกลอกตัวออกมา ปากมดลูกเปิดออก ถุงน้ำคร่ำแตกของเหลวและเลือดไหลออกมาการหดรัดตัวของมดลูกแรงขึ้น เป็นจังหวะสม่ำเสมอและถี่ขึ้นเรื่อยๆ อาหารที่ให้พลังงานทุกชนิดจำเป็นสำหรับการเตรียมพร้อมของคุณคาร์โบไฮเดรต วิตามินบี 1 วิตามินซี และอาหารที่มีคุณค่ายิ่งกว่าสิ่งใดอาหารใจที่ได้กอดเทวดาตัวน้อยของคุณไว้ในอ้อมอก อ้า…ความอ่อนล้าทั้งหมดหายไปเป็นปลิดทิ้ง.

[ ที่มา..นิตยสารบันทึกคุณแม่ No.162 January 2007]

แหล่งข้อมูล : เวบสุดรัก

อาหารการกินระหว่างตั้งครรภ์

1. ต้องเปลี่ยนนิสัยในการรับประทานอาหารมั้ย

2. การรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการเป็นอย่างไร

3. อาหารหลัก 5 หมู่ประกอบด้วยอะไรบ้าง

4. ทำไมคาร์โบไฮเดรตจึงมีความสำคัญ

5. ทำไมอาหารที่มีกากใย (Fibre) จึงมีความสำคัญ

6. ทำไมการรับประทานอาหารที่มีไขมันมากเกินไปจึงไม่ดีต่อร่างกาย

7. ร่างกายต้องการโปรตีนจำนวนเท่าไหร่ต่อวัน

8. ส่วนวิตามินและเกลือแร่ล่ะ ร่างกายต้องการมากน้อยแค่ไหน

9. อาหารชนิดใดบ้างที่เป็นแหล่งรวมวิตามิน

10. ทำไมแคลเซียมจึงมีความสำคัญต่อร่างกายมาก

11. บทบาทของธาตุเหล็กในระหว่างการตั้งครรภ์

12. แล้วธาตุสังกะสีล่ะ สำคัญอย่างไร

13. ทำไม Folic Acid (กรดโฟลิก) และวิตามิน B12 จึงมีความสำคัญมากเช่นกัน

14. จะทราบได้อย่างไรว่าน้ำหนักขึ้นตามปกติ

15. การรับประทานอาหารมื้อใหญ่ๆ มื้อเดียวต่อวันจะเป็นการเพียงพอมั้ย

16. เป็นเรื่องปรกติมั้ย ที่จะอยากทานอาหารชนิดหนึ่งชนิดใดมากเป็นพิเศษ

17. ถ้าเป็นมังสะวิรัติ ต้องทานวิตามินเสริมมั้ย

ต้องเปลี่ยนนิสัยในการรับประทานอาหารมั้ย

ถ้าคุณรับประทานอาหารครบทั้ง 5 หมู่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ เป็นนิสัยอยู่แล้ว เพียงแต่ อาหารนั้นจะต้องทำให้สุกดีเสียก่อนก็ไม่จำเป็นต้อง เปลี่ยนแปลงอะไร ถ้าคุณมีข้อสงสัยส่วนตัวที่คุณ ต้องการทราบเกี่ยวกับอาหารที่คุณทานเนื่อง จากปัญหาทางสุขภาพ ควรสอบถามจากคุณ หมอที่iคุณฝากครรภ์ด้วย

การรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการเป็นอย่างไร

ไม่มีอาหารชนิดหนึ่งชนิดใดที่มีสารอาหารครบถ้วน ทุกชนิดที่เราต้องการเพื่อการมีสุขภาพที่ดี แข็งแรง ฉะนั้นเพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน เราจึงต้องรับ ประทานอาหารหลากหลายชนิดทุกวัน จากอาหาร หลัก 5 ประเภท (ซึ่งประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรต, โปรตีน, ไขมัน, วิตามิน และเกลือแร่)

