"ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอด้วยพระตถาคตย่อมไม่มี พระพุทธเจ้าแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยการกล่าวคำจริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี....." "พระไตรปิฏก เป็นตาที่วิเศษยิ่ง, เป็นหูที่วิเศษยิ่ง, เป็นจมูกที่วิเศษยิ่ง, เป็นลิ้นที่วิเศษยิ่ง, เป็นกายที่วิเศษยิ่ง, เป็นใจที่วิเศษยิ่ง, เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง, เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง, เป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษยิ่ง, เป็นแผนที่และป้ายบอกทางที่วิเศษยิ่ง, เป็นแสงสว่างส่องทางสู่นิพพานที่วิเศษยิ่ง"จากวัดสามแยก
Group Blog
 
<<
กันยายน 2555
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
30 
 
22 กันยายน 2555
 
All Blogs
 

แก้กรรมจากการทำแท้ง (ที่ได้ผล) โดยหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล 30 มิ.ย. 2555

เนื้อหา บางส่วนจากการแสดงธรรมชุดนี้
      ๑. แม้กำลังถูกเสือโคร่งกัดกิน ก็พิจารณาธรรมได้
      ๒. บาปกรรมไม่เคยปราณีผู้ใด
      ๓. รู้จักอันตรายของ"รูปร่าง" ทั้งหลายทั้งปวง
      ๔. พระพุทธเจ้าสอนให้อ้อนวอนอย่างถูกต้อง
      ๕. บุคคลผู้ฉลาดย่ิอมไม่้เลี้ยงผู้อื่น
     ฯลฯ

แม้กำลังถูกเสือโคร่งกัดกิน ก็พิจารณาธรรมได้(อ.สติปัฏฐานสูตร)เล่ม17หน้า648

พระได้บรรลุพระอรหัตในปากเสือโคร่ง

ภิกษุแม้เหล่าอื่นอีก  ๓๐  รูป  เรียนเอากรรมฐาน  ในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วจำพรรษาที่อรัญวิหาร พูด (ตกลงกันไว้)ว่า คุณ เราทั้งหลายต้องบำเพ็ญสมณธรรมกันตลอดราตรีทั้ง ๓  ยามและไม่ควรไปมาหาสู่กัน  ดังนี้แล้ว จึงพากันอยู่. เมื่อท่านเหล่านั้นบำเพ็ญสมณธรรมแล้ว เวลาเช้าออกไป (จากวัด) เสือโคร่งตัวหนึ่งมาคาบเอาพระไปคราวละ ๑ รูป ไม่มีใครส่งเสียงเลยว่า เสือโคร่งตะครุบผม.เมื่อภิกษุถูกเสือคาบไปกินถึง ๑๕  รูปอย่างนี้ ในวันอุโบสถ จึงถามกันว่าพระนอกนี้ไปไหนกันคุณ? พอรู้เรื่องแล้วก็พูด (ตกลงกันใหม่) ว่าต่อไปนี้ ใครถูกเสือโคร่งตะครุบควรบอกกันว่า เสือโคร่งตะครุบผมดังนี้แล้ว อยู่กันต่อไป. ภายหลัง เสือโคร่งได้ตะครุบภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งแบบครั้งก่อนนั้นแหละ. เธอได้บอกว่า ท่านครับ เสือโคร่ง. ภิกษุทั้งหลายพากันถือไม้เท้าและคบเพลิงติดตามไปด้วยหมายใจว่า จะให้มันปล่อย. เสือโคร่งได้ขึ้นไปที่ช่องเขาขาดที่พระขึ้นไปไม่ได้ เริ่มจะกินพระนั้น ตั้งแต่นิ้วเท้าขึ้นไป. พระภิกษุนอกจากนี้ได้พากันกล่าวว่า ท่านผู้เป็นสัตบุรุษเอ๋ย บัดนี้ พวกผมช่วยอะไรคุณไม่ได้แล้ว  ธรรมดาคุณวิเศษของภิกษุทั้งหลายจะปรากฏ (ให้เห็น) ก็ในสถานการณ์เช่นนี้แหละ. ท่านนอนอยู่ใกล้ปากเสือโคร่งนั้นแหละ ข่มเวทนานั้นไว้ เจริญวิปัสสนาในเวลาเสือโคร่งกินไปจนถึงข้อเท้า เป็นพระโสดา เวลากินถึงเข่า เป็นพระสกทาคามี เวลากินถึงท้องเป็นพระอนาคามี ขณะกินยังไม่ถึงหัวใจนั่นแหละ. ก็บรรลุพระอรหัต พร้อมด้วยปฏิสัมภิทา.

