"ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอด้วยพระตถาคตย่อมไม่มี พระพุทธเจ้าแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยการกล่าวคำจริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี....." "พระไตรปิฏก เป็นตาที่วิเศษยิ่ง, เป็นหูที่วิเศษยิ่ง, เป็นจมูกที่วิเศษยิ่ง, เป็นลิ้นที่วิเศษยิ่ง, เป็นกายที่วิเศษยิ่ง, เป็นใจที่วิเศษยิ่ง, เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง, เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง, เป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษยิ่ง, เป็นแผนที่และป้ายบอกทางที่วิเศษยิ่ง, เป็นแสงสว่างส่องทางสู่นิพพานที่วิเศษยิ่ง"จากวัดสามแยก
Group Blog
 
<<
พฤษภาคม 2556
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
 
26 พฤษภาคม 2556
 
All Blogs
 

แค่สบายใจ ยังไม่ใช่ความถูกต้อง โดยหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล 5 ม.ค.2556

ทำสิงใดๆ แล้วสบายใจหรือไม่เดือดร้อนใคร ยังไม่ใช่ความถูกต้องในพุทธศาสนา

เนื้อหา บางส่วนจากการแสดงธรรมชุดนี้
      ๑.   ต้องอาศัยตัณหาเพื่อละตัญหา
      ๒.  อย่าเห็นแก่ปากท้องมากกว่าความถูกต้อง
      ๓.  จะไม่กลัวความตาย ถ้ามีที่ระลึกอันถูกต้อง
      ๔.  ผีเปรตหวงผ้าที่พระจะเอาไปทำจีวร
      ๕.  ว่าด้วยความร่าเริงและความเบิกบานในธรรม
     ฯลฯ

-ต้องอาศัยตัณหาเพื่อละตัญหา (ภิกขุณีสูตร)เล่ม35หน้า377
-อย่าเห็นแก่ปากท้องมากกว่าความถูกต้อง (จตุตกปาราชิกกัณฑ์)เล่ม2หน้า451
-วิธีละความชั่วที่จะเกิดขึ้นมา (เทวธาวิตักกสูตร)เล่ม18หน้า215
-แม้จะปฏิบัติเดือดร้อน แต่ให้ผลสบายแน่นอน (จูฬธัมมสมาทานสูตร)เล่ม19หน้า361
-พระภิกษุต้องไม่รับใช้ฆารวาส เล่ม3หน้า614,เล่ม44หน้า599
-ผีเปรตหวงผ้าที่พระจะเอาไปทำจีวร (ทุติยปาราชิกกัณฑ์)เล่ม2หน้า42
-รักและยึดมั่นสิ่งใด ตายแล้วต้องไปอยู่กับสิ่งนั้น (เรื่องพระติสสะเถระ)เล่ม43หน้า17
-จะไม่กลัวความตาย ถ้ามีที่ระลึกอันถูกต้อง (อ.สัพภิสูตร)เล่ม24หน้า153-154
-พระภิกษุชั่วจะต้องตกนรก (ภตสูตร)เล่ม36หน้า7
-อาฬสวะยักษ์ประสงค์ที่จะฆ่าพระพุทธเจ้า (อ.สูตรที่4)เล่ม33หน้า67
-ฤาษีผู้ตามหาที่สุดจักวาล (โรหิตตัสสสูตร)เล่ม24หน้า381
-ไฟอเวจีไม่สามารถมองด้วยตาเปล่า (เรื่องนายจุนทสูกริก)เล่ม40หน้า171
-เจ้าสุปปพุทธะถูกแผ่นดินสูบลงนรก(เรื่องเจ้าสุปปพุทธศากยะ)เล่ม42หน้า61
-แม้ฌานเสื่อมกระทันหัน แต่ผลมันยังรองรับได้(อ.มหาสกุลจุทายิสูตร)เล่ม20หน้า587-588
-เมื่อมีการแสดงธรรม พระพุทธเจ้าให้ตั้งใจฟังให้ดีๆ(อ.มูลปริยายสูตร)เล่ม17หน้า41-42
-ว่าด้วยความร่าเริงและความเบิกบานในธรรม (โรณสูตร)เล่ม34หน้า515

