Group Blog
 
 
มีนาคม 2550
 
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031
 
17 มีนาคม 2550
 
All Blogs
 
การสกัด chromosomal DNA ฉบับย่อ

วันนี้จะมาแนะนำวิธีการสกัด
chromosomal DNA จากเซลล์ ฉบับย่อๆ ซึ่งผมได้คัดเลือกมาจากหนังสือ Bio-Chem ของคณะตัวเอง อิอิ ซึ่งจะมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

1. การทำลายเยื่อหุ้มเซลล์และเยื่อหุ้มนิวเคลียส โดยใช้ SDS (sodium dodecyl sulphate)ซึ่งเป็น detergent ทำให้เซลล์

ปล่อย DNA-histone complex ที่อยู่ในโครโมโซมออกมา นอกจากนี้ SDS ยังช่วยกำจัด DNase

2. การแยกDNA ออกจาก DNA-histone complex โดยใช้เกลือความเข้มข้นสูง ได้แก่ NaCl

3. กำจัดโปรตีนปนเปื้อนต่างๆ ได้แก่ โปรตีนฮีสโตน เศษเซลล์ และโปรตีนต่างๆภายในเซลล์ ได้หลายวิธีเช่น การใช้เอนไซม์ protease สลายโปรตีน

การตกตะกอนโดยใช้ phenol, chloroformและการปั่นตกตะกอน

4. การตกตะกอน DNA โดย 95 % เอธานอลที่แช่เย็นจะไปลดความมีขั้วของสารละลายทำให้ DNA ตกตะกอนแยกออกมา

5. การละลายตะกอน DNA ที่ได้ในน้ำหรือบัฟเฟอร์ที่มีเกลือต่ำ เช่น Tris-EDTA buffer

6. หลังจากที่เราได้ DNA มาแล้ว มันมีจำนวนน้อย

ดังนั้น จึงนำตะกอนดังกล่าวเข้าเครื่อง PCR (Polymerase Chain Reaction)

เพื่อเพิ่มปริมาณจำนวน DNA ลักษณะเท่าตัว ซึ่งรายละเอียดนั้นจะกล่าวในครั้งต่อไป

7. เมื่อขยายปริมาณ DNA จนมากพอแล้ว เราก็จะมาแยกโมเลกุลของ DNA ด้วยวิธี Gel Electophoresisโดยอาศัยคุณสมบัติคือ

ความแตกต่างของการเคลื่อนที่ของโมเลกุลในสนามไฟฟ้าไปยังขั้วอิเลคโทรดด้วยอัตราเร็วที่ต่างกัน

กล่าวง่ายๆเลยก็คือ บังคับให้ โมเลกุลของDNA ซึ่งมีขั้ว(ในที่นี้เป็นขั้วลบ เพราะเป็นกรดนิวคลีอิค)เมื่อเป็นขั้วลบก็จะวิ่งในถาดเจล จากขั้วลบไปยังขั้วบวก

ซึ่งยิ่งจำนวนนิวคลีโอไทด์ มากก็จะยิ่งวิ่งได้ช้าลง โมเลกุลขนาดเล็กก็จะวิ่งไปได้ไกลขึ้น ซึ่งรายละเอียดนั้น เอาไว้พูดในภายหลังนะ...

8. ที่นี้ ถ้าเราต้องการตรวจชนิดของยีนที่เราสนใจ เราสามารถใช้วิธี Nucleic Acid Hybridization เพื่อเช็คยีนที่เราสนใจ เช่น ยีนโรคsickle-Cell anemia

ว่าคนไข้เป็นโรคดังกล่าวหรือไม่ เมื่อเช็คด้วย DNA probe ซึ่งเป็น probe ที่เราทำขึ้น เพื่อเป็นตัวเช็คนั่นเอง

9. นอกจากวิธี ดังกล่าวแล้ว ยังใช้วิธี RFLP (Restriction Fragment Length Polymorphism) ซึ่งเป็นวิธีการที่สามารถวิเคราะห์ยีนที่สนใจได้โดยอาศัยหลักการตัด

ของ restriction enzyme โดยเทียบกันว่า ในภาวะปกติ เอนไซม์จะตัดยีนในส่วนตรงนี้ ได้ระยะทางเท่าไร และถ้ายีนที่มีโรคนั้น จะสามารถตัดยีนได้ระยะทางที่เปลี่ยนแปลงไป

อย่างไร ซึ่งวิธีนี้สามารถนำไปวิเคราะห์การกลายพันธุ์ของยีนได้ อ่ะลืมบอกไป การที่เราจะเห็นได้ว่า RFLP ตัดที่ตรงไหน ดูได้จากการทำ Hybridization อีกทีหนึ่ง


Create Date : 17 มีนาคม 2550
Last Update : 17 มีนาคม 2550 23:23:10 น. 0 comments
Counter : 3233 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

บอร์นคุง
Location :
ชลบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add บอร์นคุง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.