"ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอด้วยพระตถาคตย่อมไม่มี พระพุทธเจ้าแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยการกล่าวคำจริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี....." "พระไตรปิฏก เป็นตาที่วิเศษยิ่ง, เป็นหูที่วิเศษยิ่ง, เป็นจมูกที่วิเศษยิ่ง, เป็นลิ้นที่วิเศษยิ่ง, เป็นกายที่วิเศษยิ่ง, เป็นใจที่วิเศษยิ่ง, เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง, เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง, เป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษยิ่ง, เป็นแผนที่และป้ายบอกทางที่วิเศษยิ่ง, เป็นแสงสว่างส่องทางสู่นิพพานที่วิเศษยิ่ง"จากวัดสามแยก
Group Blog
 
<<
กรกฏาคม 2556
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
21 กรกฏาคม 2556
 
All Blogs
 

แสดงธรรมวันสงกรานต์ 2556 (part 1-2) โดยหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล 13เมษายน 2556

เนื้อหา บางส่วนจากการแสดงธรรมชุดนี้
    
๑.    บวชแล้วสีก พระพุทธเจ้าตำหนิ
      ๒.    รู้จักคุณสมบัติของ "พระนักเทศน์ที่ดี "
      ๓.    เมื่อสนับสนุนพระชั่วๆ ย่อมตกนรกไปด้วยกัน
      ๔.    ไม่จำเป็นต้องสมาทานศีลกับพระภิกษุเสมอไป
      ๕.    เมื่อเจอเหตุร้าย ต้องนึกถึงกรรมั่วในอดีตชาติด้วย
     ฯลฯ

-หมู่สัตว์เมื่อตายแล้ว จะไปเกิดในนรกเป็นส่วนมาก(วรรคที่4)เล่ม33หน้า206
-ถ้าโทษมาก แม้สำนึกและขอขมาก็ไม่พ้นนรกไปได้(เรื่องอชครเปรต)เล่ม42หน้า90-93
-ตั้งใจทำความเพียร ดีกว่าไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า(เรื่องพระติสสะเถระ)เล่ม42หน้า381
-เมื่อสนับสนุนพระชั่วๆ ย่อมตกนรกไปด้วยกัน(คูถขาทิกเปรตวัตถุ)เล่ม49หน้า559
-ไม่จำเป็นต้องสมาทานศีลกับพระภิกษุเสมอไป(อ.สิกขาปทวิภังค์)เล่ม78หน้า512,เล่ม34หน้า403-404
-บวชแล้วสีก พระพุทธเจ้าตำหนิ(สิกขสูตร)เล่ม36หน้า7
-ปัญหาที่พระพุทธเจ้าทรงตอบ และไม่ตอบ(จูฬมาลุงกยโอวาทสูตร)เล่ม20หน้า301-305
-เมื่อเจอเหตุร้าย ต้องนึกถึงกรรมั่วในอดีตชาติด้วย(ทุติยสังคามวัตถุสูตร)เล่ม24หน้า475
-แม้ร่างกายของพระพุทธเจ้า ก็ต่ำทรามเช่นกัน(อ.มหาปชาบดีโคตมีเถรีคาถา)เล่ม54หน้า261
-พระภิกษุไม่ควรเป็นผู้ก่อคดีความ เล่ม5หน้า46-48
-บวชแล้วไม่สำรวมระวัง ไม่นานก็ต้องสึกออกไป(สารีปุตตสูตร)เล่ม28หน้า213
-พระพุทธเจ้าไม่เคยกลัวการท้าทาย(ปาฏิกสูตร)เล่ม15หน้า12,เล่ม18หน้า44
-รู้จักคุณสมบัติของ "พระนักเทศน์ที่ดี "(อ.จุลลหัตถิปโทปมสูตร)เล่ม18หน้า496
-แค่ยินดีในบุญของผู้อื่น ก็ได้บุญมากมายแล้ว(อ.วิหารวิมาณ)เล่ม48หน้า360

-บวชแล้วสีก พระพุทธเจ้าตำหนิ(สิกขสูตร)เล่ม36หน้า7

๕.  สิกขสูตร  ว่าด้วยฐานะที่น่าติเตียนของภิกษุและภิกษุณีผู้ลาสิกขาแล้ว

[๕]  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีบางรูป ลาสิกขาสึกออกมาเป็นคฤหัสถ์ เธอย่อมถึงฐานะอันน่าติเตียน ซึ่งถูกกล่าวหาอันชอบแก่เหตุ๕  ประการในปัจจุบัน  ๕ ประการเป็นไฉน คือ  
ท่านไม่มีแม้ศรัทธาในกุศลธรรม ๑
ไม่มีแม้หิริในกุศลธรรม ๑   
ไม่มีแม้โอตตัปปะในกุศลธรรม ๑ 
ไม่มีแม้ความเพียรในกุศลธรรม  ๑
ไม่มีแม่ปัญญาในกุศลธรรม ๑ 
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหรือภิกษุณีบางรูป ลาสิกขาสึกออกมาเป็นคฤหัสถ์ เธอย่อมถึงฐานะอันน่าติเตียน ซึ่งถูกกล่าวหาอันชอบแก่เหตุ  ๕ ประการนี้แลในปัจจุบัน.