ต้องอาศัยตัณหาเพื่อละตัญหา (ภิกขุณีสูตร)เล่ม35หน้า377

ดูก่อนน้องหญิง ร่างกายนี้เกิดเป็นมาด้วยอาหาร เธอพึงอาศัยอาหารละอาหารเสีย
ร่างกายนี้เกิดเป็นมาด้วยตัณหา เธอพึงอาศัยตัณหาละตัณหาเสีย
ร่างกายนี้เกิดเป็นมาด้วยนานะ เธอพึงอาศัยมานะละมานะเสีย

ดูก่อนน้องหญิง ก็ข้อที่ว่า ร่างกายนี้เกิดเป็นมาด้วยตัณหา เธอพึงอาศัยตัณหาละตัณหาเสียนี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว? ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ได้ยินข่าวว่า ภิกษุชื่อนั้น เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย ทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองสำเร็จอยู่ในปัจจุบันนี่ เธอมีความปรารถนาว่า เมื่อไรนะ เราจักทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ ฯลฯ สำเร็จอยู่ในปัจจุบันบ้าง ต่อมาเธอก็อาศัยตัณหาละตัณหาเสีย น้องหญิงข้อที่ว่า ร่างกายนี้เกิดเป็นมาด้วยตัณหา เธอพึงอาศัยตัณหาละตัณหาเสียนี้ เราอาศัยข้อนี้แลกล่าวแล้ว...

อย่าเห็นแก่ปากท้องมากกว่าความถูกต้อง (จตุตกปาราชิกกัณฑ์)เล่ม2หน้า451

ทรงติเตียน

[๒๒๙] พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั้น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ  ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงได้กล่าวชมอุตริมนุสธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์ เพราะเหตุแห่งท้องเล่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ท้องอันพวกเธอคว้านแล้วด้วยมีดเชือดโคอันคม ยังดีกว่า อันพวกเธอกล่าวชมอุตริมนุสธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์เพราะเหตุแห่งท้องไม่ดีเลย ข้อที่เราว่าดีนั้น เพราะเหตุไร เพราะ บุคคลผู้คว้านท้องด้วยมีดเชือดโคอันคมนั้น พึงถึงความตาย หรือความทุกข์เพียงแค่ตาย ซึ่งมีการกระทำนั้นเป็นเหตุ และเพราะการกระทำนั้นเป็นปัจจัยเบื้องหน้าแต่แตกกายตายไป ไม่พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนบุคคลผู้กล่าวชมอุตริมนุสธรรมของกันและกันแก่พวกคฤหัสถ์นั้น เบื้องหน้า แต่แตกกายตายไป พึงเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ซึ่งมีการกระทำนี้แลเป็นเหตุ ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้ การกระทำของพวกเธอนั่น เป็นไปเพื่อความไม่เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส และเพื่อความเป็นอย่างอื่นของตนบางพวกผู้เลื่อมใสแล้ว.....

แม้จะปฏิบัติเดือดร้อน แต่ให้ผลสบายแน่นอน (จูฬธัมมสมาทานสูตร)เล่ม19หน้า361

ภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า การถือมั่นธรรมที่ปัจจุบันก็เป็น
ทุกข์ และต่อไปก็ให้ผลเป็นทุกข์

[๕๑๘] ภิกษุทั้งหลาย ก็การถือมั่นสิ่งที่ปัจจุบันเป็นทุกข์ (แต่)แต่ไปให้ผลเป็นสุข เป็นไฉน คือ:-
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางพวกในโลกนี้โดยปกติ เป็นผู้มีราคะค่อนข้างจะรุนแรง เขาเสวยทุกข์โทมนัสที่เกิดจากราคะเนืองๆ, โดยปกติ เป็นผู้มีโทสะค่อนข้างจะรุนแรง เขาเสวยทุกข์โทมนัสที่เกิดจากโทสะเนืองๆ, โดยปกติเป็นผู้มีโมหะค่อนข้างจะรุนแรง เขาเสวยทุกข์โทมนัสที่เกิดจากโมหะเนืองๆ,เขาถูกกระทบพร้อมทั้งทุกข์บ้าง พร้อมทั้งโทมนัสบ้าง ถึงจะร้องไห้มีน้ำตานองหน้าอยู่ ก็ยังสู้ประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้. เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาก็เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.

