"ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอด้วยพระตถาคตย่อมไม่มี พระพุทธเจ้าแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยการกล่าวคำจริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี....." "พระไตรปิฏก เป็นตาที่วิเศษยิ่ง, เป็นหูที่วิเศษยิ่ง, เป็นจมูกที่วิเศษยิ่ง, เป็นลิ้นที่วิเศษยิ่ง, เป็นกายที่วิเศษยิ่ง, เป็นใจที่วิเศษยิ่ง, เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง, เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง, เป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษยิ่ง, เป็นแผนที่และป้ายบอกทางที่วิเศษยิ่ง, เป็นแสงสว่างส่องทางสู่นิพพานที่วิเศษยิ่ง"จากวัดสามแยก
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2556
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
 
3 พฤศจิกายน 2556
 
All Blogs
 

ให้ทุกคนวิเคราะห์พระเกษมได้ตลอดเวลา โดยหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล 7กันยายน 2556

เนื้อหา บางส่วนจากการแสดงธรรม ชุดนี้
      ๑.  ภิกษุไม่ควรใช้สถานที่ ที่พระสร้างขึ้นแบบผิดวินัย
      ๒.  พึงเห็นโทษในอาบัติเล็กๆน้อยเหมือนอาบัติใหญ่
      ๓.  การเกิดบ่อยๆเป็นทุกข์นักหนา
      ๔.  พระพุทธเจ้าห้ามคบหาสมาคมกับผู้ละเมิดศีล
      ๕.  จำนวนศีลที่จะรักษาไม่มีที่สิ้นสุด
     ฯลฯ




-ภิกษุไม่ควรใช้สถานที่ ที่พระสร้างขึ้นแบบผิดวินัย(อ.โกสิยาวรรคสิกขาบทที่9)เล่ม3หน้า867,969
-พึงเห็นโทษในอาบัติเล็กๆน้อยเหมือนอาบัติใหญ่(อ.เมฆิยสูตร)เล่ม44หน้า396
-ภิกษุเก็บเอามีค่าไว้คืนเจ้าของได้ ถ้าอยู่ในวัดหรือที่พัก(รัตนวรรคสิกขาบทที่2)เล่ม4หน้า814
-พระพุทธเจ้าเปรียบเทียบพรหมจรรย์กับต้นไม้(มหาสาโรปมสูตร)เล่ม18หน้า546
-มีศีลที่ไม่บริสุทธิ์ กรรมฐานย่อมไม่เจริญ(ปฐมปาราชิกวรรณนา)เล่ม1หน้า763
-การเกิดบ่อยๆเป็นทุกข์นักหนา(เรื่องปฐมโพธิกาล)เล่ม42หน้า179
-พระพุทธเจ้าห้ามคบหาสมาคมกับผู้ละเมิดศีล(เรื่องการถือนิสัย)เล่ม6หน้า351
-ความยากไปตามลำดับ ในคำสอนของพระพุทธเจ้า(เรื่องนาคราชชื่อเอรกปัตตะ)เล่ม42หน้า329
-การปฏบัติผิดๆ ต่อสงฆ์ เป็นบาปมากๆ(อ.สังคีติสูตร)เล่ม16หน้า308
-ผู้ใช้เวทมนต์ทำลายกองทัพข้าศึกได้ ก็เคยมีมาแล้ว(ปัพพโตปมสูตร)เล่ม24หน้า524
-เวลาในการสร้างบารมีเป็นผู้ยิ่งใหญ่ไปตามลำดับ(อ.ขัคควิสาณสูตร)เล่ม46หน้า105,111
-ความสุขจากการตรัสรู้ ยอดเยี่ยมกว่าสุขใดๆทั้งหมด(เรื่องเด็กหญิงฯ)เล่ม42หน้า371-372
-พระอรหันต์ก็มีต้องอาบัติและควรออกจากอาบัติ(อ.ทุติยเสขสูตร)เล่ม34หน้า457
-จำนวนศีลที่จะรักษาไม่มีที่สิ้นสุด(อ.สีลมยญาณนิทเทส)เล่ม68หน้า552
-ในคุรุธรรม8ประการ ห้ามภิกษุณีสั่งสอนภิกษุ(ภิกษุณีขันธกะ)เล่ม9หน้า444-445
-ห้ามภิกษุณีสวมเสื้อผ้าเหมือนพวกคฤหัสถ์(ภิกษุณีขันธกะ)เล่ม9หน้า465