อาหารหลัก 5 หมู่ประกอบด้วยอะไรบ้าง

คาร์โบไฮเดรต - ข้าว, ข้าวซ้อมมือ, ข้าวกล้อง, ข้าวโพด, ขนมปัง, ขนมปังธัญพืช, ก๋วยเตี๋ยว, ถั่วแดง, เผือก, มัน, มันฝรั่ง, ปาสต้า, และคอร์นเฟลกซ์ต่างๆ
โปรตีน - เนื้อสัตว์ทุกชนิด (เนื้อหมู, เนื้อแดง, ไก่, เป็ด), เนื้อปลา, เครื่องใน, ไข่, นม, เนย, ถั่ว, งา, ลูกบัว, เส้นก๋วยเตี๋ยว ที่ทำจากถั่วเหลือง, ขนมปังธัญพืช, และโยเกิร์ต
ไขมัน - ไขมันจำนวนที่เท่ากันกับโปรตีนหรือคาร์โบไฮเดรตจะให้แคลอรี่มาก กว่าถึง 2 เท่า ส่วนมากอาหารโปรตีนที่มีไขมันปน อยู่ด้วยเป็นจำนวนที่เพียงพอแล้ว ฉะนั้นจึงไม่จำ เป็นต้องหาจากที่อื่นมาเพิ่ม
วิตามิน - ผลไม้, ผักสดแทบทุกชนิด โดยเฉพาะ ผักกะเฉด, ผักตำลึง, ผักขม, และผักบุ้ง อุดมด้วยวิตามินหลาย ชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ นอกจากนั้นยังมีในเนื้อสัตว์, ปลา, นมและถั่ว
เกลือแร่ - เมื่อตั้งครรภ์ ร่างกายต้องการเกลือแร่โดยเฉพาะเหล็กและแคลเซียมมาก เป็นพิเศษ เพื่อช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ( เม็ดเลือดแดง และ กระดูก )
ธาตุเหล็ก: มีในอาหารพวกเนื้อแดง, เนื้อปลา, ถั่วเขียว, ถั่วเหลือง, ใบขี้เหล็ก, ใบตำลึง, ใบชะพลู, เส้นหมี่, น้ำตาลมะพร้าว, ไข่แดง, ใบกระเพรา, ใบคึ่นช่าย, งาดำ, งาขาว, และชะอม
แคลเซียม: นม, ผักสีเขียว, ผลิตภัณฑ์จากถั่ว, ปลาไส้ตัน, กุ้ง, เผือก, มัน, และเมล็ดทานตะวัน

นอกจากนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์ควรดื่มน้ำให้เพียงพอ น้ำดื่มบริสุทธิ์เป็นสิ่งที่ดีที่สุด รองลงมาคือน้ำผล ไม้ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่รู้สึกสดชื่นขึ้นด้วยค่ะ

ทำไมคาร์โบไฮเดรตจึงมีความสำคัญ

อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตทำให้ร่างกายมีพลังงานแล้วยังเป็นแหล่ง อาหารสำคัญสำหรับอาหารกากใย (Fiber) ในระหว่างตั้งครรภ์นั้น คุณแม่ต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นจากปรกติประมาณ 500 แคลอรี่
แหล่งอาหารสำคัญของคาร์โบไฮเดรตคือ อาหารจำพวกแป้ง เช่น ข้าวสวย, ก๋วยเตี๋ยว, ถั่วแดง, มันฝรั่ง, ขนมปัง, เผือก, งา, ถั่ว และพวกคอร์นเฟล็กซ์ต่างๆ โดยเฉพาะข้าวซ้อมมือ, ข้าวกล้อง, ขนมปังธัญพืช เป็นอาหารที่มีคุณค่าสูง เพราะให้ทั้งพลังงาน วิตามิน เกลือแร่และกากใย
ข้าว, ขนมปังและมันฝรั่งเป็นอาหารที่เหมาะสมสำหรับ ทำให้เรามีสุขภาพดีมานานชั่วอายุคน แต่โชคร้ายที่ปัจจุบัน อาหารเหล่านี้ถูกเข้าใจว่าทำให้อ้วน อันที่จริงเจ้าตัวการที่ทำให้อ้วน คือไขมัน เนย, ครีม, น้ำตาล และซอสต่างๆ ที่เรานำมา ใส่เพื่อปรุงอาหารต่างหาก อย่าสับสนว่าอาหารกลุ่ม คาร์โบไฮเดรตคือ ขนมเค๊ก, คุกกี้ และขนมปังกรอบต่างๆ สิ่งเหล่านี้มีไขมันแอบแฝงอยู่ โดยเฉพาะครีมและ น้ำตาล การทานบ่อยๆในจำนวนมากๆ ต่างหากที่ทำให้อ้วนได้