พระภิกษุต้องไม่รับใช้ฆารวาส เล่ม3หน้า614,เล่ม44หน้า599

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นจึงได้ประพฤติอนาจารเห็นปานดังนี้ คือปลูกต้นไม้ดอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นปลูกเองบ้าง รดน้ำเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นรดบ้าง เก็บดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นเก็บบ้าง ร้อยกรองดอกไม้เองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นร้อยกรองบ้าง ทำมาลัยต่อก้านเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำมาลัยเรียงก้านเองบ้างใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้ช่อเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้พุ่มเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้เทริดเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้พวงเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง ทำดอกไม้เเผงสำหรับประดับอกเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นทำบ้าง พวกเธอนำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งมาลัยต่อก้านนำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งมาลัยเรียงก้าน นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้ช่อนำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้พุ่ม นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้เทริด นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้างซึ่งดอกไม้พวง นำไปเองบ้าง ใช้ให้ผู้อื่นนำไปบ้าง ซึ่งดอกไม้แผงสำหรับประดับอก เพื่อกุลสตรี เพื่อกุลธิดา เพื่อกุลกุมาร เพื่อสะใภ้แห่งสกุล เพื่อกุลทาสี ......

เล่ม44หน้า599
...ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกราชบุรุษของหม่อมฉันเหล่านี้ปลอมตัวเป็นนักบวชเที่ยวสอดแนม ตรวจตราชนบทแล้วกลับมา พวกเขาตรวจตราก่อนหม่อมฉันจักตรวจตราภายหลัง  ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ดังนี้ พวกเขาลอยธุลีและมลทินแล้ว อาบดีแล้ว ไล้ทาดีแล้ว ตัดผมโกนหนวดแล้ว นุ่งผ้าขาวอิ่มเอิบพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ บำเรอตนอยู่.

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบเนื้อความนี้แล้ว จึงทรง เปล่งอุทานนี้ในเวลานั้นว่า

บรรพชิตไม่ควรพยายามในบาปกรรมทั่วไป ไม่
ควรเป็นคนใช้ของผู้อื่น ไม่ควรอาศัยผู้อื่นเป็นอยู่
ไม่ควรแสดงธรรม เพื่อประโยชน์แต่ทรัพย์.

ผีเปรตหวงผ้าที่พระจะเอาไปทำจีวร (ทุติยปาราชิกกัณฑ์)เล่ม2หน้า42

เรื่องศพที่ยังสด

[๑๓๔] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งไปป่าช้าแล้ว ถือเอาผ้าบังสุกุลที่ศพสด และในร่างศพนั้นมีเปรตสิงอยู่ เปรตนั้น ได้กล่าวกะภิกษุนั้นว่า ท่านผู้เจริญ ท่านอย่าได้ถือเอาผ้าสาฎกของข้าพเจ้าไป ภิกษุนั้นไม่เอื้อเฟื้อจึงได้ถือไป ทันใดศพนั้นลุกขึ้นเดินตามหลังภิกษุนั้นไป ภิกษุนั้นเข้าไปสู่วิหารปิดประตู ร่างศพนั้นได้ล้มลง ณ ที่นั้นทันที เธอได้มีความรังเกียจว่า เราต้องอาบัติปาราชิกแล้ว กระมังหนอ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอไม่ต้องอาบัติปาราชิก  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันผ้าบังสุกุลที่ศพสด ภิกษุทั้งหลายไม่พึงถือเอา ภิกษุใดถือเอา ต้องอาบัติทุกกฏ.

จะไม่กลัวความตาย ถ้ามีที่ระลึกอันถูกต้อง (อ.สัพภิสูตร)เล่ม24หน้า153-154

อรรถกถาสัพภิสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในสัพภิสูตรที่ ๑ แห่งสตุลลปกายิกวรรคที่  ๔  ต่อไป :-
บทว่า สตุลฺลปกายิกา มีวิเคราะห์ว่า เทวดาทั้งหลาย ที่ชื่อว่าสตุลลปกายิกา เพราะยกย่องด้วยอำนาจแห่งการสมาทานธรรมของสัตบุรุษแล้วบังเกิดขึ้นในสวรรค์. ในข้อนั้น มีเรื่องดังต่อไปนี้

