"ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอด้วยพระตถาคตย่อมไม่มี พระพุทธเจ้าแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยการกล่าวคำจริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี....." "พระไตรปิฏก เป็นตาที่วิเศษยิ่ง, เป็นหูที่วิเศษยิ่ง, เป็นจมูกที่วิเศษยิ่ง, เป็นลิ้นที่วิเศษยิ่ง, เป็นกายที่วิเศษยิ่ง, เป็นใจที่วิเศษยิ่ง, เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง, เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง, เป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษยิ่ง, เป็นแผนที่และป้ายบอกทางที่วิเศษยิ่ง, เป็นแสงสว่างส่องทางสู่นิพพานที่วิเศษยิ่ง"จากวัดสามแยก
Group Blog
 
<<
ธันวาคม 2555
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
 
23 ธันวาคม 2555
 
All Blogs
 

ไม่เชื่อว่าลูกศิษย์เป็นอรหันต์ โดยหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล 29 ก.ย. 2555

เนื้อหา บางส่วนจากการแสดงธรรมชุดนี้
      ๑. "บุญ" เป็นที่พึ่งอาศัยของสัตว์ทั้งหลาย
      ๒. ลักษณะ "เทศนา" ที่บริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์
      ๓. ภิกษุป้องกันตัว แม้เขาตายก็ไม่ต้องอาบัติใดๆ
      ๔. กามทั้งหลาย เป็นของน่ากลัว
      ๕. หลักในการตรวจสอบผู้ที่อ้างตัวว่า "หลุดพ้น" แล้ว
     ฯลฯ

"บุญ" เป็นที่พึ่งอาศัยของสัตว์ทั้งหลาย (ปิยสูตร) เล่ม24หน้า428

ถ้าบุคคลรู้ว่าตนเป็นที่รักไซร้ ก็ไม่พึงประกอบด้วยบาป เพราะว่าความสุขนั้น
เป็นผลที่บุคคลผู้ทำชั่วจะไม่ได้โดยง่ายเลย.

เมื่อความตายเข้าถึงตัวแล้ว  บุคคลย่อมละทิ้งภพมนุษย์ไป ก็อะไรเป็นสมบัติ
ของเขา และเขาจะพาเอาอะไรไปได้ อนึ่งอะไรเล่าจะติดตามเขาไปประดุจเงาติดตาม
ตนไป ฉะนั้น.

มัจจาผู้ที่มาเกิดแล้วจำจะต้องตายในโลกนี้  ย่อมทำกรรมอันใดไว้  คือบุญและ
บาปทั้งสองประการ บุญและบาปนั้นแล บาปทั้งสองประการ  บุญและบาปนั้นแล
และบาปนั้นไป
อนึ่ง บุญและบาปนั้นย่อม เป็นของติดตามเขาไปประดุจเงาติดตาม
ตนไป
ฉะนั้น.

เพราะฉะนั้น  บุคคลพึงทำกัลยาณ กรรมสะสมไว้เป็นสมบัติในปรโลก ด้วย
ว่า บุญทั้งหลายย่อมเป็นที่พึ่งของสัตว์ทั้ง หลายในปรโลก.

ลักษณะ "เทศนา" ที่บริสุทธิ์และไม่บริสุทธิ์ (จันทูปมสูตร) เล่ม26หน้า551

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมีความคิดอย่างนี้ ย่อมแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่นว่า โอหนอ
ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้ว พึงเลื่อมใสซึ่งธรรมผู้ที่เลื่อมใสแล้วเท่านั้น จะพึงทำอาการของผู้เลื่อมใสต่อเรา ดังนี้ ภิกษุทั้งหลาย ธรรมเทศนาของภิกษุเห็นปานนี้แล
ไม่บริสุทธิ์

ส่วนภิกษุใดแลเป็นผู้มีความคิดอย่างนี้ แสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่นว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดีแล้ว เป็นข้อปฏิบัติอันผู้บรรลุจะพึงเห็นเองไม่ประกอบด้วยกาล ควรเรียกให้มาดู ควรน้อมเข้ามาในตน อันวิญญูชนจะพึงรู้เฉพาะตน หนอ ชนทั้งหลายพึงฟังธรรมของเรา ก็แลครั้นฟังแล้ว จะพึงรู้ทั่วถึงธรรม ก็แลครั้นรู้ทั่วถึงธรรมแล้ว จะพึงปฏิบัติเพื่อความเป็นอย่างนั้น ดังนี้ อาศัยความที่แห่งพระธรรมเป็นธรรมอันดี จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น อาศัยความกรุณา จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่นอาศัยความเอ็นดู จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น อาศัยความอนุเคราะห์จึงแสดงธรรมแก่ชนเหล่าอื่น ด้วยประการฉะนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายธรรมเทศนาของภิกษุเห็นปานนี้แล บริสุทธิ์.

ภิกษุป้องกันตัว แม้เขาตายก็ไม่ต้องอาบัติใดๆ(อ.ปหารสิกขาบทที่4) เล่ม4หน้า766

สองบทว่า ปหารเทติ มีความว่า ภิกษุให้ประหารด้วยกาย ของเนื่องด้วยกาย และของที่ขว้างไปอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่เป็นอาบัติ. ถ้าแม้นภิกษุเห็นโจรก็ดี ข้าศึกก็ดี มุ่งจะเบียดเบียนในระหว่างทางกล่าวว่า แน่ะอุบาสก ! เธอจงหยุดอยู่ในที่นั้นนั่นแหละ, อย่าเข้ามา แล้วประหารผู้ไม่เชื่อฟังคำกำลังเดินเข้ามาด้วยไม้ค้อน หรือด้วยศัสตราพร้อมกับพูดว่า ไปโว้ย แล้วไปเสีย.
ถ้าเขาตายเพราะการประหารนั้น ไม่เป็นอาบัติเหมือนกัน.

