space
space
space
<<
สิงหาคม 2552
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031 
space
space
14 สิงหาคม 2552
space
space
space

โอ๊ย ! ปวดลูกตา(ตอนที่ 2)



ท่านได้อ่านสาเหตุการปวดตา ข้างใดข้างหนึ่งในตอนที่ 1 ไปแล้ว ต่อไปผมจะกล่าวถึงการปวดลูกตาทั้งสองข้าง อะไรคือสาเหตุสำคัญที่ทำให้คนไข้มาบ่นกับแพทย์เสมอว่า ปวดตา ปวดศีรษะ โดยเฉพาะขณะที่อ่านหนังสือ หรือใช้สายตานานๆ

อาการปวดตาทั้งสองข้างดังกล่าวเท่าที่พบบ่อยมีที่สำคัญคือ สายตาผิดปกติ หมายความว่า สายตาของท่านไม่เท่าคนปกติปกติแล้วการที่จะกล่าวว่าสายตาปกติหรือผิดปกติอย่างไรนั้นแพทย์มีวิธีวัด โดยอาศัยแผ่นตัวอักษรของสเนลเล่น (Snellen’s chart) ว่าท่านสามารถอ่านตัวอักษรที่มีอยู่บนแผ่นสเนลเล่นได้ครบทุกตัว ทุกแถว ตามที่กำหนดให้หรือเปล่า? ในระยะทางที่กำหนดให้คือ ยืนห่าง 6 เมตรจากแผ่นตัวอักษรและอ่านตัวอักษรแบบแผ่นของเจเก้อ (Jaegar’s Test) ในระยะใกล้ตัวประมาณ 33 ซ.ม. หรือประมาณ 1 ฟุต ได้ครบทุกแถวไหม ? ทั้งนี้ต้องวัดทีละตาอย่างละเอียดและพิถีพิถันจึงบอกได้ว่า สายตาของท่านเป็นอย่างไร


คนปกติจะอ่านอักษรทางไกลและใกล้ดังกล่าวได้ครบหมด และถูกต้อง
ส่วนคนที่สายตาผิดปกติ จะอ่านไม่ครบทุกแถว และอ่านผิดๆ ถูกๆ เนื่องจากมองไม่ชัดนั่นเอง ทำให้ไม่สามารถอ่านแถวล่างๆ ที่ตัวเล็กลงๆ ได้(ท่านที่ต้องการตรวจวัดสายตาด้วยตัวเองอย่างคร่าวๆ ว่ามีความผิดปกติหรือไม่ ขอให้อ่านเรื่อง “มาเป็นหมอกันเถิด” ใน หมอชาวบ้าน ฉบับเดือนพฤษภาคม 2524)



อะไรบ้างที่เรียกว่าสายตาผิดปกติ ?

สายตาผิดปกติมีอยู่ทั้งหมด 3 อย่างคือ
ก. สายตาสั้น (Myopia)
ข. สายตายาว (Hyperopia)
ค. สายตาเอียง (Astigmatism)
พอเข้าอายุวัยกลางคน จะมี “สายตาคนมีอายุ” (Presbyopia) เพิ่มมาอีกอย่าง






ก. สายตาสั้น (Myopia) หมายถึง ภาวะที่แสงจากวัตถุที่ตามองผ่านเข้าตาเรา แล้วเกิดภาพก่อนที่จะถึงบริเวณจอภาพ (Retina) (ดังรูป ก.)







ข. สายตายาว (Hyperopia) หมายถึง ภาวะแสงจากวัตถุที่ตามองผ่านเข้าตาเรา แล้วเกิดภาพหลังจอรับภาพ (ดังรูป ข.)