-ภิกษุไม่ควรใช้สถานที่ ที่พระสร้างขึ้นแบบผิดวินัย(อ.โกสิยาวรรคสิกขาบทที่9)เล่ม3หน้า867,969

หน้า867
ก็ถ้าว่า ภิกษุบางรูปไม่เข้าใจ รับสระหรือให้สร้างสระโดยอกัปปิยโวหาร,สระนั้นพวกภิกษุไม่ควรบริโภคใช้สอย.แม้กัปปิยภัณฑ์ที่อาศัยสระนั้นได้มา ก็เป็นอกัปปิยะเหมือนกัน.ถ้าเจ้าของ(สระ)บุตรและธิดาของเขา หรือใครๆ อื่นผู้เกิดในสกุลวงศ์ของเขา ทราบว่า ภิกษุทั้งหลายสละแล้ว จึงถวายด้วยกัปปิยโวหารใหม่,สระนั้น ควร.เมื่อสกุลวงศ์ของเขาขาดสูญ ผู้ใดเป็นเจ้าของชนบทนั้น,ผู้นั้นริบเอาแล้วถวายคืน เหมือนราชมเหสีนามว่า อนุฬา ทรงริบเอาฝายน้ำที่ภิกษุในจิตตลดาบรรพตชักมาแล้ว ถวายคืนฉะนั้น,แม้อย่างนี้ก็ควร.

หน้า969

ในมหาปัจจรี ท่านกล่าวว่า ก็ภิกษุใด รับรูปิยะแล้วซื้อบาตรด้วยรูปิยะนั้น,แม้บาตรนี้ของภิกษุนั้น ก็เป็นอกัปปิยะ ไม่สมควรแม้แก่ สหธรรมิกทั้ง ๕.แต่ภิกษุนั้นอาจทำบาตรนั้น ให้เป็นกัปปิยะได้.จริงอยู่ บาตรนั้น จะเป็นกัปปิยะได้ ต่อเมื่อให้มูลค่าแก่เจ้าของมูลค่า และเมื่อให้บาตรแก่เจ้าของบาตร.ภิกษุจะให้กัปปิยภัณฑ์แล้วรับเอาไปใช้สอยสมควรอยู่.

-พึงเห็นโทษในอาบัติเล็กๆน้อยเหมือนอาบัติใหญ่(อ.เมฆิยสูตร) เล่ม44หน้า396


บทว่า อณุมตฺเตสุ วชฺเชสุ ภยทสฺสาวี ความว่า ผู้มีปกติเห็นภัยในโทษ ต่างด้วยเสขิยสิกขาบทที่ภิกษุไม่แกล้งต้อง และอกุศลจิตตุปบาท เป็นต้น ชื่อว่ามีประมาณน้อย เพราะมีประมาณเล็กน้อย.จริงอยู่ ภิกษุใดเห็นโทษมีประมาณน้อย กระทำให้เป็นเหมือนขุนเขาสิเนรุสูง ๑๐๐,๐๖๘ โยชน์ ฝ่ายภิกษุใด เห็นอาบัติเพียงทุพภาษิตซึ่งเป็นอาบัติเบากว่าอาบัติทั้งปวง กระทำให้เหมือนอาบัติปาราชิก ภิกษุแม้นี้ ชื่อว่ามีปกติเห็นภัยในโทษมีประมาณน้อย.

-ภิกษุเก็บเอามีค่าไว้คืนเจ้าของได้ ถ้าอยู่ในวัดหรือที่พัก(รัตนวรรคสิกขาบทที่2)เล่ม4หน้า814

พระอนุบัญญัติ  ๒

๑๓๓.๒.ข. อนึ่ง ภิกษุใด เก็บเอาก็ดี ให้เก็บเอาก็ดี ซึ่งรัตนะก็ดี ซึ่งของที่สมมติว่ารัตนะก็ดี เว้นไว้แต่ในวัดที่อยู่ก็ดี ในที่อยู่พักก็ดี เป็นปาจิตตีย์ และภิกษุเก็บเอาก็ดี  ให้เก็บเอาก็ดี ซึ่งรัตนะก็ดี ซึ่งของที่สมมติว่ารัตนะก็ดี ในวัดที่อยู่ก็ดี ในที่อยู่พักก็ดีแล้วพึงเก็บไว้ด้วยหมายว่า ของผู้ใด ผู้นั้นจะได้นำไป นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น.