พระพุทธเจ้าเสวย"ยาถ่าย" เพราะท้องผูก (จีวรขันธกะ) เล่ม7หน้า259

ครั้งนั้น ชีวกโกมารภัจจ์ได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า การที่เราจะพึงทูล ถวายพระโอสถถ่ายที่หยาบแด่พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ไม่สมควรเลย ถ้ากระไรเราพึงอบก้านอุบล ๓ ก้านด้วยยาต่าง ๆ แล้วทูลถวายพระตถาคต ครั้นแล้วได้อบก้านอุบล ๓  ก้านด้วยยาต่างๆ แล้วเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นแล้วได้ ทูลถวายก้านอุบลก้านที่หนึ่งแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงสูดก้านอุบลก้านที่ ๑ นี้ การทรงสูดก้านอุบลนี้จักยังพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ถ่ายถึง ๑๐ ครั้ง แล้วได้ทูลถวายก้านอุบลก้านที่ ๒ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงสูดก้านอุบลก้านที่ ๒ นี้ การทรงสูดก้านอุบลนี้จักยังพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ถ่ายถึง ๑๐ ครั้ง แล้วได้ทูลถวายก้านอุบลก้านที่ ๓ แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลว่าพระพุทธเจ้าข้า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจนทรงสูดก้านอุบลก้านที่ ๓นี้ การทรงสูดก้านอุบลนี้จักยังพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ถ่ายถึง ๑๐ ครั้ง ด้วยวิธีนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงถ่ายถึง ๓๐ ครั้ง.

ครั้นชีวกโกมารภัจจ์ ทูลถวายพระโอสถถ่ายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อถ่ายครบ ๓๐ ครั้งแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณกลับไป ขณะเมื่อชีวกโกมารภัจจ์เดินออกไปนอกซุ่มประตู แล้วได้มีความปริวิตกดังนี้ว่า เราทูลถวายพระโอสถถ่ายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อถ่ายครบ ๓๐  ครั้ง พระกายของพระตถาคตหมักหมมด้วยสิ่งอันเป็นโทษ จักไม่ยังพระผู้มีพระภาคเจ้าให้ถ่ายครบ ๓๐ ครั้ง จักให้ถ่ายเพียง ๒๙ ครั้ง แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถ่ายแล้วจักสรงพระกาย ครั้นสรงพระกายแล้ว จักถ่ายอีกครั้งหนึ่ง อย่างนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงถ่ายครบ ๓๐  ครั้ง.

กามทั้งหลาย เป็นของน่ากลัว( ขัคควสาณสุตนิทเทส) เล่ม67หน้า560-566

[๗๒๒] ก็กามทั้งหลายอันวิจิตร มีรสอร่อย น่ารื่นรมย์ใจ ย่อมย่ำยีจิตด้วยอารมณ์มีชนิดต่างๆ บุคคลเห็นโทษในกามคุณทั้งหลายแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

[๗๒๓] คำว่า โดยหัวข้อว่า กาม ในอุเทศว่า กามา หิ จิตฺรามธุรา มโนรมา ดังนี้ กามมี ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม ๑ กิเลสกาม ๑ฯลฯ เหล่านี้ท่านกล่าวว่า วัตถุกาม ฯลฯ เหล่านั้นท่านกล่าวว่า กิเลสกาม.
คำว่า อันวิจิตร ความว่า มีรูปชนิดต่าง ๆ มีเสียงชนิดต่าง ๆ มีกลิ่นชนิดต่าง ๆ มีรสชนิดต่าง ๆ มีโผฏฐัพพะชนิดต่าง ๆ.

คำว่า มีรสอร่อย ความว่า สมจริงตามพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน
รูปที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด ,เสียงที่จะพึงรู้แจ้งด้วยหู ,กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งด้วยจมูก ,รสที่จะพึงรู้แจ้งด้วยลิ้น ,โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ น่ารัก ยั่วยวน ชวนให้กำหนัด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ ประการนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุขโสมนัสใด อาศัยกามคุณ ๕ ประการนี้ เกิดขึ้น สุขโสมนัสนี้เรากล่าวว่า เป็นกามสุข เป็นสุขเจือด้วยอุจจาระ เป็นสุขของปุถุชน ไม่ใช่สุขของพระอริยะ ไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรให้เจริญ ไม่ควรทำให้มาก เราย่อมกล่าวว่า ควรกลัวต่อความสุขนี้เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ก็กามทั้งหลายอันวิจิตร มีรสอร่อย.จิต ใจ มนัส หทัย ปัณฑระ มโน มนายตนะ มนินทรีย์ วิญญาณ วิญญาณขันธ์ มโนวิญญาณธาตุอันสมกัน ชื่อว่า มนะ ในอุเทศว่า มโนรมา ดังนี้.

[๗๒๔] คำว่า ย่อมย่ำยีจิตด้วยอารมณ์ชนิดต่างๆ ความว่า ย่อมย่ำยีจิต คือ ย่อมให้จิตสะดุ้ง ให้เสื่อม ให้เสีย ด้วยรูปชนิดต่าง ๆ ฯ ล ฯ ด้วยโผฏฐัพพะชนิดต่าง ๆ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ย่อมย่ำยีจิตด้วยอารมณ์ชนิดต่าง ๆ.

