<<
มิถุนายน 2554
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930 
 
12 มิถุนายน 2554
 

เลียบริมโขง เมืองอุบล : Part XIII


ความเดิมตอนที่แล้ว

เช้าวันสุดท้ายของทริป เราอยู่ในตัวเมืองจังหวัดอุบลราชธานีกันแล้ว
และมีเวลาเที่ยวกันอีก 1 วันเต็มๆ เนื่องจากไฟล์ทกลับนั้นเป็นช่วงค่ำ
ทำให้ทริปอุบลราชธานีของคณะทัวร์เย็นใจนี้ สามารถเก็บเกี่ยวอะไรต่อมิอะไรตามอัธยาศัยกันได้
วันนี้โปรแกรมกันแบบ "ตัวใครตัวมัน" เพื่อนบางคนมีจุดหมายอยู่ที่ร้านกาแฟ ร้านขนม เจ้าดัง
บางคนขอแค่เดินเก็บบรรยากาศ ซื้อของฝาก สำหรับเรา..ขอเก็บวัดและำิพิพิธภัณฑ์

ตื่นแต่เช้า เปิดหน้าต่างสัมผัสได้ถึงความ "หนาว" ซะที
เราก็เลยได้สวมเสื้อไหมพรมที่หอบหิ้วมาด้วยในวันสุดท้ายนี่แหละ
ออกจากห้องพัก มุ่งหน้า "ตลาดเช้า" ซึ่งแถวเชิงสะพานประชาธิปไตย จำชื่อที่ถูกต้องไมได้นะ



ยังเช้าอยู่ ร้านค้าก็ยังไม่เปิด ทำให้เราถ่ายรูปตึกสวยๆ ได้สะดวก
เดินตามแผนทีเรื่อยมา จนกระทั่งถึงสะพาน...



พระอาทิตย์ขึ้นแล้วเต็มที่แล้วล่ะ และที่นี่เองที่เราพบว่า
กล้องโทรศัพท์มือถือของเรานั้น ..มีโหมดถ่ายภาพพระอาทิตย์ขึ้นด้วย
ใช้มา 2 เดือนแล้วไม่ยักรู้




ตลาดเช้าเป็นอาคารใหญ่ โปร่งๆ 2 ชั้น แบ่งสัดส่วนขายผัก ขายเนื้อสัตว์ ขายของแห้ง และขายอาหาร
แม่ค้าที่ขายผักพื้นบ้านหรือสัตว์แปลก ส่วนใหญ่จะหาบของมาวางบริเวณทางเดิน
อาหารเช้าที่นิยมก็จะมีทั้งปาท่องโก๋ น้ำเต้าหู้ โจ๊ก ก๋วยจั๊บญวน ข้าวเหนียว หมูปิ้ง ไก่ปิ้ง
เราเดินวนครบ 1 รอบไม่เจออาหารโดนใจ ...ย้อนกลับไปกินอาหารที่โรงแรมดีกว่า
ไหนๆ ก็อยู่ในแพคเกจที่พักอยู่แล้ว เพื่อนๆ ก็น่าจะตื่นพร้อมหน้าพร้อมตากันแล้วด้วย



เลือกสั่งอาหารเช้าที่คาดว่าจะทำให้อิ่มท้องมากที่สุด
หารือกันในกลุ่ม ใครจะเดินไปไหนกันบ้าง ...แล้วกลับมาเช็คเอ๊าท์ตอนเที่ยง
ตกลงได้แล้ว ก็แยกย้าย ทางใครทางมัน ...เรามีเพื่อนร่วมเดิน 1 คน

