<<
มิถุนายน 2554
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
18 มิถุนายน 2554
 

เลียบริมโขง เมืองอุบล : Part XIV


ความเดิมตอนที่แล้ว

ออกจากวัดหลวง เราก็เดินเรื่อยๆ ไปตามถนน
ผ่านอาคารเก่าสวยๆ ก็อดไม่ได้ ต้องเก็บภาพเอาไว้



ลักษณะการตกแต่งประดับประดาด้วยปูนปั้นนี้ เป็นที่นิยมไปทั่วประเทศจริงๆ
ได้กลิ่นอายแบบชิโน-โปตุกีสนิดๆ



จนกระทั่งมาถึงวัดกลาง ...และนี่คือ โบสถ์
รูปทรงอาคารไม่ค่อยจะเหมือนโบสถ์เลยล่ะ แปลกตาดีจริงๆ



วัดกลาง ตั้งอยู่ถนนราชวงศ์ ริมฝั่งแม่น้ำมูล อยู่ถนนพรหมราช ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี สร้างเมื่อ พ.ศ.2325 โดยเจ้าราชวงศ์ (ก่ำ) เป็นผู้สร้างใกล้กับคุ้มหรือ "โฮงราชวงศ์" ตามคตินิยมแต่โบราณที่เสาะหาทำเลใกล้แม่น้ำสร้างเมือง แล้วสร้างวัดควบคู่กัน ชื่อวัดเรียกตามทางน้ำไหล วัดที่เจ้าราชวงศ์สร้าง อยู่ระหว่าง "วัดเหนือท่า" (บริเวณ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี ปัจจุบัน) กับ "วัดใต้ท่า" (สนง.กรไฟฟ้าฯ ปัจจุบัน) จึงได้ชื่อว่า "วัดกลาง" ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๑๕ เขตวาสุงคามสีมากว้าง ๒๕ เมตร ยาว ๔๐ เมตร ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๘๙ ตอนที่ ๑๐๙ วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๕


โบสถ์ปิด เราจึงไม่อาจรู้ได้ว่า ภายในนั้นมีการตกแต่งลักษณะใด มีจิตรกรรมฝาผนังหรือไม่
พนมมือไหว้พระประธานแต่เพียงภายนอก
แล้วจึงเดินขึ้นวิหาร ซึ่งเป็นอาคารสร้างใหม่ หลังใหญ่สวยงาม
ที่นี่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ พระบทม์



“พระบทม์ ” เป็นพระประธานเก่าแก่ประจำพระวิหารเก่า ตั้งแต่สร้างวัดชาวเมืองอุบลราชธานี รุ่นเก่าเรียกว่า “ พระบทม์ ” เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่งดงามองค์หนึ่ง คนรุ่นเก่าเล่าสืบทอดกันมาว่า พระพุทธรูปองค์ นี้ สร้างด้วยอิฐดินเหนียวผสมเกสรดอกบัวและ ว่านจำป่าศักดิ์ ป่นละเอียด อธิษฐานก่อปั้นเป็นองค์พระบทม์ ไม่มีเหล็กเสริมภายในและใช้เกสรดอกบัวป่นละเอียดคลุกเคล้ากับยางบง น้ำแช่หนังวัวเผา น้ำแช่เปลือกเม็ก น้ำข้าวจ้าวต้ม หินเผาไฟป่นให้ละเอียด น้ำอ้อยเคี่ยวให้เหนียวผสมเป็นเนื้อเดียวกันดีแล้วใช้ฉาบทาให้ผิวขององค์พระบทม์ ด้วยกรรมวิธีแบบโบราณที่เรียกขานกันว่า “ ปูนน้ำอ้อย ”

