"ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอด้วยพระตถาคตย่อมไม่มี พระพุทธเจ้าแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยการกล่าวคำจริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี....." "พระไตรปิฏก เป็นตาที่วิเศษยิ่ง, เป็นหูที่วิเศษยิ่ง, เป็นจมูกที่วิเศษยิ่ง, เป็นลิ้นที่วิเศษยิ่ง, เป็นกายที่วิเศษยิ่ง, เป็นใจที่วิเศษยิ่ง, เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง, เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง, เป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษยิ่ง, เป็นแผนที่และป้ายบอกทางที่วิเศษยิ่ง, เป็นแสงสว่างส่องทางสู่นิพพานที่วิเศษยิ่ง"จากวัดสามแยก
Group Blog
 
 
กุมภาพันธ์ 2555
 
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
26272829 
 
2 กุมภาพันธ์ 2555
 
All Blogs
 
พระไตรปิฏก เป็นสิ่งที่วิเศษยิ่ง

พระไตรปิฏก เป็นสิ่งที่วิเศษยิ่ง


พระไตรปิฎก เป็นตาที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฎก เป็นหูที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฎก เป็นจมูกที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฎก เป็นลิ้นที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฎก เป็นกายที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฎก เป็นใจที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฎก เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฎก เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฎก เป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฎก เป็นแผนที่และป้ายบอกทางที่วิเศษยิ่ง
พระไตรปิฎก เป็นแสงสว่างส่องทางสู่นิพพานที่วิเศษยิ่ง


จากวัดสามแยก


๑.พระไตรปิฎก เป็นตาวิเศษอันยิ่ง บุคคลไดสาธยายพระไตรปิฎกแล้วสามารถที่จะรู้ได้ว่าสิ่งใดควรสิ่งใดไม่ควรทำ ทำให้เป็นสัมมาทิฎฐินำไปสู่ความสำเร็จและเข้าถึงความเป็นอริยบุคคลคือตั้งแต่ โสดาบัน สกทาคามี อนาคามีและอรหันต์ เข้าสู่นิพพาน (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐)>>


๒.พระไตรปิฎก เป็นหูที่วิเศษอันยิ่ง ฟังธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่สอนให้บุคคลนั้นดำรงค์ชีวิตด้วยความถูกต้องที่เป็นสัมมาทิฎฐิ อย่างน้อยไม่ทำบาปทำแต่กุศล ได้ฟังแต่สิ่งที่เป็นมงคล การเป็นก็ดี สุขภาพจิตก็ดี มีจิตใจที่ผ่องใส เมื่อจิตใจผ่องใสความคิดก็ดี ความจำก็ดีขึ้นมีสติไม่ทำให้เกิดอกุศล หน้าตาผ่องใสเป็นต้น (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔)>>


๓.พระไตรปิฎก เป็นจมูกที่วิเศษอันยิ่ง กลิ่นหอมที่ว่าหอมแม้จะลอยตามลมไปได้ ๑๐๐๐ โยชน์ แต่ไม่สามารถที่จะทวนลมได้ แต่กลิ่นของความดี กุศลนั้นสามารถจะทวนลมและกระจายออกไปได้ทุกทิศ จะเป็นมีจมูกที่ได้กลิ่นของกุศลที่กระจอนไปทุกทิศ และไม่หลงติดอยู่กับกลิ่นหอมอย่างอื่น (พระไตรปิฎกเล่ม ๙และ ๑๖)>>


.๔.พระไตรปิฎกเป็นลิ้นที่วิเศษอันยิ่ง ลิ้นคนเราแม้จะจำรสต่างๆได้ ไม่ช้าก็ลืมมีความสุขชั่วคาว ทำให้คนขาดสติ แต่ลิ้นที่ลิ้มรสของพระธรรมนั้นไม่มีความอิ่มในรสของพระธรรม เมื่อคนเราได้รับลิ้มรสของพระธรรมแล้ว จะทำให้ร่างกายผ่องใสทั้งภายในและภายนอก และจะช่วยรักษาโรคได้ทุกชนิด (พระไตรปิฎกเล่ม ๙และ ๑๖)>>