ทำไมอาหารที่มีกากใย (Fiber) จึงมีความสำคัญ

อาหารที่มีกากใยช่วยให้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้รวดเร็วขึ้น และช่วยป้องกันโรคท้องผูกและริดสีดวงทวาร (Hemorrhoid) ถ้าในแต่ละวันคุณรับประทานผลไม้, ผัก และ ขนมปังธัญพืช คุณก็จะได้รับกากใย (Fiber) เพียงพอ

ทำไมการรับประทานอาหารที่มีไขมันมากเกินไปจึงไม่ดีต่อ ร่างกาย

การทานอาหารที่มีไขมันเพียงเล็กน้อยมี ความสำคัญต่อร่างกาย แต่ถ้า ทานไขมันชนิดอิ่มตัว (Saturated fat ) มากเกินไปจะทำให้มีโอกาส เป็นโรคหัวใจ, มะเร็งบางชนิด และปัญหาอื่นๆ จะตามมา ไขมันนั้นเป็นแหล่งสร้างพลังงาน จึงหมายความว่ามีแคลลอรี่สูง และนำไปสู่การมีน้ำหนักมาก ไขมันชนิดอิ่มตัว คือ ครีม, เนย, น้ำมันปาล์ม และ กากหมู ส่วนไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ( unsaturated fat ) คือ น้ำมันเมล็ดทานตะวัน, ข้าวโพด, น้ำมันมะกอก และ น้ำมันถั่วเหลือง

ร่างกายต้องการโปรตีนจำนวนเท่าไหร่ต่อวัน

เราต้องการโปรตีนเพื่อความเจริญเติบโตและซ่อมแซม เนื้อเยื่อของร่างกาย รวมทั้งผลิตฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ซึ่งเป็นตัวนำออกซิเจนในเลือดไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกาย และสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค ผู้หญิงเราปกติต้อง การโปรตีน 36-45 กรัมต่อวันโดยเฉลี่ย ส่วนผู้หญิงตั้ง ครรภ์ต้องการโปรตีนมากกว่าผู้หญิงปกติ 6 กรัมต่อวัน คือประมาณ 42 - 51 กรัม ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับว่าคุณแม่ทำ งานโดยใช้พลังงานเท่าไหร่ด้วย

ตัวอย่างจำนวนโปรตีนที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน

เนื้อแดง 100 กรัม ให้โปรตีนจำนวน 27 กรัม
นม 1 แก้ว ให้โปรตีนจำนวน 6 กรัม
ไข่ 1 ฟอง ให้โปรตีนจำนวน 6 กรัม
เนื้อปลา 85 กรัม ให้โปรตีนจำนวน 19 กรัม
ถั่ว 120 กรัม ให้โปรตีนจำนวน 6 - 9 กรัม

ส่วนวิตามินและเกลือแร่ล่ะ ร่างกายต้องการมากน้อยแค่ไหน

ถึงแม้ว่าวิตามินมีความจำเป็นต่อสุขภาพของคุณแม่ ขณะที่ร่างกายของเราเอง ก็ได้วิตามินจำนวนหนึ่งที่มีอยู่ในอาหารส่วนใหญ่และก็ยังเก็บสะสมวิตามินบาง ชนิดได้ เช่น วิตามิน A, D และ B12 ฯ แต่ก็มีเหตุผลทางการแพทย์บ่งชี้ว่า ร่างกายเราไม่สามารถดูดซึมวิตามินและแร่ธาตุอีกหลายอย่างจากอาหารที่เรา รับประทานได้อย่างเพียงพอ ดังนั้นแพทย์จึงแนะนำให้เรารับประทานวิตามิน และธาตุเหล็กเสริม อย่างไรก็ตามวิตามินและแร่ธาตุสามารถเป็นโทษต่อร่างกายได้ ฉะนั้นอย่าซื้อวิตามินเสริมมารับประทานเองยกเว้นคุณหมอจะเป็นผู้สั่งให้