[๗๒๕]ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็โทษแห่งกามเป็นอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรในโลกนี้ เลี้ยงชีพด้วยที่ตั้งแห่งศิลปะ คือ การนับนิ้วมือ การคำนวณ การประมาณ กสิกรรม พาณิชกรรม โครักขกรรม เป็นนักรบ เป็นข้าราชการ หรือด้วยกิจอื่นซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งศิลปะ ทนต่อความหนาว ทนต่อความร้อน ถูกเหลือบ ยุง ลม แดด และสัมผัสแห่งสัตว์เสือกคลาน เบียดเบียน ต้องตายเพราะความหิว ความกระหาย.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษแห่งกามนี้ เห็นกันได้เอง เป็นกองทุกข์ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นนิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์ เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อกุลบุตรนั้นหมั่นเพียรพยายามอยู่อย่างนั้น โภคสมบัติเหล่านั้นย่อมไม่เจริญขึ้น กลับบุตรนั้นก็เศร้าโศก ลำบากใจราพันเพ้อ ทุบอกคร่ำครวญ ถึงความหลงใหลว่า ความหมั่นของเราเป็นหมันหนอ ความพยายามของเราไร้ผลหนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษแห่งกามแม้นี้ เห็นกันได้เอง เป็นกองทุกข์ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นนิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์ เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าเมื่อกุลบุตรนั้นหมั่นเพียรพยายามอยู่ โภคสมบัติเหล่านั้นย่อมเจริญขึ้น กุลบุตรนั้นก็ได้เสวยทุกข์โทมนัส เพราะเหตุรักษาโภคสมบัติเหล่านั้น ด้วยคิดว่า โดยอุบายอะไร โภคสมบัติของเราจึงจะไม่ถูกพระราชาริบไป โจรจะไม่ลักไปได้ ไฟจะไม่ไหม้ น้ำจะไม่ท่วมพวกทายาทผู้ไม่เป็นที่รักจะไม่ขนเอาไปได้ เมื่อกุลบุตรนั้นรักษาคุ้มครองอยู่อย่างนี้ โภคสมบัติเหล่านั้นถูกพระราชาริบเอาไป ถูกโจรลักเอาไป ถูกไฟไหม้ ถูกน้ำท่วม หรือถูกทายาทผู้ไม่เป็นที่รักขนเอาไป กุลบุตรย่อมเศร้าโศก ฯลฯ ถึงความหลงใหลว่า เรามีทรัพย์สิ่งใด แม้ทรัพย์สิ่งนั้นหมดไปหนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษแห่งกามแม้นี้ เห็นกันได้เอง เป็นกองทุกข์ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นนิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระราชาวิวาทกับพระราชาก็ดี กษัตริย์วิวาทกับกษัตริย์ก็ดี พราหมณ์วิวาทกับพราหมณ์ก็ดี คฤหบดี วิวาทกับคฤหบดีก็ดี มารดาวิวาทกับบุตรก็ดี บุตรวิวาทกับมารดาก็ดี บิดาวิวาทกับบุตรก็ดี บุตรวิวาทกับบิดาก็ดี พี่น้องชายวิวาทกับพี่น้องหญิงก็ดี พี่น้องหญิงวิวาทกับพี่น้องชายก็ดี สหายวิวาทกับสหายก็ดีก็เพราะมีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นนิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์ เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง ชนเหล่านั้นทะเลาะวิวาทกัน เพราะเหตุแห่งกามนั้นประหารกันและกันด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยศัสตราบ้าง ชนเหล่านั้นย่อมถึงความตายบ้าง ถึงความทุกข์ปางตายบ้าง เพราะการประหารกันนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษแห่งกามแม้นี้เห็นกันได้เอง เป็นกองทุกข์ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นนิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์ เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง คนทั้งหลายถือดาบ และโล่ จับธนูสอดใส่แล่งแล้ว ย่อมเข้าสู่สงครามที่กำลังประชิดกันทั้งสองฝ่าย เมื่อคนทั้งสองฝ่ายยิงลูกศรไปบ้าง พุ่งหอกไปบ้าง ฟันดาบบ้าง คนเหล่านั้นยิงด้วยลูกศรก็มี พุ่งด้วยหอกก็มี และย่อมตัดศีรษะกันด้วยดาบในสงครามนั้น ก็เพราะมีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นนิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง คนเหล่านั้นย่อมถึงความตายบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้างในสงครามนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษแห่งกามแม้นี้ เห็นกันได้เอง เป็นกองทุกข์ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นนิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์ เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง คนทั้งหลายถือดาบและโล่จับธนูสอดใส่แล่งแล้ว เข้าไปสู่ป้อมอันมีปูนเป็นเครื่องฉาบทาบ้าง เมื่อคนทั้งสองฝ่ายยิงลูกศรไปบ้าง พุ่งหอกไปบ้าง ฟันดาบบ้าง คนเหล่านั้นยิงด้วยลูกศรก็มี พุ่งด้วยหอกก็มี รดด้วยโคมัยที่น่าเกลียดก็มี ทับด้วยฟ้าทับเหวก็มี ตัดศีรษะกันด้วยดาบก็มี ในสงครามนั้น ก็เพราะมีกามเป็นเหตุมีกามเป็นนิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์ เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเองคนเหล่านั้นย่อมถึงความตายบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง ในสงครามนั้นดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษแห่งกามแม้นี้เห็นกันได้เอง เป็นกองทุกข์มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นนิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์ เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง โจรทั้งหลายย่อมตัดที่ต่อบ้างปล้นเรือนทุกหลังบ้าง ปล้นเฉพาะเรือนหลังเดียวบ้าง ดักตีชิงในทางเปลี่ยวบ้าง คบชู้ภรรยาของชายอื่นบ้าง ก็เพราะมีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นนิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์ เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง พวกราชบุรุษจับโจรคนนั้นได้แล้ว ให้ทำกรรมกรณ์ต่าง ๆ คือ เฆี่ยนด้วยแส้บ้าง เฆี่ยนด้วยหวายบ้าง ตีด้วยพลองสั้นบ้าง ตัดมือบ้าง ตัดเท้าบ้างฯลฯ ตัดศีรษะด้วยดาบบ้าง โจรเหล่านั้นย่อมถึงความตายบ้าง ถึงทุกข์ปางตายบ้าง เพราะกรรมกรณ์นั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษแห่งกามแม้นี้ เห็นกันได้เอง มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นนิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ชนทั้งหลายย่อมประพฤติทุจริต ด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ก็เพราะมีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นนิทาน มีกามเป็นอธิการณ์ เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง ชนเหล่านั้นครั้นประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริตแล้ว เมื่อแตกกายตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษแห่งกามแม้นี้ มีในสัมปรายภพ เป็นกองทุกข์ มีกามเป็นเหตุ มีกามเป็นนิทาน มีกามเป็นอธิกรณ์ เป็นเหตุแห่งกามทั้งหลายนั่นเอง.

