space
space
space
<<
เมษายน 2551
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
27282930 
space
space
2 เมษายน 2551
space
space
space

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง หายขาดได้ หากใส่ใจรักษาถูกวิธี

มะเร็งต่อมน้ำเหลือง เป็นมะเร็งทางโลหิตวิทยาที่พบได้บ่อยที่สุดในประเทศไทย โดยคาดว่าจะมีผู้ป่วยรายใหม่ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองปีละมากกว่า 2000 กว่าราย และสถานการณ์ปัจจุบันทั่วโลกก็มีผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมากขึ้นทุกๆปี

การตรวจพบโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในระยะแรก มีความสำคัญต่อผลการรักษา และการรอดชีวิตของผู้ป่วย ในต่างประเทศทั้งสหรัฐอเมริกา และยุโรปมีการรณรงค์เพื่อให้ประชาชน และผู้ป่วยมีความรู้ ความเข้าใจและเกิดความตระหนักถึงความสำคัญของโรคมะเร็งชนิดนี้ โดยมีการให้ความรู้เกี่ยวกับอาการแสดง การตรวจวินิจฉัย และการรักษาโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง และด้วยเหตุนี้เอง วันมะเร็งต่อมน้ำเหลืองโลก จึงได้ถือก่อตั้งขึ้น ในวันที่ 15 กันยายน ของทุกปี ละให้ถือว่าเดือนกันยายน เป็นเดือนแห่งการรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

สำหรับในประเทศไทย สมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการรณรงค์ให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง และในโอกาสนี้ ศาสตราจารย์แพทย์หญิงแสงสุรีย์ จูฑา หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ซึ่งท่านดำรงตำแหน่งนายกสมาคมโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับสถานการณ์ และความรู้เกี่ยวกับมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่ทราบแน่ชัด ได้แก่ การสัมผัสกับสารเคมี ยาฆ่าแมลง การติดเชื้อไวรัส เช่น เอปสไตน์บาไวรัส เอชไอวีไวรัส ปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ พันธุกรรม การเป็นโรคภูมิคุ้มกันต่อต้านตนเอง เช่น เอสแอลอี ซึ่งในปัจจุบันมีผู้ป่วยด้วยโรคนี้มากขึ้นทุกปี นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องโดยกำเนิด หรือภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เนื่องจากการได้รับยากดภูมิคุ้มกันภายหลังการปลูกถ่ายอวัยวะ

อาการแสดงของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง คือมีต่อมน้ำเหลืองโต เป็นก้อนที่เคลื่อนไหวได้ โดยอาจพบก้อนที่คอ รักแร้ ขาหนีบ แต่ถ้ามีอาการเจ็บหรือร้อนแดงมักจะเป็นโรคติดเชื้อ เช่น คออักเสบ หรือวัณโรค ในผู้ใหญ่ ถ้าต่อมน้ำเหลืองโต และมีขนาดใหญ่กว่า 1 เซนติเมตร ควรรีบไปพบแพทย์ ส่วนในเด็กเล็ก มักพบต่อมน้ำเหลืองโตได้บ่อยๆ ตั้งแต่ 0.5-2 เซนติเมตร ส่วนใหญ่มักเกิดจากการติดเชื้อ แต่ถ้ามีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุเบื่ออาหาร ผอมลง ปวดกระดูก หรือคลำพบก้อนบริเวณช่องท้อง ควรพาเด็กไปพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติม
อย่างไรก็ตาม มะเร็งต่อมน้ำเหลืองอาจเริ่มเป็นที่อวัยวะอื่นก่อนได้ ดังนั้นผู้ป่วยอาจมาพบแพทย์ด้วยอาการแสดงที่แตกต่างกัน เช่น อาจมีอาการทางผิวหนังโดยเป็นผื่น ตุ่ม ก้อนนูน แผลเรื้อรัง อาการบวมบริเวณใบหน้า คอ และแขนร่วมกับอาการไอ และหายใจไม่สะดวก เนื่องจากมีก้อนเนื้อกดทับเส้นเลือดดำในช่องอก หรืออาจตรวจพบก้อนเนื้อโดยไม่มีอาการแสดงอื่นๆ อาจมาด้วยอาการทางสมอง หรือไขสันหลัง เช่น ปวดศีรษะ คอแข็ง ปวดหลัง ขาอ่อนแรง ขาเดินไม่ได้ ซึม สับสน หรือมีอาการชัก บางรายอาจพบก้อนในตา และเบ้าตาทำให้เห็นภาพซ้อน มองไม่เห็น หรือตาโปนข้างเดียว นอกจากนี้อาจมาด้วยอาการเลือดกำเดาไหล จมูกอุดตัน มีอาการเหลือง หรือซีด เป็นไข้เรื้อรัง เบื่ออาหาร น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ

สำหรับการวินัจฉัยโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เริ่มต้นโดยแพทย์จะทำการซักประวัติผู้ป่วย และตรวจร่างกาย ถ้าคลำพบต่อมน้ำเหลืองที่โตผิดปกติและสงสัยว่าจะเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง แพทย์จะนำชิ้นเนื้อไปทำการตรวจทางพยาธิวิทยาเพื่อวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งหรือไม่ และถ้าเป็นมะเร็ง ก็จะตรวจดูว่าเป็นเซลล์มะเร็งชนิดใด และมีการตรวจเลือด หรือซีบีซี เพื่อดูเซลล์เม็ดเลือด สำหรับผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยแล้วว่าเป็นมะเร็ง จะได้รับการตรวจไขกระดูกเพื่อวินิจฉัยว่ามะเร็งแพร่กระจายไปที่ไขกระดูกแล้วหรือยัง นอกจากนี้ยังมีการตรวจทางเคมีเพื่อดูการทำงานของตับและไต รวมทั้งการตรวจเอกเรย์ทรวงอก และเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้อง เพื่อดูต่อมน้ำเหลือง ตับ และม้ามที่โตผิดปกติ

หลังจากที่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง รวมทั้งได้รับการบ่งชี้ระยะของโรคและชนิดของมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแล้ว แพทย์ก็จะประเมินสถานะทางร่างกายของผู้ป่วย หรือที่เรียกว่า performance status เพื่อเป็นข้อมูลที่ใช้ประกอบในการวางแผนการรักษา การรักษามะเร็งต่อมน้ำเหลืองขึ้นอยู่กับชนิดของโรค ระยะ รวมทั้งสถานะทางร่างกาย อายุของผู้ป่วย ทางเลือกในการักษาประกอบด้วย การใช้ยาเคมีบำบัด การฉายแสงรังสีรักษาซึ่งในกรณีที่ก้อนมะเร็งมีขนาดใหญ่มาก โดยให้ร่วมกับยาเคมีบำบัด

ในปัจจุบันมีการรักษาโดยใช้ยา ซึ่งเป็นแอนติบอดี้ที่ไปทำลายมะเร็งชนิด B-cell lymphoma จะออกฤทธิ์โดยไปจับอย่างเฉพาะเจาะจงกับโปรตีนตัวรับ CD20 ที่อยู่บนผิวเซลล์มะเร็งโดยไม่กระจายสารที่เป็นอันตรายหรือ รังสี แล้วเกิดการทำลายเซลล์มะเร็งอย่างจำเพาะ ดังนั้นจึงก่อให้เกิดอาการแทรกซ้อนน้อยและสามารถใช้ได้ในผู้ป่วยสูงอายุ โดยให้ร่วมกับยาเคมีบำบัด

