"ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอด้วยพระตถาคตย่อมไม่มี พระพุทธเจ้าแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยการกล่าวคำจริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี....." "พระไตรปิฏก เป็นตาที่วิเศษยิ่ง, เป็นหูที่วิเศษยิ่ง, เป็นจมูกที่วิเศษยิ่ง, เป็นลิ้นที่วิเศษยิ่ง, เป็นกายที่วิเศษยิ่ง, เป็นใจที่วิเศษยิ่ง, เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง, เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง, เป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษยิ่ง, เป็นแผนที่และป้ายบอกทางที่วิเศษยิ่ง, เป็นแสงสว่างส่องทางสู่นิพพานที่วิเศษยิ่ง"จากวัดสามแยก
Group Blog
 
<<
ตุลาคม 2556
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728293031 
 
14 ตุลาคม 2556
 
All Blogs
 

พระเกษมแก้ข้อกล่าวหาพุทธอิสระ ผ่านสื่อฯ (ฉบับวัดสามแยก) ออกรายการเผชิญหน้า วันที่ 30 กรกฎาคม 2556

หลวงพ่อเกษมแก้ข้อกล่าวหาของหลวงปู่พุทธอิ­สระในรายการเผชิญหน้า กับพิธีกร ดนัย เอกมหาสวัสดิ์ เมื่อ 30 ก.ค.2556 ที่สตูดิโอของรายการเผชิญหน้า อาคาร เล้า เป้ง ง้วน วิภาวดีฯ

เนื้อหา บางส่วนจากการแสดงธรรม ชุดนี้
      ๑.   เทศนาของพระพุทธเจ้ามีทั้งสมมติและปรมัตถบัญญัติ
      ๒.   ก่อนจะโจทก์ผู้อื่น ต้องตรวจสอบตัวเองก่อน
      ๓.   พระปลุกเสกหรือทำพลีกรรมด้วยเลือด... ผิดวินัย
      ๔.   ถูกกล่าวหาด้วยคำไม่จริง ต้องแก้ไขคำกล่าวนั้น
      ๕.   พระภิกษุ นับอาวุโส- ภันเต ตามลำดับพรรษา
     ฯลฯ 



คลิปวีดีโออื่นๆที่เกี่ยวข้อง ข้อกล่าวหาพุทธอิสระ ผ่านสื่อฯ 

หลวงพ่อเกษมเร่งให้พุทธอิสระรีบจัดดวลไมค์



หลวงพ่อเกษมรับข้อเสนอของ อ.เจิมศักดิ์ เรื่องดีเบตธรรมะกับพุทธอิสระ


ศิษย์วัดสามแยกขอความเป็นธรรมจากคุณสรยุทธ์ สุทัศนะจินดา


- เทศนาของพระพุทธเจ้ามีทั้งสมมติและปรมัตถบัญญัติ เล่ม 80 หน้า 219 
- ภิกษุด่า พูดเสียดแทงภิกษุ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เล่ม 4 หน้า 26-29 
- บุคคลที่ควรทำเจดีย์ไว้ใส่กระดูกหลังตายไปแล้ว เล่ม 13 หน้า 310-311 
- อันตรายของผู้ยึดติดในรูปในร่าง เล่ม 28 หน้า 357 
- ไม่มีรูปร่างใด ๆ เปรียบเทียบกับรูปพุทธเจ้าได้ เล่ม 32 หน้า 182 และหน้า 214 
- คำสอนของพระพุทธเจ้าทวนกระแสโลก เล่ม 45 หน้า 685-686 
- ก่อนจะโจทก์ผู้อื่น ต้องตรวจสอบตัวเองก่อน เล่ม 38 หน้า 143-146 
- พระปลุกเสกหรือทำพลีกรรมด้วยเลือด... ผิดวินัย เล่ม 11 หน้า 315 
- พระพุทธเจ้าสอนให้เคารพธรรม เล่ม 34 หน้า 35-36 
- พระขุดดิน ผิดวินัยสงฆ์ เป็นบาปมาก เล่ม 4 หน้า 254-255 
-สาวกต้องยึดธรรมวินัยของพุทธเจ้าเท่านั้น เล่ม 31 หน้า 332
-ห้ามภิกษุรับเงินทองหรือให้ผู้อื่นรับให้ เล่ม 3 หน้า 940
-ถูกกล่าวหาด้วยคำไม่จริง ต้องแก้ไขคำกล่าวนั้น เล่ม 34 หน้า 375 - 378
-พระภิกษุ นับอาวุโส- ภันเต ตามลำดับพรรษา เล่ม9หน้า136-137

-เทศนาของพระพุทธเจ้ามีทั้งสมมติและปรมัตถบัญญัติ เล่ม 80 หน้า 219

สมมติกถาและปรมัตถกถา

อนึ่ง กถา คือถ้อยคำ ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายมี ๒ คือ สมมติกถาและปรมัตถกถา 
ในกถาทั้ง ๒ นั้น คำว่า สัตว์ บุคคล เทวดา พรหม เป็นต้น ชื่อว่า สมมติกถา 
คำว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา  ขันธ์ ธาตุ อายตนะ สติปัฏฐาน และสัมมัปธาน เป็นต้น ชื่อ ปรมัตกถา.

บรรดากถาทั้ง ๒ เหล่านั้น บุคคลใดครั้นเมื่อคำว่า สัตว์ ฯลฯ หรือ พรหม เป็นต้น ที่พระองค์ทรงตรัส แล้วด้วยเทศนาอันเป็นของสมมติ ย่อมอาจเพื่อรู้ธรรม เพื่อแทงตลอดเพื่อออกไปจากสังสารวัฏ เพื่อถือเอาชัย คือ พระอรหัตต์ได้ พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมกล่าวถึงคำว่า สัตว์ หรือบุคคล หรือบุรุษ หรือพรหมจำเดิมแต่ต้นทีเดียวสำหรับผู้นั้น.ส่วนผู้ใด สดับฟังคำว่า อนิจจัง ทุกขัง เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งด้วยปรมัตถเทศนาแล้วก็อาจเพื่อรู้ เพื่อแทงตลอด เพื่อออกไปจากสงสาร เพื่อถือเอาชัยคือพระอรหัตต์ได้พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมตรัสคำอย่างใดอย่างหนึ่งในคำว่าอนิจจัง เป็นต้นเพื่อผู้นั้น ดังนี้.