คำว่า เห็นโทษในกามคุณทั้งหลายแล้ว ความว่า พบเห็น เทียบเคียง พิจารณาให้แจ่มแจ้ง ทำให้ปรากฏแล้ว ซึ่งโทษในกามคุณทั้งหลายเพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เห็นโทษในกามคุณทั้งหลายแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้นจึงกล่าวว่า ก็กามทั้งหลายอันวิจิตร มีรสอร่อย น่ารื่นรมย์ใจ ย่อมย่ำยีจิตด้วยอารมณ์มีชนิดต่างๆ บุคคลเห็นโทษในกามคุณทั้งหลายแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

[๗๒๖] คำว่า กามนี้ เป็นเสนียด เป็นดังฝี เป็นอุบาทว์เป็นโรค เป็นลูกศร เป็นภัย บุคคลเห็นภัยนี้ในกามคุณทั้งหลายแล้ว พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า เป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังฝี เป็นความข้อง เป็นสัตว์ เป็นเปือกตม เป็นครรภ์ ล้วนแล้วเป็นชื่อของกาม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุใด คำว่า เป็นภัย จึงเป็นชื่อของกาม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์นี้กำหนัดด้วยกามราคะ อันฉันทราคะผูกพัน ย่อมไม่พ้นไปจากภัยแม้อันมีในปัจจุบัน ย่อมไม่พ้นไปจากภัยแม้อันมีในสัมปรายภพ เพราะเหตุนั้น คำว่า เป็นภัย นี้ จึงเป็นชื่อของกาม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุใด คำว่า เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังฝี เป็นความข้อง เป็นสัตว์ เป็นเปือกตม เป็นครรภ์ จึงเป็นชื่อของกาม.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์นี้กำหนัดด้วยกามราคะ อันฉันทราคะผูกพัน ย่อมไม่พ้นไปจากครรภ์แม้อันมีในปัจจุบัน ย่อมไม่พ้นไปจากครรภ์แม้อันมีในสัมปรายภพ เพราะเหตุนั้น คำว่า เป็นครรภ์ นี้ จึงเป็นชื่อของกาม.สัตว์ที่เป็นปุถุชน หยั่งลงแล้วด้วยราคะอันน่ายินดี ย่อมเข้าถึงความเป็นสัตว์เกิดในครรภ์ เพราะกามเหล่าใด กามเหล่านั้น บัณฑิตกล่าวว่า เป็นภัย เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นความข้อง เป็นสัตว์ เป็นเปือกตม และเป็นครรภ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใด ภิกษุไม่ละฌาน เมื่อนั้น ภิกษุนั้นล่วงกามอันเป็นดังทางมีเปือกตม ข้ามได้ยาก ย่อมเห็นหมู่สัตว์ผู้เป็นอย่างนั้น เข้าถึงชาติและชรา ดิ้นรนอยู่.

เพราะฉะนั้น จึงว่า คำว่า กามนี้ เป็นเสนียด เป็นดังฝี เป็นอุบาทว์ เป็นโรค เป็นลูกศร เป็นภัย.

หลักในการตรวจสอบผู้ที่อ้างตัวว่า "หลุดพ้น" แล้ว (ฉวิโสธนสูตร) เล่ม22หน้า213-223

หลักการตรวจสอบจิตที่พ้นจากอาสวะ

[๑๖๖]   ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวันอารามของท่าน  อนาถบิณฑิกเศรษฐี  เขตกรุงสาวัตถีสมัยนั้น  พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสแล้ว.

โวหาร ๔

[๑๖๗]  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พยากรณ์อรหัตผลว่า ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย ไม่ควรชมเชย ไม่ควรคัดค้าน คำที่ภิกษุนั้นกล่าวแล้ว. ครั้นแล้ว ควรถามปัญหาเธอว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสโวหารไว้ ๔ อย่างเหล่านั้น โดยชอบ, ๔ อย่างคืออะไร?  คือ

ความที่บุคคลมีปกติกล่าวสิ่งที่เห็นแล้ว  ว่าได้เห็นแล้ว ๑
ความที่บุคคลมีปกติกล่าวสิ่งที่ได้ยินแล้ว  ว่าได้ยินแล้ว  ๑
ความที่บุคคลมีปกติกล่าวสิ่งที่ได้ทราบแล้ว  ว่าได้ทราบแล้ว  ๑
ความที่บุคคลมีปกติกล่าวสิ่งที่ได้รู้แล้ว  ว่าได้รู้แล้ว  ๑

นี้แล โวหาร ๔ อย่างที่ พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ผู้ทรงรู้  ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้โดยชอบแล้ว. ก็จิตของท่านรู้อย่างไร เห็นอย่างไร จึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย   เพราะไม่ยึดมั่นใน โวหารทั้ง ๔ เหล่านี้.

การพยากรณ์อรหัตผลที่พระพุทธเจ้ารับรอง

[๑๖๘]  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว     ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสังโยชน์ในภพแล้ว พ้นวิเศษแล้ว เพราะรู้โดยชอบ จึงมีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่ยินดีไม่ยินร้าย ไม่ถูกตัณหาและทิฏฐิอาศัย ไม่ติดใจ ในสิ่งที่ได้เห็นแล้ว หลุดพ้นแล้ว พรากออกได้แล้ว มีจิตที่ถูกทำให้ปราศจากเขตแดนแล้วอยู่  ข้าพเจ้าจะไม่ยินดี ไม่ยินร้าย....ในสิ่งที่ได้ยินแล้วแล...ข้าพเจ้าจะไม่ยินดี  ไม่ยินร้าย...ในสิ่งที่ได้ทราบแล้วแล...ข้าพเจ้า จะไม่ยินดี ไม่ยินร้าย ไม่ถูก ตัณหา และ ทิฏฐิ อาศัย  ไม่ติดใจ สิ่งที่ได้รู้แล้วแล  หลุดพ้นแล้ว พรากออกได้แล้ว มีจิตที่ถูกทำให้ปราศจากเขตแดนแล้วอยู่  ดูก่อนท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้า ผู้รู้อยู่  เห็นอยู่อย่างนี้แล หลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่นในโวหารทั้ง ๔ เหล่านี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำกล่าวของภิกษุนั้น เธอทั้งหลายควรชมเชย ควรอนุโมทนา ว่า สาธุ.
 
