Group Blog
 
<<
มีนาคม 2553
 
 123456
78910111213
14151617181920
21222324252627
28293031 
 
17 มีนาคม 2553
 
All Blogs
 
โรคซึมเศร้ากับยาต้านเศร้า


โรคซึมเศร้ากับยาต้านเศร้า
อารมณ์ปกติของคนเราเปลี่ยนแปลงขึ้นลงตามสถานการณ์ในชีวิต แต่จะอยู่ในระดับกลางๆ
ไม่ รุนแรงและไม่มีผลกระทบต่อหน้าที่การงานและสังคม เช่น รู้สึกเศร้าเสียใจ
เมื่อพบกับความสูญเสียและ ผิดหวัง รู้สึกดีใจเมื่อได้รับชัยชนะหรือสมหวัง อารมณ์เหล่านี้จะอยู่ชั่วคราวตามการเปลี่ยนแปลงของ
เหตุการณ์ในชีวิต

ถ้าอารมณ์ความรู้สึกเหล่านี้มีในระดับมากเกินควรและคงอยู่นายเกินไป หรือเกิดขึ้นแล้วมีผลกระทบต่อการเรียนหน้าที่การงาน
และสังคมถือเป็นความผิดปกติ จำเป็นต้องรับการตรวจวินิจฉัยและรักษา

โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะมีอารมณ์เศร้า เบื่อหน่ายท้อแท้ หดหู่
ห่อเหี่ยวใจ และหมดอารมณ์สนุกเพลิดเพลินหรือหมดอาลัยตายอยาก เป็นอยู่นายตั้งแต่
2
สัปดาห์ขึ้นไปจนมีผลกระทบต่ออาชีพการงานหรือการเรียน นอกจากนั้นยังมีอาการร่วมทางกาย
พฤติกรรมและความคิด

อาการทางกาย
ได้แก่ กินไม่ได้ นอนไม่หลับ น้ำหนักลด อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ปวดศีรษะ
ปวดเมื่อยตามตัว หมดอารมณ์เพศ บางคนจะกินมากนอนมากซึ่งพบน้อยกว่า

อาการทางพฤติกรรม ได้แก่ เซื่องซึม เชื่องช้า เหม่อลอย คิดช้า
พูดช้า เคลื่อนไหวช้า พูดเสียงเบา แยกตัว ไม่อยากพบปะพูดคุยกับใคร ผู้ป่วยสูงอายุจะหลงลืมง่าย
หรือกระสับกระส่าย กระวนกระวาย เดินไปเดินมานั่งไม่ติดที่

อาการทางความคิด ได้แก่ มองโลกในแง่ร้ายไปหมดขาดสมาธิ ขาดความมั่นใจ วิตกกังวลกังวล
ตัดสินใจช้าลง หรือไม่กล้าตัดสินใจแม้ในเรื่องเล็กๆ น้อยๆ บางคนย้ำคิดย้ำทำ
บางคนรู้สึกผิดตำหนิตัวเอง มองว่าตัวเองไร้ค่า ถ้ารุนแรงมากขึ้นจะคิดไม่อยากมีชีวิตอยู่
คิดฆ่าตัวตาย บางคนอาจจะมีอาการ ประสาทหลอน หรือหลงผิดได้

การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าบางครั้งอาจจะเป็นเรื่องยากเพราะหลายคนไม่สามารถรับ
รู้หรือบรรยายสภาพอารมณ์ของตัวเองไม่ได้ อาจจะมาพบแพทย์ด้วยปัญหาต่างๆ นานา เช่น
ปวดหัว ตกใจง่าย ใจสั่น แน่นหน้าอก ปวดท้อง ปวดตามตัว บางคนหันไปดื่มสุราบดบังอาการ
ในเด็กและวัยรุ่น อาจจะมาด้วยปัญหาทางพฤติกรรม เช่น ดื้อ ต่อต้าน หนีโรงเรียน มีปัญหากับเพื่อนหรือครู