-พระภิกษุขุดดินเป็นบาปมาก(มุสาวาทวรรคสิกขาบทที่10)เล่ม4หน้า254-255

มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ เรื่องภิกษุชาวรัฐอาฬวี

[๓๔๙]โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ อัคคาฬวเจดีย์ เขตรัฐอาฬวี ครั้งนั้น พวกภิกษุชาวรัฐอาฬวีช่วยกันท่านวกรรม ขุดเองบ้าง ให้คนอื่นขุดบ้างซึ่งปฐพี คนทั้งหลายพากันเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่าไฉน พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้ขุดเองบ้าง ให้คนอื่นขุดบ้างซึ่งปฐพี พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร ย่อมเบียดเบียนอินทรีย์อย่างหนึ่งซึ่งมีชีว ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ    ผู้ใคร่ต่อสิกขาต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุชาวรัฐอาฬวีจึงได้ขุดเองบ้างให้คนอื่นขุดบ้างซึ่งปฐพีเล่า...แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอขุดเองบ้าง ให้คนอื่นขุดบ้างซึ่งปฐพี จริงหรือ.
ภิกษุชาวรัฐอาฬวีทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงได้ขุดเองบ้าง ให้คนอื่นขุดบ้างซึ่งปฐพีเล่า  เพราะคนทั้งหลายสำคัญในปฐพีว่ามีชีวะ การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว....

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ว่าดังนี้

พระบัญญัติ

๕๙.๑๐. อนึ่ง ภิกษุใด ขุดก็ดี ให้ขุดก็ดี ซึ่งปฐพี เป็นปาจิตตีย์.

-อันตรายของผู้ยึดติดในรูปในร่าง เล่ม 28 หน้า 357

๘.อาทิตตปริยายสูตร ว่าด้วยอาทิตตปริยายและธรรมปริยาย

[๓๐๓]ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงอาทิตตปริยายและธรรมปริยายแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาทิตตปริยายและธรรมปริยายเป็นไฉน.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลแทงจักขุนทรีย์ด้วยหลาวเหล็กอันร้อนไฟติดลุกโพลงแล้ว ยังดีกว่า การถือนิมิตโดยอนุพยัญชนะในรูป อันจักขุวิญญาณพึงรู้แจ้ง จะดีอะไร วิญญาณอันตะกรามด้วยความยินดีในนิมิต หรือตะกรามด้วยความยินดีในอนุพยัญชนะ  เมื่อตั้งอยู่ก็พึงตั้งอยู่ได้ ถ้าบุคคลพึงทำกาลกิริยาเสียในสมัยนั้นไซร้ ข้อที่บุคคลจะพึงเข้าถึงคติ ๒ อย่าง คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์เดียรฉานอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราเห็นโทษอันนี้ จึงกล่าวอย่างนี้..........

-ไม่มีรูปร่างใด ๆ เปรียบเทียบกับรูปพุทธเจ้าได้ เล่ม 32 หน้า 182 และหน้า 214

[๑๔๓]ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอก เมื่อเกิดขึ้นในโลกย่อมเกิดขึ้นเป็นผู้ไม่เป็นที่สองใคร.ไม่มีใครเช่นกับพระองค์ ไม่มีใครเปรียบไม่มีใครเปรียบเสมอ ไม่มีส่วนเปรียบ ไม่มีบุคคลเปรียบ ไม่มีใครเสมอ เสมอด้วยพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอ เป็นผู้เลิศกว่าคนทั้งหลาย บุคคลผู้เอกเป็นไฉน คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เอกนี้แล เมื่อเกิดขึ้นในโลกย่อมเกิดขึ้นเป็นผู้ไม่เป็นที่สองใคร ไม่มีใครเช่นกับพระองค์  ไม่มีใครเปรียบไม่มีใครเปรียบเสมอ ไม่มีส่วนเปรียบ ไม่มีบุคคลเปรียบ ไม่มีใครเสมอเสมอด้วยพระพุทธเจ้าผู้ไม่มีใครเสมอ เป็นผู้เลิศกว่าสัตว์สองเท้าทั้งหลาย.

-หน้า 214

บทว่า อปฺปฎิโม (ไม่มีผู้เปรียบ)ความว่า อัตภาพเรียกว่ารูปเปรียบ.ชื่อว่าไม่มีผู้เปรียบ เพราะรูปเปรียบอื่นเช่นกับอัตภาพของท่านไม่มี.อีกอย่างหนึ่ง มนุษย์ทั้งหลายกระทำรูปเปรียบใดล้วนแล้วด้วยทองและเงินเป็นต้น ในบรรดารูปเปรียบเหล่านั้น ชื่อว่าผู้สามารถกระทำโอกาสแม้สักเท่าปลายขนทรายให้เหมือนอัตภาพของพระตถาคต ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าไม่มีผู้เปรียบแม้โดยประการทั้งปวง.บทว่า อปฺปฎิสโม (ไม่มีผู้เทียบ)ความว่า ชื่อว่าไม่มีผู้เทียบ เพราะใครๆ ชื่อว่าผู้จะเทียบกับอัตภาพของพระตถาคตนั้นไม่มี.

-พระปลุกเสกหรือทำพลีกรรมด้วยเลือด... ผิดวินัย เล่ม 11 หน้า 315

มหาศีล

(๑๑๔ )๑.ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทายอวัยวะ ทายนิมิต ทายฟ้าผ่าเป็นต้น ทำนายฝัน ทำนายลักษณะ ทำนายหนูกัดผ้า ทำพิธีบูชาไฟ ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน ทำพิธีซัดแกลบ บูชาไฟ ทำพิธีซัดรำบูชาไฟ ทำพิธีซัดข้าวสารบูชาไฟ ทำพิธีเติมเนย บูชาไฟ ทำพิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ ทำพิธีเสกเป่าบูชาไฟ ทำพลีกรรมด้วยโลหิต เป็นหมอดูอวัยวะ ดูลักษณะที่บ้าน ดูลักษณะที่นา เป็นหมอปลุกเสก เป็นหมอผี เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน เป็นหมองู เป็นหมอยาพิษ เป็นหมอแมลงป่อง เป็นหมอรักษาแผลหนูกัด เป็นหมอทายเสียงนก เป็นหมอทายเสียงกา เป็นหมอทายอายุ เป็นหมอเสกกันลูกศร เป็นหมอทายเสียงสัตว์ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง

-สาวกต้องยึดธรรมวินัยของพุทธเจ้าเท่านั้น เล่ม 31 หน้า 332

[๑๕๒๓]...ฝ่ายหนึ่งเป็นพระผู้มีพระภาคเจ้า (ตรัส)และฝ่ายหนึ่งเป็นภิกษุสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์ และอุบาสกทั้งหลาย (กล่าว) ฝ่ายใด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส  หม่อมฉันเป็นฝ่ายนั้น...