จากโรงแรมเราเดินไปยัง "วัดหลวง" ก่อนเลย
เพราะอยู่ใกล้สุด



วัดหลวง ตั้งอยู่ที่ถนนพรหมเทพ ริมฝั่งแม่น้ำมูล ระหว่างท่ากวางตุ้นกับท่าจวน (ตลาดใหญ่) มีเนื้อที่ประมาณ 8 ไร่ 4 ตารางวา ปี กุน พ.ศ.2324 เมื่อเจ้าพระปทุมวรราชสุริยะวงศ์ (ท้าวคำผง) ได้อพยพมาจากดอนมดแดง มาตั้งบ้านเมืองใหม่ที่ดงอู่ผึ้ง และได้ตั้งเมืองอุบลราชธานีขึ้น และเห็นว่าที่แห่งนี้เหมาะที่จะสร้างบ้านเมือง วัดวาอาราม เพื่อเป็นศรีสง่าแก่บ้านเมือง เป็นที่อยู่อาศัย สืบทอดพระพุทธศาสนา จึงให้พระสงฆ์ที่อพยพมาด้วยลงมือก่อสร้างโดยให้ช่างที่อพยพมาจากเวียงจันทน์ พร้อมด้วยท่านอุปฮาดราชบุตรราชวงศ์ ท่านท้าวเพี้ย กรรมการน้อยใหญ่ ร่วมสร้างด้วยความสามัคคี วัดจึงสำเร็จสวยงามสมเจตนารมณ์ สร้างโบสถ์ องค์พระประธาน กุฎิวิหาร ศาลาการเปรียญ หอไตร หอกลาง หอโปง หอระฆัง พร้อมบริบูรณ์ทุกอย่าง เป็นสังฆาวาสที่สวยงามมาก เมื่อสร้างเสร็จได้ตั้งนามว่า พระเจ้าใหญ่วัดหลวง นามนี้เรียกว่า "วัดหลวง" ซึ่งถือว่าเป็นวัดแรกของเมืองอุบลราชธานี และถือได้ว่าเป็นวัดประจำเจ้าเมืองอุบลราชธานีคนแรก นั้นก็คือ ท้าวคำผง นั้นเอง




พระอุโบสถออกแนวสูงชะลูดมากเลย เราไม่ได้เข้าไปกราบพระประธานด้านใน เพราะไม่เปิด
และจากคู่มือที่มีอยู่บอกว่า วัดแห่งนี้มีพระศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองประดิษฐานอยู่
เราจึงได้เดินมายังศาลาใหญ่ข้างพระอุโบสถ



ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปองค์ใหญ่ สมชื่อ



พระเจ้าใหญ่องค์หลวง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 3 เมตร โดยพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) เจ้าครอบครองเมืองอุบลราช-ธานีองค์แรก ได้ให้ช่างชาวเวียงจันทร์ สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2324 เพื่อเป็นพระประธานประจำตัววัดหลวงประดิษฐานอยู่ในวิหารพระเจ้าใหญ่องค์หลวง (ศาลาการเปรียญ) เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นที่พึ่งทางใจของชาวเมืองอุบลราชธานีและเป็นพระพุทธรูปองค์แรกของเมืองอุบลราชธานี นานกว่า 223 ปีมาแล้ว


กราบพระแล้วเดินชมภาพถ่ายที่แขวนติดผนังอยู่ มีภาพพระอุโบสถหลังเดิมอยู่ด้วย



ลักษณะของสิมวัดหลวง มีแปลนรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดค่อนข้างใหญ่กว่าสิมวัดต่างๆ ในเมืองอุบลราชธานี แต่รูปคล้ายๆ กัน คือ ฐานเอวขันธ์แบบปากพาน มีบันไดขึ้นมาทำเป็นเฉลียง ตัวอาคารและฐานถือปูน เสาด้านหน้าสิม 4 ต้น เป็นเสาเหลี่ยมลบมุม หัวเสาทำเป็นรูปบัวจลกล ทวยไม้แกะสลักแบบหูช้างหน้าบันกรุไม้ลูกฟักหน้าพรหม สาหร่าย รวงผึ้งแบบพื้นบ้านอีสาน(อิทธิพลล้านช้าง) หลังคาชั้นเดียวทรงจั่ว ไม่มีชั้นลด มีปีกนก(พะไร) ทางด้านข้างใช้เป็นแป้นมุงไม้หน้าจั่ว ตกแต่งด้วยช่อฟ้าใบระกาและหางหงส์ ไม่มีนาคสะดุ้ง (รายระกามอญ) มีคนเก่าแก่ของเมืองอุบลราชธานี กล่าวว่า สิมหลวงนี้สวยงามมากคล้ายกับวัดเชียงทองของเมืองหลวงพระบางของล้านช้าง


ดูจากรูปถ่ายก็เห็นชัดเจนว่างามนัก เสียดายแต่ว่าไม้ทนแดดทนฝนทนลมเหมือนกับปูน
ก็เลยต้องเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา พระอุโบสถหลังใหม่ก็เป็นสถาปัตยกรรมแบบวัดในเมืองหลวง