ค. สายตาเอียง (Astigmatism) หมายถึง ภาวะความโค้งของกระจกตาดำหรือเลนส์ภายในลูกตาผิดปกติไปในแนวใดแนวหนึ่งในรัศมี 360 องศา(รอบวงกลม) ทำให้แนวผิดปกติไปจากนี้มีจุดรวมแสงไม่ตกรวมกับจุดรวมภาพที่เหลือ ภาพจึงมัวหรือไม่ชัดในแนวใดแนวหนึ่งในรัศมี 360 องศาบนแผ่นทดสอบที่กำหนดให้

กล่าวง่ายๆ ก็ว่า พวกตาเอียงนี้จุดรวมภาพในการมองวัตถุไม่รวมเป็นจุด แต่จะเป็นเส้นนั่นเอง
ข้อสังเกต อย่าเข้าใจว่า ภาวะตาเอียงคือ ภาวะตาเข (Squint) นะครับ ตาเขนั้นตาดำข้างใดข้างหนึ่งไม่อยู่ตรง (จะเขียนในตอนต่อไปในเรื่อง “คนตาเข”)


ง. ตาคนมีอายุ (Persbyopia) พอถึงภาวะที่เลนส์ภายในลูกตาเริ่มแข็งตัว ไม่ยืดหยุ่น การปรับภาพเมื่อมองระยะใกล้ๆ ขนาด 1 ฟุต หรือ 33 ซ.ม. ไม่ชัด ต้องเหยีอดมือออกให้ห่างออกไปนิดหน่อย โดยเฉพาะเวลาอ่านหนังสือหรือทำงานระยะใกล้ ๆ จะปรากฏในคนมีอายุตั้งแต่ 35 ขึ้นไป หรือ 40 ขึ้นไป






จ.ตาปกติ (Emmetropia) หมายถึง ตาที่ภาพวัตถุผ่าเข้าตา จุดรวมภาพจะไปรวมตัวตกที่จอรับภาพพอดิบพอดี


ทำไมจึงกล่าวว่า คนสายตาผิดปกติจึงปวดลูกตา คำอธิบายก็คือ เมื่อตามองภาพไม่ชัด ก็จะพยายามเพ่งมองวัตถุนั้นให้ชัดนานๆ เข้าเกิดอาการเมื่อยล้ากล้ามเนื้อการปรับภาพของลูกตา จึงปวดกระบอกตา ปวดศีรษะ บางคนเป็นลม วิงเวียนคลื่นไส้อยากอาเจียนไปเลย ร่วมด้วยตาพร่ามัวไปหมด


การแก้ภาวะสายตาผิดปกติที่ตรงจุดคือ แว่นตา หรือคอนแท็คเลนส์ ที่ตรงกับความผิดปกติแต่ละชนิด จะทำให้อาการปวดและมัวหายเป็นปลิดทิ้ง
ก. สายตาสั้น ต้องแก้ด้วยเลนส์เว้า (แว่นเว้า)
ข. สายตายาว ต้องแก้ด้วยเลนส์นูน (แว่นนูน)
ค. สายตาเอียง ต้องแก้ด้วยเลนส์รูปทรงกระบอก (แว่นทรงกระบอกตามแนวองศาที่ผิดปกติไป)
เท่าที่เขียนมาทั้งหมด คงจะพบเป็นแนวทางว่า การปวดตาที่เกิดขึ้นนั้น ถ้าหาสาเหตุต่างๆ ในตอนที่ 1 ไม่พบแล้ว ควรนึกถึงตอนที่ 2 นี้ไว้ด้วย

ถ้าตอนที่ 2 ยังปกติอยู่ ผมคิดว่าอาจจะเป็นตอนที่ 3 โปรดติดตามอ่านต่อไป

(อ่านต่อตอนหน้า)

ผู้เขียน: นพ.สุรพงษ์ ดวงรัตน์


ข้อมูลจาก หมอชาวบ้าน





 

Create Date : 14 สิงหาคม 2552
0 comments
Last Update : 14 สิงหาคม 2552 8:02:14 น.
Counter : 1725 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

space

tanas251235
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]






space
space
[Add tanas251235's blog to your web]
space
space
space
space
space