[๑๕๒๔]...ฝ่ายหนึ่งเป็นพระผู้มีพระภาคเจ้า (ตรัส)และฝ่ายหนึ่งเป็นภิกษุสงฆ์ ภิกษุณีสงฆ์ อุบาสกทั้งหลาย และอุบาสิกาทั้งหลาย (กล่าว) ฝ่ายใด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส  หม่อมฉันเป็นฝ่ายนั้น...

[๑๕๒๕] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความบังเกิดแห่งเหตุเฉพาะบางประการ พึงบังเกิดขึ้นได้ในธรรมวินัยนี้ คือ ฝ่ายหนึ่งเป็นพระผู้มีพระภาคเจ้า(ตรัส)และฝ่ายหนึ่งเป็นภิกษุสงฆ์  ภิกษุณีสงฆ์  อุบาสกทั้งหลาย  และอุบาสิกาทั้งหลาย โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ (กล่าว) ฝ่ายใด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหม่อมฉันพึงเป็นฝ่ายนั้น ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดทรงจำหม่อมฉันว่าเป็นผู้เลื่อมใสอย่างนี้.

-ห้ามภิกษุรับเงินทองหรือให้ผู้อื่นรับให้ เล่ม 3 หน้า 940

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้ :-

พระบัญญัติ

๓๗.๘. อนึ่ง ภิกษุใด รับก็ดี ให้รับก็ดี ซึ่งทอง เงิน หรือ
ยินดีทอง เงิน อันเขาเก็บไว้ให้ เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.

-บุคคลที่ควรทำเจดีย์ไว้ใส่กระดูกหลังตายไปแล้ว เล่ม 13 หน้า 310-311

ถูปารหบุคคล  ๔

[๑๓๔]ดูก่อนอานนท์  ถูปารหบุคคล ๔ เหล่านี้.ถูปารหบุคคล  ๔ เป็นไฉน.คือ
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ๑ สาวกของพระตถาคต ๑ พระเจ้าจักรพรรดิ ๑.

ดูก่อนอานนท์ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเป็นถูปารหบุคคล. ชนเป็นอันมาก ย่อมยังจิตให้เลื่อมใสว่า นี้เป็นพระสถูปของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ชนเหล่านั้น ยังจิตให้เลื่อมใสพระสถูปนั้นแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ อานนท์ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเป็นถูปารหบุคคล.

ดูก่อนอานนท์ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร ๆ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า จึงเป็นถูปารหบุคคล ชนเป็นอันมากยังจิตให้เลื่อมใสว่า นี้เป็นสถูปของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชนเหล่านั้นยังจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้นแล้วเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตกย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ อานนท์ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล พระปัจเจกสัมพุทธาเจ้าจึงเป็นถูปารหบุคคล.

ดูก่อนอานนท์ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร สาวกของพระตถาคตจึงเป็นถูปารหบุคคล.ชนเป็นอันมาก ยังจิตให้เลื่อมใสว่า นี้เป็นสถูปสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ชนเหล่านั้นยังจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้นแล้ว เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายตาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ อานนท์ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล สาวกของพระตถาคตจึงเป็นถูปารหบุคคล.

ดูก่อนอานนท์ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์อะไร พระเจ้าจักรพรรดิจึงเป็นถูปารหบุคคล.ชนเป็นอันมาก ยังจิตให้เลื่อมใสว่า นี้เป็นพระสถูปของพระธรรมราชา ผู้ทรงธรรมพระองค์นั้น ชนเหล่านั้น ยังจิตให้เลื่อมใสในพระสถูปนั้นแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ อานนท์ เพราะอาศัยอำนาจประโยชน์นี้แล พระเจ้าจักรพรรดิจึงเป็นถูปารหบุคคล อานนท์ ถูปารหบุคคล ๔  เหล่านี้แล.

-คำสอนของพระพุทธเจ้าทวนกระแสโลก เล่ม 45 หน้า 685-686

๑๐.ปุริสสูตร ว่าด้วยเหมือนบุรุษถูกกระแสน้ำพัดไป

[๒๘๙]ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษพึงถูกกระแสแห่งแม่น้ำ คือ ปิยรูปและสาตรูปพัดไป  บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่ที่ฝั่งเห็นบุรุษนั้นแล้วพึงกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ ท่านถูกกระแสแห่งแม่น้ำ คือ ปิยรูปและสาตรูปพัดไปแม้โดยแท้ แต่ท่านจะตกถึงห้วงน้ำที่มีอยู่ภายใต้แห่งแม่น้ำนี้ซึ่งมีคลื่น มีน้ำวน มีสัตว์ร้าย มีรากษส (ผีเสื้อน้ำ)ย่อมเข้าถึงความตายบ้างความทุกข์ปางตายบ้าง ลำดับนั้นแล บุรุษนั้นได้ฟังเสียงของบุรุษนั้นแล้วพึงพยายามว่ายทวนกระแสน้ำด้วยมือทั้ง ๒ และด้วยเท้าทั้ง ๒
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตแสดงข้ออุปมานี้แล เพื่อจะให้แจ่มแจ้งซึ่งเนื้อความ ก็ในอุปมานี้มีเนื้อความดังต่อไปนี้ 

-คำว่า ห้วงน้ำในภายใต้ เป็นชื่อแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ คำว่า มีคลื่นเป็นชื่อแห่งความโกรธและความแค้นใจ คำว่า มีน้ำวน เป็นชื่อแห่งกามคุณ ๕
-คำว่า มีสัตว์ร้าย มีรากษส เป็นชื่อของมาตุคาม คำว่า ทวนกระแสน้ำ เป็นชื่อของเนกขัมมะ 
-คำว่า พยายามด้วยมือทั้งสองและด้วยเท้าทั้งสอง เป็นชื่อแห่งการปรารภความเพียร 
-คำว่า บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่ที่ฝั่ง เป็นพระนามของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.