-บวชแล้วไม่สำรวมระวัง ไม่นานก็ต้องสึกออกไป(สารีปุตตสูตร)เล่ม28หน้า213

๗. สารีปุตตสูตร ว่าด้วยผู้คุ้มครองทวารอินทรีย์ได้ก็ประพฤติพรหมจรรย์ได้

[๑๘๓]  สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัย พอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งครั้นแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุผู้เป็นสัทธิวิหาริกของท่านลาสิกขาสึกเสียแล้ว.

ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ผู้ที่ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้ประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร ย่อมเป็นเช่นนี้แหละ ดูก่อนผู้มีอายุ ข้อที่ภิกษุไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ ไม่ประกอบความเพียร จักประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ ติดต่อกันไปจนตลอดชีวิตนั้น ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ ดูก่อนผู้มีอายุ ข้อที่ภิกษุคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียร จักประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์  ติดต่อกันไปจนตลอดชีวิตนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้.

-รู้จักคุณสมบัติของ "พระนักเทศน์ที่ดี "(อ.จุลลหัตถิปโทปมสูตร)เล่ม18หน้า496

พึงแสดงศีลเป็นเบื้องต้น แสดงมรรคเป็นเบื้องกลาง แสดงนิพพานเป็นเบื้องหลาย นี้เป็นจุดยืน (หลัก) ของพระธรรมกถึก.

บทว่า สาตฺถ สพฺยญฺชน  ความว่า เทศนาของพระธรรมกถึกใด อาศัยพรรณนาเรื่องข้าวต้มข้าวสวยผู้หญิงผู้ชายเป็นต้น พระธรรมกถึกนั้นชื่อว่า ไม่แสดงธรรมเป็นสาตถะมีประโยชน์ ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละเทศนาเช่นนั้น ทรงแสดงเทศนาอาศัยสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น เพราะฉะนั้นท่านจึงกล่าวว่า ทรงแสดงธรรมเป็นสาตถะมีประโยชน์.  อนึ่ง เทศนาของภิกษุใดประกอบด้วยพยัญชนะเดี่ยวเป็นต้น หรือมีพยัญชนะบอดทั้งหมด หรือมีพยัญชนะเปิดทั้งหมดกดทั้งหมด เทศนาของภิกษุนั้น ชื่อว่า อพยัญชนะ เพราะไม่มีความบริบูรณ์ด้วยพยัญชนะ เหมือนภาษาของคนมิลักขะเช่น เผ่าทมิฬเผ่าคนป่าและคนเหลวไหลเป็นต้น. ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงละเทศนาเช่นนั้น ทรงไม่แตะต้องพยัญชนะ ๑๐ อย่าง ที่กล่าวไว้อย่างนี้ว่า

๑.ลิถิล ๒.ธนิต ๓.ทีฆะ ๔.รัสสะ ๕.ลหุ ๖.ครุ ๗.นิคคหิต ๘.สัมพันธะ ๙.ววัตถิตะ ๑๐ วิมุตตะ 

ซึ่งเป็นหลักการขยายตัวพยัญชนะ ๑๐ ประการ

-เมื่อเจอเหตุร้าย ต้องนึกถึงกรรมั่วในอดีตชาติด้วย(ทุติยสังคามวัตถุสูตร)เล่ม24หน้า475

[๓๗๕] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้วจึงได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ในเวลานั้นว่า

บุรุษจะแย่งชิงเขาได้ ก็ชั่วกาลที่กาล
แย่งชิงของเขายังพอสำเร็จได้ แต่เมื่อใด
คนเหล่าอื่นย่อมแย่งชิง ผู้แย่งชิงนั้น
ย่อมกลับถูกเขาแย่งชิงเมื่อนั้น.

เพราะว่า คนพาลย่อมสำคัญว่าเป็น
ฐานะ ตราบเท่าที่บาปยังไม่ให้ผล แต่บาป
ให้ผลเมื่อใด คนพาลย่อมประสบทุกข์เมื่อนั้น.

ผู้ฆ่าย่อมได้รับการฆ่าตอบ ผู้ชำนะ
ย่อมได้รับการชนะตอบ  ผู้ด่าย่อมได้รับการ
ด่าตอบ  และผู้ขึ้งเคียดย่อมได้รับความขึ้ง
เคียดตอบ ฉะนั้น  เพราะความหมุนกลับ
แห่งกรรม ผู้แย่งชิงนั้น  ย่อมถูกเขาแย่งชิง.

-ตั้งใจทำความเพียร ดีกว่าไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า(เรื่องพระติสสะเถระ)เล่ม42หน้า381

เรื่องพระติสสเถระ 

ข้อความเบื้องต้น
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในเมืองไพศาลี ทรงปรารภภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "ปริเวกรส" เป็นต้น.