นอกจากนี้ ยังมีทางเลือกในการรักษาอีกทางหนึ่งคือ การปลูกถ่ายไขกระดูกซึ่งจะทำได้ในผู้ป่วยบางราย เนื่องจากการปลูกถ่ายไขกระดูกค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงโดยเฉลี่ยประมาณรายละ 750000 บาท และโครงการบัตรประกันสุขภาพไม่ได้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการปลูกถ่ายไขกระดูก ดังนั้นตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมาคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีจึงได้จัดตั้งโครงการเปลี่ยนถ่ายไขกระดูกเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา บรมราชินีนาถขึ้น โดยจะช่วยเหลือผู้ป่วยที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยวิธีการปลูกถ่ายไขกระดูก แต่ไม่มีทุนทรัพย์เพียงพอ รวมทั้งหมด 73 ราย

จึงใคร่ขอเชิญผู้ที่มีจิตศรัทธาร่วมกับบริจาคกับโครงการ “เปลี่ยนถ่ายไขกระดูกเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษาบรมราชินีนาถ” คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถโดยท่านสามารถบริจาคผ่านทางธนาคารไทยพาณิชย์ ทุกสาขา ชื่อบัญชี มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี เลขที่บัญชี 026-2-11222-9 ระบุเงินเข้า “โครงการเปลี่ยนถ่ายไขกระดูกเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษาบรมราชินีนาถ” หรือชื่อบัญชี “โครงการเปลี่ยนถ่ายไขกระดูกเฉลิมพระเกียรติรามาธิบดี” (Bone marrow fund) ผ่านทางบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี เลขที่บัญชี ออมทรัพย์ 026-4-21457-2, บัญชีธนาคารกสิกรไทย สาขารางน้ำ เลขที่บัญชี ออมทรัพย์ 052-2-66115-5, บัญชีธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาตลิ่งชัน เลขที่บัญชี ออมทรัพย์ 387-1-11116-8, บัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาอาคารยาคูลย์ (สนามเป้า) เลขที่บัญชี210-0-55032-2 ถ้าต้องการนำไปหักภาษี ให้นำสำเนาใบฝากเงิน (Pay-in) พร้อมชื่อ-ที่อยู่และเบอร์โทรศัพท์ของท่านแฟกซ์ไปยัง 0-2201-1747 เพื่อออกใบเสร็จและจัดส่งให้แก่ท่านต่อไป ติดต่อสอบถามได้ที่ 0-2201-2535 ,0-2201-1361 (งานประชาสัมพันธ์ รามาธิบดี)

นอกเหนือจากการรักษาโดยแพทย์แล้ว ผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง และครอบครัวก็สามารถช่วยให้การรักษามีประสิทธิผลและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นโดยการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพใจ รวมทั้งไปพบแพทย์ตามนัดหมายอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรหยุดการรักษาเอง เพราะจะทำให้โรคดื้อยา และรักษายาก
ศาสตราจารย์แพทย์หญิงแสงสุรีย์ จูฑา ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า มะเร็งต่อมน้ำเหลืองสามารถรักษาให้หายขาดได้ ถ้ามีการตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกๆ และได้รับการรักษาที่เหมาะสมถูกต้อง ดังนั้นเมื่อมีอาการแสดง หรือสงสัย ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยให้แน่ใจ และแพทย์จะให้การดูแลรักษาที่เหมาะสมต่อไป

“ถ้ารู้สึกท้อแท้หรือหมดหวัง ขอให้ปรึกษาแพทย์ผู้รักษาทันที เพราะแพทย์ของท่านยินดีให้คำแนะนำและการรักษาที่เหมาะสมกับท่านเสมอ”



ข้อมูลดีๆๆจาก ramaclinic.com





 

Create Date : 02 เมษายน 2551
7 comments
Last Update : 7 ตุลาคม 2551 17:09:39 น.
Counter : 9922 Pageviews.

 

ขอบคุณ จ๊ะ

ที่นำความรู้มาให้

 

โดย: บ้าได้ถ้วย 2 เมษายน 2551 10:09:50 น.  

