<<
กุมภาพันธ์ 2554
 12345
6789101112
13141516171819
20212223242526
2728 
 
22 กุมภาพันธ์ 2554
 

สยามทัศน์สัญจร "ย่านคลองสาน" - Part III


ความเดิมตอนที่แล้ว


เลาะลัดตัดตรอกซอกซอยจนมาถึง "สุเหร่าตึกขาว หรือ มัสยิดเซฟี"
ก่อนจะก้าวเท้าเข้าไปในตัวอาหาร พวกผู้หญิงก็ได้รับผ้าบางๆ สำหรับคลุมผมไว้ 1 ผืน
โดยทั่วไปในมัสยิดจะแยกบริเวณทำละหมาดของชายและหญิง ที่นี่ก็เช่นกัน
ซึ่งบริเวณทำละหมาดของผู้หญิง จะอยู่บนชั้น 2 มีระเบียงกั้นเพื่อไม่ให้ชายหญิงได้แลเห็นกัน
เราจะรับประทานอาหารกลางวันกันที่นี่



มัสยิดเซฟีเป็นศาสนาสถานที่ก่อตั้งโดยพ่อค้าชาวเมืองสุหรัตจากประเทศอินเดีย โดยใช้ชื่อกลุ่มว่า ดาวุดีโบราห์ ซึ่งเป็นนิกายชีอะห์อีกสาขาหนึ่ง พ่อค้ากลุ่มนี้เป็นคนในบังคับอังกฤษที่เดินทางเข้ามาค้าขายช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ คนไทยมักเรียกว่า นักกุด่า หรือ นาขุด่า ที่มาจากภาษาเปอร์เซีย แปลว่า เจ้าของเรือสินค้า
กลุ่มคนเหล่านี้เคยทำมาค้าขายอยู่บริเวณตึกขาวตึกแดงย่านอุทยานสมเดีจย่าในปัจจุบัน ก่อนที่จะขยายการค้าข้ามฝั่งแม่น้ำมายังบริเวณท่าน้ำราชวงศ์ และเชิงสะพานช้างโรงสี ถนนเฟื่องนคร




สุเหร่าตึกขาวนี้สร้างขึ้นก่อนสุเหร่าตึกแดงของนิกายสุหนี่ (ที่แวะเยี่ยมก่อนหน้านี้) โดยกลุ่มนายห้างชาวอินเดียหลายคน มีอับดุลการเดอร์เซน อาลี วาสี เจ้าของห้างวาสี ไชยาอูดิน มูฮำหมัด อาลี พ่อค้าเร่เพชรพลอยตามบ้าน อับดุลราฮิม เจ้าของห้างอับดุลราฮิม นายห้างมัสกาตี เป็นต้น ช่วยกันซื้อที่ดินและสร้างเป็นสุเหร่าขึ้น




พวกเรานั่งฟังท่านอิหม่ามกล่าวต้อนรับ เป็นภาษาอังกฤษสำเนียงแขกที่ฟังยาก
จบแล้วจึงรับประทานอาหารร่วมกัน โดยเป็นการรับประทานอาหารตามแบบวัฒนธรรมของอิสลาม
แยกวงชายและวงหญิง ล้อมวงกันประมาณ 6 คน กลางวงมีถาดใบใหญ่วางไว้
เป็นการรับประทานด้วยมือ ก่อนอื่นก็ต้องล้างมือกันก่อน
แล้วเอานิ้วแตะเกลือป่นแล้วนำมาแตะลิ้น เป็นการทำความสะอาดในช่องปากกันซะก่อน
จานแรกเป็นขนมหวาน เหมือนวุ้นน้ำเขียวใส่นมนะ หวานมาก
แล้วก็ตามด้วยของคาว


ไก่ เป็นกับข้าว วางกลางวง


ข้าวหมก ที่ผสมเครื่องเทศ ถั่ว และไก่ชิ้นเล็ก คนเดินโต๊ะ ตักให้แต่ละคน


แล้วก็มีซุปไก่ให้ซดคล่องๆ คอ ปิดท้ายด้วยผลไม้ คือ สัปปะรดและทับทิบ
จากนั้นก็ล้างปากด้วยเกลือป่นอีกรอบ เป็นอันเสร็จพิธีการรับประทานอาหาร
เข้าไปร่วมตัวกันภายในบริเวณห้องทำละหมาด
ชมวิดีทัศน์และฟังบรรยายเกี่ยวกับความเป็นมาของนิกายและตัวอาคารสถาปัตยกรรมแห่งนี้
บางคน (รวมทั้งเรา) อาศัยฟังเสียงจากลำโพง ตัวเองออกมาเดินวนไปวนมาภายนอก เพื่อเก็บภาพ



