"ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่งในโลกนี้หรือในโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอด้วยพระตถาคตย่อมไม่มี พระพุทธเจ้าแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยการกล่าวคำจริงนี้ ขอความสวัสดีจงมี....." "พระไตรปิฏก เป็นตาที่วิเศษยิ่ง, เป็นหูที่วิเศษยิ่ง, เป็นจมูกที่วิเศษยิ่ง, เป็นลิ้นที่วิเศษยิ่ง, เป็นกายที่วิเศษยิ่ง, เป็นใจที่วิเศษยิ่ง, เป็นครู-อาจารย์ที่วิเศษยิ่ง, เป็นพ่อ-แม่ที่วิเศษยิ่ง, เป็นมิตรและเข็มทิศที่วิเศษยิ่ง, เป็นแผนที่และป้ายบอกทางที่วิเศษยิ่ง, เป็นแสงสว่างส่องทางสู่นิพพานที่วิเศษยิ่ง"จากวัดสามแยก
Group Blog
 
<<
กุมภาพันธ์ 2557
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
232425262728 
 
16 กุมภาพันธ์ 2557
 
All Blogs
 

เปรียบเทียบวิญญาณหยาบและละเอียด โดยหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล 7ธ.ค. 2556

เนื้อหา บางส่วนจากการแสดงธรรม ชุดนี้
๑.     ถ้าผีไม่ยินดีต้อนรับ แม้พระพุทธเจ้าก็ไม่ไปสถานที่นั้น
      ๒.     ถ้าทายกนิมนต์ถูกธรรม ภิกษุต้องไปตามที่เขานิมนต์
      ๓.     ชื่อว่ารูป เพราะเตรียมจะย่อยยับสลายไป
      ๔.     พระอรหันต์ เป็นผู้เหนือบุญ-บาปทั้งหลาย




-ถ้าผีไม่ยินดีต้อนรับ แม้พระพุทธเจ้าก็ไม่ไปสถานที่นั้น(อ.มธุราสูตร)เล่ม36หน้า472
-ถ้าทายกนิมนต์ถูกธรรม ภิกษุต้องไปตามที่เขานิมนต์(อนุญาติสัตตาหกรณียะ)เล่ม6หน้า527
-ชื่อว่ารูป เพราะเตรียมจะย่อยยับสลายไป(ขัชชนิยสูตร)เล่ม27หน้า185,192
-พระอรหันต์ เป็นผู้เหนือบุญ-บาปทั้งหลาย(เรื่องพระขทรวนิยเรวตเถระ)เล่ม41หน้า411

-ถ้าผีไม่ยินดีต้อนรับ แม้พระพุทธเจ้าก็ไม่ไปสถานที่นั้น(อ.มธุราสูตร)เล่ม36หน้า472

บทว่า ปญฺจิเม ภิกฺขเว อาทีนวา มธุราย ความว่า  สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้มีหมู่ภิกษุแวดล้อมแล้ว เมื่อเสด็จจาริกไปถึงมธุรานครแล้ว จึงปรารภจะเสด็จเข้าไปยังภายในพระนคร.ครั้งนั้น นางยักษิณีคนหนึ่งเป็นมิจฉาทิฏฐิเปลือยกาย เหยียดมือทั้งสองออก แลบลิ้น ยืนขวางหน้าพระทศพล.พระศาสดา ไม่เสด็จเข้าไปภายในพระนครและเสด็จออกจากที่นั้นแล้ว ได้เสด็จไปยังวิหาร.มหาชนถือเอาของกินของบริโภค และเครื่องสักการะบูชาไปวิหาร ได้ถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์ ซึ่งมีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข พระศาสดา ทรงปรารภพระสูตรนี้ เพื่อทรงลงนิคคหะนครนั้น.

