"ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอด้วยพระตถาคตย่อมไม่มี พระพุทธเจ้าแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยการกล่าวคำจริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี....." "พระไตรปิฏก เป็นตาที่วิเศษยิ่ง, เป็นหูที่วิเศษยิ่ง, เป็นจมูกที่วิเศษยิ่ง, เป็นลิ้นที่วิเศษยิ่ง, เป็นกายที่วิเศษยิ่ง, เป็นใจที่วิเศษยิ่ง, เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง, เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง, เป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษยิ่ง, เป็นแผนที่และป้ายบอกทางที่วิเศษยิ่ง, เป็นแสงสว่างส่องทางสู่นิพพานที่วิเศษยิ่ง"จากวัดสามแยก
Group Blog
 
<<
พฤศจิกายน 2555
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
252627282930 
 
17 พฤศจิกายน 2555
 
All Blogs
 

จะสุขหรือทุกข์ ก็อย่าลืมความตาย โดยหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล 18 ส.ค. 2555

เนื้อหา บางส่วนจากการแสดงธรรมชุดนี้
      ๑. ร่างกายมนุษย์เป็นที่อยู่ของสัตว์หลากหลายชนิด
      ๒. ทำบุญแล้วปราถนาเป็นเทวดา เป็นพวกมิจฉาทิฏฐิ
      ๓. ภิกษุให้พร ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ
      ๔. สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม
      ๕. พระพุทธเจ้าสอนให้พิจารณาความตายอยู่เสมอๆ
     ฯลฯ

ร่างกายมนุษย์เป็นที่อยู่ของสัตว์หลากหลายชนิด(อ.คุหัฏฐกสุตตนิทเทส) เล่ม65หน้า 242

เหล่าสัตว์ต่าง ๆ ภายในจอมปลวก ย่อมเกิด ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะนอนเจ็บไข้ ตายตกไปในจอมปลวกนั้นเอง. จอมปลวกนั้น เป็นเรือนตลอด เป็นส้วม เป็นโรงพยาบาล และเป็นสุสานของสัตว์เหล่านั้นด้วยประการฉะนี้  ฉันใด แม้ร่างกายของกษัตริย์มหาศาลเป็นต้นก็ฉันนั้น มีกิมิชาติประมาณแปดหมื่นเหล่า โดยการนับเหล่า อย่างนี้คือ เหล่าสัตว์ที่อาศัยผิว เหล่าสัตว์ที่อาศัยหนัง เหล่าสัตว์ที่อาศัยเนื้อ เหล่าสัตว์ที่อาศัยเอ็น  เหล่าสัตว์ที่อาศัยกระดูก เหล่าสัตว์ที่อาศัยเยื่อในกระดูก ย่อมเกิดถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ นอนกระสับกระส่ายด้วยความไข้ตายตกไปภายในกายนั่นแหละ โดยไม่คิดนึกว่า นี้เป็นกายของผู้มีอานุภาพมาก ที่คุ้มครองรักษาแล้ว ประดับตกแต่งแล้ว กายแม้นี้ย่อมเป็นเรือนตลอด เป็นส้วม เป็นโรงพยาบาล และเป็นสุสานของสัตว์เหล่านั้น ด้วยประการฉะนี้ ดังนั้นจึงนับว่า จอมปลวก.

ทำบุญแล้วปราถนาเป็นเทวดา เป็นพวกมิจฉาทิฏฐิ (ทุติยราชสูตร) เล่ม26หน้า36

ว่าด้วยการกล่าวคาถาผิดฐาน และถูกฐาน

[๔๗๗]  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ท้าวสักกะจอมเทวดา เมื่อจะปลุกใจเหล่าเทวดาดาวดึงส์  จึงภาษิตคาถานี้ในเวลานั้นว่า.

"แม้ผู้ใดพึงเป็นเช่นดังข้าพเจ้า ผู้นั้นก็พึงถืออุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ในดิถี
ที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๘ แห่งปักษ์ และถือ อุโบสถปาฏิหาริยปักษ์เถิด"

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลคาถานั้นนั่น ท้าวสักกะจอมเทวดาขับไม่เข้าที ไม่เป็นการขับดีแล้ว กล่าวไม่เหมาะ ไม่เป็นสุภาษิต นั่นเพราะเหตุอะไร เพราะท้าวสักกะจอมเทวดายังไม่ปราศจากราคะ...โทสะ...โมหะ  เพราะท้าวสักกะจอมเทวดายังไม่พ้นจาก (ชาติ) ความเกิด (ชรา) ความแก่  (มรณะ)  ความตาย  (โสกะ)ความโศก  (ปริเทวะ)  ความคร่ำครวญ  (ทุกขะ) ความทุกข์กาย (โทมนัสสะ)ความทุกข์ใจ (อุปายาสะ) ความคับแค้นใจ เรากล่าวว่ายังไม่พ้นทุกข์

ส่วนภิกษุ ผู้เป็นพระอรหันต์สิ้นอาสวะแล้ว สำเร็จแล้ว ทำกิจที่ควรทำแล้ว ปลงภาระแล้ว เสร็จประโยชน์ตนแล้ว สิ้นเครื่องร้อยรัดไว้ในภพแล้ว  หลุดพ้นด้วยความรู้ชอบแล้ว จึงควรกล่าวคาถานั่นว่า

 "แม้ผู้ใดพึงเป็นเช่นดังข้าพเจ้า ผู้นั้นก็พึงถืออุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ ในดิถีที่ ๑๔ ที่ ๑๕ และที่ ๘   แห่งปักษ์ และถืออุโบสถปาฏิหาริยปักษ์เถิด"

นั่นเพราะเหตุอะไร เพราะภิกษุนั้น ปราศจากราคะ...โทสะ...โมหะแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุผู้เป็นพระอรหันต์สิ้นอาสวะแล้ว ฯลฯ  หลุดพ้นด้วยความรู้ชอบแล้ว เพราะภิกษุนั้นพ้นแล้วจาก (ชาติ)  ความเกิด ฯลฯ (อุปายาสะ) ความคับแค้นใจ เรากล่าวว่าพ้นแล้วจากทุกข์.


