"ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอด้วยพระตถาคตย่อมไม่มี พระพุทธเจ้าแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยการกล่าวคำจริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี....." "พระไตรปิฏก เป็นตาที่วิเศษยิ่ง, เป็นหูที่วิเศษยิ่ง, เป็นจมูกที่วิเศษยิ่ง, เป็นลิ้นที่วิเศษยิ่ง, เป็นกายที่วิเศษยิ่ง, เป็นใจที่วิเศษยิ่ง, เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง, เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง, เป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษยิ่ง, เป็นแผนที่และป้ายบอกทางที่วิเศษยิ่ง, เป็นแสงสว่างส่องทางสู่นิพพานที่วิเศษยิ่ง"จากวัดสามแยก
Group Blog
 
<<
สิงหาคม 2554
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
13 สิงหาคม 2554
 
All Blogs
 

หลวงปู่เกษม แสดงธรรม ชุดที่ ๐๙๒ สอนกลุ่มลานวัด ๑๘ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๔

ชุดที่ ๐๙๒ แสดงธรรม "สอนกลุ่มลานวัด ๑๘" (๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๔)
เนื้อหา บางส่วนจากการแสดงธรรมชุดนี้
๑. ภัยเกิดจากตน... อย่าไปโทษใครเลย
๒. ข้อปฏิบัติของผู้ครองเรือน... สิงคาลกสูตร
๓. ให้เงินเดือนพระ... เป็นการทำลายศาสนา
๔. การกราบพระธาตุ... ต้องระลึกถึงคุณพุทธะ
๕. ศาสนาพุทธจะมีคำสอนถึงยุค พ.ศ. ๕ooo

 หลวงปู่เกษม สอนกลุ่มลานวัด18 1/8

หลวงปู่เกษม สอนกลุ่มลานวัด18 2/8

หลวงปู่เกษม สอนกลุ่มลานวัด18 3/8

หลวงปู่เกษม สอนกลุ่มลานวัด18 4/8

หลวงปู่เกษม สอนกลุ่มลานวัด18 5/8

หลวงปู่เกษม สอนกลุ่มลานวัด18 6/8

หลวงปู่เกษม สอนกลุ่มลานวัด18 7/8

หลวงปู่เกษม สอนกลุ่มลานวัด18 8/8


ข้อปฏิบัติของคฤหัสถ์ที่ถูกต้อง...อธิบายโดยพระพุทธเจ้า      เล่ม   35    หน้า    198

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า     
ดูก่อนคฤหบดี ธรรม ๔ ประการนี้เป็นที่ปรารถนา
เป็นที่รักใคร่ชอบใจ หาได้โดยยากในโลก ธรรม ๔ ประการคืออะไร  คือ
 
ขอโภคสมบัติจงเกิดขึ้นแก่เราโดยทางที่ชอบ นี่เป็นธรรมประการที่ ๑   
อันเป็นที่ปรารถนารักใคร่ชอบใจ หาได้โดยยากในโลก
           
ครั้นได้โภคสมบัติโดยทางที่ชอบแล้ว ขอยศจงมีแก่เราพร้อมกับญาติพร้อมกับพวกพ้อง 
นี้เป็นธรรมประการที่  ๒ อันเป็นที่ปรารถนารักใคร่ชอบใจ หาได้โดยยากในโลก
           
ครั้นได้โภคสมบัติโดยทางที่ชอบแล้ว ได้ยศพร้อมกับญาติพร้อมกับพวกพ้องแล้ว     
ขอเราจงเป็นอยู่นาน รักษาอายุอยู่ได้ยั่งยืน นี้เป็นธรรมประการที่  ๓ 
อันเป็นที่ปรารถนารักใคร่ชอบใจ หาได้โดยยากในโลก
           
ครั้นได้โภคสมบัติโดยทางที่ชอบแล้ว ได้ยศพร้อมกับญาติพร้อมกับพวกพ้องแล้ว เป็นอยู่นาน รักษาอายุอยู่ได้ยั่งยืนแล้ว เมื่อกายแตกตายไป ขอเราจงไปสุคติโลกสวรรค์ นี้เป็นธรรมประการที่ ๔ อันเป็นที่ปรารถนารักใคร่ชอบใจ หาได้โดยยากในโลก
           
ดูก่อนคฤหบดี  ธรรม  ๔  ประการนี้แล    เป็นที่ปรารถนารักใคร่ชอบใจ  หาได้โดยยากในโลก
ดูก่อนคฤหบดี    ธรรม  ๔   อย่างเป็นทางให้ได้ธรรม  ๔   ประการ (นั้น)  อันเป็นที่ปรารถนารักใคร่ชอบใจ หาได้โดยยากในโลก  (ดังกล่าวแล้ว)  นี้  ธรรม  ๔  อย่างคืออะไร   คือ   
สัทธาสัมปทา   (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา) 
สีลสัมปทา   (ความถึงพร้อมด้วยศีล)   
จาคสัมปทา  (ความถึงพร้อมด้วยการบริจาค)  ปัญญาสัมปทา  (ความถึงพร้อมด้วยปัญญา)

           
ก็สัทธาสัมปทาเป็นอย่างไร อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้มีศรัทธา เชื่อพระโพธิญาณของพระตถาคต ฯลฯ นี้เรียกว่า  สัทธาสัมปทา.
       