-การเกิดบ่อยๆเป็นทุกข์นักหนา(เรื่องปฐมโพธิกาล)เล่ม42หน้า179

"เราแสวงหานายช่างผู้ทำเรือน เมื่อไม่ประสบ
จึงได้ท่องเที่ยวไปสู่สงสาร  มีชาติเป็นอเนก ความเกิด
บ่อยๆ เป็นทุกข์,
แน่ะนายช่างผู้ทำเรือน เราพบท่าน
แล้ว,ท่านจะทำเรือนอีกไม่ได้,ซี่โครงทุกซี่๒ของท่าน
เราหักเสียแล้ว ยอดเรือนเราก็รื้อเสียแล้ว,จิตของ
เราถึงธรรมปราศจากเครื่องปรุงแต่งแล้ว,เพราะเรา
บรรลุธรรมที่สิ้นตัณหาแล้ว. "


.หรือ จันทันเรือน กล่าวคือกิเลสที่เหลือทั้งหมด.

-พระพุทธเจ้าห้ามคบหาสมาคมกับผู้ละเมิดศีล(เรื่องการถือนิสัย)เล่ม6หน้า351

วิธีการถือนิสัย
สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายอยู่อาศัยภิกษุพวกอลัชชี  ไม่ช้าไม่นานเท่าไรนัก แม้หงวกเธอก็กลายเป็นพวกอลัชชี เป็นภิกษุเลวทราม ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุไม่พึงอยู่อาศัยภิกษุพวกอลัชชี รูปใดอยู่ ต้องอาบัติทุกกฏ.


-ความยากไปตามลำดับ ในคำสอนของพระพุทธเจ้า(เรื่องนาคราชชื่อเอรกปัตตะ)เล่ม42หน้า329

"มหาบพิตร ชื่อว่าความเป็นมนุษย์หาได้ยากนัก,การฟังพระสัทธรรม ก็อย่างนั้น การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า ก็หาได้ยากเหมือนกัน; เพราะว่าทั้งสามอย่างนี้ บุคคลย่อมได้โดยลำบากยากเย็น " เมื่อจะทรงแสดงธรรม ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๓.กิจฺโฉ มนุสฺสปฏิลาโภ กิจฺฉ  มจฺจาน ชีวิต
กิจฺฉ สทฺธมฺมสฺสวน กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท.

"ความได้อัตภาพเป็นมนุษย์ เป็นการยาก,ชีวิต
ของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอยู่ยาก,การฟังพระสัทธรรม
เป็นของยาก การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นการยาก."


-การปฏบัติผิดๆ ต่อสงฆ์ เป็นบาปมากๆ(อ.สังคีติสูตร)เล่ม16หน้า308

คฤหัสถ์ที่ปฏิบัติผิดในภิกษุสงฆ์ บริภาษด่าทอภิกษุสงฆ์ ย่อมไปเกิดในอบายมีนรกเป็นต้น
ดังนั้น แม้ภิกษุสงฆ์ท่านก็เรียกว่า ทักขิเณยยัคคิ ด้วยอรรถว่า ตามเผาไหม้โดยนัยก่อนเช่นกัน.


-ผู้ใช้เวทมนต์ทำลายกองทัพข้าศึกได้ ก็เคยมีมาแล้ว(ปัพพโตปมสูตร)เล่ม24หน้า524

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระราชากษัตริย์  ผู้ได้มูรธาภิเษกแล้ว ผู้เมาแล้วเพราะความเมาในความเป็นใหญ่ ผู้ถูกความกำหนัดในกามรุมแล้ว ผู้ถึงความมั่นคงในชนบท ผู้ชำนะปฐพีมณฑลอันใหญ่แล้วครอบครองอยู่ ทรงทำการรบด้วยทัพม้าแม้เหล่าใด ฯลฯ รบด้วยทัพรถแม้เหล่าใดฯลฯ รบด้วยทัพทหารเดินเท้าแม้เหล่าใด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อมรณะครอบงำอยู่ก็ไม่ใช่วิสัยที่จะทำการรบด้วยทัพทหารเดินเท้าแม้เหล่านั้น ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญในราชสกุลนี้ มหาอำมาตย์มีผู้มนต์ ซึ่งสามารถจะใช้มนต์ทำลายข้าศึกที่ยกมา ก็มีอยู่เหมือนกัน