เล่ม26หน้า36 (อ.ปฏิปทาสูตรที่  ๓)

บทว่า มิจฺฉาปฏิปทา ความว่า นี้เป็นปฏิปทา  ไม่นำสัตว์ออกจากทุกข์ เป็นอันดับแรก.  ถามว่า ก็เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีปุญญาภิสังขารบ้าง อเนญชาภิสังขารบ้าง มิใช่หรือ.  อภิสังขารทั้งสองนั้น เป็นมิจฉาปฏิปทาได้อย่างไร. แก้ว่า เพราะถือว่าวัฏฏะเป็นสำคัญ.  สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งบุคคลปรารถนา
วัฏฏะกล่าวคือภพ ๓ ปฏิบัติ โดยที่สุดอภิญญา ๕ หรือสมาบัติ ๘ สิ่งทั้งหมดเป็นไปในฝ่ายวัฏฏะ. จัดเป็นมิจฉาปฏิปทา เพราะถือวัฏฏะเป็นสำคัญ.
  สิ่งใดสิ่งหนึ่งอันบุคคลปรารถนาวิวัฏฏะ คือ พระนิพพาน ปฏิบัติ โดยที่สุดถวายทานเพียงข้าวยาคูกระบวยหนึ่งก็ดี เพียงถวายใบไม้กำมือหนึ่งก็ดี  สิ่งทั้งหมดนั้นจัดเป็นสัมมาปฏิปทาโดยแท้เพราะเป็นฝ่ายวิวัฏฏะ บุคคลไม่บรรลุพระอรหัตแล้วจะถึงที่สุดหาได้ไม่ ดังนั้น พึงทราบว่า ท่านแสดงมิจฉาปฏิปทาด้วยอำนาจอนุโลม แสดงสัมมาปฏิปทาด้วยอำนาจปฏิโลม.

ภิกษุให้พร ภิกษุต้องอาบัติทุกกฏ  เล่ม9หน้า66

[๑๘๕]  สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า อันบริษัทหมู่ใหญ่แวดล้อมแล้ว กำลังทรงแสดงธรรม ได้ทรงจามขึ้น ภิกษุทั้งหลายได้ถวายพระพรอย่างหนึ่งมีว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงพระชนมายุ ขอพระสุคตจงทรงพระชนมายุเถิดพระพุทธเจ้าข้า ธรรมกถาได้พักในระหว่างเพราะเสียงนั้นจึงพระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่ถูกเขาให้พรว่า ขอจงเจริญชนมายุในเวลาจาม จะพึงเป็น หรือพึงตายเพราะเหตุที่ให้พรนั้นหรือ.
ภิ.  ไม่อย่างนั้น  พระพุทธเจ้าข้า

ภ.  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงกล่าวคำให้พรว่า ขอจงมีชนมายุในเวลาที่เขาจาม รูปใดให้พร ต้องอาบัติทุกกฏ.

[๑๘๖]   สมัยนั้น ชาวบ้านให้พรในเวลาที่ภิกษุทั้งหลายจามว่า ขอท่านจงมีชนมายุ ภิกษุทั้งหลายรังเกียจ มิได้ให้พรตอบ ชาวบ้านเพ่งโทษเรียน โพนทะนาว่า ไฉน พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร เมื่อเขาให้พรว่า จงเจริญชนมายุ จึงไม่ให้พรตอบเล่า ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระภูมีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชาวบ้านมีความต้องการด้วยสิ่งเป็นมงคล  เราอนุญาตให้ภิกษุที่เขาให้พรว่า จงเจริญชนมายุ ดังนี้ ให้พรตอบแก่ชาวบ้านว่า ขอท่านจงเจริญชนมายุยืนนาน.

สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม (จูฬกัมมวิภังคสูตร) เล่ม23หน้า251

ว่าด้วยกฏแห่งกรรม

[๕๗๙]   สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. สมัยนั้นแล สุภมาณพ โตเทยยบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้ายังที่ประทับ

[๕๘๐]  สุภมาณพ โตเทยยบุตร ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่ ปรากฏความเลวและความประณีตมนุษย์ทั้งหลายย่อมปรากฏมีอายุสั้น มีอายุยืน มีโรคมาก มีโรคน้อย มีผิวพรรณทราม มีผิวพรรณงาม มีศักดาน้อย มีศักดามาก มีโภคะน้อย มีโภคะมากเกิดในสกุลต่ำ เกิดในสกุลสูง ไร้ปัญญา มีปัญญา ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ อะไรหนอแล เป็นเหตุ เป็นปัจจัย  ไห้พวกมนุษย์ที่เกิดเป็นมนุษย์อยู่ ปรากฏความเลวและความประณีต.

