<<
ธันวาคม 2556
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
293031 
 
9 ธันวาคม 2556
 

ปราสาทพระวิหาร ของไทยหรือของใครกันแน่?

คงไม่สายเกินไปที่จะทำความรู้จักกับ "ปราสาทพระวิหาร" 

เราได้ยินได้ฟังชื่อนี้มานานแล้ว แต่ยังไม่เคยไปเยือนซะที 
มาจนถึงปัจจบุันนี้  โอกาสที่จะไปเยือน คงยากขึ้นแล้วมั๊ง 


ปราสาทพระวิหาร ของไทยหรือของใครกันแน่ : ศานติ ภักดีคำ 



สำนักพิมพ์อมรินทร์ พิมพ์ครั้งแรก : กุมภาพันธ์ 2554
จำนวน 103 หน้า / ราคา 99 บาท
ซื้อเมื่อ : 15 พฤศจิกายน 2556


::โปรยปกหลัง::

แม้ปัจจุบัน จะมีหนังสือวิชาการหลายเล่มอภิปรายถึงประวัติของปราสาทพระวิหาร
แล้วก็ตาม แต่เรื่องราวเกี่ยวกับปราสาทหรือศาสนสถานแห่งนี้ยังคงเป็นที่สนใจ
และมีคำถามต่างๆ ตามมามากมาย การที่ผู้เขียนนำเรื่องราวนี้มานำเสนออีกครั้ง
ก็ด้วยหวังว่าอาจจะมีส่วนช่วยให้คนไทยเข้าใจความเป็นมาของปราสาทพระวิหาร
มากขึ้น 

ผู้เขียนได้พยายามนำเสนอประวัติความเป็นมาของปราสาทพระวิหาร
ทั้งบริบททางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับชุมชนโบราณในบริเวณภูมิภาคอีสานใต้
รวมทั้งความสัมพันธืกับชุมชนโบราณในบริเวณทะเลสาบเขมร อันนำไปสู่การ
สถาปนาปราสาทพระวิหาร ความสำคัญในช่วงเวลาที่อาณาจักรกัมพูชาโบราณ
เจริญรุ่งเรือง และร่องรอยหลักฐานประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง

นอกเหนือจากความเข้าใจและความรู้เท่าทันแล้ว หากหนังสือเล่มนี้มีส่วน
ช่วยลดอุณหภูมิที่ร้อนแรง เมื่อกล่าวถึงข้อพิพาทเรื่องปราสาทพระวิหารระหว่าง
ชาวไทยและชาวกัมพูชาลงได้บ้าง ก็เป็นสิ่งที่น่ายินดียิ่ง 


หนังสือกล่าวถึงประวัติความเป็นมาของ "ปราสาทพระวิหาร" โดยอ้างอิงหลักฐานทางโปราณคดี
และหลักฐานทางเอกสารของทั้งฝั่งไทยและกัมพูชา ลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่แรกสร้าง
จนมาถึงข้อขัดแย้งระหว่างสองประเทศในปัจจุบันด้วย 

อ่านจบแบบไม่เอาอคติและความเป็นชาตินิยมไปจับ
เราต้องบอกว่า "ปราสาทพระวิหาร" เป็นของกัมพูชา 
และที่ชาวกัมพูชาเชื่ออย่างนี้ ก็เพราะในเชิงประวัติศาสตร์ศิลป์นั้น  
ปราสาทหินต่างๆ เป็นสถาปัตยกรรมของเขมร มีการสลักหินอันเป็นแบบของเขมรอีกนั่นแหละ 
แต่คนไทย มองว่า "เขมรโบราณ"  = ขอม และไม่ใช่เขมรปัจจุบัน 
แต่ชาวกัมพูชา มองว่า นี่คือ มรดกที่บรรพบุรุษเหลือทิ้งไว้ให้ 

และที่มันเป็นข้อขัดแย้งขึ้นมา ก็เพราะประเทศฝรั่งเศสนั่นแหละ 
ซึ่งมันเป็นเรื่องของ "เขตแดน" ในบริบททางการเมืองไปแล้ว 