ได้เปล่งอุทานบทนี้ว่า :-
เรามีศีล  สมบูรณ์ด้วยวัตร  มีสมาธิ  มีปัญญา เผลอตัวไปชั่วครู่  ไม่ได้ระมัดระวังเสือโคร่ง  เสือโคร่งตะครุบเราไว้ในกรงเล็บ  นำเข้ามาที่ภูเขา จะกินเรา
แน่ กาย (ของเรา) ที่ไม่มีจิตใจจะเป็นอาหาร(มัน) เมื่อ (เรา) กลับได้กรรมฐาน มรณสติจะเจริญ.

บาปกรรมไม่เคยปราณีผู้ใด(อ.ธนาปาลเปตวัตถุ) เล่ม49หน้า211

ข้าพเจ้าได้รับผมแห่งกรรมของตนจึงเดือดร้อนในภายหลัง พ้นจาก ๔  เดือนไปแล้วข้าพเจ้าจักตาย  จักไปตกนรกอันเผ็ดร้อนสาหัสมี ๔ เหลี่ยม ๔  ประตู จำแนกเป็นห้อง ๆ ล้อมด้วยกำแพงเหล็ก ครอบด้วยแผ่นเหล็ก พื้นของนรกนั้น  ล้วนแล้วด้วยทองแดงลุกเป็นเปลวเพลิงประกอบด้วยความร้อน  แผ่ไปตลอดร้อยโยชน์โดยรอบ ตั้งอยู่ทุกเมื่อ  ข้าพเจ้าจักต้องเสวยทุกขเวทนาในนรกนั้นตลอดกาลนาน ก็การเสวยทุกขเวทนาเช่นนี้ เป็นผลแห่งกรรมอันชั่ว เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงเศร้าโศกที่จะไปเกิดในนรกอันเร่าร้อนนั้น ข้าแต่ท่านผู้เจริญทั้งหลาย ข้าพเจ้าขอเดือนท่านทั้งหลาย ขอความเจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลายผู้มาประชุมกันในที่นี้ พวกท่านอย่าได้ทำบาปกรรมในที่ไหน ๆ คือ ในที่แจ้งหรือที่ลับถ้าพวกท่านจักกระทำ หรือกระทำบาปกรรมนั้นไว้ แม้พวกท่านจะเหาะหนีไปอยู่ที่ไหน ก็ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์  ขอท่านทั้งหลายจงเลี้ยงมารดาจงเลี้ยงบิดา ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในสกุลเป็นผู้เกื้อกูลแก่สมณะและพราหมณ์ ท่านทั้งหลายจักไปสวรรค์ด้วยการปฏิบัติอย่างนี้บุคคลจะอยู่ในอากาศ ในท่ามกลางมหาสมุทรหรือเข้าไปสู่ช่องภูเขา จะพึงพ้นจากบาปกรรมไม่มี หรือบุคคลอยู่ในส่วนแห่งภาคพื้นใด พึงพ้นจากบาปกรรม ส่วนแห่งภาคพื้นนั้นไม่มี.