ภิกษุพึงละกามทั้งหลาย แม้กับด้วย
ทุกข์เมื่อปรารถนาซึ่งความเกษมจากโยคะ
ต่อไป  พึงเป็นผู้มีสัมปชัญญะ  มีจิตหลุด
พ้นแล้วด้วยดี  ถูกต้องวิมุตติในกาลเป็นที่
บรรลุมรรคและผลนั้นภิกษุนั้นผู้ถึงเวทอยู่
จบพรหมจรรย์แล้ว ถึงที่สุดแห่งโลกเรา
กล่าวว่า เป็นผู้ถึงฝั่งแล้ว.

- ก่อนจะโจทก์ผู้อื่น ต้องตรวจสอบตัวเองก่อน เล่ม 38 หน้า 143-146 

๔.กุสินาราสูตร ว่าด้วยภิกษุผู้ประสงค์จะโจทผู้อื่นพึงพิจารณาธรรม ๕ ประการในตน

[๔๔]สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ไพรสณฑ์เป็นที่นำไปทำพลีกรรม ใกล้กรุงกุสินารา ณ  ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาธรรม ๕ ประการในตน พึงเข้าไปตั้งธรรม ๕  ประการไว้ในตน แล้วจึงโจทผู้อื่น ธรรม
๕  ประการอันภิกษุพึงพิจารณาในตนเป็นไฉน  

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้มีกายสมาจารอันบริสุทธิ์ เราเป็นผู้ประกอบด้วยกายสมาจารอันบริสุทธิ์ ไม่ขาด ไม่บกพร่องหรือหนอ ธรรมนี้มีพร้อมอยู่แก่เราหรือไม่หนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากว่าภิกษุมิได้เป็นผู้มีกายสมาจารอันบริสุทธิ์  มิได้เป็นผู้ประกอบด้วยกายสมาจารอันบริสุทธิ์ ไม่ขาด ไม่บกพร่องไซร้ จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้นว่า เชิญท่านจงศึกษาความประพฤติทางกายเสียก่อนเถิดจะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้น ดังนี้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า เราเป็นผู้มีวจีสมาจารบริสุทธิ์ เราเป็นผู้ประกอบด้วยวจีสมาจารอันบริสุทธิ์ ไม่ขาด ไม่บกพร่องหรือหนอ ธรรมนี้มีพร้อมอยู่แก่เราหรือไม่หนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากว่าภิกษุมิได้เป็นผู้มีวจีสมาจารบริสุทธิ์ มิได้ประกอบด้วยวจีสมาจารอันบริสุทธิ์ ไม่ขาด ไม่บกพร่องไซร้ จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้นว่า เชิญท่านจงศึกษาความประพฤติทางวาจาเสียก่อนเถิด จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้น ดังนี้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า เราเข้าไปตั้งเมตตาจิตไม่อาฆาตไว้ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายแล้วหรือหนอ.ธรรมนี้มีพร้อมอยู่แก่เราหรือไม่หนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายหากว่าภิกษุเข้าไปตั้งเมตตาจิตไม่อาฆาตไว้ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายไซร้ จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้นว่า เชิญท่านจงเข้าไปตั้งเมตตาจิตไว้ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายเสียก่อนเถิด จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้น  ดังนี้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นโจทประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า เราเป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้สดับมามาก ทรงไว้คล่องปาก นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิซึ่งธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงหรือหนอ ธรรมนี้มีพร้อมอยู่แก่เราหรือไม่หนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากภิกษุไม่เป็นพหูสูต ทรงสุตะสั่งสมสุตะ ไม่เป็นผู้ได้สดับมามาก ทรงไว้คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดด้วยดีด้วยทิฏฐิซึ่งธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุดประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงไซร้  จะมีผู้กล่าวภิกษุนั้นว่า เชิญท่านจงเล่าเรียนคัมภีร์เสียก่อนเถิดจะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้น  ดังนี้.

อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาอย่างนี้ว่า เราจำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดีแล้ว จำแนกดีแล้ว ให้เป็นไปดีแล้วโดยพิสดาร วินิจฉัยดีแล้วโดยสูตรโดยอนุพยัญชนะหรือหนอ ธรรมนี้มีพร้อมอยู่แก่เราหรือไม่หนอ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากว่าภิกษุเป็นผู้ไม่จำปาติโมกข์ทั้งสองได้ดีแล้ว มิได้จำแนกดีแล้ว มิได้ให้เป็นไปดีแล้วโดยพิสดาร มิได้วินิจฉัยด้วยดีโดยสูตรโดยอนุพยัญชนะ ภิกษุนั้นถูกถามว่า ท่านผู้มีอายุ สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้วในที่ไหน ดังนี้แก้ไม่ได้ จะมีผู้กล่าวภิกษุนั้นว่า เชิญท่านศึกษาวินัยเสียก่อนเถิด จะมีผู้ว่ากล่าวภิกษุนั้น ดังนี้ ธรรม ๕ ประการนี้ อันภิกษุเป็นโจทก์พึงพิจารณาในตน.

ธรรม ๕ ประการ อันภิกษุผู้เป็นโจทก์พึงให้เข้าไปตั้งไว้ในตนเป็นไฉน คือ

จักกล่าวโดยกาลอันควร  จักไม่กล่าวโดยกาลอันไม่ควร ๑
จักกล่าวด้วยคำจริง จักไม่กล่าวด้วยคำไม่จริง ๑  
จักกล่าวด้วยคำอ่อนหวาน จักไม่กล่าวด้วยคำหยาบ ๑  
จักกล่าวด้วยคำอันประกอบด้วยประโยชน์ จักไม่กล่าวด้วยคำอันไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑  
จักมีเมตตาจิตกล่าว จักไม่เพ่งโทษกล่าว ๑ 

ธรรม ๕ ประการนี้ อันภิกษุผู้เป็นโจทก์พึงเข้าไปตั้งไว้ในตน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้เป็นโจทก์ประสงค์จะโจทผู้อื่น พึงพิจารณาธรรม ๕ ประการนี้ในตน พึงเข้าไปตั้งธรรม ๕ ประการนี้ไว้ในตน แล้วจึงโจทผู้อื่น.