-เวลาในการสร้างบารมีเป็นผู้ยิ่งใหญ่ไปตามลำดับ(อ.ขัคควิสาณสูตร)เล่ม46หน้า105,111

ท่านพระอานนท์นั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าทั้งหลายควรนานเท่าไร.พระองค์ตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าทั้งหลายควรนานโดยการกำหนดอย่างต่ำที่สุดถึงสี่อสงไขยและแสนกัป โดยกำหนดปานกลาง แปดอสงไขยและแสนกัป โดยการกำหนดอย่างสูง สิบหกอสงไขยและแสนกัป ประเภททั้ง ๓ นั้น พึงรู้ด้วยอำนาจแห่งพระพุทธเจ้า ผู้ปัญญาธิกะ ผู้สัทธาธิกะ และผู้วิริยาธิกะ จริงอยู่พระพุทธเจ้าผู้ปัญญาธิกะ มีศรัทธาน้อยแต่มีปัญญามาก ผู้สัทธาธิกะมีปัญญาปานกลางแต่มีศรัทธามาก ผู้วิริยาธิกะมีศรัทธาและปัญญาน้อย แต่มีความเพียรมาก.

หน้า111
ถามว่า ก็การปรารถนาเป็นพระสาวกทั้งหลายควรนานเท่าไร.
ตอบว่า การปรารถนาเป็นพระอัครสาวกทั้งสอง ควรนานหนึ่งอสงไขยและแสนกัปการปรารถนาเป็นพระอัครสาวกควรนานแสนกัป ความปรารถนาเป็นพระมารดาพระบิดา อุปัฏฐาก และพระโอรสของพระพุทธเจ้า ควรนานแสนกัปเหมือนกัน ต่ำกว่านั้นไม่ควร เหตุในการปรารถนานั้นมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นเทียว ก็พระสาวกเหล่านั้นทั้งหมดมีอภินิหารสมบูรณ์ด้วยองค์ ๒ อย่าง คือ อธิการ ๑ ความพอใจ ๑ เท่านั้น.


-ความสุขจากการตรัสรู้ ยอดเยี่ยมกว่าสุขใดๆทั้งหมด(เรื่องเด็กหญิงฯ)เล่ม42หน้า371-372

๔.เรื่องเด็กหญิงแห่งตระกูลคนใดคนหนึ่ง

พระศาสดาเสด็จในงานอาวาหมงคล


ได้ยินว่า มารดาของกุมาริกนั้นกระทำอาวาหมงคล นิมนต์พระศาสดาในวันมงคล.พระศาสดา อันหมู่แห่งภิกษุแวดล้อมเสด็จไปในที่นั้น ประทับนั่งแล้ว.หญิงสาวแม้คนนั้นแล กระทำการกรองน้ำเป็นต้น เพื่อหมู่แห่งภิกษุ เที่ยวไปๆ มาๆ อยู่. ฝ่ายสามีของนางได้ยืนแลดูนางอยู่แล้ว.เมื่อเขาแลดูอยู่ ด้วยอำนาจแห่งราคะ,กิเลสในภายในย่อมฟุ้งซ่าน.เขาถูกความไม่รู้ (ไม่รู้สึก)ครอบงำแล้ว จึงไม่บำรุงพระพุทธเจ้า,ไม่บำรุงพระมหาเถระ ๘๐,แต่ได้กระทำจิตไว้ว่า "เราจักเหยียดมือออกจับ(หญิงสาว)นั้น."พระศาสดาทรงเล็งเห็นอัชฌาสัยของเขาแล้ว.ได้ทรงกระทำอย่างที่เขาไม่เห็น (หญิง)นั้น.เขาไม่เห็นหญิงนั้นแล้ว จึงได้ยืนแลดูพระศาสดา.ในกาลที่เขายืนแลอยู่ พระศาสดาตรัสว่า "แน่ะกุมารก็ชื่อว่าไฟ เช่นกับไฟคือราคะ ไม่มี,ชื่อว่าโทษ เช่นกับโทษคือโทสะไม่มี,ชื่อว่าทุกข์ เช่นกับทุกข์เพราะการบริหารขันธ์ ไม่มี,แม้สุขเช่นกับ นิพพานสุข ไม่มีเหมือนกัน" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๔.นตฺถิ ราคสโน อคฺคิ นตฺถิ  โทสสโม กลิ
นตฺถิ ขนฺธาทิสา ทุกฺขา นตฺถิ  สนฺติปร  สุข.