รู้จักอันตรายของ"รูปร่าง" ทั้งหลายทั้งปวง(กลหวิวาทสุตตนิทเทส)เล่ม66หน้า153

ว่าด้วยมหาภูตรูป  ๔

พระสมณะครั้นรู้รูปอย่างนี้แล้ว จึงพิจารณารูป คือพิจารณาโดย ความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นโรค เป็นดังหัวฝี เป็นดังลูกศร  เป็นของลำบาก เป็นอาพาธ เป็นอย่างอื่น เป็นของชำรุด เป็นเสนียด เป็นอุบาทว์ เป็นภัย เป็นอุปสรรค เป็นของหวั่นไหว เป็นของแตกพัง เป็นของไม่ยั่งยืน เป็นของไม่มีที่ซ่อนเร้น เป็นของไม่มีที่พึ่ง  เป็นของว่าง เป็นของเปล่า เป็นของสูญ เป็นอนัตตา เป็นโทษ เป็นของมีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา เป็นของไม่มีแก่นสาร เป็นมูลแห่งความลำบาก เป็นดังเพชฌฆาต เป็นของปราศจากความเจริญ เป็นของมีอาสวะ(เป็นของหมักดอง) เป็นของอันเหตุปัจจัยปรุงแต่ง เป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นข้องมีชาติเป็นธรรมดา เป็นของมีชราเป็นธรรมดา เป็นของมีพยาธิ เป็นธรรมดา เป็นของมีมรณะเป็นธรรมดา เป็นของมีความโศกความรำพัน ความเจ็บกาย ความเจ็บใจและความแค้นใจเป็นธรรมดา เป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา เป็นเหตุเกิดแห่งทุกข์ เป็นของดับไป เป็นของชวนให้หลงแช่มชื่น เป็นอาทีนพ(เป็นของมีโทษ) เป็นนิสสรณะ(เป็นของต้องพรากจากไป)  รูปไม่มีโดยการพิจารณาอย่างนี้.

สงครามระหว่างเทวดากับอสูรเคยเกิดขึ้นมาแล้ว(ธชัคคสูตร) เล่ม25หน้า464

 ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว สงความระหว่างเทวดากับอสูรประชิดกันแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ครั้งนั้นแล ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเทวดาตรัสเรียกเทวดาชั้นดาวดึงส์มาสั่งว่า แน่ะท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย หากความกลัวก็ดีความหวาดเสียวก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี จะพึงเกิดขึ้นแก่พวกเทวดาผู้ไปในสงคราม สมัยนั้น พวกท่านพึงแลดูยอดธงของเราทีเดียว เพราะว่าเมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของเราอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดีความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้น ก็จักหายไป  ถ้าพวกท่านไม่แลดูยอดธงของเรา ทีนั้นพวกท่านพึงแลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราชเถิดเพราะว่าเมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราชอยู่  ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป หากพวกท่านไม่แลดูยอดธงของท้าวปชาบดีเทวราช ทีนั้นพวกท่านพึงแลดูยอดธงของท้าววรุณเทวราชเถิด เพราะว่าเมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของท้าววรุณเทวราชอยู่ความกลัวก็ดี  ความหวาดสะดุ้งก็ดี  ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้นก็จักหายไป หากพวกท่านไม่แลดูยอดธงของท้าววรุณเทวราช ทีนั้นพวกท่านพึงแลดูยอดธงของท้าวอีสานเทวราชเถิด เพราะว่าเมื่อพวกท่านแลดูยอดธงของท้าวอีสานเทวราชอยู่ ความกลัวก็ดี ความหวาดสะดุ้งก็ดี  ความขนพองสยองเกล้าก็ดี ที่จักมีขึ้น ก็จักหายไป...

พระพุทธเจ้าสอนให้อ้อนวอนอย่างถูกต้อง(อายาจนวรรค) เล่ม33หน้า466

สูตรที่  ๑
   ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุผ้มีศรัทธา เมื่ออ้อนวอนโดยชอบ พึงอ้อนวอนอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสารีบุตรและภิกษุโมคคัลลานะนี้  เป็นตราชูมาตรฐานของภิกษุสาวกของเรา.

 สูตรที่ ๒
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นางภิกษุณีผู้มีศรัทธา เมื่ออ้อนวอนโดยชอบ พึงอ้อนวอนอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นภิกษุณีเขมาและอุบลวรรณาเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุณีเขมาและภิกษุณีอุบลวรรณานี้ เป็นตราชูมาตรฐานของภิกษุณีสาวิกาของเรา.

สูตรที่  ๓
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้มีศรัทธา เมื่ออ้อนวอนโดยชอบ พึงอ้อนวอนอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นจิตตคฤหบดีและหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จิตตคฤหบดีและหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีนี้ เป็นตราชูมาตรฐานของอุบาสกสาวกของเราแล.

สูตรที่  ๔
     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาผู้มีศรัทธา เมื่ออ้อนวอนโดยชอบ พึงอ้อนวอนอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นอุบาสิกาขุชชุตตราและนางเวฬุกัณฏกีนันทมารดาเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอุบาสิกาขุชชุตตราและนางเวฬุกัณฏกีนันทมารดา เป็นตราชูมาตรฐานของอุบาสิกาสาวิกาของเรา.