[๕๘๑]  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนมาณพ สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของคน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึงอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้สุภ. ข้าพระองค์ย่อมไม่ทราบเนื้อความโดยพิสดารของอุเทศที่พระโคดมผู้เจริญตรัสโดยย่อ  มิได้จำแนกเนื้อความโดยพิสดารนี้ได้ ขอพระโคดมผู้เจริญ ได้โปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์ โดยประการที่ข้าพระองค์จะพึงทราบเนื้อความ แห่งอุเทศนี้โดยพิสดารได้เถิด.

[๕๘๒]  ดูก่อนมาณพ บุคคลบางตนในโลกนี้จะเป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงเป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหาร  ไม่เอ็นดู ในเหล่าสัตว์มีชีวิต เขาตายไปจะเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก เพราะกรรมนั้น อันเขาให้พรั่งพร้อม สมาทานไว้อย่างนี้ หากตายไป ไม่เข้าถึงอบายทุคติ วินิบาต นรก ถ้ามาเป็นมนุษย์ เกิด ณ ที่ใด ๆ ในภายหลัง จะเป็นคนมีอายุสั้น. ดูก่อนมาณพ ปฏิปทาเป็นไปเพื่อมีอายุสั้นนี้ คือ เป็นผู้มักทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง เป็นคนเหี้ยมโหด มีมือเปื้อนเลือด หมกมุ่นในการประหัตประหาร ไม่เอ็นดูในเหล่าสัตว์มีชีวิต.

เทวดาสามารถช่วยเหลือการงานของมนุษย์ได้ (เภสัชชขันธกะ) เล่ม7หน้า118

ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตรจีวรเสด็จพระพุทธดำเนินไปทางสถานที่อังคาส ของสองมหาอำมาตย์แห่งมคธรัฐครั้นถึงแล้วประทับนั่งเหนือพระพุทธอาสน์ที่เขาจัดถวาย พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์  ครั้งสองมหาอำมาตย์อังคาสภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขด้วยขาทนียโภชนียาหารอันประณีต ด้วยมือของตน จนยังพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เสวยเสร็จแล้วทรงนำพระหัตถ์ออกจากบาตร ให้ห้ามภัตรแล้ว ได้นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนาแก่สองหาอำมาตย์นั้นด้วยพระคาถาเหล่านั้น  ว่าดังนี้:-คาถาอนุโมทนา

[๗๓] "บัณฑิตชาติอยู่ในประเทศใดเลี้ยงดูท่านผู้มีศีล ผู้สำรวม ประพฤติพรหมจรรย์ในประเทศนั้น  และได้อุทิศทักษิณาแก่เหล่าเทพดาผู้สถิตในสถานที่นั้นเทพดาเหล่านั้นอันบัณฑิตชาติบูชาแล้ว ย่อมบูชาตอบ อันบัณฑิตชาตินับถือแล้วย่อมนับถือตอบซึ่งบัณฑิตชาตินั้น แต่นั้น  ย่อมอนุเคราะห์ บัณฑิตชาตินั้น ดุจมารดาอนุเคราะห์บุตรผู้เกิดแต่อก ฉะนั้น  คนที่เทพดาอนุเคราะห์แล้ว ย่อมพบเห็นแต่สิ่งที่เจริญทุกเมื่อ".

พระอานนท์บอกว่า ปฏิจจสมุปบาท เป็นของง่าย (อ.นิทานสูตร) เล่ม26หน้า270
 
ว่าด้วยความพอใจในปฏิจจสมุปบาท

[๒๒๔]  สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่นิคมของหมู่ชนชาวเมืองกุรุ อันมีชื่อว่ากัมมาสทัมมะ๑  แคว้นกุรุรัฐ ครั้งนั้นแลท่านพระอานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ควรส่วนข้างหนึ่ง  เมื่อท่านนั่งเรียบร้อยแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้าไม่เคยมีมา พระเจ้าข้า คือปฏิจจสมุปบทนี้เป็นธรรมลึกซึ้งเพียงไร ทั้งมีกระแสความลึกซึ้ง แต่ถึงอย่างนั้น ก็ปรากฏเหมือนธรรมง่ายๆ แก่ข้าพระองค์.

[ ๒๒๕]  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เธออย่ากล่าวอย่างนี้ ดูก่อนอานนท์ เธออย่ากล่าวอย่างนี้ ปฏิจจสมุปบาทนี้ เป็นธรรมลึกซึ้ง ทั้งมีกระแสความลึกซึ้ง เพราะไม่รู้ ไม่ตรัสรู้ ไม่แทงตลอดธรรมนี้ หมู่สัตว์นี้จึงเป็นเหมือนเส้นด้ายที่ยุ่ง เป็นเหมือหกลุ่มเส้นด้ายที่เป็นปม เป็นเหมือนหญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง ย่อมไม่ผ่านพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต สงสาร.

[๒๒๖]  ดูก่อนอานนท์  เมื่อภิกษุเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายอันเป็นปัจจัยแห่งอุปาทานอยู่     ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพเพราะภพเป็นปัจจัย  จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ๑. บางแห่งเป็น กัมมาสธัมมะโสกปริเทวทุกขโทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้.

เล่ม26หน้า287
ดูก่อนอานนท์ เธอมีปัญญามาก มีญาณแจ่มแจ้ง ด้วยเหตุนั้น ปฏิจจสมุปนาท แม้จะเป็นธรรมลึกซึ้ง ก็ย่อมปรากฏเหมือนเป็นธรรมง่ายสำหรับเธอ เพราะฉะนั้น เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้ว่า ปฏิจจสมุปบาทนี้ ปรากฏเป็นธรรมง่ายสำหรับเราหรือหนอ หรือว่าง่ายสำหรับคนอื่นด้วย.