อาหารชนิดใดบ้างที่เป็นแหล่งรวมวิตามิน

วิตามิน A: ไข่แดง, นมสด, เนย,ชีส, น้ำมันตับปลา, เครื่องในสัตว์, ผักใบเขียว/ใบเหลือง และผักสีส้ม, ผลไม้
วิตามินกรุ๊ป B ทั้งหลาย (B1, B2, B3, B5, B6): ไก่, เนื้อวัว, ปลา, ปลาทู, นม, ไข่, Cereal, ขนมปัง, ยีสต์, ถั่วลันเตา, ถั่วแขก, ถั่วแดง, ถั่วเหลือง, ถั่วลิสง, ข้าวซ้อมมือ, อาหารธัญพืช, , ผักใบเขียว, , เครื่องในสัตว์, เห็ด, มะเขือเทศ,
วิตามิน B12: วิตามินสำคัญชนิดนี้ไม่พบในอาหาร ที่มาจากพืช จะมีในเนื้อสัตว์, เครื่องในสัตว์, เนื้อปลา, นม, ไข่ วิตามินนี้มีความสำคัญต่อการพัฒนาของทารกในครรภ์ คุณแม่ที่ไม่ทานเนื้อ, นม หรือไข่สามารถได้รับวิตามิน B12 โดยการทานอาหาร ที่ผลิตจาก yeast (เช่น Marmite) หรือวิตามินเสริม
วิตามิน C: ผลไม้และผักต่างๆ โดยเฉพาะผลไม้รสเปรี้ยว เช่น ส้ม, น้ำมะนาว, มะเขือเทศ, มะขามป้อม ฝรั่ง, และ มันเทศ
วิตามิน D: น้ำมันปลา, ปลา, เนย, นมสด, และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ทำจากนมสด, ไข่แดง, Cereal วิตามิน D ช่วยในการดูดซึมแคลเซียม

ทำไมแคลเซียมจึงมีความสำคัญต่อร่างกายมาก

แคลเซียมจำเป็นต่อการสร้างกระดูก และฟันของทารกในครรภ์ ผู้หญิงโดยทั่วไปอายุ 19 ปีขึ้นไป โดยปกติควรได้รับแคลเซียม 527-700 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนเด็กผู้หญิงวัยรุ่นอายุ 11-18 ปีควรได้รับ 625-800 มิลลิกรัมต่อวัน คุณแม่ควรรับประทานอาหาร ที่มีแคลเซียมอย่างเพียงพอตลอดการตั้งครรภ์ แหล่งอาหารที่มีแคลเซียมได้แก่ นม, และเนยแข็ง นมสด 1 ไปน์มีแคลเซียม 673 มิลลิกรัม และนมสดพร่องมันเนย (Semi-skimmed milk) มีแคลเซียม 706 มิลลิกรัม นอกจากนั้นยังมีใน ปลาไส้ตัน, ปลากรอบต่างๆ, ผลิตภัณฑ์จากถั่ว, กุ้ง, ผักใบเขียว, ไข่, เม็ดอัลมอนด์, งา คุณอาจปรึกษาแพทย์เพื่อขอ รับวิตามินเสริมที่มีแคลเซียมได้ หากว่าปกติคุณไม่ได้รับ ประทานอาหารพวกนี้ แต่คุณควรรับประทานไข่เป็นประจำ เพราะวิตามิน D ที่มีอยู่ในไข่จะช่วยให้การดูดซึมของแคลเซียมดีขึ้น

