ชมรมนักเรียนเก่า บดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) รุ่น 10
Group Blog
 
 
พฤศจิกายน 2552
 
1234567
891011121314
15161718192021
22232425262728
2930 
 
6 พฤศจิกายน 2552
 
All Blogs
 
สิทธิของผู้บริโภค

ในการดำเนินชีวิตประจำวันของคนเราทุกคน ย่อมต้องมีการจับจ่ายใช้สอย ซื้อข้าวของกันเป็นประจำ อันส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม เนื่องจากปัจจุบันมีการเสนอขายสินค้าและบริการต่างๆเป็นจำนวนมาก ผู้ขายหรือผู้ประกอบกิจกาย่อมต้องโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าหรือบริการ โดยนำวิธีการต่างๆหลายรูปแบบเพื่อนำเสนอ สินค้าและบริการของตน ให้ได้รับความสนใจและเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ซึ่งการกระทำดังกล่าวนี้ในบางกรณีอาจทำให้ผู้บริโภคเสียเปรียบ เพราะผู้บริโภคส่วนใหญ่อยู่ในฐานะที่ไม่ทราบภาวะการของตลาด และข้อมูลอันเป็นจริงเกี่ยวกับคุณภาพและราคาสินค้าหรือบริการ ฉะนั้นหากมีการเอารัดเอาเปรียบผู้ซื้อซึ่งเป็นผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็นการบริโภคสินค้าหรือบริการ ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค ย่อมส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศในเชิงลบ ไม่มีความเชื่อถือกันทางการค้า การทำธุระกรรมทางธุรกิจการค้าอาจมีผลกระทบได้ ดังนั้นจึงต้องมีมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคออกมา เพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว
กฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ได้บัญญัติคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคไว้ในมาตรา 57 “ สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ.......” ซึ่งก็ได้มีกฎหมายออกมารองรับ คือ พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2541 ซึ่งได้บัญญัติคุ้มครองและให้สิทธิผู้บริโภค สรุปได้ดังนี้

1.สิทธิที่พึ่งได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ เช่น ผู้บริโภคมีสิทธิได้รับการโฆษณา หรือการแสดงฉลากของสินค้าหรือบริการ ด้วยข้อมูลที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง ทั้งนี้ข่าวสารข้อมูลนั้นต้องปราศจากพิษภัยไม่ทำให้เกิดความหลงผิดในการใช้สินค้าหรือบริการนั้นอย่างไม่เป็นธรรม
2.สิทธิในความมีอิสระ ในการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิในการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการโดยความสมัครใจปราศจากการชักจูงใจอันไม่เป็นธรรม
3. สิทธิในการได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าและบริการนั้น ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือรับบริการที่ปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและทรัพย์สินของผู้บริโภค มีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐาน เหมาะสมแก่การใช้งาน หากสินค้าหรือบริการใดโดยสภาพมีความเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัยจะต้องมีข้อมูลให้คำแนะนำและคำเตือนอย่างละเอียด
4.สิทธิได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาที่เป็นธรรม ไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ขายสินค้าหรือบริการนั้น
5.สิทธิในการได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย จากการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคข้างต้นจนผู้บริโภคได้รับความเสียหายจากสิทธิของผู้บริโภคข้างต้น หากมีการละเมิดสิทธิดังกล่าว รัฐบาลจึงได้จัดตั้งหน่วยงานที่มีหน้าที่โดยตรงที่จะให้ความช่วยเหลือผู้บริโภค นั้นคือสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐ มีฐานะเทียบเท่ากรม สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งขึ้นอาศัย พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2541 มีอำนาจหน้าที่ พอสรุปได้ดังนี้