ได้ทราบข่าวปรินิพพานแล้วบำเพ็ญสมณธรรม

ความพิสดารว่า เมื่อพระศาสดาตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลายโดยเดือน ๔ เดือน๑(*) จากนี้ เราจักปรินิพพาน."  ภิกษุ ๗๐๐ ในสำนักของพระศาสดาถึงความสะดุ้งแล้ว. ธรรมสังเวชเกิดขึ้นแก่พระขีณาสพทั้งหลาย. ภิกษุปุถุชนทั้งหลายไม่สามารถจะอดกลั้นน้ำตาได้. ภิกษุทั้งหลายเป็นพวกๆ เที่ยวปรึกษากันว่า " พวกเราจักทำอย่างไรหนอ ? " ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งชื่อว่าติสสเถระคิดว่า "ได้ยินว่า พระศาสดาจักปรินิพพาน โดยล่วงไป ๔ เดือน ก็เราเป็นผู้มีราคะยังไม่ไปปราศ, เมื่อพระศาสดายังทรงพระชนม์อยู่นั่นแหละ, เราควรถือเอาพระอรหัต(ให้ได้)" แล้วจึงอยู่ผู้เดียวเท่านั้นในอิริยาบถ ๔. การไปสู่สำนักของภิกษุทั้งหลาย หรือการสนทนาปราศรัยกับผู้ใดผู้หนึ่ง ย่อมไม่มี. ครั้งนั้นภิกษุทั้งหลายกล่าวกะท่านว่า" คุณติสสะเหตุไร ?  คุณจึงทำอย่างนี้. " ท่านไม่ฟังถ้อยคำของภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลความเป็นไปนั้นแด่พระศาสดาแล้ว กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระติสสเถระไม่มีความรักในพระองค์." พระศาสดา รับสั่งให้หาท่านมาแล้ว ตรัสถามว่า "ติสสะ  เหตุไร ? เธอจึงทำอย่างนี้."เมื่อท่านกราบทูลความประสงค์ของตนแล้ว ประทานสาธุการว่า "ดีละติสสะ" แล้วตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีความรักในเรา จงเป็นเหมือนติสสะเถิด; แม้คนกระทำการบูชาอยู่ด้วยของหอมและระเบียบดอกไม้เป็นต้น ไม่ชื่อว่าบูชาเราเลย, แต่คนผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมนั่นแหละชื่อว่าบูชาเรา." แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า :-

๗.  ปวิเวกรส ปิตฺวา รส อุปสมสฺส จนิทฺทโร โหติ นิปฺปาโป ธมฺมปีติรส ปิว.

" บุคคลดื่มรสอันเกิดแต่วิเวกและรสพระนิพพาน
เป็นที่เข้าไปสงบ ดื่มรสปีติอันเกิดแต่ธรรม
ย่อมเป็นผู้ไม่มีความกระวนกระวาย ไม่มีบาป."

(*)๑. น่าจะเป็น ๓ เดือน แต่ว่าในที่นี้เห็นจะนับโดยเดือน.

-เมื่อสนับสนุนพระชั่วๆ ย่อมตกนรกไปด้วยกัน(คูถขาทิกเปรตวัตถุ)เล่ม49หน้า559

๘. คูถขาทิกเปตวัตถุที่ ๑ ว่าด้วยด่าพระตกนรกกินของไม่สะอาด

พระมหาโมคคัลลานเถระได้ถามเปรตตนหนึ่งว่า :-
ท่านเป็นใครหนอ โผล่ขึ้นจากหลุมคูถ
ให้เราเห็นเช่นนี้ ท่านร้องครวญครางอื้ออึงไป
ทำไมเล่า ท่านมีการงานอันลามกเป็นแน่.

เปรตนั้นตอบว่า :-
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นเปรตเสวย
ทุกข์เกิดในยมโลก เพราะได้ทำกรรมอันลามก
ไว้จึงจากโลกนี้ไปสู่เปตโลก.

พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า  :-
ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วยกาย วาจาใจ
เพราะผลแห่งกรรมอะไร ท่านจึงได้ประสบทุกข์เช่นนี้.

เปรตนั้นตอบว่า :-
ชาติก่อน มีภิกษุรูปหนึ่งเป็นเจ้าอาวาส
อยู่ในอาวาสของข้าพเจ้า ท่านมีปกติริษยา
ตระหนี่ตระกูล มีใจกระด้าง มักด่าบริภาษ
ได้ยกโทษภิกษุอาคันตุกะทั้งหลายที่เรือนของ
ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าฟังคำของภิกษุนั้นแล้ว ได้ด่าภิกษุทั้งหลาย
เพราะผลแห่งกรรมนั้น ข้าพเจ้าจึงจากโลกนี้ไปสู่เปตโลก.

พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า  :-
ภิกษุที่เข้าไปสู่ตระกูลของท่าน ไม่ใช้
มิตรแท้เป็นมิตรเทียม เป็นคนมีปัญญาทราม
ทำลายขันธ์ละไปแล้ว ไปสู่คติไหนหนอ.

เปรตนั้นตอบว่า :-
ข้าพเจ้ายืนอยู่บนศีรษะของภิกษุผู้มีกรรม
อันลามกนั้น กุลุปกภิกษุไปเกิดเป็นเปรตบริวาร
ของข้าพเจ้า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ชนเหล่าอื่นถ่าย
มูตรคูถลงในเว็จนี้ มูตรคูถนั้นเป็นอาหารของ
ข้าพเจ้า และข้าพเจ้ากินมูตรคูถนั้นแล้ว ถ่ายมูตร
คูถสิ่งใดลงไป กุลุปกเปรตนั้นก็เลี้ยงชีพด้วยมูตรคูถนั้น.