บทบาทของธาตุเหล็กในระหว่างการตั้งครรภ์

ธาตุเหล็กมีความจำเป็นต่อฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นโปรตีนสำคัญในเม็ดเลือดแดง โดยเป็นตัวพาออกซิเจนไปสู่เนื้อเยื่อและทารกในครรภ์ ถ้าร่างกายคุณมีธาตุเหล็กไม่เพียงพอจะนำไปสู่การเป็นโรคโลหิตจาง (Anemia) ซึ่งทำให้คุณรู้สึกเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย หายใจไม่สะดวก
ผู้หญิงอายุ 11 - 49 ปีควรได้รับธาตุเหล็ก 11.4 - 14.8 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ถ้าคุณมีประจำเดือนมามากในแต่ละเดือน ควรได้รับธาตุเหล็กมากกว่านั้น บางคนอาจทานวิตามินเหล็ก เสริมระหว่างการตั้งครรภ์ ซึ่งในการตรวจเลือดระหว่างการ ฝากครรภ์จะสามารถบอกได้ว่าจำเป็นแค่ไหน การได้รับธาตุเหล็กมากเกินไปอาจทำให้เกิดโทษได้ เหมือนกัน ฉะนั้นอย่าทาน วิตามินเหล็กเสริมเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ก่อน และควรเก็บยาเหล่านี้ให้พ้นมือเด็ก ธาตุเหล็กมีในสารอาหารเหล่านี้: เนื้อแดง, เนื้อปลา, ไข่, ผักใบเขียว เช่น ใบขี้เหล็ก, ใบตำลึง, ใบชะพลู, ผักขม, ถั่ว, เส้นหมี่, น้ำตาลมะพร้าว และผลไม้อบแห้งทั่วไป วิตามิน C จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้ง่ายขึ้น

แล้วธาตุสังกะสีล่ะ สำคัญอย่างไร

ธาตุสังกะสีมีความจำเป็นสำหรับการสร้างกระดูก, ระบบของประสาทและสมองของทารก ธาตุสังกะสีมักจะมีในเนื้อแดง, เนื้อปลา, ปลาหมึก, ปลากระป๋อง, หอยนางรม และอาหารทะเลอื่นๆ, ไข่, ถั่ว และเนยแข็ง

ทำไม Folic Acid (กรดโฟลิก) และวิตามิน B12 จึงมีความสำคัญมากเช่นกัน

การได้รับ Folic Acid ในจำนวนที่เหมาะสม มีความสำคัญตลอดระยะเวลาที่คุณตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วง 12 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ เมื่ออวัยวะ ของตัวอ่อนกำลังฟอร์มตัวเป็นรูปร่าง จากการวิจัยและศึกษาพบว่า เป็นการช่วยป้องกัน ไม่ให้ทารกพิการเมื่อแรกคลอด เช่น เป็นโรคSpina Bifida (กระดูกสันหลังไม่ปิด) ถ้าผู้หญิงที่ตั้งครรภ์นั้นได้รับ Folic Acid จำนวน 0.4 - 0.5 มิลลิกรัมต่อวัน เป็นเวลาหลายเดือน ก่อนการตั้งครรภ์ จนถึงระยะอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ ดังนั้น ทางหนึ่งที่จะป้องกันไม่ให้เกิดโรค Spina Bifida เป็นครั้งแรกในครอบครัว จึงควรทาน Folic Acid จำนวน 600 ไมโครกรัม ต่อวันก่อนการตั้งครรภ์ จนถึงอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ (1000 ไมโครกรัม = 1 มิลลิกรัม) หรือคุณอาจได้รับคำแนะนำให้ทาน Folic Acid จำนวน 400 ไมโครกรัม (0.4 มิลลิกรัม) และทานอาหารที่มี Folic Acid เพิ่ม เช่น บรอคโคลี่, ผักกาดเขียว, ผักกาดแก้ว, ผักขม, ถั่วลันเตา, มันฝรั่ง, มะเขือเทศ, ผักกาดหอม, แครอท, ข้าวโพดหวาน, ถั่ว, ปลา, กล้วย, ส้ม, นม, ไข่, ขนมปัง, และข้าวซ้อมมือ จากการศึกษาค้นคว้าเร็วๆ นี้จากมหาวิทยาลัย Trinity แห่งเมืองดับลิน ประเทศไอร์แลนด์ พบว่าการขาดทั้งวิตามิน B12 และ Folic Acid สามารถเพิ่ม อัตราการเสี่ยงที่ทารกจะเป็นโรค Spina Bifida