-ถ้าทายกนิมนต์ถูกธรรม ภิกษุต้องไปตามที่เขานิมนต์(อนุญาติสัตตาหกรณียะ)เล่ม6หน้า527

อนึ่ง จะมีการมงคลแก่บุตรก็ดี จะมีการมงคลแก่ธิดาก็ดี เขาเจ็บไข้ก็ดี จะกล่าวพระสุตตันตะที่รู้เฉพาะก็ดี ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา จักได้เรียนพระสุตตันตะนี้ไว้ โดยวิธีที่พระสุตตันตะนี้จะไม่เสื่อมสูญไปเสีย หรือว่า เขามีกิจ หรือกรณียะอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ถ้าเขาส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า ขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งหลายมา ดิฉันปรารถนาจะถวายทาน ฟังธรรม และพบเห็นภิกษุทั้งหลาย เมื่อนางส่งทูตมา พึงไปด้วยสัตตาหกรณียะได้ แต่เมื่อนางไม่ส่งมาก็ไม่พึงไป พึงกลับใน ๗ วัน.


-ชื่อว่ารูป เพราะเตรียมจะย่อยยับสลายไป(ขัชชนิยสูตร)เล่ม27หน้า185,192

ขัชชนิยสูตร ว่าด้วยสิ่งที่ถูกขันธ์ ๕ เคี้ยวกิน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะอะไรจึงเรียกว่ารูป? เพราะสลายไปจึงเรียกว่ารูป สลายไปเพราะอะไร? สลายไปเพราะหนาวบ้าง เพราะร้อนบ้าง เพราะหิวบ้าง เพราะระหายบ้าง เพราะสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลานบ้าง....

เล่ม27หน้า 192

บทว่า รุปฺปติ ความว่า กำเริบ คือถูกกระทบกระทั่ง อธิบายว่า ถูกบีบคั้น คือ แตกสลาย.

ในคำว่า สีเตนปิ รุปฺปติ เป็นต้น พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :
ก่อนอื่น ความย่อยยับเพราะความหนาวปรากฏ.(ชัด)ในโลกันตริยนรก.
อธิบายว่า ในระหว่างจักรวาล ๓ จักรวาล แต่ละจักรวาลมีโลกันตริยนรกอยู่จักรวาลละหนึ่งแห่ง ซึ่ง(แต่ละแห่งกว้างใหญ่)ประมาณ ๘,๐๐๐ โยชน์(และ)เบื้องล่างก็ไม่มีแผ่นดิน เบื้องบนก็ไม่มีแสงเดือน แสงตะวัน(ไม่มี)แสงประทีป(ไม่มี)แสงแก้วมณี มืดมิดตลอดกาล บรรดาสัตว์ที่บังเกิดในโลกันตริยนรกนั้น มีอัตภาพประมาณ ๓ คาวุต สัตว์เหล่านั้นใช้เล็บที่ยาวและหนา เกาะห้อยหัวอยู่ที่เชิงเขา คล้ายค้างคาว เมื่อใด ห้อยโหน๑ไปถึงกัน ชั่วช่วงแขน เมื่อนั้น สำคัญอยู่ว่า เราได้อาหารแล้วจะทะยาน๒เข้าไปในที่นั้น ก็จะหมุนม้วนตกลงไปในน้ำที่ธารโลกไว้ถูกลมปะทะขาดเป็นท่อน เหมือนผลมะซางตกลงไปในน้ำ พอตกลงไปเท่านั้น ก็จะเดือดพล่าน แหลกเหลวอยู่ในน้ำกรด เหมือนก้อนแป้ง ตกลงในน้ำมันที่เดือด ฉะนั้น.

ความย่อยยับ เพราะถูกความหนาวปรากฏ(ชัด)ในโลกันตนรก ด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้.
แม้ในบรรดาประเทศที่หนาวเย็น เพราะหิมะตก มีมหิสรัฐ เป็นต้น ความย่อยยับ(แบบ)นั้นก็ปรากฏ(ชัด)แล้วเหมือนกัน

จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายในประเทศเหล่านั้น ถึงความสิ้นชีวิตไป เพราะมีสรีระแตกสลายไป เพราะความหนาว.