นอกจากนี้ที่ศาลาเล็กๆ ทางซ้ายของพระอุโบสถ ยังเป็นที่เก็บกระดูกช้างทรงของเจ้าเมืององค์แรก
พร้อมทั้งพระพุทธรูปที่มีประวัติเล่าว่าลอยมาติดท่าน้ำของวัดอีกด้วย
เราใช้เวลาอยู่วัดนี้พักใหญ่ๆ ก็ชวนเพื่อนออกเดินกันต่อ ตั้งใจว่าจะเก็บวัดสำคัญๆ ของจังหวัดให้หมด




โปรดติดตามตอนต่อไป

ปล. ข้อมูลวัดหลวง > //guideubon.com/news/view.php?t=18&s_id=22&d_id=6


Create Date : 12 มิถุนายน 2554
Last Update : 12 มิถุนายน 2554 22:09:23 น. 6 comments
Counter : 1212 Pageviews.  
 
 
 
 
แถวนี้ชอบไปมากๆเพราะมีที่พักฟรี 55

วันนี้มาส่งใบลาป่วยครับ

 
 

โดย: nulaw.m วันที่: 13 มิถุนายน 2554 เวลา:10:27:41 น.  

 
 
 
อุบลราชธานี ไม่เคยไปครับ แต่สัมผัสได้ถึงบรรยากาศได้ ตอนนี้รอ "รถไฟความเร็วสูง" ที่ทุกพรรคการเมืองหาเสียงอยู่ครับ ไข่กะทะ โจ๊ก กาแฟร้อน นี่ ยอดนิยมจริงๆครับ ถ้าผมไปอีสานเมื่อไหร่ ขาดไม่ได้เลยครับ แล้วมีอีกอย่างครับ ข้าวเปียก (อีกชื่อหนึ่งคือ "ก๋วยจั๋บญวน" ไงครับ) ของอุบล เส้นจะเล็กกว่า หนองคาย อุดร ครับ ซื้อมาทำกินที่บ้านบ่อยครับ เพราะทำง่ายมาก

 
 

โดย: ชมวิวทิวทัศน์ (เที่ยวรอบเกาะรัตนโกสินทร์ ) วันที่: 16 มิถุนายน 2554 เวลา:20:44:08 น.  

 
 
 
คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...
สวัสดียามเที่ยง หลังจากหาทานข้าวกลางวันกันแล้วอย่าลืมแวะไปชมเพลงอีแซวกันนะคะ ขอให้เป็นวันที่สดใสนะคะคุณนัทธ์
 
 

โดย: เกศสุริยง วันที่: 17 มิถุนายน 2554 เวลา:11:56:53 น.  

 
 
 
พี่หนูหล่อ > ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมค่ะ

คุณเที่ยวรอบเกาะฯ > ทริปนี้เราก็หม่ำ "ข้าวเปียก" ไปเยอะ จนติดใจแล้วหละ

ครูเกศ >
 
 

โดย: นัทธ์ วันที่: 23 มิถุนายน 2554 เวลา:23:13:17 น.  

 
 
 
แวะซื้อผ้าไหมด้วยหรือเปล่าคะ ร้านดังคือ ร้านคำปุน อยู่ถนนผาแดง ใกล้แยกร้านอินโดจีน.. พี่เพิ่งได้ทานก๊วยจั๊บญวนเจ้าอร่อยในเมืองรอบสุดท้ายนี่เอง ชื่อร้าน ๙๙๙
 
 

โดย: ณงลักษณ์ IP: 58.8.63.131 วันที่: 26 มิถุนายน 2554 เวลา:9:11:42 น.  

 
 
 
พี่ณง > มีโอกาสไปเดินดูร้านเท่านั้นเองค่ะ ไม่ได้ซื้อ ที่บ้านมีผ้าไหมของแม่เยอะแล้ว
 
 

โดย: นัทธ์ วันที่: 26 มิถุนายน 2554 เวลา:14:03:50 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

นัทธ์
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]





รักที่จะอ่าน รักที่จะเขียน
เปิดพื้นที่ไว้ สำหรับแปะเรื่องราว
มีสาระบ้าง ไม่มีสาระบ้าง ณ ที่นี้



สงวนลิขสิทธิ์
ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พ.ศ.2539

ห้ามผู้ใดละเมิด
โดยนำภาพถ่ายและ/หรือข้อความต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือทั้งหมดใน Blog แห่งนี้ไปใช้
และ/หรือเผยแพร่โดยมิได้รับอนุญาต
เป็นลายลักษณ์อักษร

New Comments
[Add นัทธ์'s blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com