๕.พระไตรปิฎก เป็นกายที่วิเศษอันยิ่ง เมื่อบุคคลได้สาธยายแล้วทำให้มีสภาพที่ผ่องใสทั้งภายในและภายนอก มีกายที่เบาไม่เชื่องช้า เลือดลมในตัวเรา ที่เรียกว่าธาตุ ๔ นั้นก็สมบูรณ์ ทำให้มีอายุยิ่งยืนนาน สามารถหายจากโรคที่เกิดแต่กรรมได้ (พระไตรปิฎกเล่ม ๙และ ๑๖)>>


๖.พระไตรปิฎก เป็นใจที่วิเศษอันยิ่ง ใจดี ใจผ่องใส ใจเป็นหัวหน้า เมื่อใจเบิกบาน จิตใจเป็นกุศลก็สามารถเข้าถึงความเป็น โสดาบัน สกทาคามี อนาคามี และพระอรหันต์ในที่สุด(พระไตรปิฎกเล่ม ๙และ ๑๖)>>


๗.พระไตรปิฎก เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษอันยิ่ง สามารถที่จะสอนให้เรารู้ว่าอะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว สอนให้เรานำเอาหลักธรรมไปประพฤติปฎิบัติ อันเป็นทางที่มีความสำเร็จในชีวิต นำทางไปเพื่อเข้าถึงพระนิพพาน (พระไตรปิฎกเล่ม ๙, ๑๖,๓๖)>>


๘.พระไตรปิฎก เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษอันยิ่ง สอนบุคคลไม่เลือกพ่อแม่ไม่ได้หวังค่าตอบแทนจากลูกฉันใด พระไตรปิฎกเป็นผู้ที่สอนให้เรารู้ทุกอย่างที่เรายังไม่เคยรู้ นำทางให้เราเข้าถึงความเป็นผู้ที่ยิ่งใหญ่ แล้วแต่ทางดำเนินชีวิตอันทำให้ถึงจุดหมายปลายทางคือพระนิพพาน(พระไตรปิฎกเล่ม ๑๒และ ๑๔)>>


๙.พระไตรปิฎกเป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษอันยิ่ง เมื่อบุคคลได้สาธยายก็จะมีแต่มิตรนำทางไปสู่ที่ดี นำชีวิตไปสู่ความสุขทั้งตัวเองและครอบครัวและสังคมที่ดี นำทางไปแต่สู่ความเจริญรุ่งเรืองทั้งในทุกสถานในกาลทุกเมื่อ (พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖) >>


การสาธยายพระไตรปิฎก>>จึงถือได้ว่าเป็นการได้เข้าเฝ้าพระศาสดาต่อเบื้องพระพักตร์ ทั้งนี้เพราะในครั้งหนึ่งพระศาสดาได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า :-


"ดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์ (พุทธพจน์) มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา"


อ้างอิง >> มมร ชุด 91 เล่ม เล่มที่ ๑๓ : พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ ๓๒๐


ที่มา (ยินดีในบุญกับน้องฏาด้วยค่ะ) : //www.bloggang.com/viewblog.php?id=boutiquehome&group=3&page=1


ศึกษาพระไตรปิฏกที่เวบสามแยก www.Samyaek.com
หรือที่.. //www.dhammahome.com/front/tipitaka/list.php




Create Date : 02 กุมภาพันธ์ 2555
Last Update : 5 กุมภาพันธ์ 2555 2:08:43 น. 0 comments
Counter : 527 Pageviews.

Budratsa
Location :
พิจิตร Switzerland

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับทุกๆคนค่ะ
"ดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์ (พุทธพจน์) มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา" เล่มที่ ๑๓ : พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ ๓๒๐
Friends' blogs
[Add Budratsa's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.