Group Blog
 
 
สิงหาคม 2553
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
14 สิงหาคม 2553
 
All Blogs
 

Handle of specimen in forensic science


Handle of specimen in forensic science หรือการประเมินสภาพพยานหลักฐานในงานทางด้านนิติวิทยาศาสตร์
ซึ่งจริงๆแล้ว
หลักการมันก็มีอยู่หลายมุมมอง
แต่ที่นำเสนอนั้นเป็นเพียงมุมมองหนึ่งเท่านั้น
ที่ผู้ที่จะเก็บพยานหลักฐานเหล่านี้ควรคำนึงก่อนส่งไปยังห้องปฏิบัติการ ซึ่งถ้าไม่คำนึงถึงหลักเหล่านี้ ก็อาจจะทำให้ทางห้องปฏิบัติการนั้นไม่สามารถตรวจพยานหลักฐานเหล่านี้ได้อย่างถูกต้อง และได้รับความยุติธรรมที่สุด


ก่อนที่จะมาพูดถึง Handle of
specimen นั้นเราจะต้องมารู้กันก่อนว่า ทำไมเราต้องมีการเก็บพยานหลักฐานกันด้วย
ก็เพราะว่าพยานหลักฐาน
โดยเฉพาะพยานวัตถุนั้นเป็นสิ่งที่สามารถใช้พิสูจน์การกระทำผิดกฎหมายได้ คำถามที่ตามมาก็คือ แล้วพยานวัตถุที่ว่านั้น คือพยานวัตถุชิ้นไหนกันแน่ในสถานที่เกิดเหตุ
ซึ่งหลักในการพิจารณาว่า
สิ่งไหนเป็นพยานวัตถุที่ใช้ในการพิสูจน์
ซึ่งมีหลักในการพิจารณา มีดังนี้



1. Corpus delecti นั่นคือพยานวัตถุที่แสดงให้เห็นว่า มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น ทำให้ครบองค์ประกอบภายนอกในการกระทำความผิดโดยเฉพาะความผิดในทางอาญาที่ต้อง ตีความกฎหมายอย่างเคร่งครัด



2. Modus operandi นั่นคือพยานวัตถุที่แสดงให้เห็นว่า วิธีการที่ใช้ในการกระทำความผิดของผู้ที่กระทำความผิด



3. Associative evidence นั่นคือพยานวัตถุที่สามารถเชื่อมโยงพยานวัตถุนี้เข้ากับพยานวัตถุอื่นๆหรือผู้เสียหายหรือผู้กระทำความผิดได้



หลังจากที่เรารู้แล้วว่าสิ่งไหนเป็นพยานวัตถุแล้ว เราก็จะมาทำการเก็บพยานวัตถุเหล่านี้ เพื่อที่จะไปทำการตรวจพิสูจน์เพื่อที่จะได้ทราบความจริงถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อไป
ซึ่งประเด็นในการตรวจพิสูจน์นั้นก็จะต้องแล้วแต่ว่าเราตั้งคำถามที่ประเด็นในการตรวจพิสูจน์อย่างไร



ยกตัวอย่างเช่น คราบเลือดในที่เกิดเหตุ
คราบเลือดนั้นเมื่อนำไปตรวจพิสูจน์ในทางนิติวิทยาศาสตร์สามารถตอบคำถามได้
3
คำถามคือ



1. คราบเลือดที่ต้องสงสัยดังกล่าวใช่เลือดหรือไม่
(What?)



2. คราบเลือดที่ต้องสงสัยดังกล่าวเป็นของมนุษย์หรือไม่
(Human in origin?)



3. คราบเลือดที่ต้องสงสัยดังกล่าวเป็นของใคร
(Whose?)