- เพื่อช่วยเหลือผู้บริโภคกล่าวคือ รับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภค ที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากผู้ประกอบการ โดยแจ้งไปที่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพฯ หรือที่ ตู้ปณ. 99 กรุงเทพฯ10300 หรือมาด้วยตัวเอง หรือโทร.1166 หรือ ต่างจังหวัดจะมีองค์กรที่ทำหน้าที่คุ้มครองผู้บริโภค ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 สอง องค์กร คือ คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัด และคณะกรรมการผู้มีอำนาจเปรียบเทียบความผิดที่เกิดขึ้นในจังหวัด (ยกเว้นกรุงเทพมหานคร) เมื่อคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคพิจารณาแล้วเห็นว่า เรื่องที่ร้องเรียนมีมูล ก็จะดำเนินคดีแก่ผู้ประกอบการที่ละเมิดสิทธิผู้บริโภค ตามที่คณะกรรมการฯเห็นสมควร หรือมีผู้ร้องขอ
- ติดตาม สอดส่อง พฤติกรรมของผู้ประกอบการซึ่งกระทำการใดๆอันมีลักษณะเป็นการละเมิดสิทธิผู้บริโภค เช่น การตรวจสอบข้อความจากสื่อโฆษณาต่างๆ ว่ามีการใช้ข้อความอันเป็นเท็จ หรือเกินจริง จนอาจทำให้ ผู้บริโภคหลงผิดต่อข้อความนั้นได้ และเลือกซื้อสินค้าหรือบริการนั้นแล้วเกิดความเสียหายขึ้นได้ในภายหลัง
- สนับสนุน ทำการศึกษาวิจัยถึงสภาพปัญหาอันเกิดแก่ผู้บริโภคร่วมกับองค์กรอื่น เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาในอนาคต
- ส่งเสริมให้การศึกษาแก่ประชาชนทั่วไปถึงข้อมูล ข่าวสารในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ ตลอดจน
ให้คำแนะนำหรือให้ให้คำปรึกษา
- ประสานงานกับหน่วยงานราชการอื่น เพื่อกำหนดมาตรฐานของสินค้าและบริการ เช่น สมอ. กำหนดมาตรฐานสินค้าอุตสาหกรรม หรือ กระทรวงพาณิชย์ ประกาศร้านธงฟ้า เป็นต้น
ปัจจุบันเราจะพบเห็นปัญหาเกี่ยวกับผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบอยู่เสมอเกี่ยวกับ การให้ข้อมูลข่าวสารทางสื่อโฆษณา ซึ่งส่วนใหญ่มักจะให้ข้อมูลไม่ตรงกับความเป็นจริง หรือให้ข้อมูลไม่ครบถ้วน เกินจริง ในสรรพคุณของสินค้าและบริการ ทำให้ประชาชนผู้บริโภคหลงเชื่อ ซื้อสินค้าและบริการนั้นๆ จนทำให้เกิดความเสียหายแก่ ผู้บริโภคและอาจกระทบต่อสภาพรวมทางเศรษฐกิจได้ในที่สุด ซึ่งนอกจากจะมีพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค แล้วยังมี พระราชบัญญัติว่าด้วย ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม กำหนดคุ้นครองสิทธิของประชาชนอีก และหากไม่เข้าบทบัญญัติของกำหมายทั้งสองฉบับ ก็ยังมีกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ยังให้ความคุ้มครองเป็นการทั่วไปอีก
ดังนั้นหากผู้บริโภคถูกเอาเปรียบไม่ได้รับความเป็นธรรมในการเลือกซื้อสินค้าและบริการแล้ว สามารถติดต่อขอคำแนะนำ ร้องเรียน ขอความช่วยเหลือจากสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้ หรือ หากเกิดความเสียแก่ชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน และเป็นประเด็นทางกฎหมายที่จะต้องมีการดำเนินคดี ก็สามารถติดต่อได้ที่สำนักงานคณะกรรมการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย ของสภาทนายความ ทั้งในส่วนกลางและสำนักงานกรรมการบริหารภาค หรือ สำนักงานประธานสภาทนายความจังหวัดทั่วประเทศ โทร.. 0-2629-1430 หรือ //www.lawsociety.or.th


* จิรวุฒิ รุ่งเรืองธรรม อนุกรรมการฯ สำนักฝึกอบรมวิชาว่าความ แห่งสภาทนายความ



Create Date : 06 พฤศจิกายน 2552
Last Update : 8 พฤศจิกายน 2552 19:16:48 น. 0 comments
Counter : 195 Pageviews.

ชื่อ :
Comment :
  *ใช้ code html ตกแต่งข้อความได้เฉพาะสมาชิก
 

Bodin10
Location :
กรุงเทพฯ Thailand

[ดู Profile ทั้งหมด]

ฝากข้อความหลังไมค์
Rss Feed

ผู้ติดตามบล็อก : 1 คน [?]




Friends' blogs
[Add Bodin10's blog to your web]
Links
 

 Pantip.com | PantipMarket.com | Pantown.com | © 2004 BlogGang.com allrights reserved.