ครั้นแล้วก็ควรถามปัญหาสูงขึ้นไปอีกว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ชอบแล้ว ๕ ประการ๕ ประการคืออะไร   คือ:-
อุปาทานขันธ์   คือ  รูป   ๑
อุปาทานขันธ์   คือ  เวทนา  ๑
อุปาทานขันธ์   คือ  สัญญา ๑
อุปาทานขันธ์   คือ  สังขาร  ๑
อุปาทานขันธ์   คือ  วิญญาณ  ๑

ดูก่อนท่านผู้มีอายุ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เหล่านี้แล  พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้โดยชอบแล้ว.ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่อย่างไร เห็นอยู่อย่างไร จึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น ในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เหล่านี้.

[๑๖๙]  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว  ปลงภาระได้แล้ว  บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสังโยชน์ในภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ จึงมีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้ารู้แจ้งรูปแล้วแลว่าไม่มีกำลัง ปราศจากความน่ารัก ไม่น่าชื่นใจ จึงทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นไป เพราะสำรอก เพราะดับ เพราะสละ เพราะสลัดทิ้งซึ่งอุปาทานขันธ์ ที่ยึดมั่นในรูป  และอนุสัยคือความตั้งใจ และความยึดมั่นในรูปได้ ข้าพเจ้ารู้แจ้งเวทนาแล้วแลว่า..ข้าพเจ้ารู้แจ้งสัญญาแล้วแลว่า...ข้าพเจ้ารู้แจ้งสังขารแล้วแลว่า...ข้าพเจ้ารู้แจ้งวิญญาณแล้วแลว่า ไม่มีกำลัง ปราศจากความน่ารัก ไม่น่าชื่นใจ จึงทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นไป เพราะสำรอก เพราะดับ เพราะสละ เพราะสลัดทิ้ง   ซึ่งอุปาทานขันธ์ ที่ยึดมั่น วิญญาณ และ อนุสัย คือความตั้งใจ และความยึดมั่นในวิญญาณ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้า ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้ พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เหล่านี้. 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำที่ภิกษุนั้นกล่าวแล้ว เธอทั้งหลายควรชื่นชม ควรอนุโมทนาว่า สาธุ 

ครั้นแล้ว  ควรถามปัญหาให้ยิ่งในรูปอีกว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น ทรงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัส ธาตุ ไว้๖ อย่างโดยชอบ  ธาตุ ๖ อย่าง  คืออะไร คือ ปฐวีธาตุ ๑. อาโปธาตุ ๑.เตโชธาตุ ๑ วาโยธาตุ ๑ อากาสธาตุ ๑ วิญาณธาตุ ๑ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ธาตุ ๖ อย่างเหล่านี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ทรงเห็น เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสไว้โดยชอบแล้ว. ก็จิตของท่านผู้มีอายุ  ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไร จึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่นในธาตุ ๖ เหล่านี้.

[๑๗๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสังโยชน์ในภพแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ จึงมีธรรมอันสมควรพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าเข้าถึง ปฐวีธาตุแล โดยความเป็นอนัตตา และไม่ได้เข้าถึงอัตตา อาศัย ปฐวีธาตุ และทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นไป เพราะสำรอก เพราะดับ เพราะสละ เพราะสลัดทิ้ง ซึ่ง อุปาทานขันธ์ ที่ยึดมั่นอาศัย ปฐวีธาตุและ อนุสัย   คือความตั้งใจ และความยึดมัน (ในปฐวีธาตุ). ข้าพเจ้าเข้าถึงอาโปธาตุ  แล  โดยความเป็นอนัตตา....ข้าพเจ้าเข้าถึง เตโชธาตุ แล โดยความเป็น อนัตตา.... ข้าพเจ้าเข้าถึง วาโยธาตุ แล โดยความเป็นอนัตตา.... ข้าพเจ้าเข้าถึง อากาสธาตุ แล โดยความเป็น อนัตตา....ข้าพเจ้าเข้าถึง วิญญาณธาตุ แล โดยความเป็น อนัตตา ไม่ได้เข้าถึงอัตตา อาศัย วิญญาณธาตุ และรู้ชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นไป เพราะสำรอก เพราะดับ เพราะสละ  เพราะสลัดทิ้ง  ซึ่ง อุปาทานขันธ์ทั้งหลายที่ยึดมั่น อันอาศัย  วิญญาณธาตุ และ อนุสัย คือความตั้งใจ และความยึดมั่นในวิญญาณ  ดูก่อนท่านผู้มีอายุ   จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ ผู้เห็นอยู่อย่างนี้แล พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น ในธาตุ ๖ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำที่ภิกษุนั้นกล่าวแล้ว เธอทั้งหลาย ควรชื่นชม ควรอนุโมทนาว่า สาธุ

ครั้นแล้ว ควรถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่า ดูก่อนผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ผู้ทรงรู้  ทรงเห็น ทรงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัส อายตนะทั้งภายในภายนอก ๖ อย่างเหล่านี้แลไว้ โดยชอบ. ๖ อย่างคืออะไร ?  คือ
จักษุและรูป ๑  โสตะและเสียง ๑  ฆานะและกลิ่น ๑  ชิวหาและรส ๑  กายและโผฏฐัพพะ ๑   มโนและธรรม ๑

ดูก่อนท่านผู้มีอายุ อายตนะทั้งภายใน และภายนอก ๖ อย่างเหล่านี้แล พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ผู้ทรงรู้ ทรงเห็น ทรงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสไว้โดยชอบแล้ว. ก็จิต ของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไร จึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่น ใน อายตนะ ๖เหล่านี้ ทั้งภายใน  และภายนอก.