แต่ก่อนที่จะทำการเก็บนั้น เราจะต้องมาคำนึงถึงหลักของ
Handle of specimen ซึ่งมีความสำคัญมาก
เพราะว่าพยานวัตถุในทางนิติวิทยาศาสตร์
นั้นจะไม่ได้สมบูรณ์เหมือนกับการเก็บตัวอย่างในโรงพยาบาล
แต่อย่างใด
บางครั้งพยานวัตถุเหล่านี้พอเข้าสู่กระบวนการตรวจพิสูจน์ในห้องปฏิบัติการ แล้วกลับพบว่ามันไม่สามารถตรวจพิสูจน์ได้ ซึ่งอาจจะเป็นเพราะด้วยสภาพของพยานวัตถุนั้นเอง หรือการเก็บหลักฐานที่ไม่ดีพอ ซึ่งอาจจะทำให้พยานวัตถุเหล่านี้เกิดความเสียหายมากกว่าที่เป็นอยู่ได้



ดังนั้นเราจะต้องทราบถึงหลัก Handle
of specimen เพื่อช่วยในการประเมินสภาพของพยานวัตถุก่อนเพื่อที่จะได้ผลการวิเคราะห์ที่ดีที่สุดเท่าที่จะสามารถทำการตรวจวิเคราะห์ได้
โดยจะแบ่งออกเป็น
3 ช่วงใหญ่ๆด้วยกัน คือ



1. Pre-analytic คือ
ขั้นตอนในการประเมินสภาพของพยานวัตถุก่อนว่าเหมาะสมในการตรวจวิเคราะห์ในกระบวนการต่อไปหรือไม่
ซึ่งหลักในการพิจารณาในขั้นตอนนี้ที่ต้องคำนึงถึงจะมีอยู่ด้วยกัน
4 ประการที่สำคัญมากในการประเมินสภาพนั่นคือ



1.1 Adequacy หรือความเหมาะสมหรือความพอของพยานวัตถุที่เราเก็บมา
ซึ่งสิ่งที่ต้องคำนึงเป็นสำคัญก็คือ
ปริมาณที่ใช้ในการตรวจพิสูจน์นั้นต้องมากเพียงพอต่อวิธีการตรวจ
ซึ่งถ้ามากเกินไปจริงๆแล้วก็ถือว่าดีนะครับ แต่อาจจะเกิดปัญหาได้
ถ้าสถานที่ในการจัดเก็บไม่เพียงพอต่อพยานวัตถุที่เก็บมามากเกินไป แต่ถ้าน้อยเกินไป
อาจจะเกิดการปนเปื้อน
(Contaminate) ได้
ต้องระมัดระวังมากในการตรวจวิเคราะห์ ซึ่งพยานวัตถุดังกล่าวมีปริมาณน้อยมากๆๆๆๆๆๆๆ
อาจจะทำให้ลดความน่าเชื่อถือในการตรวจพิสูจน์ลงไป แต่ถ้าปริมาณมีมากเกินพอ
ก็อาจจะไม่จำเป็นต้องป้องกันมากเพราะว่า เวลาตรวจจริงๆแล้ว
ตัวที่มันน้อยๆที่เป็นสิ่งปนเปื้อนนั้นจะถูกตัวอย่างที่มันมีมากเกินพอ
แย่งจับหมดอยู่แล้ว ไม่ต้องกลัวเรื่อง
contamination แต่อย่างใด



แต่ถึงกระนั้นก็ตาม การป้องกันการปนเปื้อนก็เป็นสิ่งสำคัญ
ซึ่งจะกล่าวในข้อต่อไป



ดังนั้นหลัก Adequacy นั้นมีหลักที่ต้องคำนึงอยู่
2 ประการด้วยกันคือ



1. ความพอและความเหมาะสมของพยานวัตถุ
ที่จะต้องเลือกว่า จะเลือกอะไรดีที่จะตรวจที่เหมาะสมที่สุด



2. ปริมาณของพยานวัตถุ
ว่าเก็บมาเท่าใด



ยกตัวอย่างเช่น ถ้าพยานวัตถุของเรานั้นเป็น
cell ของสิ่งมีชีวิตนั้นจะต้องแยกให้ออกระหว่างตัว cell กับ
product ของ cell เพราะ product ของ
cell นั้นความสมบูรณ์ในการตรวจนั้นจะลดลงไป ก็ต้องกลับมาดูอีกว่า พยานวัตถุที่นำมาตรวจนั้นอยู่ในสภาพไหน



นอกจากนี้ยังต้องกลับมาดูถึงวิธีการตรวจพิสูจน์ของเราว่า
มีข้อจำกัดอะไรบ้าง
เพื่อที่ว่าจะเป็นหลักในการประเมินพยานวัตถุที่อยู่ในที่เกิดเหตุ
ดูว่าควรที่จะเก็บเพื่อที่จะนำไปตรวจพิสูจน์หรือไม่