-ถูกกล่าวหาด้วยคำไม่จริง ต้องแก้ไขคำกล่าวนั้น เล่ม 34 หน้า 375 - 378

๙.มูลสูตร ว่าด้วยกุศลมูลและอกุศลมูล

[๕๐๙]ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลมูล (รากเง่าของอกุศล) ๓ นี้.
๓ คืออะไร คือโลภะ โทสะ โมหะ
ภิกษุทั้งหลาย แม้ตัวโลภะ โทสะ โมหะเอง ก็เป็นอกุศลแม้กรรมที่บุคคลผู้เกิดโลภะ โทสะ โมหะแล้วสร้างขึ้นด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ ก็เป็นอกุศล บุคคลเกิดโลภะ โทสะ โมหะแล้ว อันโลภะ โทสะ  โมหะครอบงำแล้ว มีจิตอันโลภะ โทสะ โมหะ จับเสียรอบแล้ว หาเรื่องก่อทุกข์อันใดให้ผู้อื่น โดยฆ่าเสียบ้าง จองจำเสียบ้างทำให้เสียทรัพย์บ้าง ตำหนิโทษบ้าง ขับไล่บ้าง ด้วยถือว่า ข้าฯ เป็นคนมีกำลังอำนาจบ้าง ข้าฯ อยู่ในพรรคพวกบ้าง แม้อันนั้น ก็เป็นอกุศลธรรมทั้งหลายอันเป็นบาปอกุศลมิใช่น้อย ซึ่งเกิดเพราะโลภะ โทสะ โมหะ มีโลภะ โทสะ โมหะเป็นต้นเหตุ เป็นแดนเกิด เป็นปัจจัยเหล่านี้ ย่อมเกิดพร้อมด้วยประการอย่างนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเช่นนี้นี่ เรียกว่า อกาลวาที(พูดในเวลาไม่ควร หรือไม่พูดในเวลาที่ควร)บ้าง อภูตวาที (พูดสิ่งที่ไม่จริงหรือไม่พูดสิ่งที่จริง)บ้าง อนัตถวาที(พูดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ หรือไม่พูดสิ่งที่เป็นประโยชน์) บ้าง อธรรมวาที(พูดสิ่งที่ไม่เป็นธรรม หรือไม่พูดสิ่งที่เป็นธรรม)บ้าง อวินัยวาที(พูดสิ่งที่ไม่เป็นวินัย หรือไม่พูดสิ่งที่เป็นวินัย)บ้าง เพราะเหตุอะไร บุคคลเช่นนี้ จึงเรียกว่า อกาลวาทีบ้างฯลฯ อวินัยวาทีบ้าง เพราะว่า บุคคลนี้หาเรื่องก่อทุกข์ให้ผู้อื่น โดยฆ่าเสียบ้าง ฯลฯ ด้วยถือว่า ข้าฯ  เป็นคนมีกำลังอำนาจบ้าง ข้าฯ อยู่ในพรรคพวกบ้าง แต่เมื่อผู้อื่นว่าโดยความจริงก็ปัดเสีย ไม่ยอมรับ  เมื่อเขาว่าโดยความไม่จริง ก็ไม่เพียรที่จะแก้ความไม่จริงนั้น ว่าสิ่งนี้ไม่จริง สิ่งนั้นไม่เป็น ด้วยเหตุนี้ ๆ เพราะฉะนั้น บุคคลเช่นนี้จึงเรียกว่า อกาลวาทีบ้าง ฯลฯอวินัยวาทีบ้าง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเช่นนี้ อันอกุศลบาปธรรมที่เกิดเพราะโลภะ โทสะ โมหะครอบงำแล้ว มีจิตอันอกุศลบาปธรรมเหล่านั้นจับเสียรอบแล้ว ในปัจจุบันนี้ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ประกอบไปด้วยความคับแค้นเร่าร้อน เพราะกายแตกตายไป ทุคติเป็นหวังได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเปรียบเหมือนต้นรัง หรือต้นตะแบก หรือต้นตะคร้อก็ตาม ถูกเถาย่านทราย ๓ เถาขึ้นปกคลุมรึงรัดแล้ว ย่อมถึงความไม่เจริญ ย่อมถึงความพินาศ ย่อมถึงทั้งความไม่เจริญทั้งความพินาศฉันใด บุคคลเช่นนี้ก็ฉันนั้นนั่นแล อันอกุศลบาปธรรมที่เกิดเพราะโลภะ โทสะ โมหะครอบงำแล้ว มีจิตอันอกุศลบาปธรรมเหล่านั้นจับเสียรอบแล้ว  ในปัจจุบันนี่ย่อมอยู่เป็นทุกข์ประกอบไปด้วยความคับแค้นเร่าร้อน เพราะกายแตกตายไป ทุคติเป็นหวังได้นี้แล ภิกษุทั้งหลาย อกุศลมูล ๓