เมื่ออนาถปิณฑิกเศรษฐีหมดสมบัติกลายเป็นคนจน(เรื่องอนาถปิณฑิกเศรษฐี) เล่ม42หน้า16

ท่านเศรษฐีบำรุงภิกษุสามเณรเป็นนิตย์ความพิสดารว่า  อนาถบิณฑิกเศรษฐี  จ่ายทรัพย์ตั้ง ๕๔ โกฎิ ในพระพุทธศาสนาเฉพาะวิหารเท่านั้น. เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในพระเชตวัน ไปสู่ที่บำรุงใหญ่ ๓ แห่งทุกวัน, ก็เมื่อจะไป คิดว่า " สามเณรก็ดี ภิกษุหนุ่มก็ดี พึงแลดูแม้มือของเรา ด้วยการนึกว่า เศรษฐีนั้นถืออะไรมาบ้าง ดังนี้ ไม่เคยเป็นผู้ชื่อว่ามีมือเปล่าไปเลย, เมื่อไปเวลาเช้าให้คนถือข้าวต้มไป บริโภคอาหารเช้าแล้วให้คนถือเภสัชทั้งหลาย มีเนยใสเนยข้นเป็นต้นไป. ในเวลาเย็น ให้ถือวัตถุต่างๆ มีระเบียบดอกไม้ ของหอม  เครื่องลูบไล้และผ้าเป็นต้น ไปสู่วิหาร.  ถวายทาน รักษาศีล อย่างนั้นทุก ๆ วัน ตลอดกาลเป็นนิตย์ทีเดียว.

การหมดสิ้นแห่งทรัพย์ของเศรษฐี

ในกาลต่อมา เศรษฐี ย่อมถึงความสิ้นไปแห่งทรัพย์. ทั้งพวกพาณิชก็กู้หนี้เป็นทรัพย์ ๑๘ โกฏิจากมือเศรษฐีนั้น. เงิน ๑๘ โกฏิแม้เป็นสมบัติแห่งตระกูลของเศรษฐี ที่ฝังตั้งไว้ใกล้ฝั่งแม่น้ำ เมื่อฝั่งพังลงเพราะน้ำ(เซาะ) ก็จมลงยังมหาสมุทร. ทรัพย์ของเศรษฐีนั้นได้ถึงความหมดสิ้นไปโดยลำดับ ด้วยประการอย่างนี้.

ภรรยาปฏิบัติให้ถูกใจสามี ตายไปแล้วจะไปสวรรค์(อนุรุทธสูตร)เล่ม37หน้า522

ข้าแต่ท่านพระอนุรุทธะผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายเป็นเทวดาชื่อว่ามนาปกายิกามีอิสระและอำนาจในฐานะ  ๓ ประการ  คือ  ข้าพเจ้าทั้งหลายหวังวรรณะเช่นใด ก็ได้วรรณะเช่นนั้นโดยพลัน ๑ หวังเสียงเช่นใดก็ได้เสียงเช่นนั้นโดยพลัน ๑ หวังความสุขเช่นใด ก็ได้ความสุขเช่นนั้นโดยพลัน ๑ ข้าแต่พระอนุรุทธะผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย เป็นเทวดาชื่อว่ามนาปายิกา มีอิสระและอำนาจในฐานะ  ๓ ประการนี้ ข้าแต่พระองค์เจริญ  ข้าพระองค์มีความดำริอย่างนี้ว่า โอหนอขอให้เทวดาทั้งปวงนี้พึงมีร่างเขียว มีผิวพรรณเขียว นุ่งผ้าเขียวมีเครื่องประดับเขียว เทวดาเหล่านั้นทราบความดำริของข้าพระองค์แล้ว ล้วนมีร่างเขียว มีผิวพรรณเขียว นุ่งผ้าเขียว มีเครื่องประดับเขียว แล้วข้าพระองค์จึงดำริต่อไปว่า โอหนอ ขอให้เทวดาทั้งปวงนี้  พึงมีร่างเหลือง ฯลฯ  มีร่างแดง ฯลฯ มีร่างขาว มีผิวพรรณขาวนุ่งผ้าขาว มีเครื่องประดับขาว เทวดาเหล่านั้นก็ทราบความดำริของข้าพระองค์แล้วล้วนมีร่างขาว มีผิวพรรณขาว นุ่งผ้าขาวมีเครื่องประดับขาว เทวดาเหล่าอื่น  ตนหนึ่งขับร้อง ตนหนึ่งฟ้อนรำตนหนึ่งปรบมือ เปรียบเหมือนดนตรีมีองค์ ๕ ที่เขาปรับดีแล้วตีดังไพเราะ ทั้งบรรเลงโดยนักดนตรีผู้เชี่ยวชาญ มีเสียไพเราะเร้าใจ ชวนให้เคลิบเคลิ้ม ดูดดื่ม และน่ารื่นรมย์  ฉันใด เสียงแห่งเครื่องประดับของเทวดาเหล่านั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีเสียงไพเราะเร้าใจ ชวนให้เคลิบเคลิ้ม ดูดดื่ม และน่ารื่นรมย์ ข้าพระองค์จึงทอดอินทรีย์ลง เทวดาเหล่านั้นทราบว่าข้าพระองค์ไม่ยินดี จึงอันตรธานไป ณที่นั้นเอง พระองค์ผู้เจริญ มาตุคามประกอบด้วยธรรมเท่าไร เมื่อตายไป จึงเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่ามนาปกายิกา.