1.2 Contamination หรือการปนเปื้อนที่อาจจะไปปนเปื้อนพยานวัตถุของเราได้
ซึ่งการปนเปื้อนนั้น
บางทีเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ในความเป็นจริงเพราะหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์อย่างที่กล่าวไปในข้างต้นว่าสภาพของมันนั้นไม่สมบูรณ์อย่างที่ควรจะเป็น
ฉะนั้นจึงอาจมีการปนเปื้อนในพยานวัตถุได้ ซึ่งสิ่งที่ต้องคำนึงนั้นก็คือ การปนเปื้อนนั้นกระทบต่อวิธีการตรวจวิเคราะห์ของเราหรือไม่
และการปนเปื้อนนั้นอาจจะไปทำให้พยานวัตถุของเรานั้นมีปริมาณลดลงไปหรืออาจจะทำให้ผลการตรวจวิเคราะห์นั้นเปลี่ยนแปลงได้



นอกจากนี้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งพยานชีววัตถุ ถ้าเกิดการปนเปื้อน
อาจจะทำให้พยานชีววัตถุของเรานั้นเน่าได้



1.3 Preservation ในพยานชีววัตถุนั้นเป็นสิ่งส่งตรวจพิสูจน์ได้มาจากสิ่งมีชีวิต
ดังนั้นมันจึงมีการสลายตัวให้เปลี่ยนไปจากเดิมโดยธรรมชาติฉะนั้นแล้ว
เราต้องรักษาสภาพพยานวัตถุของเราให้อยู่คงสภาพที่สมบูรณ์เหมือนดั่งตอนที่ได้พยานวัตถุมาใหม่ๆให้ได้นานที่สุด
ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของมันสามารถเกิดได้จาก
putrefaction หรือการเน่า
ซึ่งเราสามารถใช้สารกันเน่ากันได้แต่สารดังกล่าวต้องไม่ไปรบกวนวิธีการตรวจวิเคราะห์ของเราให้ผลการวิเคราะห์นั้นเปลี่ยนแปลงไป
และ
autolysis หรือการสลายไปเองตามธรรมชาตินั้น
ไม่สามารถป้องกันได้



ดังนั้นการป้องกันการสลายตัวนั้นก็คือ ต้องทำการตรวจพิสูจน์ภายหลังจากการเก็บให้เร็วที่สุด
หรือในพยานวัตถุบางอย่างเช่น เส้นผม ก็จะต้องเก็บในที่ๆแห้งที่สุด
เพื่อไม่ให้เกิดความชื้นเกิดขึ้น และไม่ว่าจะใช้การเก็บด้วยวิธีใดๆก็ตาม
วิธีการเก็บรักษานั้นต้องไม่ไปรบกวนวิธีการตรวจวิเคราะห์พยานวัตถุของเราซึ่งอาจจะทำให้ผลเปลี่ยนแปลงได้



1.4 Chain of custody เป็นหัวใจหลักของงานทางด้านนี้เลยก็ว่าได้
เพราะมันหมายถึงห่วงโซ่แห่งการครอบครองพยานหลักฐาน
กล่าวคือพยานหลักฐานที่ได้มาตั้งแต่ที่เกิดเหตุนั้นจะต้องทราบถึงคนที่ครอบครองพยานหลักฐานนั้นว่ามีใครบ้างและแต่ละคนกระทำอะไรต่อพยานหลักฐานนั้นบ้างเพื่อที่จะเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าผลการตรวจวิเคราะห์ที่นำมาแสดงในชั้นศาลนั้น
เป็นผลมาจากการตรวจวิเคราะห์จากพยานวัตถุที่ได้มาจากที่เกิดเหตุนั้นจริงๆ
ไม่ได้มีการสลับสับเปลี่ยน การปลอมปน อคติ
(bias) การปนเปื้อนแต่อย่างใด
กล่าวสั้นๆคือการได้มาซึ่งพยานหลักฐานนั้นเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งถ้าเกิดว่า
chain
of custody ขาด กล่าวคือมีการปลอมปน การสลับสับเปลี่ยนเกิดขึ้น ก็จะทำให้เป็นจุดที่ใช้ในการโต้แย้งของทนายฝ่ายจำเลย
ซึ่งอาจจะทำให้คำพิพากษานั้นเปลี่ยนแปลงไป อย่างที่ไม่ควรจะเป็น