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุศลมูล (รากเง่าของกุศล)๓ นี้ ๓ คืออะไร คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ
ภิกษุทั้งหลาย แม้ตัวอโลภะ อโทสะ อโมหะเองก็เป็นกุศล แม้กรรมที่บุคคลผู้ไม่เกิดโลภะ โทสะ  โมหะ ทำด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจก็เป็นกุศล บุคคลผู้ไม่เกิดโลภะ โทสะ โมหะ อันโลภะ โทสะ โมหะไม่ครอบงำแล้ว มีจิตอันโลภะ โทสะ โมหะไม่จับรอบแล้ว ไม่หาเรื่องก่อทุกข์อันใดให้ผู้อื่น โดยฆ่าเสียบ้าง ฯลฯ ข้าฯ อยู่ในพรรคพวกบ้างแม้อันนั้นก็เป็นกุศล ธรรมทั้งหลายอันเป็นกุศลมิใช่น้อย  ซึ่งเกิดเพราะอโลภะ อโทสะ  อโมหะ มีอโลภะ อโทสะ อโมหะเป็นต้นเหตุ เป็นแดนเกิดเป็นปัจจัย  เหล่านี้ ย่อมเกิดพร้อมด้วยประการอย่างนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลเช่นนี้นี่ เรียกว่า กาลวาที(พูดในเวลาที่ควร)บ้าง ภูตวาที (พูดสิ่งที่จริง)บ้าง อัตถวาที(พูดสิ่งที่เป็นประโยชน์)บ้าง ธรรมวาที(พูดสิ่งที่เป็นธรรม)บ้าง วินัยวาที(พูดสิ่งที่เป็นวินัย)บ้าง เพราะเหตุอะไร บุคคลเช่นนี้จึงเรียกว่า กาลวาทีบ้าง ฯลฯ วินัยวาทีบ้าง เพราะว่าบุคคลนี้ไม่หาเรื่องก่อทุกข์ให้ผู้อื่น โดยฆ่าเสียบ้าง ฯลฯ ข้าฯ อยู่ในพรรคพวกบ้าง เมื่อผู้อื่นว่าโดยความจริงก็ยอมรับ ไม่ปัดเสีย เมื่อเขาว่าโดยความไม่จริง ก็เพียรแก้ความไม่จริงนั้นว่าสิ่งนี้ไม่จริง สิ่งนั้นไม่เป็นด้วยเหตุนี้ ๆ เพราะฉะนั้น บุคคลเช่นนี้ จึงเรียกว่า กาลวาทีบ้าง ฯลฯ วินัยวาทีบ้าง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อกุศลบาปธรรมทั้งหลายที่เกิดเพราะโลภะ โทสะ โมหะ ของบุคคลเช่นนี้ อันเขาละเสียแล้ว มีมูลอันขาดแล้ว ทำให้เหมือนตอตาลแล้ว ทำให้ไม่มีในภายหลังแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา บุคคลเช่นนี้ ย่อมอยู่เป็นสุขไม่มีความคับแค้น เร่าร้อนในปัจจุบันนี้ ย่อมปรินิพพานในปัจจุบันนี้แหละ เปรียบเหมือนต้นรังหรือต้น ตะแบกหรือต้นตะคร้อก็ตาม ถูกเถาย่านทราย ๓ เถา ขึ้นปกคลุมรึงรัดแล้ว มีบุรุษผู้หนึ่งถือจอบเสียมและตะกร้ามา ตัดโคนเถาย่านทรายแล้วขุดคุ้ยเอารากขึ้น ที่สุดแม้เท่าก้านแฝก (ก็ไม่ให้เหลือ)แล้วสับผ่าให้เป็นชิ้นละเอียดผึ่งแดดและลมจนแห้ง แล้วเผาด้วยไฟจนเป็นผุยผง แล้วโปรยเสียในลมแรงหรือสาดเสียในกระแสอันเชี่ยวในแม่น้ำ เมื่อเช่นนี้ เถาย่านทรายนั้นก็เป็นอันรากขาดแล้ว.ถูกทำให้เหมือนตอตาลแล้ว ถูกทำให้ไม่มีในภายหลังแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นอีกต่อไปเป็นธรรมดา ฉันใด ฉันเดียวกันนั่นแล ภิกษุทั้งหลายอกุศลบาปธรรมที่เกิดเพราะโลภะ โทสะ โมหะ ของบุคคลเช่นนี้ อันเขาละเสียแล้ว มีมูลอันขาดแล้ว ฯลฯ ย่อมปรินิพพานในปัจจุบันนี้แหละนี้แล ภิกษุทั้งหลาย กุศลมูล ๓.

-พระพุทธเจ้าสอนให้เคารพธรรม เล่ม 34 หน้า 35-36

๔.จักกวัตติสูตร ว่าด้วยราชาของพระเจ้าจักรพรรดิและของพระพุทธองค์

[๔๕๓]ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้พระเจ้าจักรพรรดิ ผู้ทรงธรรมเป็นธรรมราชา ย่อมไม่ยังจักรอันไม่มีพระราชาให้เป็นไป ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้กราบทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ใครเป็นพระราชาของพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรมเป็นธรรมราชา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ธรรม เป็นพระราชาของพระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าจักรพรรดิ...ทรงอาศัยธรรมนั่นแล ทรงสักการะ... เคารพ... นบนอบธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา มีธรรมเป็นอธิปไตย  จัดการรักษาป้องกันคุ้มครองอย่างยุติธรรม ในอันโตชน...ในกษัตริย์...ในอนุยนต์...ในทหาร...ในพราหมณคฤหบดี... ในชาวนิคมชนบท... ในสมณพราหมณ์ ..ในเนื้อและนกทั้งหลาย ดูก่อนภิกษุพระเจ้าจักรพรรดิ... นั้นแล ครั้นทรงอาศัยธรรม ทรงสักการะ...เคารพ...นบนอบธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา มีธรรมเป็นอธิปไตยจัดการรักษาป้องกันคุ้มครองอย่างยุติธรรม ในอันโตชน...ในกษัตริย์...ในอนุยนต์...ทหาร... ในพราหมณคฤหบดี...ในชาวนิคมชนบท...ในสมณพราหมณ์...ในเนื้อและนกทั้งหลายแล้ว ทรงยังจักรให้เป็นไปโดยธรรมนั้นเทียว จักรนั้นจึงเป็นจักรอันข้าศึกผู้เป็นมนุษย์ไร ๆ ให้เป็นไปตอบไม่ได้(คือต้านทานคัดค้านไม่ได้)......

ดูก่อนภิกษุ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะก็อย่างนั้นเหมือนกันเป็นผู้ทรงธรรม เป็นพระธรรมราชา  ทรงอาศัยธรรมเท่านั้น ทรงสักการะเคารพ...นบนอบธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา มีธรรมเป็นอธิปไตย จัดการรักษาป้องกันคุ้มครองที่เป็นธรรมในกายกรรม ด้วยโอวาทว่า กายกรรมอย่างนี้ควรประพฤติ กายกรรมอย่างนี้ไม่ควรประพฤติ... ในวจีกรรมด้วยโอวาทว่า วจีกรรมอย่างนี้ควรประพฤติ วจีกรรมอย่างนี้ไม่ควรพระพฤติ...ในมโนกรรม ด้วยโอวาทว่า มโนกรรมอย่างนี้ควรประพฤติ มโนกรรมอย่างนี้ไม่ควรพระพฤติ ดูก่อนภิกษุ  พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธะผู้ทรงธรรมเป็นพระธรรมราชานั้นแล ครั้นทรงอาศัยธรรม ทรงสักการะ...เคารพ... นบนอบธรรม มีธรรมเป็นธง มีธรรมเป็นตรา มีธรรมเป็นอธิปไตย จัดการรักษาป้องกันคุ้มครองที่เป็นธรรมในกายกรรม...ในวจีกรรม...ในมโนกรรมแล้ว ทรงยังพระธรรมจักรอย่างยอดเยี่ยมให้เป็นไปโดยธรรมนั่นเทียว พระธรรมจักรนั้นจึงเป็นจักรอันสมณะหรือพราหมณ์หรือเทวดาหรือมารหรือพรหมหรือใครๆ ในโลก ให้เป็นไปตอบไม่ได้.