"ไฟเสมอด้วยราคะ ย่อมไม่มี,โทษเสมอด้วย
โทสะ ย่อมไม่มี,ทุกข์ทั้งหลายเสมอด้วยขันธ์ ย่อม
ไม่มี,สุขอื่นจากความสงบ ย่อมไม่มี.
"

แก้อรรถ
สองบทว่า สนฺติปร สุข ความว่า แม้สุขอื่นยิ่งกว่าพระนิพพานย่อมไม่มี.อธิบายว่า ความจริง สุขอย่างอื่นก็เป็นสุขเหมือนกัน แต่พระนิพพานเป็นบรมสุข.
ในกาลจบเทศนา กุมาริกาและกุมารตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลแล้ว.ในขณะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำอาการคืออันเห็นซึ่งกันและกัน  แก่คนทั้งสองนั้นดังนี้แล.


-พระอรหันต์ก็มีต้องอาบัติและควรออกจากอาบัติ(อ.ทุติยเสขสูตร) เล่ม34หน้า457

พระขีณาสพต้องอาบัติ

ก็ในบทว่า ตานิ อาปชฺชติปิ วุฏฺติปิ นี้  มีอธิบายว่า พระขีณาสพไม่ต้องอาบัติที่เป็นโลกวัชชะเลย จะต้องก็แต่อาบัติที่เป็นปัณณัตติวัชชะเท่านั้น และเมื่อต้องก็ต้องทางกายบ้าง ทางวาจาบ้าง ทางใจบ้าง คือ เมื่อต้องทางกาย ก็ต้องกุฏิการสิกขาบทและสหไสยลิกขาบทเป็นต้น เมื่อต้องทางวาจา ก็ต้องสัญจริตตสิกขาบท และปทโสธัมมสิกขาบทเป็นต้น เมื่อต้องทางใจก็ต้อง (เพราะ)รับรูปิยะ.

-จำนวนศีลที่จะรักษาไม่มีที่สิ้นสุด(อ.สีลมยญาณนิทเทส)เล่ม68หน้า552

 พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศสังวร
วินัยเหล่านี้ไว้ เก้าพันแปดร้อยโกฏิและห้าล้าน
สามสิบหกโกฏิ กับอื่นๆ อีก ทรงชี้แจงสิกขา
ในสังวรวินัยด้วยหัวข้อไปยาล
.


ชื่อว่า อปริยนฺตานิ-ไม่มีที่สุด เพราะสิกขาบทเหล่านั้นไม่มีที่สุด ด้วยการสมาทานสิกขาบทแม้มีที่สุดไม่มีเหลือด้วยการคำนวณอย่างนี้ ด้วยความมีที่สุดที่ยังไม่เห็นเพราะเหตุลาภ ยศ ญาติ อวัยวะและชีวิต และด้วยความไม่มีกำหนดศีลที่ควรรักษาต่อไปข้างหน้า,ชื่อว่า อปริยนฺตสิกฺขาปทา-สิกขาบทไม่มีที่สุด เพราะอนุปสัมบันมีสิกขาบทไม่มีที่สุด แห่งอนุปสัมบันผู้มีสิกขาบทไม่มีที่สุดเหล่านั้น

-ห้ามภิกษุณีสวมเสื้อผ้าเหมือนพวกคฤหัสถ์(ภิกษุณีขันธกะ)เล่ม9หน้า465

ใช้จีวรสีครามล้วนเป็นต้น


[๕๕๘]สมัยนั้น ภิกษุณีฉัพพัคคีย์ใช้จีวรสีความล้วน ใช้จีวรสีเหลืองล้วน ใช้จีวรสีแดงล้วน ใช้จีวรสีบานเย็นล้วน ใช้จีวรสีดำล้วน ใช้จีวรสีแสดล้วน ใช้จีวรสีชมพูล้วน ใช้จีวรไม่ตัดชาย ใช้จีวรมีชายยาว ใช้จีวรมีชายเป็นลายดอกไม้ ใช้จีวรมีชายเป็นลายผลไม้ สวมเสื้อ สวมหมวก ประชาชนเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า...เหมือนพวกหญิงคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม  ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ...ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีไม่พึงใช้จีวรสีความล้วน ไม่พึงใช้จีวรสีเหลืองล้วนไม่พึงใช้จีวรสีแดงล้วน ไม่พึงใช้จีวรสีบานเย็นล้วน ไม่พึงใช้จีวรสีดำล้วนไม่พึงใช้จีวรสีแสดล้วน ไม่พึงใช้จีวรสีชมภูล้วน ไม่พึงใช้จีวรไม่ตัดชาย ไม่พึงใช้จีวรมีชายยาว ไม่พึงใช้จีวรมีชายเป็นลายดอกไม้ ไม่พึงใช้จีวรมีชายเป็นลายผลไม้ ไม่พึงสวมเสื้อ ไม่พึงสวมหมวก รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ.