-พระอรหันต์ เป็นผู้เหนือบุญ-บาปทั้งหลาย(เรื่องพระขทรวนิยเรวตเถระ)เล่ม41หน้า411

พวกภิกษุชมเชยบุญของเรวตะ

ในวันรุ่งขึ้น ภิกษุทั้งหลายสนทนากันว่า "แม้สามเณรผู้เดียวทำเรือนยอด ๕๐๐ หลัง เพื่อภิกษุ ๕๐๐ รูป มีลาภ,มีบุญ.น่าชมจริง,"
พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า "ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยถ้อยคำอะไรหนอ ?" เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า "ด้วยถ้อยคำชื่อนี้พระเจ้าข้า," ตรัสว่า
"ภิกษุทั้งหลาย บุตรของเราไม่มีบุญ,ไม่มีบาป;(เพราะ)บุญและบาปทั้งสองเธอละเสียแล้ว"ด้ตรัสพระคาถานี้ ใน
พราหมณวรรค ว่า:-

"บุคคลใดในโลกนี้ ล่วงเครื่องข้อง ๒ อย่าง
คือบุญและบาป,เราเรียกบุคคลนั้น ผู้ไม่โศก
ปราศจากกิเลสเพียงดังธุลี ผู้หมดจดว่า เป็นพราหมณ์."


-พิจารณาว่าเป็นร่างกระดูกเต้นรำขับร้อง ก็เบื่อหน่ายได้(สัคคาวัณณนา)เล่ม46หน้า210-211


ได้ยินว่า ในกรุงพาราณสี มีพระราชาพระองค์หนึ่ง พระนามว่า ปาทโลลพรหมทัต.. พระราชาทรงเห็นการฟ้อนรำเป็นเช่นกับการเล่นกระดูก เพราะสตรีนักฟ้อนเหล่านั้นเป็นคนแก่เฒ่าล่วง ๒-๓ รัชกาลมาแล้ว และทรงฟังเสียงขับร้องอันไม่ไพเราะ จึงเสด็จสู่ปราสาทของนักฟ้อนรุ่นสาว ปราสาทของนักฟ้อนรุ่นกลางไปๆ มาๆ อย่างนี้ ก็ไม่ทรงพอพระราชหฤทัยในที่แห่งไหนเลยทรงพระราชดำริว่า สตรีนักฟ้อนเหล่านี้ ประสงค์จะให้เรารื่นเริง ดุจเหล่านางอัปสรของท้าวสักกะ จอมทวยเทพฉะนั้น จึงประกอบการฟ้อนรำ การขับร้อง และการประโคม เต็มความสามารถทุกอย่าง เรานั้นไม่พอใจในที่แห่งไหนเลย ทำให้โลภะเจริญขึ้นเท่านั้น ก็ขึ้นชื่อว่า โลภะนั้นเป็นธรรมพึงให้ไปสู่อบาย เอาเถิด เราจะข่มโลภะ ดังนี้แล้ว ทรงสละราชสมบัติ ทรงผนวชแล้ว เจริญวิปัสสนาอยู่ ก็ทรงทำให้แจ้ง ซึ่งปัจเจกโพธิญาณ จึงได้ตรัสอุทานคาถานี้ว่า

บัณฑิตทราบว่า ความเกี่ยวข้องในเวลาบริโภคเบญจกามคุณนี้ มีสุขน้อย
มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ดุจหัวฝี ดังนี้แล้ว
มีความรู้ พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้น ดังนี้.


คาถานั้นมีอรรถว่า บทว่า สงฺโค เอโส ความว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าแสดงการอุปโภคของตน ด้วยว่า ความเกี่ยวข้องนั้น ชื่อว่า สังคะ เพราะอรรถว่า สัตว์ทั้งหลายข้องอยู่ในเบญจกามคุณนั้น ดุจช้างตกอยู่ในเปือกตมฉะนั้น.

บทว่า ปริตฺตเมตฺถ โสขฺย ความว่า ในกาลแห่งบริโภคเบญจกามคุณนี้ ชื่อว่ามี สุขน้อย เพราะอรรถว่า ลามก โดยให้เกิดความสำคัญผิดหรือโดยเนื่องด้วยกามาวจรธรรม มีอธิบายว่า มีนิดหน่อย คือมีชั่วคราวดุจสุขในการชมดูการฟ้อนรำที่แสงฟ้าแลบให้สว่างขึ้น ฉะนั้น.โทษของกามทั้งหลาย พึงทราบว่า มีความยินดีน้อย เป็นเพียงหยดน้ำ เมื่อเทียบกับทุกข์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ โดยนัยอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรในโลกนี้ ย่อมสำเร็จการเลี้ยงชีพ ด้วยการประกอบศิลปะใด คือ การคิดการนับ ดังนี้เป็นต้น โดยที่แท้ มีทุกข์ยิ่ง คือ มาก เป็นเช่นกับน้ำในสมุทรทั้งสี่ เพราะฉะนั้น พระปัจเจกพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ดังนี้.