แต่พระอานนทเถระยังมิยินดีด้วยถ้อยคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วใด ในข้อนั้น มีอธิบายดังนี้ "ดูก่อนอานนท์  ก็แหละเธออย่าได้กล่าวอย่างนี้ว่า ปฏิจจสมุปบาทปรากฏเหมือนเป็นธรรมง่ายๆ สำหรับเรา ก็ถ้าปฏิจจสมุปบาทนี้ ปรากฏเหมือนเป็นธรรมง่ายๆ สำหรับเธอไซร้  เพราะเหตุไร เธอจึงมิได้เป็นพระโสดาบันตามธรรมดาของตน แต่เธอได้ตั้งอยู่ในนัยที่เราให้แล้ว จึงแทงตลอดโสดาปัตติมรรค ดูก่อนอานนท์พระนิพพานนี้เท่านั้น ที่ลึกซึ้ง ส่วนปัจจยาการเป็นธรรมง่าย  ครั้นแล้วเพราะเหตุไร เธอจึงไม่ถอนขึ้นซึ่งกิเลส  ๔ เหล่านี้ คือ กามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ อันหยาบ กามราคานุสัย  ปฏิฆานุสัย  อันหยาบแล้วกระทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ไม่ถอนขึ้นซึ่งกิเลส ๔  ที่อาศัยสังโยชน์และอนุสัยเหล่านั้นนั่นแหละ แล้วกระทำอนาคามิผลให้แจ้ง ไม่ถอนขึ้นซึ่งกิเลส ๘ เหล่านี้ คือ สังโยชน์ ๕ มีรูปราคะ เป็นต้น.

พระอริยที่มีความสามารถย่อมน้อยลงไปตามยุคสมัย (อ.วรรคที่10) เล่ม32หน้า167

    จริงอยู่ นับตั้งแต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานได้  ๑๐๐๐ปีเท่านั้น ภิกษุไม่สามารถจะให้ปฏิสัมภิทาบังเกิดได้ ต่อแต่นั้นก็อภิญญา ๖. แต่นั้นเมื่อไม่สามารถทำอภิญญาให้บังเกิดได้ ย่อมทำวิชชา ๓ ให้บังเกิด. ครั้นกาลล่วงไป ๆ เมื่อไม่สามารถจะทำวิชชา๓ ให้บังเกิด ก็เป็นพระอรหันต์สุกขวิปัสสก โดยอุบายนี้เอง ก็เป็นพระอนาคามี พระสกทาคามี และพระโสดาบัน. เมื่อท่านเหล่านั้นยังทรงชีพอยู่ อธิคมชื่อว่ายังไม่เสื่อม อธิคมชื่อว่า ย่อมเสื่อมไปเพราะความสิ้นไปแห่งชีวิต ของพระอริยบุคคลผู้โสดาบันชั้นต่ำสุดดังกล่าวนี้ ชื่อว่าอันตรธานแห่งอธิคม.

พระพุทธเจ้าไม่ยินดี การอวยพรของพระแม่โคตมี (อ.มหาปชาบดีโคตมีเถรีคาถา) เล่ม54หน้า254

พระโคตมีเถรีได้ตรัสกะท่าน พระอานนท์ผู้มีสุตะคือปริยัติอันล้ำลึกดังสาคร[พหูสูต]เอาใจใส่ในการอุปัฏฐากพระพุทธเจ้าซึ่งพร่ำรำพันอยู่ดังกล่าวมาว่า ลูกเอ๋ย เมื่อกาลน่าร่าเริงปรากฏขึ้นแล้ว  พ่อไม่ควรที่จะเศร้าโศกถึงการตายของแม่ การนิพพานของแม่ใกล้เข้ามาแล้วลูกเอ๋ย  พระศาสดา พ่อได้ทูลเชื้อเชิญแล้วจึงได้ทรงอนุญาตให้แม่บวช  ลูกเอ๋ยพ่ออย่าเสียใจไปเลยความยากลำบากของพ่อมีผล ก็บทใดอาจารย์ฝ่ายเดียรถีย์เก่า ๆ ไม่เห็น บทนั้นเด็กหญิงซึ่งมีอายุ ๗ ขวบก็รู้แจ้งประจักษ์แล้ว พ่อจงรักษาพระพุทธศาสนาไว้ แม่เห็นพ่อครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายบุคคลไปในทิศใดแล้วไม่ปรากฏ แม่ก็จะไปในทิศนั้นนะลูก

ในกาลบางคราวพระนายกผู้เลิศในโลกกำลังทรงแสดงธรรมอยู่ทรงไอ แล้วครั้งนั้นแม่เกิดสงสารกล่าววาจาถวายพระพรว่า ข้าแต่พระมหาวีระ ขอพระองค์จงมีพระชนม์อยู่นาน ๆ ข้าแต่พระมหามุนี ขอพระองค์จงดำรงพระชนม์อยู่ตลอดกัป เพื่อความเกื้อกูลและประโยชน์แก่โลกทั้งปวงเถิด ขออย่าให้พระองค์ทรงพระชราและปรินิพพานเลย พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นได้ ตรัสกะแม่ผู้กราบทูลเช่นนั้นอย่างนี้ว่า