เรื่องผู้เทิดทูนธรรมสัตบุรุษ

ได้ยินว่า ชนจำนวนมากด้วยกันได้ทำการค้าทางทะเล ใช้เรือแล่นไปสู่ทะเล. เมื่อเรือแห่งชนเหล่านั้นไปอยู่โดยเร็วปานลูกธนูอันบุคคลซัดไปแล้วในวันที่ ๗ จึงเกิดเหตุร้ายใหญ่ในท่ามกลางทะเล คือ คลื่นใหญ่ตั้งขึ้นแล้วก็ยังเรือให้เต็มไปด้วยน้ำ. เมื่อเรือกำลังจะจมลง มหาชนจึงนึกถึงชื่อเทวดาของตน ๆ แล้วกระทำกิจมีการอ้อนวอนเป็นต้น คร่ำครวญแล้ว.ในท่ามกลางแห่งชนเหล่านั้น บุรุษคนหนึ่งนึกว่า เราต้องประสบภัยร้ายเห็นปานนี้แน่ จึงนึกถึงธรรมของตน เห็นแล้วซึ่งสรณะทั้งหลาย และศีล ทั้งหลายก็บริสุทธิ์แล้ว จึงนั่งขัดสมาธิ ดุจพระโยคี. พวกชนทั้งหลายจึงถามท่านถึงเหตุอันไม่กลัวนั้น. บุรุษผู้เป็นบัณฑิตนั้นจึงกล่าวว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ใช่แล้ว เราไม่กลัวภัยเห็นปานนี้ เพราะเราถวายทานแก่หมู่แห่งภิกษุในวันที่ขึ้นเรือ เราได้รับสรณะทั้งหลาย และศีลทั้งหลายด้วยเหตุนั้น เราจึงไม่กลัว ดังนี้. ชนเหล่านั้น จึงกล่าวว่า ข้าแต่นาย ก็สรณะและศีลเหล่านี้สมควรแก่ชนพวกอื่นบ้างหรือไม่. บัณฑิตนั้นตอบว่า ใช่แล้ว ธรรมเหล่านี้ย่อมสมควรแม้แก่พวกท่าน. ชนเหล่านั้น จึงกล่าวว่า ถ้อย่างนั้น ขอท่านบัณฑิตจงให้แก่พวกเราบ้าง.

ชนผู้เป็นบัณฑิตนั้น จึงจัดทำพวกมนุษย์เหล่านั้นให้เป็นพวกละรู้อยู่คน รวมเป็น ๗ พวกด้วยกัน. ต่อจากนั้นก็ให้ศีล ๕. ในบรรดาชน ๗ พวกนั้นชนจำนวนร้อยคนพวกแรกตั้งอยู่ในน้ำมีข้อเท้าเป็นประมาณ จึงได้รับศีล.พวกที่ ๒ ตั้งอยู่ในน้ำมีเข่าเป็นประมาณ... พวกที่ ๓  ตั้งอยู่ในน้ำมีสะเอวเป็นประมาณ... พวกที่ ๔ ตั้งอยู่ในน้ำมีสะดือเป็นประมาณ... ชนพวกที่ ๕  ตั้งอยู่ในน้ำมีนมเป็นประมาณ....พวกที่ ๖ ตั้งอยู่ในน้ำมีคอเป็นประมาณ...พวกที่ ๗ น้ำทะเลกำลังจะไหล่เข้าปาก จึงได้รับศีล  ๕ แล้ว.ชนผู้เป็นบัณฑิตนั้น  ครั้นให้ศีล ๕ แก่ชนเหล่านั้นแล้ว จึงประกาศเสียงกึกก้องว่า สิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเฉพาะของพวกท่านไม่มี พวกท่านจงรักษาศีลเท่านั้น ดังนี้.

ชนทั้ง  ๗๐๐ เหล่านั้น  ทำกาละในทะเลนั้นแล้ว ไปบังเกิดขึ้นในภพดาวดึงส์ เพราะอาศัยศีลอันตนรับเอาในเวลาใกล้ตาย. วิมานทั้งหลายของเทวดาเหล่านั้นก็เกิดขึ้นเป็นหมู่เดียวกัน. วิมานทองของอาจารย์มีประมาณร้อยโยชน์เกิดในท่ามกลางแห่งวิมานทั้งหมด. เทพที่เหลือเป็นบริวารของเทพที่เป็นอาจารย์นั้น วิมานที่ต่ำกว่าวิมานทั้งหมดนั้น ก็ยังมีประมาณถึง ๑๒ โยชน์.เทพเหล่านั้น ได้พิจารณาผลกรรมในขณะที่คนเกิดแล้ว ทราบแล้วซึ่งการได้สมบัตินั้น เพราะอาศัยอาจารย์ จึงกล่าวกันว่า พวกเราจักไป พวกเราจักกล่าวสรรเสริญคุณแห่งอาจารย์ของพวกเราในสำนักแห่งพระทศพล ดังนี้แล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าในเวลาระหว่างมัชฌิมยาม.ในบรรดาเทวดาเหล่านั้น เทวดา ๖ องค์ ได้กล่าวคาถาองค์ละหนึ่งคาถา  เพื่อพรรณนาคุณอาจารย์ของตนด้วยคำว่า

สพฺภิเรว สมาเสถ สพฺภิ กุพฺเพถ สนฺถว
สติ สทฺธมฺมมญฺาย เสยฺโย โหติ น ปาปิโย.

