space
space
space
<<
มกราคม 2553
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 
space
space
23 มกราคม 2553
space
space
space

กระดูกพรุน' ภัยเงียบใกล้ตัว





ภาวะกระดูกพรุนเป็นภัยเงียบที่มาพร้อมกับวัยที่สูงขึ้น คนไข้จำนวนมากอาจไม่รู้ตัวว่าความแข็งแรงของกระดูกกำลังลดลงจนเสี่ยงต่อการ เกิดกระดูกหัก







ภาวะกระดูกพรุน คือ สภาวะที่มวลกระดูกลดลงร่วมกับการเสื่อมและการเปลี่ยนแปลงรูปแบบโครงสร้างภาย ในของกระดูก ทำให้เกิดความผิดปกติทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ ส่งผลให้กระดูกเปราะบาง มีความแข็งแรงลดลง และเกิดการแตกหักได้ง่าย

ภาวะกระดูกพรุนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ กระดูกพรุนแบบปฐมภูมิหรือกระดูกพรุนที่สัมพันธ์กับวัย และกระดูกพรุนแบบทุติยภูมิ ในที่นี้จะกล่าวถึงกระดูกพรุนปฐมภูมิ กล่าวคือ กลุ่มหญิงวัยหมดประจำเดือนกับผู้สูงอายุ ส่วนกระดูกพรุนแบบทุติยภูมิเป็นภาวะที่ต้องแก้ไขตามสาเหตุ ตัวอย่างเช่น คนไข้ที่กินยาบางประเภทติดต่อกันเป็นเวลานานที่สำคัญคือ ยาสเตียรอยด์ หรือคนไข้ที่ใช้ยากันชักเป็นประจำมานานนับสิบปี รวมทั้งคนไข้ที่กินยากันเลือดแข็งตัว เป็นต้น เหล่านี้จัดอยู่ในกลุ่มกระดูกพรุนทุติยภูมิ ซึ่งต้องไปพบแพทย์ให้พิจารณาลดยาหรือให้ยาเสริมป้องกันกระดูกพรุน

ภาวะกระดูกพรุน มักพบได้มากในคนยุโรป โดยเฉพาะยุโรป ตอนเหนือ ส่วนในเอเชีย มักพบในคนญี่ปุ่น สำหรับประเทศไทยพบได้ปานกลาง อุบัติการณ์ไม่รุนแรงเหมือนในยุโรปหรือญี่ปุ่น กลุ่มอายุที่เป็นกระดูกพรุนจะแบ่งได้เป็นกลุ่มผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปี ขึ้นไป ทั้งเพศชายและหญิง ในอัตราส่วน 1:3 และกลุ่มผู้หญิงพบได้มากกว่า คือ ผู้หญิงหลังหมดประจำเดือนอายุประมาณ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งจะมีแนวโน้มการเกิดกระดูกพรุนสูงขึ้น จึงมักเรียกว่า กระดูกพรุนหลังวัยหมดประจำเดือน เพราะฉะนั้นกลุ่มเสี่ยงที่สำคัญคือ ผู้สูงอายุและสตรีในวัยหมดประจำเดือน

อันตรายของภาวะกระดูกพรุน บางคนจะเรียกว่า “โรค ภัยเงียบ” เนื่องจากส่วนใหญ่ไม่มีอาการแสดง และคนไข้ไม่รู้ตัวว่าเป็นภาวะกระดูกพรุน จนกระทั่งเมื่อหกล้มแล้วมีกระดูกหัก ซึ่งกระดูกหักในที่นี้ไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุรุนแรง แต่เกิดจากอุบัติเหตุธรรมดาที่ไม่รุนแรง เช่น หกล้ม ซึ่งหลักเกณฑ์ง่าย ๆ ของอุบัติเหตุที่ไม่รุนแรงมีดังนี้ ต้องไม่ใช่อุบัติเหตุทางจราจร ต้องไม่ได้มีสาเหตุจากการถูกรถชน ต้องไม่ตกจากที่สูงเกินระดับความสูงของศีรษะ คนไข้เอง เช่น ปีนขึ้นไปหยิบของหรือปักธูปเทียนแล้วตกลงมาจากเก้าอี้ แบบนี้กระดูกไม่ควรจะหักแต่ถ้ากระดูกหักจะถือว่าน่าสงสัยว่าเป็นกระดูกพรุน