พระครูวิสิฐพัฒนาภรณ์ (ทองหล่อ สํวโร) ท่านเจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน ได้กรุณาอธิบายเพิ่มเติมว่า พระบทม์ ขนาดหน้าตักกว้าง 78 นิ้ว สูง 108 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปที่มีความศักดิ์สิทธิ์ และเก่าแก่ของเมืองอุบลราชธานี องค์หนึ่ง คำว่า “พระบทม์” มาจากคำว่า (ปทุมํ-ปทม-บทม์) หมายถึง “ดอกบัว” ได้แก่ บัวหลวง มีสีแดง กลิ่นหอม เป็นพระพุทธรูปที่ประสาทพรเกื้อกูลให้เกิดความสำเร็จ ตามแรงแห่งสัจจาธิษฐานปรารถนา คนรุ่นเก่าเมื่อจะกล่าวถึงของสำคัญและเก่าแก่ของเมืองอุบลฯ แล้วชอบกล่าวคำว่า “ พระบทม์ วัดกลาง พระบางวัดใต้ หอไตรวัดทุ่ง ” จนติดปาก

พระบทม์วัดกลาง งดงามมากมีพุทธลักษณะอย่างเดียวกับ “พระเหลาเทพนิมิต” บ้านพนา เป็นฝีมือช่างรุ่นแรกของเมืองอุบลราชธานี


ไม่มีอะไรให้ดูแล้ว ก็ออกจากวัดเดินต่อไปตามถนนสายเดิม
เลี้ยวที่แยกไม่กี่ครั้ง ตามที่แผนที่ในมือระบุไว้
ในที่สุดก็มาถึงวัดใต้ หรือ วัดใต้พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ



วัดใต้ ตั้งอยู่ที่ถนนสุนทรวิมล ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี (อยู่ทางทิศเหนือของ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อุบลราชธานี) ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี สร้างเมื่อ พ.ศ.2373 ในรัชสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ต่อมา วัดใต้ ได้เปลี่ยนแปลงชื่อวัดเป็น "วัดใต้ พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ" เพราะเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปเก่าแก่ นามว่า " พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ " เนื้อทองนาคสำริด หน้าตัก 51 นิ้ว (1.27 ม.) สูง 85 นิ้ว (2.12 ม.) ใช้ทองนาคเงินสำริดหล่อองค์พระ หนักเก้าแสนบาท พระพุทธลักษณะเป็นปางมารวิชัย




วัดใต้ เป็นวัดบูรพาจารย์ทาง ฝ่ายวิปัสสนาธุระในอดีตพำนักในการปฏิบัติสมถกัมมัฏฐาน โดยบูรพาจารย์ทางฝ่ายวิปัสสนาธุระในอดีตที่เคยพำนักเช่น พระอุปัชฌาย์สีทา ชยเสโน พระอาจารย์เสาร์ กนตสีโล และท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนโท จันทร์) เป็นต้น ซึ่งบูรพาจารย์ทุกท่านได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ เป็นศาสนทายาทเผยแผ่สัจจธรรมในพระพุทธศาสนา จนเป็นที่รู้จักเลื่องลือในพระเกียรติคุณของบูรพาจารย์ มาจนตราบเท่าทุกวันนี้


มองผ่านๆ ก็รู้สึกได้ถึงความอึดอัด ...มีสิ่งก่อสร้างและประติมากรรมมากมาย หลากหลาย
ที่เราเห็นแล้ว รู้ว่ามัน "เยอะเกินไป"
แต่คงเป็นกุศโลบายที่ทำให้คนเข้าวัดมากขึ้นก็เป็นได้
กราบพระสีวลี พระสังฆจาย เจ้าแม่กวนอิม พระคเนศ ท้าวจตุคาม พระราหู ...เพียบ



เดินผ่านสิ่งตกแ่ต่งเหล่านี้ไปจนถึงบริเวณพระอุโบสถ
พบว่ามีหลักศิลาจารึกประวัิติ บอกเล่าความเป็นมาของวัด
เออ...ค่อยรู้สึกว่าอยู่ในพื้นทีประวัติศาสตร์มากขึ้น



หลักศิลานี้ มี 2 หลัก รูปทรงเป็นใบเสภา ทำจากหินทราย
สลักเรื่องด้วยตัวหนังสือโบราณ มีแผ่นทองเหลืองจารึกคำแปล
ซึ่งอ่านและแปลโดยท่านอาจารย์ประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิต ที่สันทัดเรื่องจารึกโบราณ



เราค่อยๆ ย่องเข้าไปนั่งแอบ กราบพระประธานในพระอุโบสถ
กำลังมีพิธีบวชพอดี ....