พระสารีบุตรถูกตำหนิ เพราะให้ศีลแก่ผู้รักษาไม่ได้(อ.การันทิยชาดก) เล่ม58หน้า751

ได้ยินว่า พระเถระให้ศีลแก่คนทุศีลทั้งหลาย มีพรานเนื้อและคนจับปลาเป็นต้น ที่ผ่าน ๆ มา ซึ่งท่านได้พบได้เห็นเท่านั้นว่า ท่านทั้งหลายจงถือศีล ท่านทั้งหลายจงถือศีล. ชนเหล่านั้น มีความเคารพในพระเถระ ไม่อาจขัดขืนถ้อยคำของพระเถระนั้น จึงพากันรับศีลก็แหละครั้นรับแล้วก็ไม่รักษา คงกระทำการงานของตน ๆ อยู่อย่างเดิมพระเถระเรียกสัทธิวิหาริกทั้งหลายของตนมาแล้วกล่าวว่า อาวุโสทั้งหลายคนเหล่านี้รับศีลในสำนักของเรา  ก็แหละครั้นรับแล้วก็ไม่รักษา.สัทธิวิหาริกทั้งหลายกล่าวว่า ท่านขอรับ ท่านให้ศีลโดยความไม่พอใจของชนเหล่านั้น พวกเขาไม่อาจขัดขืนถ้อยคำของท่านจึงรับเอา ตั้งแต่นี้ไป ขอท่านอย่าได้ให้ศีลแก่ชนทั้งหลายเห็นปานนี้.

พระพุทธเจ้าเทศน์สอน"สัจจพนธ์ฤาษี"ให้เป็นพระอรหันต์(อ.ปุณโณวาทสูตร) เล่ม23หน้า448

พระศาสดา เสด็จถึงภูเขาชื่อ สัจจพันธ์ แล้วทรงหยุดเรือนยอดไว้ในอากาศ. ที่ภูเขานั้น มีดาบสมิจฉาทิฐิ ชื่อว่า สัจจพันธ์ ทำให้มหาชนถือเอาความเห็นผิดเป็นผู้ถึงลาภเลิศและยศเลิศอยู่. ก็ภายในตัวดาบสนั้นมีอุปนิสัยแห่งพระอรหัต โชติช่วงอยู่เหมือนประทีปที่อยู่ในตุ่ม. ครั้นทรงเห็นดาบสนั้นแล้วทรงพระดำริว่า เราจะแสดงธรรมแก่เขา จึงเสด็จไปทรงแสดงธรรม. เมื่อทรงเทศน์จบ ดาบสก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์. อภิญญาของท่านก็มากับมรรคนั่นเอง. ท่านเป็นเอหิภิกษุ ทรงบาตรจีวรที่สำเร็จเพราะฤทธิ์แล้วเข้าสู่เรือนยอด.