ความ น่ากลัวของภาวะกระดูกพรุน ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า การวินิจฉัยทำได้อย่างไรบ้าง เนื่องด้วยเครื่องมือในปัจจุบันยังเป็นเครื่องมือที่ให้คำตอบหรือการ วินิจฉัยที่ไม่สมบูรณ์ทีเดียว การตรวจวัดมวลกระดูก แม้ว่าจะเป็นวิธีที่นิยมใช้ในปัจจุบัน เพราะผู้ป่วยไม่เจ็บตัว เปรียบเสมือนการเป็นเอกซเรย์ชนิดหนึ่งที่ใช้งานง่าย สะดวก แต่การตรวจมวลกระดูกหรือความหนาแน่นกระดูกมักจะพยากรณ์ได้ดีในผู้สูงอายุ จึงเหมาะสำหรับคนไข้อายุมาก ๆ คือ ตั้งแต่อายุ 65 ปีขึ้นไป โดยทั่วไปจึงแนะนำให้ตรวจมวลกระดูกเมื่อถึงวัยดังกล่าวแล้ว

ส่วนยาสำหรับรักษาภาวะกระดูกพรุนนั้น เมื่อกระดูกหักแล้วและพิสูจน์ได้ว่าเป็นกระดูกพรุนปฐมภูมิ (หรือกระดูกพรุนที่สัมพันธ์กับวัย) ก็ควรให้การรักษา ยาที่ใช้ในการรักษาในปัจจุบันแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ยาต้านการสลายกระดูก ยาสร้างกระดูก และยาออกฤทธิ์ผสม

อีกคำถามที่มักพบได้มากก็คือ การป้องกันไม่ให้เกิดภาวะกระดูกพรุน ต้องอธิบายว่า การป้องกันเป็นวิธีที่ดีที่สุด โดยเฉพาะสตรีวัยหมดประจำเดือน โดยทั่วไปที่ควรปฏิบัติก็คือ การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นมและผลิตภัณฑ์จากนม และควรออกกำลังกายกลางแจ้งอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังกายมีความสำคัญมาก ถ้าเรากินแคลเซียมแต่ไม่ออกกำลังกายกลางแจ้ง กระดูกก็จะไม่แข็งแรง การออกกำลังกายนั้นแนะนำให้เลือกการวิ่ง กระโดดเชือก ถ้าคนสูงอายุอาจใช้การเดินเร็ว ๆ แต่การออกกำลังกายประเภทว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน จะได้ประสิทธิผลที่ดีในแง่ความอดทน และลดอาการปวดสำหรับคนไข้ที่มีอาการปวดเรื้อรัง เช่น ปวดหลัง ปวดเข่า ร่วมด้วย