บุคคลควรนั่งร่วมกับพวกสัตบุรุษ
ควรทำความสนิทกับพวกสัตบุรุษ บุคคล
ทราบสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว มีแต่
คุณอันประเสริฐ ไม่มีโทษลามกเลย.

พระภิกษุชั่วจะต้องตกนรก (ภตสูตร)เล่ม36หน้า7

ว่าด้วยธรรม ๕ ที่นำไปนรกและสวรรค์

[๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการย่อมถูกนำมาทิ้งไว้ในนรก เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทิ้งไว้ฉะนั้น ธรรม  ๕ ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ๑ ไม่มีหิริ ๑ ไม่มีโอตตัปปะ ๑ เกียจคร้าน ๑ มีปัญญาทราม ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมถูกนำมาทิ้งไว้ ในนรก เหมือนสิ่งของที่เขานำมาทิ้งไว้ฉะนั้น.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ ย่อมเป็นผู้ได้รับเชิญมาไว้บนสวรรค์   เหมือนสิ่งของที่เขานำมาวางไว้ฉะนั้น ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศรัทธา ๑ มีหิริ ๑ มีโอตตัปปะ ๑ ปรารภความเพียร ๑ มีปัญญา ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ได้รับเชิญมาไว้บนสวรรค์ เหมือนสิ่งของที่เขานำมาวางไว้ฉะนั้น.

อาฬสวะยักษ์ประสงค์ที่จะฆ่าพระพุทธเจ้า (อ.สูตรที่4)เล่ม33หน้า67

สมัยนั้น สาตาคิรยักษ์และเหมวตยักษ์กำลังไปสู่สมาคมยักษ์ผ่านทางเบื้องบนที่อยู่ของอาฬวกยักษ์ เมื่อยังไปไม่ถึงก็นึกว่าเหตุอะไรกันหนอ  เห็นพระศาสดาประทับนั่งในภพของอาฬวกยักษ์ เข้าไปเฝ้าพระศาสดาถวายบังคมแล้วจึงไปสู่สมาคมยักษ์ ประกาศความยินดีแก่อาฬวกยักษ์ว่า ท่านอาฬวกะ  ท่านมีลาภใหญ่แล้ว ที่พระผู้เป็นอัครบุคคลในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ประทับนั่งในที่อยู่ของท่าน  จงไปฟังธรรมในสำนักพระศาสดาเสีย. อาฬวกยักษ์ฟังคำของยักษ์ทั้งสองนั้นแล้ว ก็คิดว่า ยักษ์ทั้งสองนี้พูดว่า พระสมณะโล้นรูปหนึ่ง บังอาจนั่งเหนือบัลลังก์ของเรา ก็ไม่พอใจ โกรธเกรี้ยวพูดว่า วันนี้เรากับสมณะรูปนี้ จักต้องทำสงครามกัน พวกท่านจงเป็นสหายเราในสงความนั้น แล้วก็ยกเท้าข้างขวาเหยียบยอดเขา ระยะประมาณ  ๖๐ โยชน์. ยอดเขานั้นก็แยกออกเป็นสองส่วน. ตั้งแต่นั้น พึงกล่าวเรื่องการรบของอาฬวกยักษ์ให้พิสดาร.

ก็อาฬวกยักษ์ แม้รบกับพระตถาคตด้วยอาการต่าง ๆ ตลอดคืนยังรุ่ง   ก็ไม่สามารถทำอะไรได้ จึงเข้าไปหาพระศาสดาถามปัญหา ๘ ข้อ พระศาสดาก็ทรงวิสัชนา. จบเทศนา อาฬวกยักษ์ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล.