ก็สีลสัมปทาเป็นอย่างไร ?  อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้เป็นผู้เว้นจากปาณาติบาต   เว้นจากอทินนาทาน เว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นจากมุสาวาท เว้นจากดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท นี้เรียกว่า สีลสัมปทา.
           
ก็จาคสัมปทาเป็นอย่างไร ? อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ มีใจปราศจากมลทินคือความตระหนี่อยู่ครองเรือน มีการบริจาคปล่อยแล้ว มีมืออันล้างไว้ ยินดีในการสละ ควรแก่การขอ พอใจในการให้และการแบ่งปัน นี้เรียกว่า จาคสัมปทา.
           
ก็ปัญญาสัมปทาเป็นอย่างไร ?   
บุคคลมีใจอันอภิชฌาวิสมโลภ (ความโลภที่อยากจะได้ของเขาอย่างแรงกล้าโดยไม่เลือกหน้าใคร)  ครอบงำแล้ว ย่อมทำการที่ไม่ควรทำ ละเลยกิจที่ควรทำ เมื่อทำการที่ไม่ควรทำละเลยกิจที่ควรทำเสีย   
ก็ย่อมเสื่อมจากยศและความสุข บุคคลมีใจอันพยาบาท ถีนมิทธะ (หดหู่เซื่องซึม)  อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านรำคาญ) และวิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)  ครอบงำแล้ว ย่อมทำการที่ไม่ควรทำ ละเลยกิจที่ควรทำ เมื่อทำการที่ไม่ควรทำ ละเลยกิจที่ควรทำเสีย ก็ย่อมเสื่อมจากยศและความสุข
           
ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกทราบว่า อภิชฌาวิสมโลภเป็นอุปกิเลสแห่งจิต ดังนี้แล้ว ละอภิชฌาวิสมโลภอัน เป็นอุปกิเลสแห่งจิตเสีย ทราบว่าพยาบาท ถีนมิทธะ  อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ดังนี้แล้ว ละพยาบาท ถีนมิทธะ อุทธจัจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา อันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตเสีย 

เมื่อใดอริยสาวกทราบว่า อภิชฌาวิสมโลภ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉาเป็นอุปกิเลสแห่งจิตแล้ว ละอภิชฌาวิสมโลภ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉาอันเป็นอุปกิเลสแห่งจิตเสียได้แล้ว 

เมื่อนั้น อริยสาวกนี้ เราเรียกว่าผู้มีปัญญาใหญ่ ผู้มีปัญญามาก ผู้เห็นคลอง ผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา นี้เรียกว่า  ปัญญาสัมปทา.
           
ดูก่อนคฤหบดี ธรรม ๔ อย่างนี้แล เป็นทางให้ได้ธรรม  ๔  ประการอันเป็นที่ปรารถนารักใคร่ชอบใจ หาได้โดยยากในโลกนั้น
           
ดูก่อนคฤหบดี อริยสาวกนั้นย่อมเป็นผู้ทำกรรมที่สมควร   ๔   ประการด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยความหมั่นขยัน ที่สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน ที่ต้องทำงานจนเหงื่อไหล ที่ชอบธรรม ที่ได้มาโดยธรรม กรรม (การกระทำ) ที่สมควร ๔ ประการคืออะไรบ้าง คือ
           
อริยสาวกในพระธรรมวินัยนี้ เลี้ยงตน เลี้ยงมารดาบิดา บุตร ภริยา บ่าว ไพร่ คนอาศัย เพื่อนฝูง ให้เป็นสุขเอิบอิ่มสำราญดีด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยความหมั่นขยัน ที่สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน ที่ต้องทำงานจนเหงื่อไหล ที่ชอบธรรม ที่ได้มาโดยธรรม นี้กรรมที่สมควรข้อที่ ๑  ของอริยสาวกนั้น เป็นการชอบแก่เหตุแล้ว เป็นการสมควรแล้ว เป็นการใช้ (โภคทรัพย์) โดยทางที่ควรใช้แล้ว
           
อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมบำบัดอันตรายทั้งหลาย ที่เกิดแต่ไฟก็ดี เกิดแต่น้ำก็ดี เกิดแต่พระราชาก็ดี เกิดแต่โจรก็ดี เกิดแต่ทายาทผู้เกลียดชังกันก็ดี ย่อมทำตนให้สวัสดี  (จากอันตรายเหล่านั้น) ด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มา ด้วยความหมั่นขยัน  ฯลฯ ที่ได้มาโดยธรรม  นี้กรรมที่สมควรข้อที่  ๒ ของอริยสาวกนั้น เป็นการชอบแก่เหตุแล้ว  เป็นการสมควรแล้ว เป็นการใช้  (โภคทรัพย์) โดยทางที่ควรใช้แล้ว
           