[๑๗๑]  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสังโยชน์ในภพแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ  จึงมีธรรมอันสมควรพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นไป เพราะสำรอก เพราะดับ เพราะสละ เพราะสลัดทิ้งซึ่งความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะเยอทะยาน อุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่น และอนุสัย คือ ความตั้งใจและความเชื่อมั่นในจักษุ ในรูป ในจักษุวิญญาณ (และ) ในธรรมที่จะพึงทราบได้ด้วยจักษุวิญญาณ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ   ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า....ในโสตะในเสียง  ในโสตวิญญาณ...ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า...ในฆานะ ในกลิ่น ในฆานวิญญาณ....ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า...ในชิวหา ในรส ในชิวหาวิญญาณ....ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า...ในกาย ในโผฏฐัพพะ ในกายวิญญาณ....ข้าพเจ้ารู้ชัดว่า จิตของข้าพเจ้าหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นไป เพราะสำรอก เพราะคับ เพราะสละ เพราะสลัดทิ้ง ซึ่งความพอใจ ความกำหนัด ความเพลิดเพลิน ความทะเยอทะยาน อุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่น (และ) อนุสัย คือความตั้งใจ และความเชื่อมั่น ในมนะ ในธรรมารมณ์ (และ) ในธรรมทั้งหลายที่พึงรู้ได้ ด้วยมโนวิญญาณ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้า ผู้รู้อยู่ ผู้เห็นอยู่อย่างนี้แลจึงหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ยึดมั่นในอายตนะ ๖ ทั้งภายในและภายนอก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายควรชื่นชม อนุโมทนา คำที่ภิกษุนั้นกล่าวแล้วว่า สาธุ.

ครั้นแล้ว ก็ควรถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปอีกว่าเมื่อท่านผู้มีอายุรู้อยู่ เห็นอยู่อย่างไร จึงถอนอนุสัย คือ   อหังการ และ มมังการ ในกายอันมีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งหมด ที่เป็นภายนอกออกได้ด้วยดี.

[๑๗๒]  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว   ปลงภาระลงได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้วโดยลำดับ สิ้นสังโยชน์ในภพแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ จึงมีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เมื่อก่อนข้าพเจ้าเป็นผู้ครองเรือน  ยังเป็นผู้ไม่รู้ พระตถาคตบ้าง สาวกของพระตถาคตบ้างแสดงธรรมแก่ข้าพเจ้านั้น ข้าพเจ้าฟังธรรมนั้นแล้ว จึงได้ศรัทธาในพระตถาคต. ข้าพเจ้านั้น ประกอบด้วยการได้ศรัทธานั้น จึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า    ฆราวาสดับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นช่องว่าง เรายังอยู่ครองเรือน จะพระพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่เขาขัดแล้ว นี้ไม่ใช่ทำได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ แล้วออกจากเรือน บวชเป็น อนาคาริก เถิด.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุ สมัยต่อมา  ข้าพเจ้านั้นแล จึงละโภคสมบัติ น้อยบ้าง มากบ้างละวงศ์ญาติ เล็กบ้าง ใหญ่บ้าง ปลงผมและหนวดนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์แล้วออกจากเรือน บวชเป็น อนาคาริก. ข้าพเจ้านั้นเป็นผู้บวชแล้วอย่างนี้ ถึงพร้อมด้วย สิกขา และ สาชีพ ของภิกษุทั้งหลาย เพราะละ ปาณาติบาตจึงเป็นผู้เว้นขาดจากปาณาติบาต วางอาชญา วางศัสตรา มีความละอาย มีความเอ็นดูได้เป็นผู้อนุเคราะห์เกื้อกูลภูตและสรรพสัตว์. เพราะละ อทินนาทาน จึงเป็นผู้เว้นขาดจากอทินนาทาน ถือเอาแต่ของที่เขาให้ หวังแต่ของที่เขาให้ มีตนเป็นคนสะอาด ไม่ใช่ขโมยอยู่. เพราะละกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์  จึงเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์ พระพฤติห่างไกล (และ) เว้นจากเมถุน อันเป็นธรรมของชาวบ้าน. เพราะละมุสาวาท จึงเป็นผู้เว้นขาดจากมุสาวาท เป็นผู้กล่าวคำจริง ดำรงอยู่ในคำสัตย์เป็นหลักฐาน เชื่อถือได้ ไม่พูดลวงโลก. เพราะ ละวาจาส่อเสียด  จึงเป็นผู้เว้นขาดจากวาจาส่อเสียด  ยินจากฝ่ายนี้แล้ว ไม่ (นำไป) บอกฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้หรือได้ยินจากฝ่ายโน้นแล้ว ไม่ (นำไป) บอกฝ่ายนี้ เพื่อทำลายฝ่ายโน้น ทั้งนี้เมื่อเขาแตกกันแล้ว ก็สมานให้ดีกันหรือเมื่อเขาดีกันอยู่ ก็ส่งเสริมชอบความพร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนที่พร้อมเพรียงกัน  ชื่นชมในคนที่พร้อมเพรียงกันเป็นผู้กล่าววาจาสมานสามัคคีกัน. เพราะละวาจาหยาบ จึงเป็นผู้เว้นขาดจากวาจาหยาบ เป็นผู้กล่าววาจาซึ่งไม่มีโทษ เสนาะโสต ชวนให้รักใคร่  จับใจเป็นภาษาของคนเมืองที่คนส่วนมากปรารถนาและชอบใจ.  เพราะละการเจรจาเพ้อเจ้อ จึงเป็นผู้เว้นขาดจากการเจรจาเพ้อเจ้อ กล่าวถูกกาละ กล่าวตามเป็นจริง กล่าวอรรถ กล่าวธรรม กล่าววินัย เป็นผู้กล่าววาจามีหลักฐาน มีที่อ้าง มีขอบเขต ประกอบด้วยประโยชน์ ตามกาล  ข้าพเจ้านั้น ได้เป็นผู้เว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม เป็นผุ้ฉันหนเดียว งดฉันในเวลาราตรีเว้นขาดจากการฉันในเวลาวิกาล เป็นผู้เว้นขาดจากการฟ้อนรำ ขับร้อง เล่นดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกต่อกุศล เป็นผู้เว้นขาดจากการทัดทรงและตกแต่ง (แต่งตัว) ด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องประเทืองผิว  อันเป็นฐานะแห่งการแต่งตัว เป็นผู้เว้นขาดจากการนั่งนอน บนที่นั่งที่นอนอันสูงและใหญ่  เป็นผู้เว้นขาดจากการรับทองและเงิน เป็นผู้เว้นขาดจากการรับข้าวเปลือกดิบ เป็นผู้เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ เป็นผู้เว้นขาดจากการรับสตรีและเด็กสาว เป็นผู้เว้นขาดจากการรับทาสหญิงและทาสชาย เป็นผู้เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร เป็นผู้เว้นขาดจากรับช้าง โค ม้า และลา เป็นผู้เว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน เป็นผู้เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้ เป็นผู้เว้นขาดจากการซื้อและขาย เป็นผู้เว้นขาดจากการโกงด้วยตราชั่ง โกงด้วยของปลอม. และโกงด้วยเครื่องตวงวัด เป็นผู้เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง เป็นผู้เว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจำ การตีชิง การปล้น และการขู่กรรโชก ข้าพเจ้านั้น ได้เป็นผู้สันโดษด้วยจีวร เป็นเครื่องบริหารกาย และบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง  จะไปยังที่ใดๆ ก็ย่อมถือเอา (บริขาร) ไปได้หมด เหมือนนกมีแต่ปีกจะบินไปยังที่ใด ๆ ก็ย่อมมีเฉพาะปีกของตนเท่านั้นเป็นภาระบินไป ฉะนั้น.

