space
space
space
 
ตุลาคม 2551
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
262728293031 
space
space
15 ตุลาคม 2551
space
space
space

20 คำถามก่อนบริจาคเลือด








สภากาชาด และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา

แม้ว่าการบริจาคเลือดจะทำให้ผู้บริจาครู้สึกติ อิ่มเอมใจที่ได้ทำกุศล เพราะได้แบ่งปันและช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน แต่ก็ใช่ว่าทุกๆ คนสามารถไปบริจาคเลือดได้ เพราะว่าการบริจาคเลือดนั้นคุณต้องเสียเลือดในร่างกายจำนวนไม่น้อย ซึ่งอาจส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพของคุณเองหลังบริจาคได้เหมือนกัน หรือในทางตรงกันข้ามหากว่าเลือดของคุณไม่สมบูรณ์และอาจมีเชื้อโรคก็อาจทำให้ ผู้ที่ได้รับเลือดของคุณติดเชื้อที่อยู่ในเลือดของคุณตามไปด้วย แต่เมื่อมีความตั้งใจจะบริจาคแล้ว มีคำถาม 20 ข้อ ที่คุณต้องตอบตัวเองก่อนว่าสภาพร่างกายของคุณพร้อมแล้ว หรือเลือดของคุณพร้อมที่จะมอบเพื่อต่อชีวิตผู้อื่นได้อย่างปลอดภัยหรือไม่ ดังนี้

1. สุขภาพสมบูรณ์พร้อมที่จะบริจาคเลือด อายุระหว่าง 17-60 ปี

2. นอนหลับเพียงพอไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง

3. มีอาการท้องเสีย ท้องร่วงภายใน 7 วันก่อนบริจาคเลือดหรือไม่ เพราะผู้บริจาคจะอ่อนแอรับประทานไป ส่วนผู้รับเลือดอาจได้รับเชื้อที่มากับเลือดได้ด้วย
4. ใน 3 เดือนที่ผ่านมา มีอาการน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งอาจมีสาเหตุจากโรคเบาหวาน ธัยรอยด์เป็นพิษ เครียด วิตกกังวล ก็ไม่ควรบริจาคเลือด

5. ภายใน 3 วันก่อนบริจาคเลือด คุณรับประทานยาแอสไพริน ยาคลายกล้ามเนื้อ หรือยาแก้ปวดข้อหรือไม่ เพราะอาจทำให้มีเกล็ดเลือดผิดปกติได้ เลือดแข็งตัวช้า บวมช้ำง่าย เลือดที่บริจาคไปก็จะไม่มีคุณภาพ

6. รับประทานยากแก้อักเสบภายใน 14 วัน หรือยาอื่นๆ หรือไม่ ซึ่งต้องระบุ ให้ทราบ เพราะผู้บริจาคเลือดที่ได้รับยาแก้อักเสบแสดงว่ามีการติดเชื้ออยู่ ซึ่งอาจแพร่เชื้อเข้าสู่กระแสเลือดของผู้รับเลือดและอาจทำให้แพ้ยาได้

7. คุณเป็นโรคหอบหืด ลมชัก โรคผิวหนังเรื้อรัง ไอเรื้อรัง วัณโรค โรคภูมิแพ้ หรือไม่เพราะการบริจาคเลือดทำให้ต้องสูญเสียเลือดอย่างรวดเร็ว อาจจะกระตุ้นให้มีการกำเริบได้ จึงไม่ควรบริจาคเลือด โรคผิวหนังบางชนิด โรคติดต่ออย่างวัณโรค ไอเรื้อรังก็ไม่ควรบริจาคเลือด

8. เคยเป็นหรือมีคนในครอบครัวเป็นโรคตับอักเสบ ผู้ที่เคยเป็นโรคตับอักเสบแล้วไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นชนิดใด หรือไม่แน่ใจว่าหายขาดไม่มีเชื้อแล้วหรือไม่ ก็ควรเลื่อนการบริจาคเลือดออกไปจนกว่าจะทราบว่าเลือดของคุณปลอดเชื้อแล้ว

9. เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน หัวใจ ไต ธัยรอยด์ มะเร็ง โรคโลหิตออกง่ายหยุดยาก เป็นต้น เพราะโรคเหล่านี้ล้วนมีผลต่อสุขภาพ ซึ่งต้องใช้ยารักษาควบคุมรักษาอย่างต่อเนื่อง และถ้าไม่ดูแลตนเองให้ดี อาจมีผลข้างเคียงของยาหรือมีโรคแทรกซ้อนที่ทำให้มีปัญหาสุขภาพได้ ควรพิจารณาดังนี้

- โรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานอนุโลมให้บริจาคเลือดได้ ถ้าใช้ยาควบคุมได้ดีอย่างอย่างต่อเนื่องและต้องเป็นเพียงโรคใดโรคหนึ่งเท่า นั้น
- โรคหัวใจทุกชนิดต้องงดบริจาคเลือด
- โรคไตชนิดเรื้อรังต้องงดบริจาคเลือด ถ้าเป็นชนิดอักเสบเฉียบพลัน และรักษาหายขาดภายใน 1 ปี สามารถบริจาคเลือดได้
- โรคธัยรอยด์ชนิดไม่เป็นพิษต้องรักษาหายแล้ว ถ้าเป็นชนิดเป็นพิษแม้รักษาหาย และหยุดยาแล้วก็ไม่ควรบริจาคเลือด
- โรคมะเร็งทุกชนิดไม่ควรบริจาคเลือด รักษาหายแล้วก็ตาม เพราะไม่สามารถทราบสาเหตุและตำแหน่งการกระจานหรือแฝงตัวของโรค
- โรคโลหิตออกง่าย-หยุดยาก เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ ควรงดบริจาคเลือด เพราะมีโอกาสเสียชีวิตเพราะเสียเลือดมากและเลือดหยุดยาก
- โรคเรื้อรังอื่นๆ ควรงดบริจาคเลือด