จบ ปฐมคูถขาทิกเปตวัตถุที่  ๘

-ถ้าโทษมาก แม้สำนึกและขอขมาก็ไม่พ้นนรกไปได้(เรื่องอชครเปรต)เล่ม42หน้า90-93

พระศาสดาก็เคยทรงเห็นเปรตนั้น

พระศาสดา เมื่อจะตรัสคำเป็นต้นว่า "ภิกษุทั้งหลาย สาวกของเรา เป็นผู้มีจักษุอยู่หนอ" ทรงรับรองถ้อยคำของพระเถระแล้ว จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เปรตนั้น  แม้เราก็ได้เห็นแล้วที่โพธิมัณฑสถาน เหมือนกัน. แต่เราไม่พูด เพราะคิดเห็นว่า ' ก็แลชนเหล่าใดไม่พึงเชื่อคำของเรา ความไม่เชื่อนั้นของคนเหล่านั้น พึงเป็นไปเพื่อหาประโยชน์เกื้อกูลมิได้'  บัดนี้ เราได้โมคคัลลานะเป็นพยานแล้วจึงพูดได้." อันภิกษุทั้งหลายทูลถามบุรพกรรมของเปรตนั้นแล้ว จึงทรงพยากรณ์ (ดังต่อไปนี้) ว่า

บุรพกรรมของอชครเปรต

ดังได้ยินมา ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะเศรษฐีชื่อว่าสุมงคล  ปูพื้นที่ด้วยแผ่นอิฐทองคำ ให้สร้างวิหารในที่ประมาณ ๒๐ อุสภะ ด้วยทรัพย์ประมาณเท่านั้นแล้ว ก็ให้ทำการฉลองด้วยทรัพย์ประมาณเท่านั้นเหมือนกัน. วันหนึ่ง ท่านเศรษฐีไปสู่สำนักพระศาสดาแต่เช้าตรู่ เห็นโจรคนหนึ่งนอนเอาผ้ากาสาวะคลุมร่างตลอดถึงศีรษะทั้งมีเท้าเปื้อนโคลน อยู่ในศาลาหลังหนึ่ง ใกล้ประตูพระนคร  จึงกล่าวว่า "เจ้าคนนี้ มีเท้าเปื้อนโคลน คงจักเป็นมนุษย์ที่เที่ยวเตร่ในเวลากลางคืนแล้ว (มา)นอน."

กรรมชั่วให้ผลชั่ว

โจรเปิดหน้าเห็นเศรษฐีแล้ว คิดในใจว่า "เอาเถอะน่ะ. เราจักรู้กรรมที่ควรทำแก่มัน" ดังนี้แล้วก็ผูกอาฆาตไว้ ได้เผานา (ของเศรษฐี) ๗ ครั้ง ตัดเท้าโคทั้งหลาย ในคอก ๗ ครั้ง เผาเรือน ๗ ครั้ง  เขาไม่อาจให้ความแค้นเคืองดับได้ แม้ด้วยทารุณกรรมมีประมาณเท่านั้น  จึงทำการสนิทชิดเชื้อกับคนใช้ของเศรษฐีนั้นแล้ว ถามว่า "อะไรเป็นที่รักของเศรษฐี (นาย) ของท่าน? " ได้ฟังว่า "วัตถุเป็นที่รักยิ่งของเศรษฐีอื่นจากพระคันธกุฎี ย่อมไม่มี" คิดว่า "เอาละ,  เราจักเผาพระคันธกุฎี ยังความแค้นเคืองให้ดับ. " เมื่อพระศาสดาเสด็จเข้าไปบิณฑบาต. จึงทุบหม้อน้ำสำหรับดื่มและสำหรับใช้ ได้จุดไฟที่พระคันธกุฎีแล้ว.เศรษฐีได้ทราบว่า "ข่าวว่า พระคันธกุฎีถูกไฟไหม้" เดินมาอยู่ ในเวลาพระคันธกุฎีถูกไฟไหม้เเล้ว  จึงมาถึง แลดูพระคันธกุฎีที่ไฟไหม้ ก็มิได้ทำความเสียใจแม้สักเท่าปลายขนทราย คู้แขนข้างซ้ายเข้ามาปรบด้วยมือข้างขวาอย่างขนานใหญ่.ขณะนั้น ประชาชนยืนอยู่ ณ ที่ใกล้ ถามท่านเศรษฐีว่า " นายขอรับ เพราะเหตุไร  ท่านจึงปรบมือ ในเวลาที่พระคันธกุฎีซึ่งท่านสละทรัพย์ประมาณเท่านี้สร้างไว้ถูกไฟไหม้เล่า ? "เศรษฐีตอบว่า " พ่อแม่ทั้งหลาย ข้าพเจ้าทำกรรมประมาณเท่านี้ (ชื่อว่า) ได้ฝังทรัพย์ไว้ในพระศาสนาที่ไม่สาธารณะแก่อันตรายมีไฟเป็นต้น, ข้าพเจ้าจึงมีใจยินดี ปรบมือด้วยคิดว่า ' เราจักได้สละทรัพย์ประมาณเท่านี้ สร้างพระคันธกุฎี (ถวาย) พระศาสดาแม้อีก."ท่านเศรษฐี สละทรัพย์ประมาณเท่านั้น สร้างพระคันธกุฎีอีก ได้ถวายแด่พระศาสดา ซึ่งมีภิกษุ ๒ หมื่นรูปเป็นบริวาร.
โจรเห็นกิริยานั้นแล้ว คิดว่า "เราไม่ฆ่าเศรษฐีนี้เสีย จักไม่อาจทำให้เก้อเขินได้, เอาเถอะ, เราจักฆ่ามันเสีย, " ดังนี้แล้ว จึงซ่อนกริชไว้ในระหว่างผ้านุ่ง  แม้เดินเตร่อยู่ในวิหารสิ้น ๗ วัน ก็ไม่ได้โอกาส.
ฝ่ายมหาเศรษฐีถวายทานแด่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขสิ้น ๗ วัน ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว กราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุรุษผู้หนึ่งเผานาของข้าพระองค์ ๗ ครั้ง ตัดเท้าโคในคอก ๗ ครั้ง, เผาเรือน ๗ ครั้ง, บัดนี้ แม้พระคันธกุฎี ก็จักเป็นเจ้าคนนั้นแหละเผา ข้าพระองค์ขอให้ส่วนบุญในทานนี้แก่เขาก่อน. "

