สิงหาคม 2552

 
 
 
 
 
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
 
 
ป้องกันโรคหัวใจด้วยสารโฟเลท


โฟเลต (folate) หรือวิตามินบี 9 เป็นวิตามินที่ละลายในนํ้า ค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1930 เมื่อ Lucy Wills รายงานว่าสารสกัดจากยีสต์สามารถรักษาภาวะโลหิตจางชนิดเมกาโลบลาสติกในหญิงตั้งครรภ์ได้ ต่อมาในปี ค.ศ. 1941 สารนี้ได้ ถูกพบในพืชผักอีกหลายชนิด เช่น ผักขม อัลฟาฟา จึงถูกเรียกว่า “โฟเลต” ซึ่งมาจากคำในภาษาลาตินว่า “folium” หมายถึงใบไม้ เมื่อเอ่ยถึงสารโฟเลต จึงทำให้นึกถึงใบไม้ ใบหญ้า ผักใบเขียว

แหล่งของสารโฟเลต คือ อาหารจำพวกผักใบเขียว ยีสต์ ถั่วเมล็ดแห้ง ถั่วลิสง ส้ม มะนาว มะเขือเทศ เมล็ดทานตะวัน ธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ลูกเดือย ส่วนเนื้อสัตว์มีโฟเลตในปริมาณตํ่า

ผักใบเขียวที่มีปริมาณโฟเลตสูง

คะน้า หนึ่งถ้วยตวงจะมีโฟเลตประมาณ 30 ไมโครกรัม
กะหล่ำปลี
กะหล่ำดอก มีปริมาณโฟเลตสูงกว่ากะหล่ำปลีเกือบเท่าตัว เมื่อเปรียบเทียบในปริมาณที่เท่าๆ กัน
ปวยเล้ง ให้ปริมาณโฟเลตสูงที่สุดเมื่อเทียบกับผักอื่นๆ ที่มีโฟเลตสูง
บร็อกโคลี่ มีโฟเลตมากเท่ากับถั่วลันเตาในปริมาณที่เท่ากัน
ถั่วลันเตา
หน่อไม้ฝรั่ง มีปริมาณโฟเลตสูงรองจากผักปวยเล้ง


ประโยชน์ต่อร่างกาย

ช่วยให้ร่างกายใช้น้ำตาล และกรดอะมิโนผ่านทางขบวนการระดับเซลล์
ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง โดยที่จะไปช่วยไขกระดูกให้ผลิตเม็ดเลือดแดง
เป็นตัวการสำคัญในการสร้างกรดนิวคลิอิก ซึ่งจำเป็นสำหรับขั้นตอนในการเจริญเติบโตของร่างกาย และสร้างเซลล์ทั้งหลายให้กับร่างกายอย่างถูกต้อง และเหมาะสม
สร้างภูมิต้านทานโรคในต่อมไธมัสให้แก่ทารกแรกเกิด และเด็กเล็ก
ควบคุมการทำงานของสมองและเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสุขภาพที่ดีของสมอง
กระตุ้นการผลิตกรดไฮโดรคลอริกซึ่งช่วยในการป้องกันเชื้อก่อโรคในลำไส้และป้องกันอาหารเป็นพิษ
ช่วยในการปฏิบัติหน้าที่ของตับให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ทำหน้าที่คล้ายน้ำย่อยทำงานร่วมกับวิตามินบี 12 และวิตามินซี เผาผลาญโปรตีน และใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่
กระตุ้นถุงน้ำดีให้บีบตัวแรงขึ้น เพิ่มพลังผลิตน้ำดี ทำให้การย่อยไขมัน และการดูดซึมไขมันดีขึ้น โดยเฉพาะกรดไขมันที่จำเป็นและวิตามินเอ ดี อี เค
ทำให้รู้สึกอยากรับประทานอาหารมากขึ้น


ความสำคัญของโฟเลต

สารโฟเลตนี้มีความสำคัญในการสร้างสารพันธุกรรมในเซลล์ และการแบ่งตัวของเซลล์ การขาดสารโฟเลตมีผลให้เม็ดเลือดแดงผิดปกติ เกิดเป็นโรคโลหิตจาง
หากขาดในหญิงตั้งครรภ์จะทำให้การเจริญของหลอดประสาทในทารกไม่สมบูรณ์
การขาดสารโฟเลตจะทำให้มีปริมาณสารโฮโมซิสเทอีนในเลือดสูงมากกว่าปกติ และจะพบภาวะที่มีสารโฮโมซิสเทอีนเลือดสูงมากขึ้น ถ้ามีการขาดวิตามินบี 6 และบี 12 ร่วมด้วย ซึ่งภาวะนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ



ความต้องการโฟเลตในแต่ละวัน

ร่างกายต้องการสารโฟเลตวันละ 400 ไมโครกรัม ซึ่งสามารถรับประทานได้เพียงพอ ในอาหารประจำวันหากกินหลากหลายครบหมู่
ในธรรมชาติโฟเลตถูกสร้างขึ้นโดยพืช และจุลินทรีย์ มนุษย์ไม่สามารถสังเคราะห์โฟเลตได้เอง จึงต้องได้รับจากการรับประทานอาหาร
ความต้องการโฟเลตของแต่ละบุคคลแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับอายุและสภาวะของร่างกาย เช่น ขณะตั้งครรภ์ ให้นมบุตร หรือได้รับยาบางชนิด เช่น ยาต้านมะเร็ง ยากันชัก ยาต้านมาลาเรีย หรือยาปฏิชีวนะ
บางชนิด ร่างกายจะมีความต้องการโฟเลตเพิ่มขึ้น
ความผิดปกติในการดูดซึมและโรคพิษสุราเรื้อรังเป็นสาเหตุที่ทำให้ร่างกายขาดโฟเลตได้


สารโฟเลตรักษา และป้องกันโรคหัวใจ
ในปัจจุบันมีการศึกษาเป็นที่ยืนยันแล้วว่า ภาวะที่มีสารโฮโมซิสเทอีนในเลือดสูงมีความสัมพันธ์เป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และการให้สารโฟเลต ร่วมกับวิตามินบี 6 และ บี 12 จะช่วยลดภาวะที่มีสารโฮโมซิสเทอีนเลือดสูงได้
การให้สารโฟเลตร่วมกับการให้วิตามินบี 6 และวิตามินบี 12 สามารถลดระดับของสารโฮโมซิสเทอีนในเลือดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และการให้สารโฟเลตปริมาณ 1 กรัมต่อวัน ไม่พบผลข้างเคียงใดๆ

แม้ว่ายังไม่มีการแนะนำอย่างเป็นทางการในการให้ใช้สารโฟเลตในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
แต่จากการที่สารโฟเลตสกัดในรูปเม็ดยานั้นเป็นที่นิยมใช้อย่างแพร่หลาย และราคามีราคาถูก รวมถึงยังไม่พบผลข้างเคียงในการรักษาใดๆ แพทย์ทั่วไปจึงนิยมใช้ในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบร่วมด้วย

โฟเลตสามารถช่วยป้องกันหัวใจได้หลายวิธี ประการแรก โฟเลตสามารถช่วยลดสามารถช่วยลดปัจจัยเสี่ยงจากโรคหัวใจ และอันตรายจากโคเลสเตอรอล และโฮโมซิสเทอีน ซึ่งทั้งสองชนิดสามารถทำลายหลอดเลือดหัวใจได้ นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันการเกิดการปวดหน้าอก และลดอัตราการตายลง



การเสริมโฟเลตในอาหาร
เนื่องจากร่างกายของคนเราไม่สามารถสังเคราะห์โฟเลตได้เอง อาหารจึงเป็นแหล่งที่สำคัญของวิตามินชนิดนี้ แต่ละชนิดมักมีโฟเลตในปริมาณตํ่า การป้องกันการขาดโฟเลตจึงอาจทำได้โดยการบริโภคอาหารที่มีโฟเลตสูง การรับประทานวิตามินเสริมรวมถึงการเติมกรดโฟลิกในอาหารที่รับประทานในชีวิตประจำวัน

นอกจากการเติมกรดโฟลิกในผลิตภัณฑ์อาหารโดยตรงแล้ว ปัจจุบันมีความพยายามในการนำ วิธีการทางชีวภาพมาใช้เพิ่มปริมาณโฟเลตในพืชที่ใช้เป็นอาหาร วิธีนี้อาศัยเทคนิคทางชีววิทยาโมเลกุลและพันธุวิศวกรรมมาควบคุม หรือดัดแปลงเมตะบอลิสซึมของโฟเลต เพื่อให้พืชสามารถสร้างโฟเลตได้ปริมาณเพิ่มขึ้น



Create Date : 31 สิงหาคม 2552
Last Update : 31 สิงหาคม 2552 23:41:24 น.
Counter : 1058 Pageviews.

1 comments
  
ขอบคุณมาก ๆๆค่ะ
โดย: พลอย IP: 114.128.131.67 วันที่: 21 ธันวาคม 2552 เวลา:20:27:55 น.
ชื่อ :
Comment :
 *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

bulldoggirl
Location :
  

[ดู Profile ทั้งหมด]
 ฝากข้อความหลังไมค์
 Rss Feed
 Smember
 ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]



MY VIP Friend