10. ถอนฟันภายใน 3 วันที่ผ่านมา เหงือกอาจจะอักเสบและมีบาดแผลในช่องปาก เป็นทางนำเชื้อโรคเข้าสู่กระแสเลือดได้

11. คุณหรือคู่ของคุณมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศกับผู้อื่น ซึ่งมีโอกาสติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์สูง โรคบางชนิดมีระยะฟักตัวนาน อาจตรวจไม่พบเชื้อ เช่น HIV

12. ได้รับการผ่าตัดใหญ่ภายใน 6 เดือนหรือผ่าตัดเล็กภายใน 1 เดือน เนื่องจากการผ่าตัดใหญ่ทำให้มีการเสียเลือดมาก ร่างกายต้องใช้เวลาและสารอาหารในการซ่อมแซม ควรงดบริจาคชั่วคราว ส่วนผ่าตัดเล็กที่เสียเลือดไม่มาก ควรรอให้แผลหายก่อนค่อยบริจาคเลือด

13. เจาะหู สัก ลบรอยสัก ฝังเข็ม ในระยะ 1 ปี มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อโรคติดเชื้อที่มีการส่งต่อทางเลือดและน้ำเหลือง ซึ่งผู้ที่ได้รับเลือดอาจติดไปด้วย

14. เคยมีประวัติยาเสพติดหรือพ้นโทษในระยะ 3 ปี มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อโรคที่มีการส่งต่อทางเลือดและน้ำเหลือง

15. เคยเจ็บป่วยและได้รับเลือดจากผู้อื่นในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา ผู้ที่ได้รับเลือดคนอื่นจะมีการสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาในระบบโลหิต ถึงแม้จะมีการตรวจหากลุ่มเลือดหลักที่เข้ากันได้ แต่กลุ่มย่อยที่ไม่สามารถหาได้ตรงกันหมด ก็ยังคงเป็นปัญหาของผู้ได้รับเลือด

16. เคยฉีดวัคซีนในระยะ 14 วัน หรือฉีดเซรุ่มในระยะ 1 ปีที่ผ่านมา การฉีดวัคซีนเป็นการกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันโรคในช่วง 14 วัน จึงควรให้ร่างกายได้ทำงานเต็มที่ การฉีดเซรุ่มต้องติดตามดูโรคนั้นๆ 1 ปี

17. เคยเข้าไปในพื้นที่ที่มีเชื้อมาเลเรียชุกชุมในระยะ 1 ปี หรือป่วยเป็นมาเลเรียในระยะ 3 ปี ถ้าไม่ได้รักษาให้หายขาด เชื้อสามารถแอบแฝงอยู่ในร่างกายโดยไม่ได้แสดงอาการรุนแรง

18. คุณผู้หญิงที่อยู่ในระหว่างรอบเดือน ไม่ควรให้ร่างกายมีการเสียเลือดซ้ำซ้อน ควรรอให้หมดประจำเดือนก่อน

19. คนที่คลอดบุตรหรือแท้งบุตรภายใน 6 เดือนที่ผ่านมา จะมีการเสียเลือดมาก ร่างกายต้องการเวลาในการปรับตัวและสร้างเลือดขึ้นมาใหม่ ควรงดบริจาค 6 เดือน

20. อยู่ในระหว่างให้นมบุตรหรือตั้งครรภ์ น้ำนมผลิตขึ้นมาจากเลือด การเสียเลือดในการบริจาคจะทำให้น้ำนมลดน้อยลงหรือหมดไป

พิจารณาจบ 20 ข้อนี้แล้ว สำหรับคุณที่ผ่านเกณฑ์ว่ามีเลือดมาตรฐานก็ยินดีด้วย แต่สำหรับคุณบางคนที่ยังไม่แน่ใจก็อย่าเสียใจที่ไม่ได้ทำกุศลยิ่งใหญ่นี้เลย เพราะยังมีอีกหลายทางให้คุณได้เผื่อแผ่บุญกุศลค่ะ
ที่มาข้อมูล :นิตยสาร Health Today



Create Date : 15 ตุลาคม 2551
Last Update : 15 ตุลาคม 2551 5:53:20 น. 1 comments
Counter : 649 Pageviews.

 
ผ่าน20ข้อเลยค่ะ
แต่เคยจะไปบริจาคครั้งนึง
ความดันต่ำค่ะ
ไม่รู้จะทำยังไง
เนี่ยก็พยายามออกกำลังกายทุกวัน
แต่ความดันไม่เพิ่มขึ้นเลยค่ะ
ไม่รู้จะทำยังไง
อยากบริจาคเลือดค่ะ


โดย: แพร IP: 168.120.104.198 วันที่: 17 ธันวาคม 2551 เวลา:9:58:48 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 
space

tanas251235
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]






space
space
[Add tanas251235's blog to your web]
space
space
space
space
space