ผู้ทำกรรมดีย่อมชนะผู้ทำกรรมชั่ว

โจรได้ยินคำนั้น ระทมทุกข์ว่า "เราทำกรรมอันหนักหนอ เมื่อเป็นอย่างนั้น บุรุษนี้ก็มิได้มีแม้สักว่าความแค้นเคืองในเราผู้ทำผิด (ยังกลับ) ให้ส่วนบุญในทานนี้แก่เราก่อนเสียด้วย;  เราคิดประทุษร้ายในบุรุษนี้ (ไม่สมควรเลย)  แม้เทวทัณฑ์พึงตกลงบนกระหม่อมของเราผู้ไม่ให้บุรุษผู้เห็นปานนี้อดโทษให้." ดังนี้แล้ว จึงไปหมอบลงที่ใกล้เท้าของเศรษฐี กล่าวว่า " นายขอรับ ขอท่านจงกรุณาอดโทษแก่ผมเถิด. เมื่อเศรษฐีกล่าวว่า "อะไรกันนี่ ? " จึงเรียนว่า" นายขอรับ ผมได้ทำกรรมประมาณเท่านี้ๆ. ขอท่านจงอดโทษนั้นแก่ผมเถิด, "

ทีนั้น เศรษฐีถามกรรมทุกๆ อย่างกะเขาว่า " เจ้าทำกรรมนี้ด้วยนี้ด้วย ประมาณเท่านี้แก่เราหรือ ? " เมื่อเขารับสารภาพว่า ' ขอรับ ผมทำ " จึงถาม (ต่อไป) ว่า "เราไม่เคยเห็นเจ้าเลย เหตุไรเจ้าจึงโกรธได้ทำอย่างนั้นแก่เรา ?."

เขาเตือนให้เศรษฐีระลึกถึงคำ ที่ตนผู้ออกจากพระนครในวันหนึ่งพูดแล้ว ได้บอกว่า "ผมเกิดความแค้นเคืองขึ้นเพราะเหตุนี้."เศรษฐีระลึกถึงความแห่งถ้อยคำที่ตนพูดได้เเล้ว ให้โจรอดโทษให้ด้วยถ้อยคำว่า  "เออพ่อ เราพูดจริง,  เจ้าจงอดโทษข้อนั้นแก่เราเถิด. " แล้วกล่าวว่า  'ลุกขึ้นเถิด เราอดโทษให้แก่เจ้าละ, เจ้าจงไปเถิด.''
โจร: นายขอรับ  ถ้าท่านอดโทษแก่ผมไซร้. ขอจงทำผมพร้อมทั้งบุตรและภริยา ให้เป็นทาส (ผู้รับใช้) ในเรือนของท่านเถิด
เศรษฐี:  แน่ะพ่อ เมื่อเรากล่าวคำมีประมาณเท่านี้. เจ้าก็ได้ทำการตัดเห็นปานนี้.  เราไม่อาจจะกล่าวอะไร ๆ กับ เจ้าผู้อยู่ในเรือนได้เลย.  เราไม่มีกิจเกี่ยวด้วยเจ้าผู้จะอยู่ในเรือน.  เราอดโทษให้เเก่เจ้า,
ไปเถิด พ่อโจรครั้นทำกรรมนั้นแล้ว
ในกาลสิ้นอายุ บังเกิดแล้วในอเวจีไหม้ในอเวจีสิ้นกาลนาน ในกาลบัดนี้ เกิดเป็นอชครเปรต ถูกไฟไหม้อยู่ที่เขาคิชฌกูฏ ด้วยวิบาก [แห่งกรรม] ที่ยังเหลือ.

พระศาสดา ครั้นตรัสบุรพกรรมของเปรตนั้นอย่างนี้แล้ว จึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาคนพาล ทำกรรมอันลามกอยู่ ย่อมไม่รู้.  แต่ภายหลัง เร่าร้อนอยู่เพราะกรรมอันตนทำแล้ว ย่อมเป็นเช่นกับไฟไหม้ป่า ด้วยตนของตนเอง " ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึงได้ตรัสพระคาถานี้ว่า

๖. อถ ปาปานิ กมฺมานิ กร พาโล น พุชฺฌติเสหิ กมฺเมหิ ทุมฺเมโธ อคฺคิหฑฺโฒว ตปฺปติ.