-ในคุรุธรรม8ประการ ห้ามภิกษุณีสั่งสอนภิกษุ(ภิกษุณีขันธกะ)เล่ม9หน้า444-445

ครุธรรม ๘ ประการ

[๕๑๖]พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนอานนท์ ถ้าพระนางมหาปชาบดีโคตมี ยอมรับครุธรรม ๘ ประการ ข้อนั้นแหละ จงเป็นอุปสัมปทาของพระนาง คือ:-

๑.ภิกษุณีอุปสมบทแล้ว ๑๐๐ ปี ต้องกราบไหว้ ลุกรับ ทำอัญชลีกรรม สามีจิกรรม แก่ภิกษุที่อุปสมบทในวันนั้น ธรรมแม้นี้  ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต.

๒.ภิกษุณีไม่พึงอยู่จำพรรษาในอาวาสที่ไม่มีภิกษุ ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต.

๓.ภิกษุณีต้องหวังธรรม ๒ ประการ คือ ถามวันอุโบสถ ๑ เข้าไปฟังคำสั่งสอน ๑ จากภิกษุสงฆ์ทุกกึ่งเดือน ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต.

๔.ภิกษุณีอยู่จำพรรษาแล้ว ต้องปวารณาในสงฆ์สองฝ่าย โดยสถานทั้ง ๓ คือ โดยได้เห็น โดยได้ยิน หรือโดยรังเกียจ ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต.

๕.ภิกษุณีต้องธรรมที่หนักแล้ว องประพฤติปักขมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่าย ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต.

๖.ภิกษุณีต้องแสวงหาอุปสัมปทาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย เพื่อสิกขมานาผู้มีสิกขาอันศึกษาแล้วในธรรม ๖ ประการครบ ๒ ปีแล้ว ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต.

๗.ภิกษุณีไม่พึงด่า บริภาษภิกษุ โดยปริยายอย่างใดอย่างหนึ่งธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต.

๘.ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ปิดทางไม่ให้ภิกษุณีทั้งหลายสอนภิกษุเปิดทางให้ภิกษุทั้งหลายสอนภิกษุณี ธรรมแม้นี้ ภิกษุณีต้องสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ไม่ละเมิดตลอดชีวิต.


-พระพุทธเจ้าเปรียบเทียบพรหมจรรย์กับต้นไม้(มหาสาโรปมสูตร)เล่ม18หน้า546

 มหาสาโรปมสูตร

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ออกจากเรือนไม่มีเรือนบวชด้วยศรัทธาด้วยคิดว่า เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสครอบงำ ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ.เขาบวชอย่างนั้นแล้วยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น.เขามีความยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยมด้วยลาภสักการะ และความสรรเสริญนั้น. เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีลาภสักการะและความสรรเสริญส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ไม่ปรากฏ มีศักดาน้อย.เขาย่อมมัวเมา ถึงความประมาทเพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้วย่อมอยู่เป็นทุกข์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นยืนต้นอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือก ละเลยสะเก็ดไปเสีย ตัดเอากิ่งและใบถือไป สำคัญว่าแก่น บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ไม่รู้จักแก่นไม้ รู้จักกระพี้ ไม่รู้จักเปลือก ไม่รู้จักสะเก็ด ไม่รู้จักกิ่งและใบ จริงอย่างนั้น บุรุษผู้เจริญนี้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือก ละเลยสะเก็ดไปเสีย ตัดเอากิ่งและใบถือไป สำคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ออกจากเรือนไม่มีเรือนบวชด้วยศรัทธาด้วยคิดว่า เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงรากฏ.เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น. เขามีความยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น.เพราะลาภสักการะ และความสรรเสริญอันนั้นเขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีสักการะ และความสรรเสริญ ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ไม่ปรากฏ [หรือมีคนรู้จักน้อย]มีศักดาน้อย.เขาย่อมมัวเมา ถึงความประมาท เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น  เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้วย่อมอยู่เป็นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า ได้ถือเอากิ่งและใบของพรหมจรรย์ และถึงที่สุดแค่กิ่งและและใบนั้น.