นั่งสงบๆ ถ่ายภาพ ร่วมพิธี ...ได้ยินเสียงโทรศัพท์มือถึงดังขึ้น
ไม่ใช่ของเรา ...ของคุณตาที่นั่งข้างหน้านั่นแหละ ....
แต่ว่า เสียงนั้นก็ไม่รบกวนพิธีกรรม ท่านพระอุปัชฌาย์ไม่เคร่งมากนัก
เราเคยไปร่วมงานบวชอยู่งานนึง ...ญาติกระซิบคุยกัน ...พระอุปัชฏาย์ก็เหลือบตามองแล้วออกเอ่ยดุ
ทำเอาเราต้องสำรวมให้มาก เวลาไปเข้าชมอะไรต่อมิอะไรในวัด แล้วเจองานพิธี

พีธีัดำเนินไปอีกพอสมควร ...ที่ว่าจะอยู่รอใส่บาตรพระนวกะ ก็เลยเปลี่ยนใจ
สะกิดชวนกันออกจากโบสถ์ มาถ่ายภาพด้านนอกกันต่อ



ที่ศาลาหลังคาจตุรมุขหน้าพระอุโบสถ ประดิษฐานพระพุทธรูปหลายองค์
ให้ประชาชนได้จุดธูปเทียนสักการะ และขอพรตามอัธยาศัย
มีป้ายอธิบายให้ทราบถึง ลูกแก้ว ที่ขุดพบเจอตอนสร้างอาคาร
และได้นำขึ้นไปประดับไว้บนยอดเจดีย์ของศาลาหลังนี้



ใช้เวลาที่นี่มากไปแล้ว ...ต้องออกเดินกันต่อ
เหลืออีกหลายวัดที่ต้องเก็บ ...



โปรดติดตามตอนต่อไป

ปล. ข้อมูลของวัดทั้งสองแห่ง : //www.paknamubonclub.com


Create Date : 18 มิถุนายน 2554
Last Update : 19 มิถุนายน 2554 12:16:59 น. 3 comments
Counter : 1763 Pageviews.  
 
 
 
 
เคยไปอุบลฯมาสองครั้ง ส่วนใหญ่ก็จะไปวัดค่ะ
ในตัวเมืองวัดเยอะมาก
 
 

โดย: กล้ายางสีขาว วันที่: 23 มิถุนายน 2554 เวลา:13:08:46 น.  

 
 
 
วัดเยอะ จริงๆ ด้วย และอยู่ไม่ไกลกัน เดินเที่ยงง่ายดี
 
 

โดย: นัทธ์ วันที่: 23 มิถุนายน 2554 เวลา:23:11:26 น.  

 
 
 
เวลาเห็นตึกอาคารเก่าๆสวยๆนี่ มีเสน่ห์ในตัวของตึกเองเลยล่ะเนอะ
 
 

โดย: pichayaratana วันที่: 30 ธันวาคม 2554 เวลา:9:59:58 น.  

Name
* blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Opinion
*ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet

นัทธ์
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]





รักที่จะอ่าน รักที่จะเขียน
เปิดพื้นที่ไว้ สำหรับแปะเรื่องราว
มีสาระบ้าง ไม่มีสาระบ้าง ณ ที่นี้



สงวนลิขสิทธิ์
ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พ.ศ.2539

ห้ามผู้ใดละเมิด
โดยนำภาพถ่ายและ/หรือข้อความต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือทั้งหมดใน Blog แห่งนี้ไปใช้
และ/หรือเผยแพร่โดยมิได้รับอนุญาต
เป็นลายลักษณ์อักษร

New Comments
[Add นัทธ์'s blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com