๑.คนในครัวเรือน คือ ในราชสำนัก
๒.ราชบริพาร

-พระภิกษุ นับอาวุโส- ภันเต ตามลำดับพรรษา เล่ม9หน้า136-137

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การกระทำของโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังเลื่อมใส....ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถา รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตการ กราบไหว้ การลุกรับ การทำอัญชลีกรรม การทำสามีจิกรรม อาสนะที่เลิศ น้ำอันเลิศบิณฑบาตอันเลิศ  ตามลำดับผู้แก่กว่า อนึ่ง ภิกษุไม่ควรเกียดกันเสนาสนะของสงฆ์ตามลำดับผู้แก่กว่า รูปใดเกียดกัน  ต้องอาบัติทุกกฎ.

บุคคลที่ไม่ควรไหว้ ๑๐ จำพวก

[๒๖๔]ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  บุคคล ๑ จำพวกนี้ อันภิกษุไม่ควรไหว้ คืออันภิกษุผู้อุปสมบทก่อนไม่ควรไหว้ภิกษุผู้อุปสมบทภายหลัง ๑ ไม่ควรไหว้ อนุปสัมบัน ๑ ไม่ควรไหว้ภิกษุนานาสังวาสผู้แก่กว่า แต่ไม่ใช่ธรรมวาที ๑ ไม่ควรไหว้มาตุคาม ๑ ไม่ควรไหว้บัณเฑาะก์ ๑ ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้อยู่ปริวาส ๑ ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ๑ ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรมานัต ๑ ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ประพฤติมานัต ๑ ไม่ควรไหว้ภิกษุผู้ควรอัพภาน ๑ บุคคล ๑๐ จำพวกนี้แล อันภิกษุไม่ควรไหว้.

ที่มา : วัดป่าสามแยก ศึกษาพระธรรมวินัย เบิกบุญ โอนบุญ อกหัก โดนของ ธรรมะ ธรรมทาน คลายเครียด เจริญรุ่งเรือง //www.samyaek.com/index.php

หัวข้อพระไตรปิฏก ที่ทางวัดสามแยกคัดเอาหัวข้อย่อๆ ให้ดาวโหลดขึ้นมาไว้ เพื่ออ่านเทียบเคียงพระไตรปิฎกทั้ง 91 เล่ม (พระวัดสามแยกยกหัวข้อสำคัญเพื่อเป็นแนวทางอ่านพระไตรปิฏกทั้ง91เล่ม)
//www.samyaek.com/board2/index.php?topic=3230.msg19459#msg19459

-ศึกษาพระไตรปิฏกและอรรถกถาแปลชุด91เล่ม ของมหามกุฏราชวิทยาลัย //www.thepalicanon.com/palicanon/

-Facebook พุทธพจน์ //www.facebook.com/login.php?next=http%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fgroups%2FBuddhaspeech

-Download free พระไตรปิฏกพร้อมหัวข้อธรรมสำหรับ apple ipad & iphone & Android ดูรายละเอียดได้ที่เวบ //www.tripitaka91.com

-เสียงอ่านพระไตรปิฏกชุด91เล่ม //www.dharmatarzan.com/

****หมายเหตุ "แสดงธรรมวันอาสาฬหบูชา ปี 2555" (//youtu.be/l52iDWt3V5Q ) นาทีที่ 6:01:55 ..เป็นต้นไป หลวงปู่ท่านได้พูดถึง ทนายชนอณุพงศ์ ชัยธนาวิรัตน์ ท่านใดมีปัญหาด้านกฏหมาย,คดีความต่างๆ ปรึกษาได้ที่ ทนายชนอณุพงศ์ ชัยธนาวิรัตน์ ที่เมล์ pasponglawyer@hotmail.com ,เบอร์โทรที่ 0818060981 , 0867809391 ****




 

Create Date : 14 ตุลาคม 2556
3 comments
Last Update : 15 พฤศจิกายน 2556 22:36:55 น.
Counter : 998 Pageviews.

 

- ภิกษุด่า พูดเสียดแทงภิกษุ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ เล่ม 4 หน้า 26-29

มุสาวาทวรรค สิกขาบทที่ ๒ เรื่องพระฉัพพัคคีย์

[๑๘๒]โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอานาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นพระฉัพพัคคีย์ทะเลาะกับพวก ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก กล่าวเสียดแทงพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก คือด่าว่า สบประมาท กระทบกำเนิดบ้าง ชื่อบ้าง วงศ์ตระกูลบ้าง การงานบ้าง ศิลปบ้าง โรคบ้าง รูปพรรณบ้าง กิเลสบ้าง อาบัติบ้างคำด่าที่ทรามบ้าง .

บรรดาภิกษุผู้มักน้อย สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขา ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระฉัพพัคคีย์ ทะเลาะกับภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก จึงได้กล่าวเสียดแทงพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก คือด่าว่าสบประมาท กระทบกำเนิดบ้าง ชื่อบ้าง วงศ์ตระกูลบ้าง การงานบ้าง ศิลปบ้าง โรคบ้าง รูปพรรณบ้าง กิเลสบ้าง อาบัติบ้าง คำด่าที่ทรามบ้างเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ประชุมสงฆ์ทรงสอบถาม

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่าจริงหรือภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอทะเลาะกับพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักกล่าวเสียดแทงพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก คือคำว่า สบประมาท กระทบกำเนิดบ้าง ชื่อบ้าง วงศ์ตระกูลบ้าง การงานบ้าง ศิลปบ้าง โรคบ้าง รูปพรรณบ้าง กิเลสบ้าง อาบัติบ้าง คำด่าที่ทรามบ้าง.
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียน

พระผู้มีพร ะภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน
พวกเธอจึงได้ทะเลาะกับพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก กล่าวเสียดแทงพวกภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก คือด่าว่า สบประมาท กระทบกำเนิดบ้าง ชื่อบ้าง วงศ์ตระกูลบ้าง การงานบ้าง ศิลปบ้าง โรคบ้าง รูปพรรณบ้าง กิเลสบ้าง อาบัติบ้าง คำด่าที่ทรามบ้าง การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว....ครั้นแล้วทรงกระทำธรรมีกถารับส่งกะภิกษุทั้งหลายดังต่อไปนี้.