ว่าด้วยสะเก็ดของพรหมจรรย์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ออกจากเรือนไม่มีเรือนบวชด้วยศรัทธาด้วยคิดว่า เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว.....เขามีความยินดีมีความดำริเต็มเปี่ยม ด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น.เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีศีลมีกัลยาณธรรม ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้เป็นผู้ทุศีลมีบาปธรรม.เขาย่อมมัวเมา ถึงความประมาทเพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้ว ย่อมอยู่เป็นทุกข์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือกไปเสีย ถากเอาสะเก็ดถือไป สำคัญว่าแก่น บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ไม่รู้จักแก่นไม้ ไม่รู้จักกระพี้ ไม่รู้จักเปลือก ไม่รู้จักสะเก็ด ไม่รู้จักกิ่งและใบ จริงอย่างนั้น บุรุษผู้เจริญนี้ มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ละเลยแก่น ละเลยกะพี้ ละเลยเปลือกไปเสีย ถากเอาสะเก็ดถือไป สำคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงด้วยไม้แก่นของเขาจักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ออกจากเรือนไม่มีเรือนบวชด้วยศรัทธาด้วยคิดว่า เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ  ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว.....เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้ว ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า ได้ถือเอาสะเก็ดของพรหมจรรย์ และถึงที่สุดแค่สะเก็ดนั้น.

ว่าด้วยเปลือกของพรหมจรรย์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ออกจากเรือนไม่มีเรือนบวชด้วยศรัทธาด้วยคิดว่า เราเป็นผู้ถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว....เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธิอันนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิดแล้ว.เขาย่อมมัวเมาถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้ว ย่อมอยู่เป็นทุกข์.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ไปเสีย ถากเอาเปลือกถือไป สำคัญว่าแก่น บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ไม่รู้จักแก่น ไม่รู้จักกระพี้ ไม่รู้จักเปลือก ไม่รู้จักสะเก็ด ไม่รู้จักกิ่งและใบจริงอย่างนั้น บุรุษผู้เจริญนี้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ไปเสียถากเอาเปลือกถือไป สำคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขาฉันใด....เขามีความยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยม ด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้นเขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิดแล้ว เขาย่อมมัวเมา ถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้ว ย่อมอยู่เป็นทุกข์.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า ได้ถือเอาเปลือกแห่งพรหมจรรย์ และถึงที่สุดแค่เปลือกนั้น.

ว่าด้วยกระพี้แห่งพรหมจรรย์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ออกจากเรือนไม่มีเรือนบวชด้วยศรัทธาด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว....เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้นเมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังญาณทัสสนะให้สำเร็จ.เขามีความยินดีมีความดำริเต็มเปี่ยมแล้วด้วยญาณทัสสนะนั้น.เพราะญาณทัสสนะอันนั้นเขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรารู้เราเห็นอยู่ ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ไม่รู้ ไม่เห็นอยู่.เขาย่อมมัวเมา ถึงความประมาท เพราะญาณทัสสนะนั้น เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้ว ย่อมอยู่เป็นทุกข์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่นไปเสีย ถากเอากระพี้ถือไป สำคัญว่าแก่น.บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ไม่รู้จักแก่น ไม่รู้จักกระพี้ ไม่รู้จักเปลือก ไม่รู้จักสะเก็ด ไม่รู้จักกิ่งและใบ จริงอย่างนั้นบุรุษผู้เจริญนี้มีความต้องการแก่นไม้อยู่ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่นไปเสีย ถากเอากระพี้ถือไป สำคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขาฉันใด...กุลบุตรบางคนในโลกนี้  ก็ฉันนั้นเหมือนกัน  เพราะญาณทัสสนะนั้น เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้ว.ย่อมอยู่เป็นทุกข์.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า ได้ถือเอากระพี้แห่งพรหมจรรย์ และถึงที่สุดแค่กระพี้นั้นแล.

ว่าด้วยแก่นของพรหมจรรย์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ออกจากเรือนไม่มีเรือนบวชด้วยศรัทธา ด้วยคิดว่า   เราเป็นผู้ถูกชาติชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ครอบงำแล้ว....เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้นเมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังญาณทัสสนะให้สำเร็จ.เขามีความยินดีด้วยญาณทัสสนะนั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม.เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่นเพราะญาณทัสสนะนั้น.เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะญาณทัสสนะนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังสมยวิโมกข์ให้สำเร็จ.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุนั้นจะพึงเสื่อมจากสมยวิมุตตินั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่  เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ถากเอาแก่นถือไปรู้จักว่าแก่น บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้รู้จักแก่น รู้จักกระพี้ รู้จักเปลือก รู้จักสะเก็ด รู้จักกิ่งและใบ จริงอย่างนั้นบุรุษผู้เจริญนี้ มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ถากเอาแก่นถือไป รู้จักว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักสำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด .... เพราะญาณทัสสนะนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังอสมยวิโมกข์ให้สำเร็จ.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุนั้นจะพึงเสื่อมจากอสมยวิมุตตินั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้.