ดูก่อนโคตมี พระพุทธเจ้าทั้งหลายมิใช่บุคคลจะพึงไหว้เหมือนอย่างที่เธอไหว้อยู่ดอก แม่ได้ทูลถามว่า ก็แลด้วยประการไรเล่า พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่าอันบุคคลไม่พึงไหว้ พระองค์อันหม่อมฉันทูลถามแล้วโปรดตรัสบอกเหตุนั้นแก่หม่อมฉันเถิด

พระองค์ตรัสตอบว่า เธอจงดูพระสาวกทั้งหลายผู้ปรารภความเพียร ใจเด็ดเดี่ยว มีความบากบั่นมั่นคงเป็นนิตย์พร้อมเพรียงกัน นี้เป็นการไหว้พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ต่อแต่นั้นแม่ก็ไปสำนักภิกษุณีอยู่ผู้ เดียว ก็คิดได้ว่า พระนาถะผู้ถึงที่สุดแห่งไตรภพทรงป้องกันบริษัทที่สามัคคีกัน เอาเถิด แม่จักปรินิพพานเสีย ขออย่าได้เห็นความวิบัตินั้นเลย แม่ครั้นคิดดังนั้นแล้วได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พระผู้เป็นฤษีพระองค์ที่แล้วได้กราบทูลถึงกาลเป็นที่ปรินิพพานกะพระผู้นำพิเศษ ลำดับนั้นพระองค์ได้ทรงอนุญาตว่า จงรู้กาลเอาเองเถิดโคตมี แม่เผากิเลสทั้งหลายแล้ว ถอนภพทั้งปวงขึ้นได้แล้ว ตัดกิเลสเครื่องผูกได้เหมือนช้างพังตัดเชือกแล้ว เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่ การที่แม่มาในสำนักของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดเป็นการมาดีแล้วหนอ วิชชา๓ แม่ก็บรรลุแล้วโดยลำดับ คำสอนของพระพุทธเจ้า แม่ได้ทำเสร็จแล้ว คุณวิเศษเหล่านี้คือปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และอภิญญา ๖ แม่ทำให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า แม่ได้ทำเสร็จแล้ว.

 พระพุทธเจ้าสอนให้พิจารณาความตายอยู่เสมอๆ (ทุติยมรณัสสติสูตร) เล่ม36หน้า575

ว่าด้วยการเจริญมรณสติมีผลมาก

[๒๙๑] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ปราสาทสร้างด้วยอิฐ ใกล้บ้านนาทิกคาม ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  มรณสติอันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด ก็มรณสติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มากหยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกลางวันผ่านไปกลางคืนย่างเข้ามา ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เหตุแห่งความตายของเรามีมากหนอ คือ งูพึงกัดเรา  แมลงป่องพึงต่อยเรา หรือตะขาบพึงกัดเรา เราพึงตายเพราะเหตุนั้น อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา เราพึงพลาดล้มลง อาหารที่เราฉันแล้วไม่พึงย่อย ดีของเราพึงกำเริบ เสมหะของเราพึงกำเริบ หรือลมที่มีพิษเพียงดังศาสตราของเราพึงกำเริบ เราพึงตายเพราะเหตุนั้น  อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละในกลางคืน มีอยู่หรือหนอ  ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมทราบอย่างนี้ว่า  ธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละในกลางคืนยังมีอยู่ ภิกษุนั้นพึงทำฉันทะ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่ง เพื่อละธรรมอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้าโพกศีรษะถูกไฟไหม้ หรือมีศีรษะถูกไฟไหม้ พึงทำฉันทะ ความยายาม ความอุตสาหะ ความเพียรความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อดับผ้าโพกศีรษะหรือศีรษะนั้น ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ย่อมทราบอย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละในกลางคืนไม่มี ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้มีปีติและปราโมทย์ตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืนอยู่เถิด.

       ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกลางคืนผ่านไป กลางวันย่างเข้ามา ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เหตุแห่งความตายของเรามีมากหนอ คือ งูพึงกัดเรา แมลงป่องพึงต่อยเรา หรือตะขาบพึงกัดเรา เราพึงตายเพราะเหตุนั้น อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา เราพึงพลาดล้มลง อาหารที่เราฉันแล้วไม่พึงย่อย ดีของเราพึงกำเริบ เสมหะของเราพึงกำเริบ หรือลมที่มีพิษเพียงศาสตราของเราพึงกำเริบ เราพึงตายเพราะเหตุนั้น อันตรายนั้นพึงมีแก่เรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ธรรมอัน เป็นบาปอกุศล ที่เรายังละไม่ได้  อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละในกลางวัน มีอยู่หรือหนอ  ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่  ย่อมทราบอย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละในกลางวัน ยังมีอยู่ ภิกษุนั้นพึงทำฉันทะ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อละธรรมอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น เปรียบเสมือนบุคคลผู้มีผ้าโพกศีรษะถูกไฟไหม้ หรือมีศีรษะถูกไฟไหม้  พึงทำฉันทะ ความพยายาม ความอุตสาหะความเพียร ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อดับ ผ้าโพกศีรษะหรือศีรษะนั้น ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ย่อมทราบอย่างนี้ว่า ธรรมอันเป็นบาปอกุศลที่เรายังละไม่ได้ อันจะพึงเป็นอันตรายแก่เราผู้กระทำกาละในกลางวันไม่มี ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้มีปีติและปราโมทย์ ตามศึกษาในกุศลธรรมทั้งหลายทั้งกลางวันกลางคืนอยู่เถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็มรณสติอันภิกษุเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด.