บาปแต่ชาติปางก่อนที่ทำให้พระพาหิยะไม่ได้บวช(เรื่องสุปพุทธกุฏฐิ) เล่ม41หน้า196

บุรพกรรมของสุปปพุทธะและแม่โค

ได้ยินว่า โคแม่ลูกอ่อนนั้น เป็นยักษิณีตนหนึ่ง เป็นแม่โคปลงชนทั้ง ๔ นี้ คือกุลบุตรชื่อปุกกุสาติ ๑พาหิยทารุจีริยะ ๑ นายโจรฆาตกะชื่อตัมพทาฐิกะ ๑ สุปปพุทธกุฎฐิ ๑ จากชีวิตคนละร้อยอัตภาพ.ได้ยินว่า ในอดีตกาล ชนเหล่านั้น เป็นบุตรเศรษฐีทั้ง ๔ คน นำหญิงแพศยาผู้เป็นนครโสเภณีคนหนึ่งไปสู่สวนอุทยาน เสวยสมบัติตลอดวันแล้ว ในเวลาเย็น ปรึกษากันอย่างนี้ว่า " ในที่นี้ไม่มีคนอื่น, เราทั้งหลาย จักถือเอากหาปณะพันหนึ่ง และเครื่องประดับทั้งหมดที่พวกเราให้แก่หญิงนี้แล้ว ฆ่าหญิงนี้เสียไปกันเกิด." หญิงนั้นฟังถ้อยคำของเศรษฐีบุตรเหล่านั้นแล้ว คิดว่า "ชนพวกนี้ไม่มียางอาย อภิรมย์กับเราแล้ว บัดนี้ ปรารถนาจะฆ่าเรา, เราจักรู้กิจที่ควรกระทำแก่ชนเหล่านั้น" เมื่อถูกชนเหล่านั้นฆ่าอยู่ ได้กระทำความปรารถนาว่า " ขอเราพึงเป็นยักษิณี ผู้สามารถเพื่อฆ่าชนเหล่านั้น เหมือนอย่างที่พวกนี้ฆ่าเราฉะนั้นเหมือนกัน."

บุคคลผู้ฉลาดย่ิอมไม่้เลี้ยงผู้อื่น(เรื่องถวายบิณฑบาต)เล่ม41หน้า128

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า  ทรงทราบเนื้อความนั้นแล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า:-

" เทวดาและมนุษย์ ย่อมพอใจ แก่ภิกษุผู้ถือ
การเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร  ผู้เลี้ยงตัวเอง  มิใช่เลี้ยง
ผู้อื่น
ผู้มั่นคง ผู้เข้าไปสงบแล้ว มีสติทุกเมื่อ."

ก็แลครั้นทรงเปล่งอุทานนี้แล้ว ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ท้าวสักกะผู้เป็นจอมแห่งเหล่าเทพเจ้า ได้เสด็จมาถวายบิณฑบาตแก่บุตรของเราเพราะกลิ่นศีล " ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

" กลิ่นนี้ คือ กลิ่นกฤษณา และกลิ่นจันทน์
เป็นกลิ่นเพียงเล็กน้อย,  ส่วนกลิ่นของผู้มีศีลทั้งหลาย
เป็นกลิ่นชั้นสูง ย่อมหอมฟุ้งไป ในเทพเจ้าและเหล่ามนุษย์."

ตระกูลอุปัฏฐากของพระเทวฑัตตกนรกไปด้วยกัน(อ.เภทสูตร)เล่ม45หน้า128

ลำดับนั้น พระอัครสาวก ๒ รูป โดยพระพุทธดำรัสของพระศาสดาพากันไป ณ คยาสีสประเทศนั้น แสดงธรรมให้ภิกษุ  ๕๐๐ เหล่านั้นตั้งอยู่ในอริยผลแล้วนำกลับมา. ส่วนภิกษุเหล่าใด ชอบใจลัทธิของพระเทวทัตผู้พยายามเพื่อทำลายสงฆ์ ยังยกย่องอยู่อย่างเดิม เมื่อสงฆ์กำลังจะแตก และแตกแล้วได้เกิดความชอบใจ ข้อนั้นได้ปรากฏเพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อความทุกข์แก่ภิกษุเหล่านั้น. ในไม่ช้านั่นเอง  พระเทวทัตก็ถูกโรคเบียดเบียน  อาพาธหนักใกล้จะตาย  คิดว่า เราจักถวายบังคมพระศาสดา  จึงให้เขานำขึ้นบนเตียงไปวางไว้ณ  ฝั่งสระโบกขรณีใกล้พระเชตวัน ขณะนั้นแผ่นดินก็แยกออก พระเทวทัตตกลงไปบังเกิดในอเวจีมหานรก. ร่างของพระเทวทัตสูง  ๑๐๐ โยชน์  ถูกหลาวเหล็กขนาดลำตาลเสียบอยู่ตลอดกัป. และตระกูลประมาณ ๕๐๐ ที่ฝักใฝ่กับพระเทวทัตยึดมั่นในลัทธิของพระเทวทัตนั้น พร้อมด้วยพวกก็ไปเกิดในนรก.