อีกข้อหนึ่ง อริยสาวกย่อมเป็นผู้ทำพลี ๕  คือ
ญาติพลี  (สงเคราะห์ญาติ)
อติถิพลี  (ต้อนรับแขก)   
ปุพพเปตพลี (ทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย)   
ราชพลี (ช่วยราชการหรือเสียภาษี)   
เทวตาพลี (ทำบุญอุทิศให้เทวดา)   
ด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยความหมั่นขยัน  ฯลฯ ที่ได้มาโดยธรรม นี้เป็นกรรมที่สมควรข้อที่  ๓ ของอริยสาวกนั้น เป็นการชอบแก่เหตุแล้ว เป็นการสมควรแล้ว เป็นการใช้ (โภคทรัพย์) โดยทางที่ควรใช้แล้ว
           
อีกข้อหนึ่ง  อริยสาวกย่อมตั้ง  (บริจาค)  ทักษิณาทาน (สิ่งของให้ทาน) อย่างสูง  ที่จะอำนวยผลดีเลิศ มีสุขเป็นวิบาก   เป็นทางสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้เว้นไกลจากความมัวเมาประมาท มั่นคงอยู่ในขันติโสรัจจะ (ความอดทนและความสงบเสงี่ยม) ฝึกฝนตนอยู่ผู้เดียว รำงับตนอยู่ผู้เดียว ดับกิเลสตนอยู่ผู้เดียว ด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยความหมั่นขยัน   ฯลฯ  ที่ได้มาโดยธรรม  นี้เป็นกรรมที่สมควรข้อที่  ๔  ของอริยสาวกนั้น เป็นการชอบแก่เหตุแล้ว เป็นการสมควรแล้ว เป็นการใช้ (โภคทรัพย์)  โดยทางที่ควรใช้แล้ว
           
ดูก่อนคฤหบดี   อริยสาวกนั้นย่อมเป็นผู้ทำกรรม (มีการกระทำ) ที่สมควร  ๔  นี้ ด้วยโภคทรัพย์ที่ได้มาด้วยความหมั่นขยัน  ที่สะสมขึ้นด้วยกำลังแขน ที่ต้องทำงานจนเหงื่อไหล ที่ชอบธรรม ที่ได้มาโดยธรรม

           
ดูก่อนคฤหบดี โภคทรัพย์ทั้งหลายของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ถึงความหมดเปลืองไป เว้นเสียจากกรรมที่สมควร ๔ ประการนี้   โภคทรัพย์เหล่านี้   เรียกว่า หมดไปโดยไม่ชอบแก่เหตุ หมดไปโดยไม่สมควร ใช้ไปโดยทางที่ไม่ควรใช้ โภคทรัพย์ทั้งหลาย ของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ถึงความหมดเปลือง ไปด้วยกรรมที่สมควร  ๔ ประการนี้ โภคทรัพย์เหล่านี้เรียกว่าเปลืองไปโดยชอบแก่เหตุ เปลืองไปโดยสมควร ใช้ไปโดยทางที่ควรใช้
                 
สิ่งที่ควรบริโภคใช้สอยทั้งหลาย เราได้บริโภคใช้สอยแล้ว บุคคลที่ควรเลี้ยงทั้งหลาย เราได้เลี้ยงแล้ว อันตรายทั้งหลาย เราได้ข้ามพ้นแล้ว ทักษิณาทานอย่างสูง เราได้ให้แล้ว  อนึ่ง พลี  ๕  เราได้ทำแล้ว สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้มีศีล ผู้สำรวม ผู้ประพฤติพรหมจรรย์ เราได้บำรุงแล้ว


บัณฑิตผู้อยู่ครองเรือนพึงปรารถนาโภคทรัพย์เพื่อประโยชน์อันใด ประโยชน์อันนั้น เราได้บรรลุโดยลำดับแล้ว กิจการอันจะไม่ทำให้เดือดร้อนในภายหลัง เราได้ทำแล้ว นรชนผู้มีอันจะต้องตายเป็นสภาพ ระลึกถึงความดีที่ตนได้ทำแล้วนี้ ย่อมตั้งอยู่ในอริยธรรม ในปัจจุบันนี้เอง บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญนรชนนั้น นรชนนั้นละโลกนี้ไปแล้ว  ย่อมบันเทิงใจในสวรรค์.

ศึกษาพระไตรปิฏก www.samyaek.com ( //www.thepalicanon.com/palicanon )
มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
//www.dhammahome.com/front/tipitaka/list.php

ดาวน์โหลดไฟล์รวมข้อมูลเพื่อการศึกษาพระไตรปิฎก
//www.samyaek.com/board2/index.php?topic=3230.msg19459#msg19459

พจนานุกรมพุทธศาตร์ ฉบับประมวลธรรม //www.thammapedia.com/dhamma/books/payutto/008.pdf




 

Create Date : 13 สิงหาคม 2554
0 comments
Last Update : 9 เมษายน 2556 16:00:31 น.
Counter : 954 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Budratsa
Location :
พิจิตร Switzerland

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับทุกๆคนค่ะ
"ดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์ (พุทธพจน์) มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา" เล่มที่ ๑๓ : พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ ๓๒๐
Friends' blogs
[Add Budratsa's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.