" อันคนพาล ทำกรรมทั้งหลายอันลามกอยู่ ย่อม
ไม่รู้ (สึก) บุคคลมีปัญญาทราม  ย่อมเดือดร้อน
ดุจถูกไฟไหม้ เพราะกรรมของตนเอง. "

-ไม่จำเป็นต้องสมาทานศีลกับพระภิกษุเสมอไป(อ.สิกขาปทวิภังค์)เล่ม78หน้า512,เล่ม34หน้า403-404

-เล่ม78หน้า512
ว่าโดยสมาทาน  เมื่อคฤหัสถ์ตั้งใจว่า ข้าพเจ้าจักอธิษฐานศีล  ๕ เองทีเดียว ดังนี้ก็ดี เมื่อสมาทานศีลนั้นโดยแยกแต่ละข้อก็ดี  ย่อมชื่อว่า สมาทานแล้วทีเดียว คือว่าคฤหัสถ์นั้นนั่งในสำนักแห่งผู้ใดแล้วก็ถือเอาด้วยคำว่า ข้าพเจ้าจะสมาทานศีล ๕ ก็ดี ขอสมาทานโดยแต่ละข้อก็ดี ชื่อว่า ย่อมสมาทานนั่นแหละ.

-เล่ม34หน้า403-404
บทว่า เอต หิ อฏฺงฺคิกมาหุโปสถ ความว่า นักปราชญ์เรียกอุโบสถที่ผู้ไม่ละเมิดปาณาติบาตเป็นต้น เข้าจำแล้วอย่างนี้  ว่าเป็นอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ เพราะประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ.

ส่วนผู้ที่เข้าจำอุโบสถประกอบด้วยองค์ ๘ นั้น คิดว่า พรุ่งนี้เราจักรักษาอุโบสถ แล้วควรตรวจสอบสิ่งที่ต้องจัด มีอาหารเป็นต้นว่า เราต้องกระทำอย่างนี้ อย่างนี้ ในวันนี้ทีเดียว. ในวันอุโบสถควรเปล่งวาจาสมาทานองค์อุโบสถ ในสำนักของภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ผู้รู้ลักษณะของศีล ๑๐ แต่เช้า ๆ.

ส่วนผู้ไม่รู้บาลี ควรอธิษฐานว่า พุทฺธปญฺตฺต  อุโปสถ อธิฏฺมิ (ข้าพเจ้าขออธิษฐาน องค์อุโบสถที่พระพุทธเจ้า ทรงบัญญัติไว้แล้ว). เมื่อหาคนอื่นไม่ได้ ก็ควรอธิษฐานด้วยตนเอง. ส่วนการเปล่งวาจา ควรทำโดยแท้ผู้เข้าจำอุโบสถ ไม่พึงวิจารการงาน อันเนื่องด้วยความบกพร่องของคนอื่น ผู้คำนึงถึงผลได้ผลเสียไม่ควรปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไป. ส่วนผู้ได้อาหารในเรือนแล้ว ควรบริโภคเหมือนภิกษุผู้ได้อาหารประจำ แล้วตรงไปวิหารฟังธรรม หรือมนสิการอารมณ์ (กัมมัฏฐาน) ๓๘ ประการ อย่างใดอย่างหนึ่ง.

-ปัญหาที่พระพุทธเจ้าทรงตอบ และไม่ตอบ(จูฬมาลุงกยโอวาทสูตร)เล่ม20หน้า301-305

เปรียบคนที่ถูกลูกศร

[๑๕๐]  ดูก่อนมาลุงกยบุตร บุคคลใดแลจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักไม่ทรงพยากรณ์แก่เรา ฯลฯ  เพียงใด เราจักไม่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้าเพียงนั้น ตถาคตไม่พึงพยากรณ์ข้อนั้นเลยและบุคคลนั้นพึงทำกาละไปโดยแท้ ดูก่อนมาลุงกยบุตร เปรียบเหมือนบุรุษต้องศรอันอาบยาพิษที่ฉาบทาไว้หนา มิตร อมาตย์ ญาติสาโลหิตของบุรุษนั้นพึงไปหานายแพทย์ผู้ชำนาญในการผ่าตัดมาผ่า บุรุษผู้ต้องศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เรายังไม่รู้จักบุรุษผู้ยิงเรานั้นว่า เป็นกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ หรือ ศูทร....มีชื่อว่าอย่างนี้ มีโคตรอย่างนี้....สูงต่ำหรือปานกลาง....ดำขาว หรือผิวสองสี....อยู่บ้าน นิคม หรือนครโน้น เพียงใด  เราจักไม่นำลูกศรนี้ออกเพียงนั้น  บุรุษผู้ต้องศรนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เรายังไม่รู้จักธนูที่ใช้ยิงเรานั้นว่าเป็นชนิดมีแล่งหรือเกาทัณฑ์...สายที่ยิงเรานั้นเป็นลายทำด้วยปอผิวไม้ไผ่ เอ็น ป่านหรือเยื่อไม้ ลูกธนูที่ยิงเรานั้น ทำด้วยไม้ที่เกิดเองหรือไม้ปลูก หางเกาทัณฑ์ที่ยิงเรานั้น  เขาเสียบด้วยขนปีกนกแร้ง นกตะกรุม เหยี่ยว นกยูง หรือนกชื่อว่า สิถิลหนุ [คางหย่อน]...เกาทัณฑ์นั้นเขาพันด้วยเอ็นวัว ควาย ต่างหรือลิง...ลูกธนที่ยิงเรานั้น  เป็นชนิดอะไร ดังนี้เพียงใด เราจักไม่นำลูกศรนี้ออกเพียงนั้น ดูก่อนมาลุงกยบุตร  บุรุษนั้นพึงรู้ข้อนั้นไม่ได้เลย โดยที่แท้  บุรุษนั้นพึงทำกาละไป ฉันใด ดูก่อนมาลุงกยบุตรบุคคลใดพึงกล่าวอย่างนี้ว่า  พระผู้มีพระภาคเจ้าจักไม่ทรงพยากรณ์ทิฏฐิ ๑๐ นั้น ฯลฯ แก่เราเพียงใด เราจักไม่พระพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้าเพียงนั้น ข้อนั้นตถาคตไม่พยากรณ์เลย โดยที่แท้ บุคคลนั้นพึงทำกาละไปฉันนั้น.