พระเทวฑัตทำ"สังฆเภท"ด้วยเรื่อง5ประการ(สังฆเภทขันธกะ)เล่ม9หน้า300

เรื่องวัตถุ  ๕  ประการ

   ครั้งนั้น พระเทวทัตเข้าไปหาพระโกกาลิกะ พระกตโมรกติสสกะ พระขัณฑเทวีบุตร พระสมุทรทัตตะ แล้วได้กล่าวว่า  มาเถิดท่านทั้งหลาย พวกเราจักทำสังฆเภท จักรเภท แก่พระสมณโคดม เมื่อพระเทวทัตกล่าวอย่างนี้แล้ว.

พระโกกาลิกะได้กล่าวว่า พระสมณโคดมมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากพวกเราจักทำสังฆเภท จักรเภท แก่สมณโคดมอย่างไรได้.พระเทวทัตกล่าวว่า มาเถิดท่านทั้งหลาย พวกเราจักเข้าไปเฝ้าพระสมณโคดม แล้วทูลขอวัตถุ  ๕ ประการว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคุณแห่งความเป็นผู้มักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สั่งสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย พระพุทธเจ้าข้า  วัตถุ ๕ ประการนี้ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มักน้อย ความเป็นผู้สันโดษความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สั่งสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ข้าพระพุทธเจ้า ขอประทานพระวโรกาส  ภิกษุทั้งหลายพึงถือการอยู่ป่าเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดอาศัยบ้านอยู่ รูปนั้นพึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลายพึงถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดยินดีกิจนิมนต์ รูปนั้นพึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลายพึงถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรตลอดชีวิตรูปใดยินดีคหบดีจีวร รูปนั้น พึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลายพึงถืออยู่โคนไม้เป็นวัตรตลอดชีวิต รูปใดเข้าอาศัยที่มุงที่บัง รูปนั้นพึงต้องโทษ ภิกษุทั้งหลายไม่พึงฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต รูปใดฉันปลาและเนื้อ รูปนั้นพึงต้องโทษพระสมณโคดมจักไม่ทรงอนุญาตวัตถุ ๕ ประการนี้ แต่พวกเรานั้น จักให้ประชาชนเชื่อถือวัตถุ ๕ ประการนี้...

แผ่เมตตาจนหลุดพ้นก็มี(วัตถุปมสูตร)เล่ม17หน้า436
     
    ภิกษุนั้นมีใจประกอบด้วยเมตตา ประกอบด้วยกรุณาประกอบด้วยมุทิตา ประกอบด้วยอุเบกขา แผ่ไปยังทิศหนึ่งอยู่ ทิศที่  ๒ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกันมีใจประกอบด้วยเมตตาประกอบด้วยกรุณาประกอบด้วยมุทิตา ประกอบด้วยอุเบกขา อันไพบูลย์เป็นมหัคคตะ ไม่มีประมาณ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท แผ่ไปยังทิศเบื้องบน เบื้องต่ำด้านขวาง ทั่วโลกทั้งสิ้น โดยเป็นผู้หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั่วหน้า ในที่ทุกแห่ง ด้วยประการฉะนี้ เธอย่อมรู้ชัดว่า สิ่งนี้มีอยู่ สิ่งที่เลวทรามมีอยู่ สิ่งที่ประณีตมีอยู่ ธรรมเป็นเครื่องสลัดออกที่ยิ่งแห่งสัญญานี้มีอยู่เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสาวะ  แม้จากภวาสวะแม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้วรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้ เรากล่าวว่าเป็นผู้สรงสนานแล้วด้วยเครื่องสนานอันเป็นภายใน.

วัดป่าสามแยก ศึกษาพระธรรมวินัย เบิกบุญ โอนบุญ อกหัก โดนของ ธรรมะ ธรรมทาน คลายเครียด เจริญรุ่งเรือง //www.samyaek.com 

นี้เป็นตัวอย่างผู้ที่ทำตามหลวงปู่แนะนำแล้วได้ผล

ที่มา: เวบพี่ดาบต้น //www.piyavat.com 




 

Create Date : 22 กันยายน 2555
4 comments
Last Update : 3 พฤศจิกายน 2555 17:53:23 น.
Counter : 10549 Pageviews.