กระบวนการครอบครองพยานหลักฐานนั้น
ทำให้ความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานที่ได้มาจากการเก็บพยานหลักฐานนั้นเพิ่มสูงขึ้นและส่งผลทำให้ผลการตรวจวิเคราะห์พยานหลักฐานนี้มีความน่าเชื่อถือตามไปด้วย



Chain of custody นั้นจะดูแลขั้นตอนต่างๆในการป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้น
เช่น



การ Label ป้องกันการสลับสับเปลี่ยน,
การ Double blind test หรือการส่งตรวจพิสูจน์
2 แห่ง เพื่อลดอคติลงไปจากการตรวจ ถ้าตรวจเพียงแห่งเดียว,
การ Package และ Sealing ป้องกันการปลอมปน
ให้รู้ว่า
package ที่ใส่พยานวัตถุนี้ถูกทำลายมาหรือไม่ก่อนได้รับมา
และ การ
Transfer/Transportation ที่จะต้องรู้ว่าในแต่ละขั้นตอนของการรับ-ส่ง
พยานวัตถุนั้นมีใครได้ครอบครองบ้าง
ซึ่งจะทราบได้จากบัญชีผู้ครอบครองพยานวัตถุที่ติดมากับพยานวัตถุที่ส่งมาตรวจพิสูจน์
ซึ่งทำให้เราสามารถทวนสอบย้อนหลังได้ ว่าใครทำอะไรไว้กับพยานวัตถุบ้าง
สามารถตรวจสอบได้ตลอดทุกขั้นตอนที่กระทำต่อพยานวัตถุนี้



2. Analytic หรือวิธีการตรวจวิเคราะห์
ซึ่งโดยปกติจะมี
protocol หรือวิธีการตรวจที่เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว
แต่อาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนบ้าง ขึ้นอยู่กับ
pre-analytic พยานวัตถุที่ส่งมาตรวจวิเคราะห์นั้นว่าเป็นอย่างไร
ซึ่งการตรวจวิเคราะห์นั้น แบ่งได้เป็น
2 ลำดับขั้นตอน คือ



- Screening test คือการตรวจแบบคัดกรองซึ่งบอกได้แต่เพียงว่า
ใช่หรือไม่ ซึ่งถ้าผลออกมาคือใช่ จะต้องทำการตรวจวิเคราะห์ในขั้นตอนต่อไป
แต่ถ้าผลออกมาคือไม่ใช่ ก็ไม่ต้องทำการตรวจพิสูจน์ในขั้นตอนต่อไป



- Confirmation test คือการตรวจยืนยันเป็นขั้นตอนที่ต่อมาจาก
Screening test ซึ่งมักจะเป็น goal standard ในการตรวจวิเคราะห์สิ่งนั้นๆเลย
และมักจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าการตรวจแบบ
Screening test



3. Post-analytic คือการแปรผล
การนำไปใช้ซึ่งเป็นขั้นตอนภายหลังจากการตรวจวิเคราะห์พยานวัตถุเสร็จสิ้นแล้ว
ซึ่งสิ่งสำคัญก็คือ มีข้อจำกัดในการแปรผลหรือไม่
สิ่งที่ได้ออกมาจากการตรวจวิเคราะห์นั้นมีอะไรบ้าง ซึ่งข้อจำกัดในการแปรผลนั้น
อาจจะเกิดขึ้นได้ อันเนื่องมาจากข้อจำกัดมาตั้งแต่
Pre-analytic แล้ว



กล่าวโดยสรุปแล้วนั้น หลัก Handle
of specimen ในงานทางด้านนิติวิทยาศาสตร์เป็นสิ่งที่ผู้ที่ทำงานทางด้านนี้ต้องพึงระลึกไว้เสมอ
และจะต้องให้ความสำคัญกับหลักนี้เป็นอย่างมาก
เพื่อให้การทำงานในด้านนี้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกต้อง
เป็นกลางและตรงกับความจริงที่สุด






Free TextEditor




 

Create Date : 14 สิงหาคม 2553
1 comments
Last Update : 14 สิงหาคม 2553 19:12:11 น.
Counter : 1500 Pageviews.

 

eieieieieieieiei

 

โดย: eiei IP: 161.200.146.109 8 มิถุนายน 2560 15:07:35 น.  

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 


บอร์นคุง
Location :
ชลบุรี Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add บอร์นคุง's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.