พระอัญญาโกณฑัญญะ สร้างบารมีมานานจึงตรัสรู้ได้(เรื่องพระอัญญาฯ) เล่ม32หน้า244

บทว่า อญฺญาโกณฺฑญฺโญ แปลว่า โกณฑัญญะ รู้ทั่วแล้ว โกณฑัญญะแทงตลอดแล้ว.. ครั้งนั้น พระเถระนี้ บังเกิดในตระกูลคฤหบดีมหาศาลกรุงหังสวดี. วันหนึ่ง ในเวลาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเห็นชาวกรุงหังสวดี ต่างถือของหอมและดอกไม้เป็นต้น ผู้น้อมไปโอนไป เงื้อมไป ทางพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ แล้วได้ไปยังที่แสดงธรรม พร้อมกับมหาชนนั้นนั่นแล. สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า ปทุมุตตระ ทรงสถาปนาภิกษุรูปหนึ่ง ผู้แทงตลอดธรรมก่อนในพระศาสนาของพระองค์ ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ. กุลบุตรนั้น ได้สดับเหตุนั้นแล้ว คิดว่า ภิกษุนี้เป็นผู้ใหญ่หนอ ได้ยินว่า เว้นพระพุทธเจ้าเสีย ผู้อื่นชื่อว่าผู้แทงตลอดธรรมก่อนกว่าภิกษุนี้ ย่อมไม่มี แม้เราพึงเป็นผู้สามารถแทงตลอดธรรมก่อน ในศาสนาของพระพุทธเจ้า พระองค์หนึ่งในอนาคต ในเวลาจบเทศนา จึงเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า นิมนต์ว่าพรุ่งนี้ขอพระองค์โปรดทรงรับภิกษาของข้าพระองค์. พระศาสดาทรงรับนิมนต์แล้ว กุลบุตรนั้นถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วกระทำประทักษิณแล้วไปยังที่อยู่ของตน ประทับที่ประทับนั่งสำหรับพระพุทธเจ้า ด้วยของหอมและพวงมาลัยเป็นต้น ให้จับของควรเคี้ยวและควรบริโภค อันประณีต ตลอดคืนยังรุ่ง.

สมาธิเป็นแค่เครื่องประกอบในการไปสู่"นิพพาน" (อ.เทธาวิตักกสูตร) เล่ม18หน้า229-230

ก็พระโพธิสัตว์นั้นมีสมาธิบ้าง ดรุณวิปัสสนาบ้าง เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นตั้งวิปัสสนาประทับนั่งนานเกินไป พระวรกายย่อมลำบาก ย่อมร้อนดุจไฟในภายใน พระเสโททั้งหลายย่อมไหลออกจากพระกัจฉะ ไออุ่นจากพระเศียรเป็นดุจเกลียวตั้งขึ้น พระหฤทัยย่อมเดือดร้อน กระสับกระส่าย เป็นจิตฟุ้งซ่าน.แต่พระโพธิสัตว์นั้นทรงเข้าสมาบัติแล้ว บริกรรมสมาบัติ นั้น ทำให้อ่อนทรงเบาพระหฤทัย ทรงตั้งวิปัสสนาอีก ก็เมื่อพระโพธิสัตว์นั้นประทับนั่งนานนัก พระวรกายก็เป็นอย่างนั้น. ก็พระโพธิสัตว์นั้นทรงเข้าสมาบัติแล้ว ทรงกระทำอย่างนั้น เพราะสมาบัติมีอุปการะมากแก่วิปัสสนา. เปรียบเหมือนธรรมดาโล่  มีอุปการะมากแก่ทหาร ทหารนั้นอาศัยโล่นั้น เข้าสงคราม ครั้นเมื่ออาวุธทั้งหลายที่ใช้การรบรวมทั้งเหล่าช้าง เหล่าม้า และเหล่าทหารในสงครามนั้น หมดไป คงมีแต่ความเป็นผู้ใคร่จะบริโภคเป็นต้นเท่านั้น กลับแล้วเข้าไปยังค่ายพักแล้ว จับอาวุธทั้งหลายบ้าง ทดลองบ้าง บริโภคบ้างดื่มน้ำบ้าง ผูกสอดเกราะบ้าง ทำกิจนั้นๆ แล้ว เข้าสงครามอีก หรือ ทำการรบในสงความนั้น เกิดปวดอุจจาระเป็นต้นเข้าไปค่ายพัก ด้วยกิจอันควรทำบางอย่างอีก ครั้นทำธุระเสร็จในค่ายพักนั้นแล้ว ก็เข้าสงครามอีก. สมาบัติมีอุปการะมากแก่วิปัสสนา เหมือนค่ายพักมีอุปการะมากแก่ทหารฉะนั้น. อนึ่งวิปัสสนามีอุปการะแก่สมาบัติมากกว่าค่ายพักของทหารที่ประสงค์จะระงับสงคราม.
       จริงอยู่ พระโพธิสัตว์ทรงอาศัยสมาบัติ เจริญวิปัสสนาแม้ก็จริง แต่วิปัสสนามีกำลังย่อมรักษาแม้สมาบัติ กระทำสมาบัติให้เกิดกำลัง. ก็ชนทั้งหลายย่อมทำเรือในทางบกบ้าง สินค้าในเรือบ้างให้เป็นภาระของเกวียน แต่ถึงน้ำแล้วย่อมทำเกวียนบ้าง  สินค้าในเกวียนบ้าง โคเทียมเกวียนบ้าง ให้เป็นภาระของเรือ เรือตัดกระแสทางขวางแล่นไปสู่ท่าโดยสวัสดีฉันใด วิปัสสนาอาศัยสมาบัติ ย่อมเป็นไปแม้โดยแท้ แต่วิปัสสนามีกำลัง ย่อมรักษาแม้สมาบัติ ย่อมทำสมาบัติให้เกิดกำลังฉันนั้นเหมือนกัน. ก็สมาบัติเปรียบเหมือนเกวียนถึงบก วิปัสสนาเปรียบเหมือนเรือถึงน้ำ. กาลเวลาในการอาศัยสมาบัติแล้วตั้งวิปัสสนาของพระโพธิสัตว์ ท่านแสดงแล้วด้วยประมาณเท่านี้ ด้วยประการดังนี้.