เรื่องโคนันทิวิสาล

[๑๘๓]ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว พราหมณ์คนหนึ่งในเมื่องตักกศิลา มีโคถึกตัวหนึ่งชื่อนันทิวิสาล ครั้งนั้นโคถึกชื่อนันทิวิสาล ได้กล่าวคำนี้กะพราหมณ์นั้นว่า ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ท่านจงไปพนันกับเศรษฐีด้วยทรัพย์ ๑,๐๐๐ กษาปณ์ว่า โคถึกของข้าพเจ้าจักลากเกวียน ๑๐๐ เล่มที่ผูกเนื่องกันไปได้.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จึงพราหมณ์นั้นได้ทำการพนันกับเศรษฐีด้วยทรัพย์ ๑,๐๐๐ กษาปณ์ว่า โคถึกของข้าพเจ้าจักลากเกวียน ๑,๐๐๐ เล่มที่ผูกเนื่องกันไปได้.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้นแล้วพราหมณ์นั้นได้ผูกเกวียน ๑,๐๐๐ เล่มให้เนื่องกัน เทียมโคถึกนันทิวิสาลเสร็จแล้ว ได้กล่าวคำนี้ว่า จงฉุดไป เจ้าโคโกงจงลากไป เจ้าโคโกง.ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น โคถึกนันทิวิสาลได้ยืนอยู่ในที่เดิมนั่นเอง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้นนั้นแล พราหมณ์นั้นแพ้พนัน เสียทรัพย์๑,๐๐๐ กษาปณ์แล้วได้ซบเซา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ต่อมา โคถึกนันทิวิสาลได้ถามพราหมณ์นั้นว่าข้าแต่ท่านพราหมณ์ เหตุไรท่านจึงซบเซา.
-พ. ก็เพราะเจ้าทำให้เราต้องแพ้ เสียทรัพย์ไป ๑,๐๐๐ กษาปณ์ นั่นละซิ เจ้าตัวดี.
-น. ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ก็ท่านมาเรียกข้าพเจ้าผู้ไม่โกง ด้วยถ้อยคำว่า โกงทำไมเล่า ขอท่านจงไปอีกครั้งหนึ่ง จงพนันกับเศรษฐีด้วยทรัพย์ ๒,๐๐๐ กษาปณ์ว่า โคถึกของข้าพเจ้า จักลากเกวียน ๑๐๐ เล่มที่ผูกเนื่องกันไปได้แต่อย่าเรียกข้าพเจ้าผู้ไม่โกง ด้วยถ้อยคำว่าโกง.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทันใดนั้นแล พราหมณ์นั้นได้พนันกับเศรษฐีด้วยทรัพย์ ๒,๐๐๐ กษาปณ์ว่า โคถึกของข้าพเจ้าจักลากเกวียน ๑๐๐ เล่มที่ผูกเนื่องกันไปได้ ครั้นแล้วได้ผูกเกวียน ๑๐๐ เล่มให้เนื่องกัน เทียมโคถึกนันทิวิสาลแล้ว ได้กล่าวคำนี้ว่า เชิญฉุดไปเถิด พ่อรูปงาม เชิญลากไปเถิดพ่อรูปงาม.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล โคถึกนันทิวิสาลได้ลากเกวียน ๑๐๐เล่ม ซึ่งผูกเนื่องกันไปได้แล้ว.
[๑๘๔]บุคคลควรกล่าวแต่ถ้อยคำ
เป็นที่จำเริญใจ ไม่ควรกล่าวถ้อยคำอันไม่
เป็นที่จำเริญใจ ในกาลไหน ๆ เพราะเมื่อ
พราหมณ์กล่าวถ้อยคำเป็นที่จำเริญใจ โคถึก
นันทิวิสาลได้ลากเกวียนหนักไป ยังพราหมณ์
นั้นให้ได้ทรัพย์ และได้ดีใจเพราะพราหมณ์
ได้ทรัพย์โดยการกระทำของตนนั้นแล.

[๑๘๕]ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ครั้งนั้น คำด่า คำสบประมาทก็มิได้เป็นที่พอใจของเรา ไฉน ในบัดนี้ คำด่า คำสบประมาท จักเป็นที่พอใจเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้น แสดงอย่างนี้ว่าดังนี้:-

พระบัญญัติ

๕๑.๒.เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะโอมสวาท.

สิกขาบทวิภังค์

[๑๘๖] ที่ชื่อว่า โอมสวาท ได้แก่คำพูดเสียดแทงให้เจ็บใจด้วยอาการ ๑๐ อย่าง คือ ชาติ ๑ ชื่อ ๑ โคตร ๑ การงาน ๑ ศิลป ๑ โรค ๑ รูปพรรณ ๑ กิเลส ๑ อาบัติ ๑ คำด่า ๑.

 

โดย: Budratsa 14 ตุลาคม 2556 22:21:11 น.  

 

ทุกๆ วันเสาร์เวลาประเทศไทย โดยประมาณ 20:30 น.มีการถ่ายทอดสดไปทั่วโลก เทศน์โดยหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล จากสำนักสงฆ์ป่าสามแยก

ดูได้ที่
=> //www.samyaek.com

หรือ สามารถดูทางช่องสำรอง:
=> //live.samyaek.com/

 

โดย: Budratsa 14 ตุลาคม 2556 22:23:10 น.  

 

...แจกฟรี...CD พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด 91 เล่ม ของมหามกุฏราชวิทยาลัย และDVD จากการแสดงธรรมของหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล ได้ที่www.samyaek.com คลิกที่กระดาน "แจกสื่อธรรม" หากท่านใดยังไม่ได้สมัครสมาชิก ใช้
Username : Media
Password : 123456
........................................

หรือ หรือคลิกเวบลิ้งค์ด้านขวามือที่เขียนว่า "ดาวโหลดพระไตรปิฏกชุด91เล่มและเล่มอื่นๆได้ที่นี่"

ยินดีในบุญกับท่านที่ต้องการศึกษาพระธรรมของพระพุทธเจ้าด้วยค่ะ

 

โดย: Budratsa 14 ตุลาคม 2556 22:26:01 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Budratsa
Location :
พิจิตร Switzerland

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับทุกๆคนค่ะ
"ดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์ (พุทธพจน์) มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา" เล่มที่ ๑๓ : พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ ๓๒๐
Friends' blogs
[Add Budratsa's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.