 

วันนี้ วันเสาร์ ที่ 22 กันยายน 2555 ทุกๆ วันเสาร์เวลาประเทศไทย โดยประมาณ 20:30 น.มีการถ่ายทอดสดไปทั่วโลก เทศน์โดยหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล จากสำนักสงฆ์ป่าสามแยก

รับชมได้ที่
ดูวีดีโอช่องที่ 1 (สำหรับผู้ที่อินเตอร์เน็ทช้า: 56k)
www.samyaek.com

ดูวีดีโอช่องที่ 2 (สำหรับผู้ที่อินเตอร์เน็ทเร็ว: 212k)
www.samyaek.com/?channel=2

สำหรับท่านที่มีปัญหาดูถ่ายทอดสดไม่ได้
www.samyaek.com/board2/index.php?topic=2303.0

การใช้ iPad, iPhone, iPod touch ดูถ่ายทอดสด
www.samyaek.com/board2/index.php?topic=5531.0

วิธีใช้ Tablet ตระกูล Android ดูถ่ายทอดสด
www.samyaek.com/board2/index.php?topic=5512.0

 

โดย: Budratsa 22 กันยายน 2555 17:13:42 น.  

 

...แจกฟรี... หนังสือ "คู่มืออุทิศบุญที่ได้ผล" (คนละไม่เกิน 3 เล่ม) และCDหรือDVD จากการแสดงธรรมของหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล ได้ที่www.samyaek.com กระดาน "แจกสื่อธรรม" หากท่านใดยังไม่ได้สมัครสมาชิก ใช้
Username : Media
Password : 123456


 

โดย: Budratsa 22 กันยายน 2555 17:19:51 น.  

 

ระวังคนที่ชอบดูดวง ตรวจกรรม.... แล้วให้รีบสเดาะเคราะห์ทันที .... เกิดเคราะห์ทันที่เลย......เพราะเสียเงิน อย่าหลวมตัวกับหมดดูพวกนื้ โดยเฉพาะพวกทำแท้งเด็ก โดนค่าทำพิธีส่งวิญญาณเด็ก หลายพันบาท ส่งแล้วเด็กที่ตายไปจากการทำแท้งยังไม่หมดอายุขัย เด็กก็จะวนเวียนตามอาฆาตเราหรือผู้แนะนำ อย่าไปเชื่อคนพวกนี้ แล้วที่อ้างว่า ดูด้วยญาณทิพย์หรือจิตสัมผัส แล้วโทร.ไป ให้บอก วดป . เกิด พวกนี้ญาณ..เก้...ทั้งนั้น... ก็พวกหมอดูทั่วไป อยากได้คำตอบที่แม่น มาก ๆ ไม่หลอกลวงไปหาที่อาจาร์ยณัฐ แถวรามอินทรา พวกไปกันมาแล้วบอกเอาบุญ ไม่เด่นไม่ดัง แต่ไม่เรียกเงินค่าทำพิธี แม่นมาก ๆ ตรง ๆ แล้วให้เราไปซื้อสิ่งของทำเองกับพระ มีที่ไหนเขาทำ ใครอยากหมดเคราะห์ โทร.ไป 082-990-8297

 

โดย: ภาณี IP: 171.6.246.72 2 กรกฎาคม 2556 15:18:28 น.  

 

ลองติดต่อ อ.ชัยยุทธดูนะคะ อ.ชัยยุทธบอกว่า ไม่มีทางแก้กรรมหรือส่งให้น้องไปเกิดใหม่ได้ เพราะน้องยังไม่ได้เกิด น้องจะอยู่กับเราไปจนเราสิ้นอายุขัย แต่จะมีหนทางให้อยู่ร่วมกันได้ ดิฉันว่า ลองติดต่อ อ.ชัยยุทธ 086-510-3214 ดูนะคะ เผื่อมีหนทางดีๆให้น้องเขาก็ได้ โทรช่วง 9.00-17.00 จันทร์ถึงเสาร์ค่ะ

 

โดย: วีณา IP: 223.205.35.112 11 กุมภาพันธ์ 2558 0:16:12 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Budratsa
Location :
พิจิตร Switzerland

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับทุกๆคนค่ะ
"ดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์ (พุทธพจน์) มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา" เล่มที่ ๑๓ : พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ ๓๒๐
Friends' blogs
[Add Budratsa's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.