พระเจ้ามหากัปปิสละราชสมบัติแล้วออกบวช (อ.กัปปินสูตร)เล่ม26หน้า784

บทว่า มหากปฺปิโน ได้แก่ พระมหาเถระผู้อยู่ในจำนวนพระมหาสาวก ๘๐ องค์ ผู้บรรลุกำลังแห่งอภิญญามีชื่ออย่างนี้. ได้ยินว่า พระมหาเถระนั้น ครั้งเป็นคฤหัสถ์ ได้ครองราชสมบัติมีอาณาเขตระมาณ ๓๐๐ โยชน์ ในกุกกุฏวดีนคร แต่เพราะในภพสุดท้ายได้เที่ยวเงี่ยโสต สดับคำสั่งสอนเห็นปานนั้น. ต่อมาวันหนึ่ง  ทรงแวดล้อมไปด้วยอำมาตย์๑,๐๐๐ คน ได้ไปทรงกรีฑาในพระราชอุทยาน. ก็ในคราวนั้น พ่อค้า เดินทางจากมัชฌิมประเทศไปนครนั้น เก็บสินค้าแล้วคิดจักเฝ้าพระราชาต่างถือเครื่อง บรรณาการไปพระราชทวาร  สดับว่าพระราชาเสด็จไปพระราช อุทยาน จึงไปยังพระราชอุทยานยืนอยู่ที่ประตู ได้แจ้งแก่คนเฝ้าประตู ครั้นกราบทูลให้พระราชาทรงทราบ พระราชารับสั่งให้เรียกมา ตรัสถามพวกเขาผู้มอบเครื่องบรรณาการถวายบังคมยืนอยู่ว่า พ่อทั้งหลายพวกท่านมาแต่ไหน. พ่อค้าเหล่านั้นกราบทูลว่า มาแต่กรุงสาวัตถี พระเจ้าข้า.
ร.  แว่นแคว้นของพวกท่านมีภิกษาหาได้ง่ายไหม. พระเจ้าแผ่นดินทรงธรรมไหม.
พ.  ขอเดชะ. พระเจ้าข้า.
ร.  ก็ในประเทศของพวกท่านมีศาสนาอะไร.
พ. มีพระเจ้าข้า แต่ผู้มีปากมีเศษอาหารไม่สามารถจะพูดได้.
พระราชา ได้พระราชทานน้ำด้วยพระเต้าทอง. พ่อค้าเหล่านั้นบ้วนปากแล้ว ผินหน้าต่อพระทศพลประคองอัญชลีแล้วกราบทูลว่า ขอเดชะ ชื่อว่าพระพุทธรัตนะได้เกิดขึ้นแล้วในประเทศของข้าพระองค์.
พอพระราชาทรงสดับว่า พุทโธ ปีติเกิดแผ่ไปทั่วพระวรกายของพระราชา.
ลำดับนั้น พระราชาจึงตรัสว่า พ่อทั้งหลาย ท่านจงกล่าวว่า พุทโธ เถิด.
พระราชารับสั่งให้พวกพ่อค้ากล่าวขึ้น ๓ ครั้ง อย่างนี้ว่า ขอเดชะ
ข้าพระองค์ทั้งหลายกล่าวว่าพุทโธ ดังนี้ จึงตรัสว่า บทว่า พุทโธ มีคุณ
หาประมาณมิได้ ใครๆ ไม่อาจทำปริมาณแห่งบทว่า พุทโธ นั้นได้ จึงเลื่อมใสในพระพุทธเจ้านั้นนั่นแล  แล้วได้ประทานทรัพย์แสนหนึ่งแล้ว ตรัสถามอีกว่า ศาสนาอื่นมีไหม.
พ.  มี พระเจ้าข้า คือชื่อธรรมรัตนะเกิดขึ้นแล้ว.
พระราชาทรงสดับแม้ดังนั้นแล้ว จึงทรงรับปฏิญญาถึง ๓ ครั้งเหมือนอย่างนั้น แล้วพระราชทานทรัพย์แสนหนึ่งอีก ตรัสถามอีกว่า ศาสนาอะไรอื่นมีไหม.
พ.  มีพระเจ้าข้า คือพระสังฆรัตนะเกิดขึ้นแล้ว.
พระราชาทรงสดับดังนั้นแล้ว จึงรับปฏิญญา ๓ ครั้งเหมือนอย่างนั้น พระราชทานทรัพย์แสนหนึ่งอีก ทรงลิขิตความที่พระราชทานทรัพย์ไว้ใน พระราชสาสน์แล้วส่งไปด้วยพระดำรัสสั่งว่า พ่อทั้งหลาย พวกท่าน จงไปสำนักของพระเทวี. เมื่อพวกพ่อค้าเหล่านั้นไปแล้วท้าวเธอได้ตรัสถาม อำมาตย์ทั้งหลายว่า พ่อทั้งหลาย พระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นแล้ว พวกท่าน จักกระทำอไร. อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า พระเจ้าข้า พระองค์ประสงค์ จะทำอะไร
.
ร.  เราจักบวช......
    