บทว่า คณฺโฑ เอโส ความว่า เบญจกามคุณนี้ เปรียบเหมือนเบ็ด ด้วยสามารถแสดงความยินดีแล้ว คร่ามา.บทว่า อิติ ตฺวา มติมา ความว่า บุรุษผู้บัณฑิตที่มีความรู้ รู้อย่างนี้แล้ว ก็พึงละกามทั้งหมดเสียเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ฉะนั้นแล.

สังคคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

=>
ที่มา : วัดป่าสามแยก ศึกษาพระธรรมวินัย เบิกบุญ โอนบุญ อกหัก โดนของ ธรรมะ ธรรมทาน คลายเครียด เจริญรุ่งเรือง //www.samyaek.com/index.php

=> หัวข้อพระไตรปิฏก ที่ทางวัดสามแยกคัดเอาหัวข้อย่อๆ ให้ดาวโหลดขึ้นมาไว้ เพื่ออ่านเทียบเคียงพระไตรปิฎกทั้ง 91 เล่ม (พระวัดสามแยกยกหัวข้อสำคัญเพื่อเป็นแนวทางอ่านพระไตรปิฏกทั้ง91เล่ม)
//www.samyaek.com/board2/index.php?topic=3230.msg19459#msg19459

=> ศึกษาพระไตรปิฏกและอรรถกถาแปลชุด91เล่ม ของมหามกุฏราชวิทยาลัย //www.thepalicanon.com/palicanon/

=> Facebook พุทธพจน์ //www.facebook.com/login.php?next=http%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fgroups%2FBuddhaspeech

=> Download free พระไตรปิฏกพร้อมหัวข้อธรรมสำหรับ apple ipad & iphone & Android ดูรายละเอียดได้ที่เวบ //www.tripitaka91.com

=> เสียงอ่านพระไตรปิฏกชุด91เล่ม //www.dharmatarzan.com/

=> ****หมายเหตุ "แสดงธรรมวันอาสาฬหบูชา ปี 2555" (//youtu.be/l52iDWt3V5Q ) นาทีที่ 6:01:55 ..เป็นต้นไป หลวงปู่ท่านได้พูดถึง ทนายชนอณุพงศ์ ชัยธนาวิรัตน์ ท่านใดมีปัญหาด้านกฏหมาย,คดีความต่างๆ ปรึกษาได้ที่ ทนายชนอณุพงศ์ ชัยธนาวิรัตน์ ที่เมล์ pasponglawyer@hotmail.com ,เบอร์โทรที่ 0818060981 , 0867809391 ****




 

Create Date : 16 กุมภาพันธ์ 2557
1 comments
Last Update : 16 กุมภาพันธ์ 2557 20:47:49 น.
Counter : 819 Pageviews.

 

ทุกๆวันเสาร์ เวลาประเทศไทย 20.30 น.โดยประมาณ มีการถ่ายทอดสดไปทั่วโลก เทศน์โดยหลวงปู่เกษม อาจิณณสีโล จากสำนักสงฆ์ป่าสามแยก

ดูได้ที่
=>//www.samyaek.com

=> หรือ สามารถดูทางช่องสำรอง: //live.samyaek.com/

=> หรือ //new.livestream.com/samyaek/samyaek

=> หรือ
//www.login.in.th/flashstreaming/flash_url/watsamyaek/425/350.html

 

โดย: Budratsa 16 กุมภาพันธ์ 2557 20:29:19 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


Budratsa
Location :
พิจิตร Switzerland

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]




สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับทุกๆคนค่ะ
"ดูก่อนอานนท์ บางทีพวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์ (พุทธพจน์) มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้น จักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา" เล่มที่ ๑๓ : พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ ๓๒๐
Friends' blogs
[Add Budratsa's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.