จะทราบได้อย่างไรว่าน้ำหนักขึ้นตามปกติ

แพทย์สามารถบอกให้คุณทราบได้โดยชั่งน้ำหนักคุณเมื่อคุณ ไปฝากครภภ์ครั้งแรก ปรกติแล้วโดยเฉลี่ยน้ำหนักจะขึ้นประมาณ 11 1/4 - 13 1/2 กก. ตลอดการตั้งครรภ์ ทั้งนี้จะเป็นน้ำหนักของทารกเกือบ 50%

การรับประทานอาหารมื้อใหญ่ๆ มื้อเดียวต่อวันจะเป็นการเพียงพอมั้ย

เป็นการดีถ้าคุณจะรับประทานอาหาร 3 มื้อต่อวัน - ในตอนเช้า, เที่ยง และช่วงเย็น เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้ร่างกายขาดอาหารนานเกินไป ซึ่งจะทำให้คุณรู้สึกหน้ามืด, วิงเวียนศีรษะได้ ถ้าคุณไม่รู้สึกอยากทานอาหาร คุณสามารถทำแซนด์วิชง่ายๆ ที่มีโปรตีนโดยใส่ชีส, ทูน่า หรือแฮม แล้วทานโยเกิร์ต หรือสลัดผัก หรือซุปร้อนๆ และผลไม้สด ก็จะได้รับสารอาหารเท่ากับอาหารปรุงหนึ่งมื้อ Back

เป็นเรื่องปรกติมั้ย ที่จะอยากทานอาหารชนิดหนึ่งชนิดใดมากเป็นพิเศษ

อาการรู้สึกอยากรับประทานอาหารบางอย่างเป็นพิเศษ เช่นผลไม้ดอง เป็นเรื่องปรกติ ในระหว่างตั้งครรภ์ หรือบางครั้งอาจอยากดื่มเครื่องดื่มรสซ่า หรือว่ากาแฟ คุณสามารถทานตามความอยากได้ถ้าหากไม่ทำให้คุณท้องอืด แน่น จุกเสียด และในปริมาณที่ไม่มากเกินไป

ถ้าเป็นมังสะวิรัติ ต้องทานวิตามินเสริมมั้ย

ถ้าคุณเป็นมังสะวิรัต แต่คุณทานนม, ไข่ ได้ และคุณสามารถทานผักได้หลากหลายชนิด ก็นับว่าเพียงพอแล้ว แต่ถ้าคุณเป็นมังสะวิรัตที่เคร่ง คือไม่ทานไข่, นม ทำให้คุณได้รับแคลเซียมและวิตามิน B12 จำนวนน้อย ทางที่ดีคุณควรอธิบายการรับประทานอาหารของคุณให้แพทย์ทราบเพื่อ ขอคำแนะนำในด้านโภชนาการจะดีกว่า

REMEMBER!!

พยายามทานอาหารหลากหลายชนิด เพื่อให้ได้สารอาหารครบทุกประเภท
ธาตุเหล็กจำนวนมากเกินไปสามารถเป็นพิษต่อร่างกายได้ อย่าทานธาตุเหล็กเสริมเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์
ตับเป็นอาหารที่มีธาตุเหล็กมาก แต่ไม่ควรรับประทานมากเกินไป เพราะจะได้รับวิตามิน A มากเกินไปจนเกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้
ร่างกายต้องการวิตามินจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น ที่พบในอาหารประจำวัน ถ้ารับประทานผักสดเป็นประจำ จะไม่ขาดวิตามินแน่นอน
จากการศึกษาค้นคว้าพบว่า การขาดวิตามิน B12 และกรดโฟลิก (Folic Acid) จะเพิ่มอัตราเสี่ยงต่อการที่ทารก จะเป็นโรค Spina Bifida (ไขสันหลังไม่ปิด)

ขอขอบคุณ นพ.วรายุต สถิตย์เสถียร (พ.บ. ว.ว.- สูตินรีเวช)ในความกรุณาให้คำแนะนำและตรวจทาน : //www.geocities.com/varayudt/

แหล่งข้อมูล : Thaiparents.com

Recipes Fit For Your Pregnancy



Now we all know just how important it is to eat a healthy nutritious diet - and now that you are pregnant it is even more important that this is the case.