ว่าด้วยความร่าเริงและความเบิกบานในธรรม (โรณสูตร)เล่ม34หน้า515

โรณสูตร ว่าด้วยความร่าเริงและความเบิกบานในธรรม

[๕๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

การร้องไห้ในวินัยของพระอริยะ คือ การขับร้อง
ความเป็นบ้าในวินัยของพระอริยะ คือ การฟ้อนรำ 
ความเป็นเด็กในวินัยของพระอริยะ คือการหัวเราะจนเห็นฟันอย่างพร่ำเพรื่อ

เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ พึงชักสะพานเสีย ในส่วนการขับร้อง การฟ้อนรำ(ส่วนการหัวเราะนั้น) เมื่อท่านทั้งหลายเกิดธรรมปราโมทย์ (ความยินดีร่าเริงในธรรม) ก็ควรแต่เพียงยิ้มแย้ม.

วัดป่าสามแยก ศึกษาพระธรรมวินัย เบิกบุญ โอนบุญ อกหัก โดนของ ธรรมะ ธรรมทาน คลายเครียด เจริญรุ่งเรือง //www.samyaek.com

-ศึกษาพระไตรปิฏกและอรรถกถาแปลชุด91เล่ม ของมหามกุฏราชวิทยาลัย //www.thepalicanon.com/palicanon/

-Facebook พุทธพจน์ //www.facebook.com/login.php?next=http%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fgroups%2FBuddhaspeech

-Download free พระไตรปิฏกพร้อมหัวข้อธรรมสำหรับ apple ipad & iphone & Android ดูรายละเอียดได้ที่เวบ //www.tripitaka91.com , และ Facebook https://www.facebook.com/tripitaka91

****หมายเหตุ "แสดงธรรมวันอาสาฬหบูชา ปี 2555" (//youtu.be/l52iDWt3V5Q ) นาทีที่ 6:01:55 ..เป็นต้นไป หลวงปู่ท่านได้พูดถึง ทนายชนอณุพงศ์ ชัยธนาวิรัตน์ ท่านใดมีปัญหาด้านกฏหมาย,คดีความต่างๆ ปรึกษาได้ที่ ทนายชนอณุพงศ์ ชัยธนาวิรัตน์ ที่เมล์ pasponglawyer@hotmail.com ,เบอร์โทรที่ 0818060981 , 0867809391 ****




 

Create Date : 26 พฤษภาคม 2556
2 comments
Last Update : 26 พฤษภาคม 2556 17:30:23 น.
Counter : 1133 Pageviews.

 

ทุกๆ วันเสาร์เวลาประเทศไทย โดยประมาณ 20:30 น.มีการถ่ายทอดสดไปทั่วโลก เทศน์โดยหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล จากสำนักสงฆ์ป่าสามแยก

รับชมได้ที่
www.samyaek.com

>> วิธีดูถ่ายทอดสด สำหรับผู้ใช้อุปกรณ์ Android (แอนดรอยด์) เช่น Samsung Galaxy Note
//www.samyaek.com/board2/index.php?topic=2303.msg30460#msg30460

>> วิธีดูถ่ายทอดสด สำหรับผู้ใช้อุปกรณ์ iPad (ไอแพด)
//www.samyaek.com/board2/index.php?topic=2303.msg30465#msg30465

 

โดย: Budratsa 26 พฤษภาคม 2556 17:50:13 น.  

 

...แจกฟรี...CD พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด 91 เล่ม ของมหามกุฏราชวิทยาลัย และDVD จากการแสดงธรรมของหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล ได้ที่www.samyaek.com คลิกที่กระดาน "แจกสื่อธรรม" หากท่านใดยังไม่ได้สมัครสมาชิก ใช้
Username : Media
Password : 123456
........................................

หรือ ท่านใดต้องการเรียน พระไตรปิฎกและอรรถกถาแปล ชุด 91 เล่ม ของมหามกุฏราชวิทยาลัย เจ้าของบล็อกมีทั้ง91เล่ม แล้วให้ดาวโหลดเอง จะส่งผ่านเมล์ไปให้ ท่านใดสนใจติดต่อที่เจ้าของบล็อก จะฝากเมล์ไว้ที่ช่องคอมเม้นต์หรือส่งเมล์หาเจ้าของบล็อก (เมล์ในProfile) โปรดระบุว่า "ขอพระไตรปิฏกชุด 91 เล่ม"

ยินดีในบุญกับท่านที่ต้องการศึกษาพระธรรมของพระพุทธเจ้าด้วยค่ะ

 

โดย: Budratsa 26 พฤษภาคม 2556 17:51:42 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Budratsa
Location :
พิจิตร Switzerland

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับทุกๆคนค่ะ
"ดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์ (พุทธพจน์) มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา" เล่มที่ ๑๓ : พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ ๓๒๐
Friends' blogs
[Add Budratsa's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.