ดังนั้น หากต้องการดูปราสาทหินที่เคยยิ่งใหญ่มาก่อนนคววัด ก็ต้องมาดูปราสาทหลังนี้ 
ซึ่งในช่ว่งท้ายของหนังสือ ผู้เขียนได้เขียนบรรยายลักษณะรูปร่าง ผัง และลวดลายต่างๆ ไว้อย่างละเอียด 
พร้อมทั้งมีภาพประกอบ ...ซึ่่งคนที่สนใจเรื่องประวัติศิลป์อย่างเรา คนที่อย่างไปดุของจริงให้เห็นกับตาอย่างเรา
แต่คงเป็นไปได้ยากแล้ว  อ่านหนังสือเล่มนี้ ก็เหมือนได้ไปดูเช่นกัน ...

อยากให้ทั้งคนไทยและคนกัมพูชามองปราสาทหนังนี้ ในฐานะของ "มรดกของมวลมนุษย์ชาต" 
แล้วช่วยกันบูรณะปฏิสังขรณ์เพื่อให้คนรุ่นหลังจากพวกเรานี้ ได้ภาคภูมิใจ "ศรัทธา" ของบรรพบุุรุษ 
ด้วยความศรัทธา ขึงก่อให้เกิดศิลปะอันงดงามได้เช่นนี้ 





Create Date : 09 ธันวาคม 2556
Last Update : 9 ธันวาคม 2556 7:16:50 น. 4 comments
Counter : 2175 Pageviews.  
 
 
 
 
อาจารย์ศานติ ที่มศว. เขียนดีเข้าใจง่ายครับ จริงเล่มนี้ย่อยให้อ่านง่ายมาจากงานวิชาการที่อาจารย์ค้นคว้ามาอย่างรอบด้าน คือดูทั้งหลักฐานทางไทยและเขมร

 
 

โดย: Boyne Byron วันที่: 9 ธันวาคม 2556 เวลา:9:36:05 น.  

 
 
 


ต้องขอบคุณมาก ๆ ที่แวะไปแฮปปี้เบิร์ดเดย์ให้นะคะ เมื่อเช้าได้ทำบุญ ทั้งใส่บาตร ถวายสังฆทานและไถ่ชีวิตวัวควาย เลยเอาบุญมาฝากคุณนัทธ์ด้วยค่ะ ขอให้คุณนัทธ์มีความสุขทั้งกายและใจ สดใส แข็งแรง และสร้างสรรค์สิ่งดีงามประดับ bloggang เช่นกันค่ะ
 
 

โดย: haiku วันที่: 9 ธันวาคม 2556 เวลา:22:24:24 น.  

 
 
 
ถ้ามองอย่างไม่อคติ ปราสาทเขาพระวิหาร เป็นของกัมพูชาจริง ๆ นั่นล่ะค่ะ
 
 

โดย: หวานเย็นผสมโซดา วันที่: 10 ธันวาคม 2556 เวลา:1:57:51 น.  

 
 
 
อยากไปเยือนของจริงมาก ๆ เลยค่ะ
แต่ ณ เวลานี้คงยากยิ่ง
 
 

โดย: Serverlus วันที่: 10 ธันวาคม 2556 เวลา:20:08:45 น.  

Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

นัทธ์
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]





รักที่จะอ่าน รักที่จะเขียน
เปิดพื้นที่ไว้ สำหรับแปะเรื่องราว
มีสาระบ้าง ไม่มีสาระบ้าง ณ ที่นี้



สงวนลิขสิทธิ์
ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พ.ศ.2539

ห้ามผู้ใดละเมิด
โดยนำภาพถ่ายและ/หรือข้อความต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือทั้งหมดใน Blog แห่งนี้ไปใช้
และ/หรือเผยแพร่โดยมิได้รับอนุญาต
เป็นลายลักษณ์อักษร

New Comments
[Add นัทธ์'s blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com