อะไรคือสาเหตุ
โรคซึมเศร้ามีสาเหตุมาจากหลายๆ ปัจจัยผสมผสานรวมกันคือ ปัจจัยทางพันธุกรรมชีวภาพ
และปัจจัยทางจิตสังคม โดยปัจจัยแต่ละด้านจะมีอิทธิพลมากหรือน้อยแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละคน
เช่นบางคนได้รับอิทธิพลอย่างมากจากพันธุกรรม ในขณะที่บางคนเกิดความแปรปรวนของฮอร์โมน
หรืออีกคนมีบุคลิกภาพแปรปรวน ที่ก่อปัญหาทางสัมพันธภาพ
สุดท้ายก็ลงเอยด้วยโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสารเคมีในสมอง
ในแง่ของทางชีวภาพ
ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่า โรคซึมเศร้าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมองโดยเฉพาะอย่างยิ่งสารเอมีน
การพัฒนายาต้านเศร้าก็ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการทำงานของสารเคมีกล่าว

การรักษา
ประกอบไปด้วยการรักษาทางชีวภาพ
และทางจิตสังคม ควบคู่กันไปจึงจะได้ผลกว่ารักษาด้วยวิธีใดวิธีหนึ่งอย่างเดียวทั้งนี้ขึ้น
อยู่กับความรุนแรงของโรคซึมเศร้าด้วย

การรักษาทางชีวภาพได้แก่ยาต้านเศร้า, การรักษาด้วยกระแสไฟฟ้า
(Electroconvulsive Therapy หรือ ECT) การรักษาด้วยแสง
(
Light Therapy) และการจัดการเปลี่ยนแปลงตารางการนอนหลับ (Sleep
Deprivation and Alterations of Sleep Schedules)
ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะยาต้านเศร้า
ยาต้านเศร้า
ยาต้านเศร้ามีมากมายหลายกลุ่มแต่ละกลุ่มมีมากมายหลายตัว การเลือกใช้ยาจะพิจารณาปัจจัยต่างๆ
เป็นรายๆ ไป ขึ้นอยู่กับอายุ
, ประวัติการตอบสนองยาในอดีต,
ผลข้างเคียงของยา, โรคประจำตัวอื่นๆ และความคุ้นเคยของผู้รักษา
เมื่อเลือกตัวยาที่เหมาะสมได้แล้ว จำเป็นต้องให้ยาในขนาดที่พอเพียง
และระยะเวลาที่พอเพียงด้วย สำหรับโรคซึมเศร้าครั้งแรกควรให้ยาต่ออีกประมาณ
6
เดือน – 1 ปี หลังจากอาการหมดไป แล้วค่อยๆ
ลดยาจนกระทั่งหยุดยาได้ หลังจากนั้นควรจะมีการติดตามอาการอย่างต่อเนื่องเพื่อประเมินว่าจะมีอาการ
กำเริบอีกหรือไม่

ยาต้านเศร้าในปัจจุบันแบ่งเป็นกลุ่มต่างๆ ดังนี้

1. กลุ่มคลาสสิก มี 2 กลุ่มย่อยคือ

- Monoamine Oxidase Inhibitors (MAOIS) ได้แก่ Moclobemide

- Tricyclic Antidepressants (TCAS) ได้แก่ Amitriptyline,
Nortriptyline Imipramine

2. กลุ่มที่ออกฤทธิ์จำเพาะต่อซีโรโทนิน

- Selective Serotonin Reuptake Inhibitors (SSRIS) ได้แก่ Fluoxetine,
Sertraline, Paroxetine, Fluvoxamine และ Citalopram

- Selective Serotonin Reuptake Enhancer (SSREE) มีขนาดเดียวคือ Tianeptine


3. ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเฉพาะนอเรพิเนฟริน (Selective Noradrenergic Reuptake Inhibitor – NRI) ได้แก่ Reboxetin นิยมใช้ทางยุโรป ยังไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย

4. ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ยับยั้งนอเรพิเนฟริน และโดปามีน (Norepinephrine and Dopamine Reuptake Inhibitor - NDRI) ได้แก่ Bupropion

5. ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ยับยั้งนอเรพิเนฟริน ซีโรโทนิน
และนอเรพิเนฟริน
(Dual Serotonin and Noradrenergic Reuptake Inhibitor
– SNRI) มีเพียงตัวเดียวคือ Verlafaxine

6. ยากลุ่มนัสซา (Nor
Adrenergic/Specific Serotonergic Antidepressant – Nassa) ขณะนี้มีขนานเดียวคือ
Mirtazapine

7. ยากลุ่มที่ออกฤทธิ์ที่ตัวรับซีโรโทนินและยับยั้งการดูดกลับของซีโรโทนิน
(Dual serotonin 2 antagonist and Serotonin Reuptake Inhibitors – SARIS) ได้แก่ Nefazodone
ผลข้างเคียง
เนื่องจากยาต้านเศร้ามีหลายกลุ่ม
ผลข้างเคียงของยาจึงแตกต่างกันไป ทั้งยั้งขึ้นกับแต่ละบุคคลด้วย

ยาบางกลุ่มทำให้ ปากแห้ง คอแห้ง ท้องผูก ตาพร่า ใจสั่น ปัสสาวะขัด น้ำหนักเพิ่ม
ง่วงซึม หมดความสนใจทางเพศ หรืออวัยวะเพศไม่แข็งตัว มีผลต่อการนำคลื่นไฟฟ้าหัวใจความดันเลือดลดลงเวลาลุกขึ้นทำให้หกล้มเซได้

ยาบางกลุ่มทำให้คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
จะเห็นว่าผลข้างเคียงแตกต่างกันไป ควรจะปรึกษาแพทย์ผู้ให้การรักษา

ยาต้านเศร้าจะถูกย่อยสลายที่ตับ ดังนั้นจะมีปฏิกิริยากับยาตัวอื่นๆ
ด้วย ผู้ป่วยที่รับประทานยารักษาหลายโรคควรแจ้งแพทย์ผู้ให้การรักษาด้วย

ข้อควรระวัง

- โรคซึมเศร้าพบได้บ่อย และเป็นสาเหตุที่สำคัญของการฆ่าตัวตาย ควรจัดการให้ผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาแต่เนิ่นๆ
เพื่อให้ชีวิตกลับคืนสู่ภาวะปกติให้รวดเร็วที่สุดจะได้ลดผลกระทบอย่างอื่น ที่อาจะเกิดตามมาได้


- โรคซึมเศร้า ไม่ใช่หมายถึง จิตใจอ่อนแอ
แต่เป็น โรคที่ต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม

- โรคซึมเศร้ารักษาหายได้ แต่จำเป็นต้องรับประทานยาต่อเนื่อง
อาการต่างๆ ของโรคจะดีขึ้นก่อน เช่น อาการนอนไม่หลับ ส่วนอารมณ์เศร้าจะค่อยๆ ดีขึ้นจนเห็นชัดเจนประมาณ
2 สัปดาห์ เป็นต้นไป ดังนั้นอย่าใจร้อนหยุดยา ถ้ามีปัญหาประการใดควรปรึกษากับแพทย์รวมถึงการสังเกตผลข้างเคียงต่างๆ
แล้วแจ้งแพทย์เพื่อปรับยาให้เหมาะสม






Create Date : 17 มีนาคม 2553
Last Update : 17 มีนาคม 2553 23:33:38 น. 0 comments
Counter : 1860 Pageviews.

ชื่อ : * blog นี้ comment ได้เฉพาะสมาชิก
Comment :
  *ส่วน comment ไม่สามารถใช้ javascript และ style sheet
 

Lineric
Location :
กรุงเทพฯ France

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




How could i ever tell you or when did i ever feel so special by side. It may be the very first day we met.But i deep down in my feeling.It is not the same from that day until today It's those feelings that have plied up day by day. As the time that passes by.....Life is somehow strange ...Sometimes it's just by change Someone passing my path.And I 've never imagine that we would meet And when we actually did I've never thought you'llbe that spacial one....in my heart.

HuG_LinN

Friends' blogs
[Add Lineric's blog to your web]
Links
 

MY VIP Friend

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.