There is no such thing as "eating for two" if you definition is having two hamburgers instead of one! If eating smart and making sure you are getting all your requirements, then eating for two means eating for your health and baby's.

This doesn't mean that the food you have to eat is boring and tastes like cardboard! You will actually be pleasantly surprised to find that the good foods in life actually taste pretty darn good - if not better than your average hamburger!

For further information : Pregnancy-calendar.net








Create Date : 29 มกราคม 2551
Last Update : 2 กุมภาพันธ์ 2551 15:19:34 น. 2 comments
Counter : 1098 Pageviews.

 
เป็นข้อม
ลที่ดีมากกำลังหาอยู่เลยค่ะ ขอบคุณค่ะ


โดย: สุวรรณี เปรมเดช IP: 58.64.94.224 วันที่: 31 มกราคม 2552 เวลา:7:49:20 น.  

 
ได้ความรู้เกี่ยวกับการตั้งครรภ์ ที่ดีมากๆ เลย ขอบคุณนะคะ


โดย: Aussie angel วันที่: 11 มกราคม 2553 เวลา:16:35:47 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

bunny2teddy
Location :
Heusden Belgium

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]





สามปีแห่งการรอคอย
จวบจนถึงวันที่เราสองคน
ตัดสินใจจะใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน

สามปีของการใช้ชีวิตคู่แบบ"เรา"สองคน
วันนี้อะไรๆหลายๆอย่างในชีวิตเปลี่ยนไป

"เรา"สองคน กำลังจะมีสมาชิกใหม่
สมาชิกคนที่สามของบ้าน
(บ้าน รังเล็กๆ ที่แสนจะอบอุ่นของเรา)
มาเติมเต็มความรัก ความอบอุ่น และหัวเราะด้วยกัน
ไม่ว่าจะในวันที่ทุกข์หรือสุขในใจ

เก้าเดือนนับจากนี้ไป
ชีวิตกำลังจะไม่เหมือนเดิม
เพราะคำว่า "แม่" บทบาทใหม่ในชีวิต
ช่างมีความหมาย เกินกว่าที่จะหาคำใดๆมาบรรยาย

มันฝรั่งน้อยของแม่กับปาป้า
..หนู...คือสิ่งมหัศจรรรย์เล็กๆของเรานะ
เราจะรักและดูแลหนูให้ดีที่สุดเลยจ้ะ
แม่กับปาป้า ให้สัญญา

...When you wake up everyday
Please don't throw your dreams away
Hold them close to your heart
'Cause we are all a part...

...The sun comes out
and shines some bright
And disappears again at night

It's just another
Ordinairy miracle today...



พระราชบัญญัตลิขสิทธิ์ ปี พ.ศ.2537
มาตรา 15 ภายใต้บังคับมาตรา 9 มาตรา 10 และมาตรา 14 เจ้าของลิขสิทธิ์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวดังต่อไปนี้
(1) ทำซ้ำหรือดัดแปลง
(2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน
(3) ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศน วัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง
(4) ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น
(5) อนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธิตาม (1) (2) หรือ (3) โดยจะกำหนดเงื่อนไขอย่างใดหรือไม่ก็ได้ แต่เงื่อนไขดังกล่าวจะกำหนดในลักษณะที่เป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมไม่ได้ การพิจารณาว่าเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง (5) จะเป็นการจำกัดการแข่งขันโดยไม่เป็นธรรมหรือไม่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวงมาตรา 16 ในกรณีที่เจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ได้อนุญาตให้ผู้ใดใช้สิทธิตามมาตรา 15 (5) ย่อมไม่ตัดสิทธิของเจ้าของลิขสิทธิ์ที่จะอนุญาตให้ผู้อื่นใช้สิทธินั้นได้ด้วย เว้นแต่ในหนังสืออนุญาตได้ระบุเป็นข้อห้ามไว้

Friends' blogs
[Add bunny2teddy's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.