ว่าด้วยที่สุดของพรหมจรรย์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดังพรรณนามาฉะนี้ พรหมจรรย์นี้จึงมิใช่มีลาภสักการะและความสรรเสริญเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งศีลเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งสมาธิเป็นอานิสงส์ มิใช่มีญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ แต่พรหมจรรย์นี้มีเจโตวิมุตติอันไม่กำเริบ เป็นประโยชน์เป็นแก่น  เป็นที่สุด.

จบ มหาสาโรปมสูตรที่  ๙


ที่มา : วัดป่าสามแยก ศึกษาพระธรรมวินัย เบิกบุญ โอนบุญ อกหัก โดนของ ธรรมะ ธรรมทาน คลายเครียด เจริญรุ่งเรือง //www.samyaek.com/index.php

หัวข้อพระไตรปิฏก ที่ทางวัดสามแยกคัดเอาหัวข้อย่อๆ ให้ดาวโหลดขึ้นมาไว้ เพื่ออ่านเทียบเคียงพระไตรปิฎกทั้ง 91 เล่ม (พระวัดสามแยกยกหัวข้อสำคัญเพื่อเป็นแนวทางอ่านพระไตรปิฏกทั้ง91เล่ม)
//www.samyaek.com/board2/index.php?topic=3230.msg19459#msg19459

-ศึกษาพระไตรปิฏกและอรรถกถาแปลชุด91เล่ม ของมหามกุฏราชวิทยาลัย //www.thepalicanon.com/palicanon/

-Facebook พุทธพจน์ //www.facebook.com/login.php?next=http%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fgroups%2FBuddhaspeech

-Download free พระไตรปิฏกพร้อมหัวข้อธรรมสำหรับ apple ipad & iphone & Android ดูรายละเอียดได้ที่เวบ //www.tripitaka91.com

-เสียงอ่านพระไตรปิฏกชุด91เล่ม //www.dharmatarzan.com/

****หมายเหตุ "แสดงธรรมวันอาสาฬหบูชา ปี 2555" (//youtu.be/l52iDWt3V5Q ) นาทีที่ 6:01:55 ..เป็นต้นไป หลวงปู่ท่านได้พูดถึง ทนายชนอณุพงศ์ ชัยธนาวิรัตน์ ท่านใดมีปัญหาด้านกฏหมาย,คดีความต่างๆ ปรึกษาได้ที่ ทนายชนอณุพงศ์ ชัยธนาวิรัตน์ ที่เมล์ pasponglawyer@hotmail.com ,เบอร์โทรที่ 0818060981 , 0867809391 ****





 

Create Date : 03 พฤศจิกายน 2556
2 comments
Last Update : 8 พฤศจิกายน 2556 0:21:47 น.
Counter : 996 Pageviews.

 

ทุกๆ วันเสาร์เวลาประเทศไทย โดยประมาณ 20:30 น.มีการถ่ายทอดสดไปทั่วโลก เทศน์โดยหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล จากสำนักสงฆ์ป่าสามแยก

ดูได้ที่
=> //www.samyaek.com

หรือ สามารถดูทางช่องสำรอง:
=> //live.samyaek.com/

 

โดย: Budratsa 3 พฤศจิกายน 2556 19:09:01 น.  

 

...แจกฟรี...CD พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด 91 เล่ม ของมหามกุฏราชวิทยาลัย และDVD จากการแสดงธรรมของหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล ได้ที่www.samyaek.com คลิกที่กระดาน "แจกสื่อธรรม" หากท่านใดยังไม่ได้สมัครสมาชิก ใช้
Username : Media
Password : 123456
........................................

หรือ หรือคลิกเวบลิ้งค์ด้านขวามือที่เขียนว่า "ดาวโหลดพระไตรปิฏกชุด91เล่มและเล่มอื่นๆได้ที่นี่"

ยินดีในบุญกับท่านที่ต้องการศึกษาพระธรรมของพระพุทธเจ้าด้วยค่ะ

 

โดย: Budratsa 3 พฤศจิกายน 2556 19:11:21 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Budratsa
Location :
พิจิตร Switzerland

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับทุกๆคนค่ะ
"ดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์ (พุทธพจน์) มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา" เล่มที่ ๑๓ : พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ ๓๒๐
Friends' blogs
[Add Budratsa's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.