[๑๕๑] ดูก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อมีทิฏฐิว่า โลกเที่ยง ดังนี้ จักได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์หรือ ก็ไม่ใช่อย่างนั้น.ดูก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อมีทิฏฐิว่า โลกไม่เที่ยง ดังนี้ จักไม่มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์หรือ แม้อย่างนั้นก็ไม่ใช่. ดูก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อยังมีทิฏฐิว่า โลกเที่ยง หรือว่า โลกไม่เที่ยงอยู่ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ   ทุกข์ โทมนัส  และอุปายาส ก็คงที่อยู่ทีเดียว เราจึงบัญญัติความเพิกถอนชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสในปัจจุบัน ดูก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อมีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุด ดังนี้ จักได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์หรือ ก็ไม่ใช่อย่างนั้น.

ดูก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อมีทิฏฐิว่า โลกไม่มีที่สุด ดังนี้ จักได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์หรือ แม้อย่างนั้นก็ไม่ใช่.ดูก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อยังมีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุด หรือว่า โลกไม่มีที่สุดอยู่ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ  ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ก็คงมีอยู่ทีเดียว เราจึงบัญญัติความเพิกถอนชาติ ชรา มรณะ โสกะ   ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสในปัจจุบัน ดูก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อมีทิฏฐิว่า ชีพก็อันนั้น  สรีระก็อันนั้น ดังนี้ จักได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์หรือ ก็ไม่ใช่อย่างนั้น.

ดูก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อมีทิฏฐิว่า ชีพก็อย่างหนึ่ง สรีระก็อย่างหนึ่งดังนี้ จักได้มีการประพฤติพรหมจรรย์หรือ แม้อย่างนั้นก็ไม่ใช่.ดูก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อยังมีทิฏฐิว่า ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น หรือว่าชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่งอยู่  ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ก็คงมีอยู่ทีเดียว เราจึงบัญญัติความเพิกถอนชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ในปัจจุบัน ดูก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อทิฏฐิว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ ดังนี้ จักได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์หรือ  ก็มิใช่อย่างนั้น.

ก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อมีทิฏฐิว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปไม่มีอยู่ดังนี้ จักได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์หรือ แม้อย่างนั้นก็ไม่ใช่.ดูก่อนมาลุงกยบุตร  เมื่อยังมีทิฏฐิว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ หรือว่าสัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปไม่มีอยู่ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ก็คงมีอยู่ทีเดียว เราจึงบัญญัติความเพิกถอนชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสในปัจจุบัน ดูก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อมีทิฏฐิว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มีดังนี้ จักได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์หรือ ก็ไม่ใช่อย่างนั้น.

ดูก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อมีทิฏฐิว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ ก็มิใช่ไม่มีอยู่ก็มิใช่ ดังนี้ จักได้มีการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์หรือ  แม้อย่างนั้นก็ไม่ใช่.ดูก่อนมาลุงกยบุตร เมื่อยังมีทิฏฐิว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มีไม่มีอยู่ก็มี หรือว่า สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มิใช่ ไม่มีอยู่ก็มิใช่ ดังนี้ ชาติ ชรา  มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์  โทมนัส และอุปายาส ก็คงมีอยู่ทีเดียวเราจึงบัญญัติความเพิกถอน ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสในปัจจุบัน.

ปัญหาที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์และไม่ทรงพยากรณ์

[๑๕๒]  ดูก่อนมาลุงกยบุตร เพราะเหตุนั้นแล เธอทั้งหลาย จงทรงจำปัญหาที่เราไม่พยากรณ์ โดยความเป็นปัญหาที่เราไม่พยากรณ์ และจงทรงจำปัญหาที่เราพยากรณ์ โดยความเป็นปัญหาที่เราพยากรณ์เถิด ดูก่อนมาลุงกยบุตร อะไรเล่าที่ไม่พยากรณ์ ดูก่อนมาลุงยบุตร ทิฏฐิว่า โลกเที่ยงโลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่. สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปไม่มีอยู่ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็มี ไม่มีอยู่ก็มี สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายไปมีอยู่ก็หามิได้ ไม่มีอยู่ก็หามิได้ดังนี้ เราไม่พยากรณ์

ดูก่อนมาลุงกยบุตรก็เพราะเหตุไร ข้อนั้นเราจึงไม่พยากรณ์ เพราะข้อนั้นไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ ไม่เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน เหตุนั้นเราจึงไม่พยากรณ์ข้อนั้น