ก่อนกลับก็คืนผ้าคลุมหัวให้เรียบร้อย แล้วเดินตัดซอกโกดังออกมาตามทางเดิน
เดินตามถนนเลียบแม่น้ำ ออกมาถึงท่าน้ำราชวงศ์
ถึงเวลานี้ ร้านค้าแผงลอยก็ตั้งร้านแล้ว รวมทั้งหมูสะเด๊ะเจ้าดัง
แต่พวกเราเพิ่งอิ่มกันมาเต็มที่ จึงเดินผ่านไปโดยไม่สนใจ
มาหยุดยืนรวมตัวกันอยู่หน้า "ศาลเจ้าซำไนเกง"



ศาลเจ้าเก่าแก่ของชาวฮากกาหรือชาวจีนแคะ ตัวศาลเดิมสร้างขึ้นปลายรัชสมัยร.3 ติดท่าำน้ำดินแดง ส่วนศาลปัจจุบันสร้างขึ้นในช่วงรัชกาลที่ 6 ก่อนตัดถนนท่าดินแดงเล็กน้อย ภายในประดิษฐานสามเทพธิดา ซำไนฮูหยิน เป็นประธาน เป็นเทพเจ้าที่ได้รับการกราบไหว้กันมากในหมู่ชาวฮากกา และแถบพื้นที่ไต้หวัน




ประวัติของทั้งสามท่านเป็นบุคคลที่มีชีวิตจริงในช่วงราชวงศ์ถัง ได้รับการศึกษาเล่าเรียนวิทยาอาคมจากนักพรตเต๋า มีกฤษฎาภินิหารต่างๆ ที่ใช้ช่วยเหลือชาวบ้านมากมาย จนภายหลังเสียชีวิตลง จึงได้รับการตั้งศาลกราบไหว้บูชามาจนถึงปัจจุบัน เจ้าแม่ทั้ืงสามประกอบด้วย ตั้งฮูหยิน ลิ้มฮูหยิน และลี่ฮูหยิน


เราไม่ได้เข้าไปจุดธูปไหว้เจ้าแม่ภายในศาล เพราะคนเยอะ เวลาน้อย
พนมมือไหว้และอธิษฐานขอพรให้คุ้มครองตัวเองและครอบครัว เท่านั้นพอ
จากนั้นชาวคณะก็ออกเดินกันต่อไป

โปรดติดตามตอนต่อไป







Create Date : 22 กุมภาพันธ์ 2554
Last Update : 22 กุมภาพันธ์ 2554 22:36:18 น. 1 comments
Counter : 2090 Pageviews.  
 
 
 
 
image by free.in.th
ฝากรูป
ห่างหายไปเสียสองสามวัน มัวแต่ยุ่งกับเรื่องงานอยู่ค่ะ วันนี้ว่างสิ่งแรกที่ทำคืออัฟblogและนำรูปมาฝากกัน ระลึกถึงและขอบคุณมิตรภาพบนโลกไอทีค่ะคุณนัทธ์
 
 

โดย: เกศสุริยง วันที่: 28 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา:14:55:45 น.  

Name
Opinion
*ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก

นัทธ์
 
Location :
กรุงเทพ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed
Smember
ผู้ติดตามบล็อก : 39 คน [?]





รักที่จะอ่าน รักที่จะเขียน
เปิดพื้นที่ไว้ สำหรับแปะเรื่องราว
มีสาระบ้าง ไม่มีสาระบ้าง ณ ที่นี้



สงวนลิขสิทธิ์
ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์
พ.ศ.2539

ห้ามผู้ใดละเมิด
โดยนำภาพถ่ายและ/หรือข้อความต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือทั้งหมดใน Blog แห่งนี้ไปใช้
และ/หรือเผยแพร่โดยมิได้รับอนุญาต
เป็นลายลักษณ์อักษร

New Comments
[Add นัทธ์'s blog to your web]

MY VIP Friend

 
pantip.com pantipmarket.com pantown.com