-วัดป่าสามแยก ศึกษาพระธรรมวินัย เบิกบุญ โอนบุญ อกหัก โดนของ ธรรมะ ธรรมทาน คลายเครียด เจริญรุ่งเรือง //www.samyaek.com

-เวบพี่ดาบต้น http://www.piyavat.com

-Facebook พุทธพจน์ //www.facebook.com/login.php?next=http%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fgroups%2FBuddhaspeech

-เตรียมพบกับพระไตรปิฏกพร้อมหัวข้อธรรมสำหรับ ipad & iphone ดูรายละเอียดได้ที่เวบ //www.tripitaka91.com

****หมายเหตุ "แสดงธรรมวันอาสาฬหบูชา ปี 2555" (//youtu.be/l52iDWt3V5Q ) นาทีที่ 6:01:55 ..เป็นต้นไป หลวงปู่ท่านได้พูดถึง ทนายชนอณุพงศ์  ชัยธนาวิรัตน์ ท่านใดมีปัญหาด้านกฏหมาย,คดีความต่างๆ  ปรึกษาได้ที่ ทนายชนอณุพงศ์  ชัยธนาวิรัตน์ ที่เมล์ pasponglawyer@hotmail.com ,เบอร์โทรที่ 0818060981 , 0867809391 ****




 

Create Date : 17 พฤศจิกายน 2555
3 comments
Last Update : 17 พฤศจิกายน 2555 22:56:44 น.
Counter : 1385 Pageviews.

 

ทุกๆ วันเสาร์เวลาประเทศไทย โดยประมาณ 20:30 น.มีการถ่ายทอดสดไปทั่วโลก เทศน์โดยหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล จากสำนักสงฆ์ป่าสามแยก

รับชมได้ที่
ดูวีดีโอช่องที่ 1 (สำหรับผู้ที่อินเตอร์เน็ทช้า: 56k)
www.samyaek.com

ดูวีดีโอช่องที่ 2 (สำหรับผู้ที่อินเตอร์เน็ทเร็ว: 212k)
www.samyaek.com/?channel=2

สำหรับท่านที่มีปัญหาดูถ่ายทอดสดไม่ได้
www.samyaek.com/board2/index.php?topic=2303.0

การใช้ iPad, iPhone, iPod touch ดูถ่ายทอดสด
www.samyaek.com/board2/index.php?topic=5531.0

วิธีใช้ Tablet ตระกูล Android ดูถ่ายทอดสด
www.samyaek.com/board2/index.php?topic=5512.0

สมาชิกท่านใดมีปัญหาในการรับชม
(ปัญหาอันเกิดจากคอมพิวเตอร์ของท่านเอง)

หากได้แก้ไขตามลิงค์ต่างๆ ข้างต้นแล้ว ก็ยังไม่สามารถรับชมได้
ให้ท่านติดต่อสอบถามได้ที่ คุณชัยณรงค์ รัตนเกษมสุข (เม้ง)
Dtac : 081-554-1699 , AIS 081-935-1651
e-mail : macmagic99@hotmail.com

 

โดย: Budratsa 17 พฤศจิกายน 2555 20:14:29 น.  

 

ขณะนี้มีการถ่ายทอดสด จากวัดสามแยก วันที่ 22 พ.ย. 2555 (วันนี้)

ดูวีดีโอช่องที่ 1 (สำหรับผู้ที่อินเตอร์เน็ทช้า: 56k) : //www.samyaek.com

ดูวีดีโอช่องที่ 2 (สำหรับผู้ที่อินเตอร์เน็ทเร็ว: 212k) : //www.samyaek.com/?channel=2

สำหรับท่านที่มีปัญหาดูถ่ายทอดสดไม่ได้ : //www.samyaek.com/board2/index.php?topic=2303.0

การใช้ iPad, iPhone, iPod touch ดูถ่ายทอดสด : //www.samyaek.com/board2/index.php?topic=5531.0

วิธีใช้ Tablet ตระกูล Android ดูถ่ายทอดสด : //www.samyaek.com/board2/index.php?topic=5512.0

สมาชิกท่านใดมีปัญหาในการรับชม
(ปัญหาอันเกิดจากคอมพิวเตอร์ของท่านเอง)

หากได้แก้ไขตามลิงค์ต่างๆ ข้างต้นแล้ว ก็ยังไม่สามารถรับชมได้
ให้ท่านติดต่อสอบถามได้ที่ คุณชัยณรงค์ รัตนเกษมสุข (เม้ง)
Dtac : 081-554-1699 , AIS 081-935-1651
e-mail : macmagic99@hotmail.com

 

โดย: Budratsa 22 พฤศจิกายน 2555 20:21:07 น.  

 

สวัสดีค่ะคุณบุษ..

ช่วงนี้คุณบุษคงจะออกตระเวนทอดกฐินไปหลายวัดนะค่ะ

ขอให้มีความสุขมากๆในทุกๆวันนะค่ะ

 

โดย: คนผ่านทางมาเจอ 25 พฤศจิกายน 2555 9:11:49 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Budratsa
Location :
พิจิตร Switzerland

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับทุกๆคนค่ะ
"ดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์ (พุทธพจน์) มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา" เล่มที่ ๑๓ : พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ ๓๒๐
Friends' blogs
[Add Budratsa's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.