[๑๗๓]  ข้าพเจ้านั้น ประกอบด้วย สีลขันธ์ อันเป็นอริยะนี้แล้วจึงได้เสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน ข้าพเจ้านั้น เห็นรูปด้วยจักษุแล้วไม่เป็นผู้ถือเอาโดย นิมิต และโดย อนุพยัญชนะ ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์อันมีการเห็นรูปเป็นเหตุ ซึ่งบุคคลผู้เมื่อไม่สำรวมอยู่  จะพึงถูกอกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌา และ โทมนัส ครอบงำได้ รักษา จักขุนทรีย์ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์แล้ว ได้ยินเสียงด้วยโสตะแล้ว... ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว....ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว....ถูกต้องโผฎฐัพพะด้วยกายแล้ว รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่เป็นผู้ถือเอา โดย นิมิต และโดย อนุพยัญชนะปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์  อันมีการรู้ธรรมารมณ์เป็นเหตุ ซึ่งบุคคลผู้เมื่อไม่สำรวมอยู่ จะพึงถูกอกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌา และ โทมนัส ครอบงำได้ รักษามนินทรีย์  ถึงความสำรวมในมนินทรีย์แล้ว.

[๑๗๔]  ข้าพเจ้านั้น ประกอบด้วยอินทรีย์สังวร อันเป็นอริยะนี้แล้วจึงได้เสวยสุข อันไม่เจือทุกข์ภายใน  ได้เป็นผู้ทำความรู้สึกตัวในเวลาก้าวไปและถอยกลับ ในเวลาแลดู และเหลียวดู ในเวลางอแขน และเหยียดแขนในเวลาทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในเวลาฉัน ดื่ม เคี้ยวและลิ้ม ในเวลาถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ในเวลาเดิน ยืน นั่ง นอนหลับ ตื่น พูด และนิ่ง.

[๑๗๕]  ข้าพเจ้านั้นประกอบด้วย สีลขันธ์ อันเป็นอริยะนี้ ประกอบด้วย อินทรีย์สังวร อันเป็นอริยะนี้  ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะอันเป็นอริยะนี้แล้วจึงได้พอใจ เสนาสนะอันสงัด คือป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำในภูเขา ป่าช้า ป่าชัฎ ที่แจ้ง และลอมฟาง.
ข้าพเจ้านั้น กลับจากบิณฑบาต ภายหลังฉันอาหารแล้ว นั่งคู้บัลลังก์(นั่งขัดสมาธิ) ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า. ข้าพเจ้านั้นละอภิชฌาในโลกได้แล้ว มีใจปราศจากอภิชฌาอยู่ ชื่อว่าได้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอภิชฌา ละความชั่ว คือพยาบาทแล้ว เป็นผู้มีจิตไม่พยาบาท อนุเคราะห์เกื้อกูล ในสรรพสัตว์และภูต ชื่อว่าได้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความชั่วคือพยาบาท ละ ถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้มีจิตปราศจาก ถีนมิทธะ มี อาโลกสัญญา มีสติสัมปชัญญะ อยู่ ชื่อว่าได้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก ถีนมิทธะ ละ อุทธัจจะกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบภายในอยู่. ชื่อว่า ได้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก อุทธัจจกุกกุจจะ ละ วิจิกิจฉา แล้วเป็นผู้ข้าม ความสงสัยได้ ไม่มีคำถามแสดงความสงสัย ในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ชื่อว่า ได้ชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉา.

[๑๗๖]  ข้าพเจ้านั้น ครั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ อันเป็นเครื่องทำ ใจให้เศร้าหมอง บั่นทอนปัญญาได้แล้ว จึงได้สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม ได้เข้าปฐมฌาน มี วิตก มีวิจาร มีปีติสุข เกิดแต่วิเวก ได้เข้าทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร ไม่มีวิตก และไม่มีวิจาร มีปีติ และสุข เกิดแต่สมาธิอยู่ได้เป็นผู้วางเฉย เพราะหน่ายปีติ มีสติสัมปชัญญะอยู่   และเสวยสุขด้วยนามกาย ได้เข้าตติยฌาน....ได้เข้าจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละทุกข์ละสุข และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้  มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาอยู่.