ดูก่อนมาลุงกยบุตร อะไรเล่าที่เราพยากรณ์ ดูก่อนมาลุงกยบุตร  ความเห็นว่า นี้ทุกข์ นี้เหตุให้เกิดทุกข์นี้ความดับทุกข์ นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ดังนี้ เราพยากรณ์ ก็เพราะเหตุไร เราจึงพยากรณ์ข้อนั้น เพราะข้อนั้น ประกอบด้วยประโยชน์ เป็นเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์  เป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้  เพื่อนิพพานเหตุนั้นเราจึงพยากรณ์ข้อนั้น เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายจงทรงจำปัญหาที่เราไม่พยากรณ์ โดยความเป็นปัญหาที่เราไม่พยากรณ์ และจงทรงจำปัญหา ที่เราพยากรณ์ โดยความเป็นปัญหาที่เราพยากรณ์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระสูตรนี้แล้ว ท่านพระมาลุงกยบุตร ยินดีชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้แล.

จบจูฬมาลุงกยโอวาทสูตรที่ ๓

***บางหัวข้อที่ไม่ได้เอามาลง เพราะเคยลงไปแล้วในยูทูปที่ผ่านๆมาแล้วค่ะ***

ที่มา : วัดป่าสามแยก ศึกษาพระธรรมวินัย เบิกบุญ โอนบุญ อกหัก โดนของ ธรรมะ ธรรมทาน คลายเครียด เจริญรุ่งเรือง //www.samyaek.com

หัวข้อพระไตรปิฏก ที่ทางวัดสามแยกคัดเอาหัวข้อย่อๆ ให้ดาวโหลดขึ้นมาไว้ เพื่ออ่านเทียบเคียงพระไตรปิฎกทั้ง 91 เล่ม (พระวัดสามแยกยกหัวข้อสำคัญเพื่อเป็นแนวทางอ่านพระไตรปิฏกทั้ง91เล่ม)
//www.samyaek.com/board2/index.php?topic=3230.msg19459#msg19459

-ศึกษาพระไตรปิฏกและอรรถกถาแปลชุด91เล่ม ของมหามกุฏราชวิทยาลัย //www.thepalicanon.com/palicanon/

-Facebook พุทธพจน์ //www.facebook.com/login.php?next=http%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fgroups%2FBuddhaspeech

-Download free พระไตรปิฏกพร้อมหัวข้อธรรมสำหรับ apple ipad & iphone & Android ดูรายละเอียดได้ที่เวบ //www.tripitaka91.com 

****หมายเหตุ "แสดงธรรมวันอาสาฬหบูชา ปี 2555" (//youtu.be/l52iDWt3V5Q ) นาทีที่ 6:01:55 ..เป็นต้นไป หลวงปู่ท่านได้พูดถึง ทนายชนอณุพงศ์ ชัยธนาวิรัตน์ ท่านใดมีปัญหาด้านกฏหมาย,คดีความต่างๆ ปรึกษาได้ที่ ทนายชนอณุพงศ์ ชัยธนาวิรัตน์ ที่เมล์ pasponglawyer@hotmail.com ,เบอร์โทรที่ 0818060981 , 0867809391 ****




 

Create Date : 21 กรกฎาคม 2556
2 comments
Last Update : 21 กรกฎาคม 2556 17:22:14 น.
Counter : 1051 Pageviews.

 

ทุกๆ วันเสาร์เวลาประเทศไทย โดยประมาณ 20:30 น.มีการถ่ายทอดสดไปทั่วโลก เทศน์โดยหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล จากสำนักสงฆ์ป่าสามแยก

รับชมได้ที่
www.samyaek.com

>> วิธีดูถ่ายทอดสด สำหรับผู้ใช้อุปกรณ์ Android (แอนดรอยด์) เช่น Samsung Galaxy Note
//www.samyaek.com/board2/index.php?topic=2303.msg30460#msg30460

>> วิธีดูถ่ายทอดสด สำหรับผู้ใช้อุปกรณ์ iPad (ไอแพด)
//www.samyaek.com/board2/index.php?topic=2303.msg30465#msg30465

 

โดย: Budratsa 21 กรกฎาคม 2556 17:16:43 น.  

 

...แจกฟรี...CD พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด 91 เล่ม ของมหามกุฏราชวิทยาลัย และDVD จากการแสดงธรรมของหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล ได้ที่www.samyaek.com คลิกที่กระดาน "แจกสื่อธรรม" หากท่านใดยังไม่ได้สมัครสมาชิก ใช้
Username : Media
Password : 123456
........................................

หรือ ติดต่อเจ้าของบล็อก มีทั้ง91เล่ม แล้วให้ดาวโหลดเอง จะส่งผ่านเมล์ไปให้ ท่านใดสนใจติดต่อที่เจ้าของบล็อก จะฝากเมล์ไว้ที่ช่องคอมเม้นต์หรือส่งเมล์หาเจ้าของบล็อก (เมล์ในProfile) โปรดระบุว่า "ขอพระไตรปิฏกชุด 91 เล่ม"

ยินดีในบุญกับท่านที่ต้องการศึกษาพระธรรมของพระพุทธเจ้าด้วยค่ะ

 

โดย: Budratsa 21 กรกฎาคม 2556 17:17:10 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Budratsa
Location :
พิจิตร Switzerland

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับทุกๆคนค่ะ
"ดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์ (พุทธพจน์) มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา" เล่มที่ ๑๓ : พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ ๓๒๐
Friends' blogs
[Add Budratsa's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.