 

แม่ผมก้อเป็นที่จมูก
หมอบอกว่าฉีดคีโมเข็มนี้ (เข็มที่3) ถ้าเชื้อไม่ดื้อยาก้อมีโอกาศหาย แต่หากเชื้อดื้อยา แสดงว่าการรักษาไม่ได้ผล ทำได้แค่ประคับประคองไม่ให้ปวดมาก และจะอยู่ได้อีกแค่ 6 เดือน

ผมยังหวังแค่ให้ยาที่ฉีดวันนี้ (24/2/2552) ได้ผลเท่านั้นหรือ?

 

โดย: สัญทัศน์ IP: 118.173.150.75 24 กุมภาพันธ์ 2552 1:19:38 น.  

 

ขอบคุณนะคะที่ให้ความรู้ดีๆ

^^

 

โดย: namkengsai27 IP: 115.67.57.210 17 มีนาคม 2552 20:43:08 น.  

 

ปลูกถ่ายไขกระดูกแล้วจะหายจริงหรือ เพราะลูกชายก็ปลูกถ่ายแล้วไม่ถึงเดือนโรคก็กลับ ก็ดูแลรักษาปฏิบัติตัวตามที่คุณหมอแนะนำทุกอย่าง สุดท้ายก็เสียชีวิต (ตั้งแต่เริ่มป่วย ก็ทำตามคำแนะนำทุกอย่างอะไรที่ห้าม ก็เชื่อ ใช้ชีวิตอยู่แค่บ้าน รพ.เท่านั้น ก็พยายามคิดว่าลูกทำบุญมาเท่านี้)

 

โดย: แม่ IP: 10.20.4.60, 202.28.180.202 16 มิถุนายน 2552 13:37:29 น.  

 

แวะผ่านมา แชร์ให้ฟังค่ะเผื่อมีผู้สนใจแวะมาอ่านบ้าง คุณแม่ก็เป็นโรคนี้ค่ะ อาการเริ่มแรก ก็ต่อมน้ำเหลืองโตที่คอหาหมอทานยาตามปกติ จนมาทำ ct scan ก็ไม่พบ ตรวจเลือดก็ไม่พบ จนคุณแม่ปวดท้อง และพาไปส่องกล้องจึงพบมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในกระเพาะอาหาร อาการเหมือนคนแก่ทั่วไป ท้องอืด อาหารไม่ย่อย รักษาแม่อยู่ได้แค่ 1/2 ปี แม่ก็จากไปอย่างสงบ อยากเตือนให้ทุกคนรักษาสุขภาพ และรักแม่ให้มาก ทั้งสุขภาพแม่และสุขภาพตัวเอง ให้กำลังกับคนป่วยและญาติคนป่วยทุกคนค่ะ

 

โดย: ลูก IP: 124.121.127.161 22 กันยายน 2552 18:59:19 น.  

 

เม็นมะเร็งรังไข่ให้คีโมมา6ครั้งค่ามะเร็งปกติดีแต่ทำct scan พบก้อนขนาด 1 ซม.ในต่อมน้ำเหลืองเครียดมากหมอบอกอย่าตกใจอาจเป็นฟองอากาศที่เกิดในต่อมน้ำเหลืองก็เป็นไปได้ค่ะ ตอนนี้เครียดมากๆไม่ทราบจะปรึกษาใคร

 

โดย: ป๋อม IP: 49.230.154.5 6 พฤศจิกายน 2556 16:52:38 น.  

 

สอบถามครับ แฟนผมเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองขึ้นที่สมอง ให้คีโม ทั้งยาทาน และยาคีโมทางเส้นเลือดแล้ว ก้อนก็ไม่ยุบลง พอมีทางไหนหรือที่ไหนหรือยาคีโมตัวอื่นช่วยได้บ้างครับ ขอคำแนะนำทีครับ

 

โดย: ผมขอสอบถาม IP: 1.47.100.14 21 ตุลาคม 2560 16:38:57 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

space

tanas251235
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]






space
space
[Add tanas251235's blog to your web]
space
space
space
space
space