[๑๗๗]  ข้าพเจ้านั้น เมื่อจิตเป็น สมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่องไม่มีกิเลสดุจเนิน ปราศจาก อุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงานดำรงอยู่แล้ว ถึงความไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว จึงได้น้อมจิต เพื่ออาสวักขยญาณ. ข้าพเจ้านั้น ได้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ความดับทุกข์นี้ปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ นี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ความดับอาสวะ นี้ปฎิปทาให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อข้าพเจ้านั้น รู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นแม้จาก กามาสวะ แม้จาก ภวาสวะ แม้จาก อวิชชาสวะ  เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ได้มีญาณรู้ว่า  เราหลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว  กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว  กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เมื่อข้าพเจ้ารู้อยู่ เห็นอยู่ อย่างนี้แล้วอนุสัย คือ อหังการ และ มมังการ ในกายที่มีวิญญาณนี้ และในนิมิตทั้งหมด ในภายนอก เป็นอันข้าพเจ้าถอนขึ้นแล้วด้วยดี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายคำที่ภิกษุนั้นกล่าวแล้ว เธอทั้งหลายควรชื่นชม ควรอนุโมทนาว่า สาธุ.

ครั้นแล้ว พึงกล่าวแก่ภิกษุรูปนั้นอย่างนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เป็นลาภของข้าพเจ้าทั้งหลาย เป็นโชคของข้าพเจ้าทั้งหลายที่ได้เห็นท่านผู้มีอายุ  ผู้เป็นสพรหมจารีเช่นท่าน.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นต่างชื่นชม ยินดีพระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคเจ้าแล.

-วัดป่าสามแยก ศึกษาพระธรรมวินัย เบิกบุญ โอนบุญ อกหัก โดนของ ธรรมะ ธรรมทาน คลายเครียด เจริญรุ่งเรือง //www.samyaek.com

-เวบพี่ดาบตำรวจต้น http://www.piyavat.com

-Facebook พุทธพจน์ //www.facebook.com/login.php?next=http%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fgroups%2FBuddhaspeech

-Download free พระไตรปิฏกพร้อมหัวข้อธรรมสำหรับ apple ipad & iphone ดูรายละเอียดได้ที่เวบ //www.tripitaka91.com ส่วนAndroid ประมาณเดือนมกราคมค่ะ

****หมายเหตุ "แสดงธรรมวันอาสาฬหบูชา ปี 2555" (//youtu.be/l52iDWt3V5Q ) นาทีที่ 6:01:55 ..เป็นต้นไป หลวงปู่ท่านได้พูดถึง ทนายชนอณุพงศ์ ชัยธนาวิรัตน์ ท่านใดมีปัญหาด้านกฏหมาย,คดีความต่างๆ ปรึกษาได้ที่ ทนายชนอณุพงศ์ ชัยธนาวิรัตน์ ที่เมล์ pasponglawyer@hotmail.com ,เบอร์โทรที่ 0818060981 , 0867809391 ****




 

Create Date : 23 ธันวาคม 2555
4 comments
Last Update : 23 ธันวาคม 2555 17:47:49 น.
Counter : 1821 Pageviews.

 

ทุกๆ วันเสาร์เวลาประเทศไทย โดยประมาณ 20:30 น.มีการถ่ายทอดสดไปทั่วโลก เทศน์โดยหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล จากสำนักสงฆ์ป่าสามแยก

รับชมได้ที่
ดูวีดีโอช่องที่ 1 (สำหรับผู้ที่อินเตอร์เน็ทช้า: 56k)
www.samyaek.com

ดูวีดีโอช่องที่ 2 (สำหรับผู้ที่อินเตอร์เน็ทเร็ว: 212k)
www.samyaek.com/?channel=2

สำหรับท่านที่มีปัญหาดูถ่ายทอดสดไม่ได้
www.samyaek.com/board2/index.php?topic=2303.0

การใช้ iPad, iPhone, iPod touch ดูถ่ายทอดสด
www.samyaek.com/board2/index.php?topic=5531.0

วิธีใช้ Tablet ตระกูล Android ดูถ่ายทอดสด
www.samyaek.com/board2/index.php?topic=5512.0

สมาชิกท่านใดมีปัญหาในการรับชม
(ปัญหาอันเกิดจากคอมพิวเตอร์ของท่านเอง)

หากได้แก้ไขตามลิงค์ต่างๆ ข้างต้นแล้ว ก็ยังไม่สามารถรับชมได้
ให้ท่านติดต่อสอบถามได้ที่ คุณชัยณรงค์ รัตนเกษมสุข (เม้ง)
Dtac : 081-554-1699 , AIS 081-935-1651
e-mail : macmagic99@hotmail.com

 

โดย: Budratsa 23 ธันวาคม 2555 17:51:54 น.  

 

นี่หรือเปล่าที่เหยียบ ทำลายพระพุทธรูปน่ะ ยมบาลรอรับตัวอยู่แล้ว

 

โดย: ใจจริง IP: 115.87.176.85 23 ธันวาคม 2555 20:36:11 น.  

 

สวัสดีค่ะคุณใจจริง ลองศึกษาข้างนี้ดูน่ะค่ะ

-การเกิดขึ้นของพระพุทธรูปครั้งแรกในโลก
//www.samyaek.com/board2/index.php?topic=1326.msg11867#msg11867

-รู้เรื่องพระพุทธรูปตามความเป็นจริง , พระพุทธรูปไม่ใช่วัตถุในพุทธศานา
//www.samyaek.com/board2/index.php?topic=1175.msg12112#msg12112

-อันนี้เป็นยูทูป ว่าทำไมถึงห้ามกราบพุทธรูป (คำสั่งถึงศิษย์วัดสามแยกทุกคนให้ เลิกทุบเผาทำลายวัตถุอัปมงคล )
//youtu.be/huTHJXwyuI4

 

โดย: Budratsa 23 ธันวาคม 2555 22:27:36 น.  

 

สวัสดีปีใหม่ค่ะคุณบุษ..

ขอให้มีความสุขมากๆในทุกๆวัน..

ขอให้มีสุขภาพแข็งแรงตลอดไป

และมีรักที่สมหวัง ผู้คนรักใคร่ตลอดไปด้วยค่ะ

 

โดย: คนผ่านทางมาเจอ 1 มกราคม 2556 21:25:50 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Budratsa
Location :
พิจิตร Switzerland

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับทุกๆคนค่ะ
"ดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์ (พุทธพจน์) มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา" เล่มที่ ๑๓ : พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ ๓๒๐
Friends' blogs
[Add Budratsa's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.