การป้องกันอีกวิธีหนึ่งก็คือ การเสริมแคลเซียมโดยทั่วไป คนเราได้รับแคลเซียมจากอาหารก็เพียงพอแล้ว สำหรับประเทศไทยปริมาณแคลเซียมที่แนะนำคือ 800 มิลลิกรัมต่อวัน หากลองคำนวณดูจากอาหารที่ทานเข้าไป เช่น นม 1 กล่องมีแคลเซียมประมาณ 200-250 มิลลิกรัม ในอาหารชนิดอื่น เช่น ผักใบเขียว เต้าหู้ จากข้อมูลที่หน่วยโภชนาการของโรงพยาบาลรามาธิบดี เคยทำในคนไทยที่อยู่ในกรุงเทพฯ และ ปริมณฑลพบว่า คนไทยมักทานแคลเซียมวันละประมาณ 380 มิลลิกรัม ซึ่งยังไม่ถึงครึ่งของปริมาณที่แนะนำ ดังนั้นจึงต้องเลือกประเภทอาหารอย่างพิถีพิถันหรือเพิ่มนมอีกอย่างน้อย 1-2 กล่อง แต่หากเป็นหญิงในวัยหมดประจำเดือนต้องทานแคลเซียมเพิ่มขึ้นอีก 50% หรือราว 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน สำหรับผู้สูงอายุ แหล่งที่มาของแคลเซียมยังแนะนำให้ดื่มนมอยู่ เพราะนมเป็นอาหารที่มีทั้งโปรตีนและแคลเซียม การเสริมแคลเซียมชนิดเม็ดอย่างเดียวนั้นยังไม่เพียงพอ นอกจากนั้นแคลเซียมชนิดเม็ดก็ทำให้หลาย ๆ คนท้องผูก รบกวนระบบขับถ่าย จึงแนะนำให้เน้นแคลเซียมจากอาหารดีกว่า ทั้งผักใบเขียว บรอกโคลี ผักคะน้า งาดำ เต้าหู้ก้อนแข็ง ส่วนนมถั่วเหลืองทั่วไปไม่มีแคลเซียม แต่ปัจจุบันมีการเติมแคลเซียมเข้าไปในนมถั่วเหลืองก็ใช้ได้สำหรับคนที่ไม่ ดื่มนม

การเสริมวิตามินดี ก็เป็นอีกประเด็นหนึ่งที่ผู้คนเริ่มให้ความสนใจกันมาก เนื่องจาก ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าตัวเองขาดวิตามินดีหรือไม่ โดยเฉพาะในประเทศไทยที่มีแสงแดดมาก แต่จากการตรวจวัดในหลาย ๆ ครั้ง พบว่ามีแนวโน้มที่ผู้สูงอายุในประเทศจะขาดวิตามินดี เนื่องจากว่าผิวของผู้สูงอายุไม่สามารถสังเคราะห์วิตามินดีได้มากเท่าคนปกติ และไตเสื่อมใช้งานได้ไม่ค่อยดี ฉะนั้นการเปลี่ยนวิตามินดีให้อยู่ในรูปวิตามินดีกัมมันต์ จึงไม่ดีเท่าเดิม ทำให้คนสูงอายุ 65 ปีขึ้นไปมีแนวโน้มที่จะขาดวิตามินดี ซึ่งวิตามินดีค่อนข้างหายากในธรรมชาติ ต้องได้จากน้ำมันตับปลา ฉะนั้นวิธีที่ง่ายกว่าคือ ให้รับประทานวิตามินรวมวันละ 1 เม็ด

การป้องกันไม่ให้เกิดภาวะกระดูกพรุน ถือเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรับประทานแคลเซียมให้เพียงพอต่อวัน และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งทั้งหมดนี้ เป็นคำแนะนำง่าย ๆ สำหรับการดูแลตนเองไม่ให้เกิดภาวะกระดูกพรุน

ฝากข่าวประชาสัมพันธ์ ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล จัดการบรรยายเรื่อง “รู้เท่าทันป้องกันโรคกระดูกพรุน” ในวันที่ 27 ม.ค. 2553 เวลา 08.30-12.00 น. ณ ห้องประชุมอรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ ชั้น 5 โรงพยาบาลรามาธิบดี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 0-2201-2521

รศ.นพ.วิวัฒน์ วจนะวิศิษฐ ภาควิชาออร์โธปิดิคส์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล






 

Create Date : 23 มกราคม 2553
2 comments
Last Update : 23 มกราคม 2553 6:58:50 น.
Counter : 1795 Pageviews.

 

สวัสดียามเช้าอันแสนสดใส เดินทางไปเที่ยวไหนก็ขอให้สนุก และปลอดภัยครับ :)

 

โดย: ผมชอบกินข้าวมันไก่ 23 มกราคม 2553 10:36:53 น.  

 

ดีคร่า ทักทายนะค่ะ

 

โดย: www.24hotcasino.com IP: 180.183.245.22 19 ธันวาคม 2553 15:29:15 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

space

tanas251235
Location :


[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 11 คน [?]






space
space
[Add tanas251235's blog to your web]
space
space
space
space
space